เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้แบบบทเรียนประเด็นเดียว (One Point Lesson (OPL)) เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน ให้กับบุคลากรของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกรวีสุนทร ซึ่งโครงการนี้คณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ได้รับอนุมัติงบประมาณเงินรายได้จากสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร จำนวน 19,000 บาท โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 39 คน โดยวิทยากรผู้มากความรู้และประสบการณ์คือ ผศ. ดร. เธียรชัย พันธ์คง จากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่
สำหรับการอบรมในวันนั้นประเด็นหรือโจทย์หลักก็คือ One Point Lesson (OPL) หรือบทเรียนหนึ่งประเด็น และการพัฒนางานด้วยไคเซน (Kaizen) ซึ่งในความตั้งใจของคณะกรรมการ KM ที่ได้จัดอบรมในครั้งนี้คือต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ไปพัฒนางานของตนเอง โดยผมจะสรุปบรรยากาศการอบรมในวันนั้นมาเล่ากันฟังพอเป็นสังเขป ช่วงเช้าวิทยากรได้พูดถึงประเภทของบทเรียนไว้ว่ามีหลายประเภทไม่เฉพาะแต่ OPL อย่างเดียวเท่านั้น อาทิ
• One Point Article (OPA)
• One Point Knowledge (OPK)
• One Point Sharing (OPS)
• Media Clipping
• Knowledge Capture
• One Ponit Lesson
การสรุปบทเรียนนั้นแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร
1. One Point Article (OPA) เป็นบทความหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างองค์ความรู้ที่เป็นแบบความรู้ฝังลึกที่เกิดจากประสบการณ์และความรู้แบบชัดแจ้งของบุคลากรมีอยู่ในองค์การโดยผสมผสานกับการบริการจัดการที่เป็นแบบอย่างที่ดี หรือแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) แล้วผลิตเป็นผลงานขึ้นมาเพื่อให้คนอื่นได้นำไปใช้ประโยชน์
2. One Point Knowledge (OPK) ก็เป็นบทความสั้น ๆ เหมือนกับ One Point Article (OPA) แต่บทเรียนประเภทนี้เกิดขึ้นจากการรวบรวมเรื่องราวที่ตนเองน่าสนใจ จะเป็นเคล็ดลับ หรือความรู้ทางเทคนิคต่าง ๆ ที่พบเห็นแล้วนำมารวบรวมขึ้นเป็นผลงาน
3. One Point Sharing (OPS) เป็นบทความที่ผู้สร้างทำด้วยแรงบันดาลใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิบัติด้วยตนเองแล้วเห็นผล หรือมีจิตเอื้ออาทรที่จะเผื่อแผ่ส่งที่รู้ไปยังบุคคลอื่น ๆ เช่น เรื่องราวของธรรมะที่น่าสนใจหรือบทความที่สร้างพลังและแนวคิดเชิงบวก
4. Media Clipping เป็นบทความทางเศรษฐกิจ, สังคม และข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับภารกิจหลักขององค์กร ซึ่งเผยแพร่อยู่ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์หรือวารสารที่ส่งตรงถึงพนักงานเป็นประจำ
5. Knowledge Capture เป็นการจับประเด็นความรู้มาเป็นตอน ๆ หรือตามประเด็นที่เราสนใจ ซึ่งผู้สร้างผลงานอาจจะการปฏิบัติให้ดู หรือจากการสัมภาษณ์หรือจากวิดีทัศน์
6. One Ponit Lesson คือบทเรียนหนึ่งประเด็นที่เกิดจาก Tacit Knowledge โดยผู้เขียนจะต้องอธิบายวิธีการทำงานว่าสำเร็จอย่างไร โดยจะมุ่งเน้นและเจาะประเด็นในการเรียนรู้ประเด็นเดียวหรือเรื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งจะใช้ภาพวาดหรือภาพถ่ายของจริง มาอธิบายว่าผู้เขียนปฏิบัติมาแล้วหรือพิสูจน์มาแล้วมาวิธีการนี้มีประสิทธิภาพ
วิทยากรสรุปว่าองค์ประกอบของ OPL คือ
• เขียน/อธิบายบทเรียน หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการทำงาน ด้วยศัพท์หรือวิธีการง่าย ๆ เพียง 1 ประเด็นหรือ 1 เรื่อง และต้องไม่เกินกระดาษ 1 แผ่น (A4)
• ใช้เวลาอ่านหรืออธิบาย 5-10 นาที
• ใช้ภาพ สี ลูกศร มากกว่าตัวอักษร (80:20)
• แสดงข้อมูล Do, Don’t, Right or Wrong
รูปที่ 1 หลักการทำ ONE POINT LESSON (OPL)
ตัวอย่าง OPL เทคนิคการผูกผ้าที่หูถุงผ้าเปี้อน
รูปที่ 2 ตัวอย่าง ONE POINT LESSON (OPL)
ตัวอย่าง OPL การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรถนั่งบนทางลาดชัน
รูปที่ 3 ตัวอย่าง ONE POINT LESSON (OPL)
ในวันนั้นสิ่งที่น่าชื่นชมอีกอย่างของวิทยากรนั้นก็คือท่านได้ยกประวัติของตนเองให้ฟังก่อน ทำให้เราเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มุ่งมั่นในการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ มาตั้งแต่วันเด็กจนประสพความสำเร็จในหน้าที่การงาน และที่สำคัญท่านพอใจที่จะเป็นผู้ให้ ซึ่งจะเห็นได้จากข้อคิดจาก Facebook ที่ท่านได้แสดงความเห็นไว้ว่า…
‘ทุกครั้งที่เป็นวิทยากรสิ่งที่ผมต้องทำเสมอไม่ใช่การทำสไลด์ หรือเตรียมเนื้อหาในการบรรย
ผมในฐานะประธาน KM หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลังอบรมการสรุปบทเรียนไปแล้วบุคลากรของสำนักฯ น่าจะมีแนวคิดและริเริ่มจัดทำ OPL หรือสรุปบทเรียนประเภทอื่น ๆ ที่เกิดจากงานที่ตนเองปฏิบัติอยู่หรือสนใจอยู่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาสำนักฯ ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ในที่สุด