Page 5 - ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา ผ้าลายยะลารวมใจ (ยาลอจาโปรฮาตีกีตอ)
P. 5

-4-

                                                ผ้าปาเต๊ะ หรือ ผ้ายาวอ หรือ บาติก


                         ผ้าบาติก หรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำเรียกผ้าชนิดที่มี การทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้

                  วิธีการแต้ม ระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี
                  ระบายสี และ ย้อมสีนับสิบๆ ครั้ง  คำว่า บาติก" (Batik) หรือ "ปาเต๊ะ (Batek) มาจากคำว่า Ba = ศิลปะ และ

                  Tik = จุด เดิมเป็นคำในภาษาชวา ใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด คำว่า "ติก" มีความหมายว่า เล็กน้อยหรือจุด
                  เล็ก ๆ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้น คำว่าบาติก จึงมีความหมายว่าเป็นงานศิลปะ

                  บนผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดด่าง ๆ ผ้าชนิดนี้ภาษามลายูกลางเรียกว่า "ผ้ายาวา" ใช้เรียกผ้าปาเต๊ะที่นำเข้ามาจาก

                  ยาวาหรือชวา  สมัยแรก ๆ ต่อมาเรียกว่า "ผ้าบาเต๊ะ" แต่ปัจจุบันเรียกว่า "ผ้าปาเต๊ะ" บางคนเรียกว่า "ปาเต๊ะ
                  ยาวอ" หรือ  "บาติก" ทั้งนี้แหล่งกำเนิดของผ้าปาเต๊ะยังไม่เป็นที่ยุติ หลายคนเชื่อว่าเกิดขึ้นที่อนเดียก่อนแล้ว
                                                                                                ิ
                                                         ี
                  แพร่หลายเข้าไปในอนโดนีเซีย บ้างว่ามาจากอยิต์หรือเปอร์เซีย ผ้าปาเต๊ะของอนโดนีเซีย เริ่มจากสตรีในราช
                                   ิ
                                                                                    ิ
                  สำนักของชวาภาคกลาง เขียนลวดลายบนผืนผ้า โดยวางไว้บนรางไม้ไผ่ เรียกว่า "กาวางัน (Gawangan)
                  ระยะแรก  ผูกขาดโดยราชสำนักสุราการ์ตายอกยากาตา ถือเป็นงานศิลปะชั้นสูง เมื่อฮอลันดาเข้ามา
                  ครอบครองอนโดนีเซีย ได้นำเทคนิคการทำผ้าปาเต๊ะไปใช้ผลิตผ้าออกมาจำหน่าย ผ้าปาเต๊ะในระยะแรก มี ๒ สี
                             ิ
                                                                        ั
                  คือ สีขาวและสีกรมท่า ซึ่งเป็นสีที่ได้จากต้นคราม ต่อมามีการพฒนาเทคนิคการผลิตโดยใช้เครื่องจักรและ
                                                                  ุ
                                               ุ
                  สีวิทยาศาสตร์ ครั้งเกิดการปฏิวัติอตสาหกรรมในยุโรปในพทธศตวรรษที่ ๒๕ ทำให้ผ้าปาเต๊ะมีสีสันหลากหลาย
                  มากขึ้นผลิตได้จำนวนมาก ใ ต้นทุนในการผลิตต่ำมีการส่งขายในดินแดนอุษาคเนย์ ส่งผลให้แพร่หลายตามเมือง
                  ท่าต่าง ๆ ตลอดจนจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป

                  กลายเป็นผ้าอีกชนิดหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวมลายูมุสลิม ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

                  ผ้าปาเต๊ะแบ่งตามการใช้งาน
                         ๑)  ผ้าปาเต๊ะปันยัง (JawaBeulet) เป็นผ้าปล่อยหรือคนทั่วโลกเรียกว่า "ผ้าพัน" ประกอบด้วย ตัวผ้า

                  และปาเต๊ะ กว้างประมาณ ๑๕๐ ดซนติเมตร x ๓๕ เชนติเมตร วัสดุที่ใช้ในการผลิต คือผ้าฝ้ายเนื้อละเอยด
                                                                                                          ี
                                                ่
                  ส่วนใหญ่เป็นสีครีม น้ำตาล เขียวออน เขียวขี้ม้า หรือ สีเหลือง ส่วนลายในแต่ละผืนมีหลายผสมผสานกัน
                                                                                   ั
                  ที่พบมาก เช่น ลายดอกไม้  ลายสัตว์  ลายพรรณพฤกษาผสมกับลายเรขาคณิต นุ่งเป็นผ้าพนสำหรับหญิงตามแบบวัฒนธรรม
                  ของชาวมลายู และในโอกาสพิเศษ โดยเฉพาะงานนักขัตฤกษ์ วันสำคัญทางศาสนา  เช่น  วันฮารีรายอ  งานแต่งงาน เป็นต้น

                         ๒) ผ้าโสร่งป่าเต๊ะ (Serong) เป็นผ้านุ่ง ใช้เรียกผ้าป่าเต๊ะที่นำมาเย็บเป็นบ่างหรือเป็นถุง ใช้สำหรับเป็น

                                                                                     ิ
                  ผ้านุ่ง เรียกว่า “ผ้าปาเต๊ะ” ภาษามาลายูถิ่นเรียกว่า “ยาวอบือเละ” มีลักษณะพเศษ คือ มีปาเต๊ะที่มีลวดลาย
                  สีสันแปลกตาไปจากส่วนอนของผ้า เป็นผ้าที่พบมากที่สุด วัสดุ ที่ใช้ในการผลิต คือ ผ้าฝ้าย ไหมและแพร
                                         ื่
                  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ผ้าฝ้ายเนื้อละเอยด ในระยะแรกมี ๒ สีเท่านั้น คือ สีขาว และกรมท่า ซึ่งเป็น สีย้อมมาจาก
                                              ี
                  ธรรมชาติ เมื่อมีการนำสีวิทยาศาสตร์เข้ามาขาย ช่างทอผ้าจึงหันมานิยมใช้เพราะง่ายต่อการย้อม ทำให้  มีสีสัน

                                                                           ื้
                  สดใส่ ส่วนเทคนิคการผลิต ใช้การลงเทียนหรือขี้ผึ้งบนผืนผ้า ตรงพนที่ที่ไม่ต้องการให้เกิดสีแล้วนำไปย้อมสี
                  จากนั้นนำมาต้มเอาขี้ผึ้งออก เทคนิคเช่นนี้ ชาวอนโดนีเซียเรียกว่า “บาติก (BATIK) ซึ่งมีเทคนิคการผลิต
                                                             ิ
                                                                                         ์
                  แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ บาติกลายเขียน (MembatikTulis) และ บาติกลายพมพ(Membatik Cap) ทั้งนี้
                                                                                      ิ
                  ผ้าปาเต๊ะ มีลวดลายหลากหลายแบบผ้าปาเต๊ะเป็นผ้าที่เริ่มนิยมใช้กันในหมู่คนทั่วไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
                  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการตั้งโรงงานผ้าปาเต๊ะในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อประมาณ ๕๐-๖๐ ปี ที่ผ่านมา
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10