Page 4 - ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา ผ้าลายยะลารวมใจ (ยาลอจาโปรฮาตีกีตอ)
P. 4

-3-

                                          ผ้า : สะท้อนวิถีชีวิตพหุวัฒนธรรม



                                                                                         ิ
                         เสื้อผ้าอาภรณ์ นอกจากจะเป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวันและสำหรับวันพเศษ เช่นวันที่มีประเพณี
                  พิธีกรรมตามความเชื่อของคนแต่ละกลุ่มวัฒนธรรมแล้ว ยังแสดงถึงตัวตนและความคิดเห็นของผู้สวมใส่ รวมทั้ง
                            ั
                  เป็นสินค้าอนเป็นที่มาของรายได้ด้วย โดยเฉพาะวัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้นั้น มีความหลากหลาย
                  เนื่องจากอยู่กันในลักษณะ "พหุวัฒนธรรม" มีคนหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวไทยพุทธ ชาวมลายูมุสลิม ชาวจีน ฯลฯ
                                                                                             ื้
                         ภาคใต้ของไทย เริ่มตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย เป็นพนที่ที่ถูกขนาบด้วย
                  ทะเลทั้งสองฟาก และเป็นจุดผ่านของเส้นทางค้าขายติดต่อระหว่างอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก ดังที่

                  กล่าวมาแล้ว และเป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าและท่าเรือ โดยในด้านการใช้ผ้านั้น วิถี พานิชพนธ์ เขียนไว้ใน
                                                                                                 ั
                  “ผ้าและสิ่งถักทอไทย”ว่า มีบันทึกว่าชาวภาคใต้ใช้ผ้าหลายรูปแบบทั้งผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเขียนลายเทียน

                  ผ้ามัดย้อม แต่ผ้าที่มีชื่อที่สุดของภาคใต้กลับเป็น "ผ้ายก" โดยเฉพาะผ้ายกจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่รู้จัก

                  ในนามของ "ผ้ายกเมืองนคร" เป็นผ้าที่ราชสำนักภาคกลางสั่งทอและให้ส่งเป็นบรรณาการ ต่อมา ในระยะหลังก็
                  มีผ้าที่มีชื่อเสียงตามมาอกหลายชนิด แต่ชาวบ้านปักษ์ใต้ทั่วไปเดิมนิยมนุ่งผ้าคล้ายผ้าขาวม้าสีแดง การนุ่ง
                                       ี
                                                                                           ิ
                  ผ้าปาเต๊ะหรือบาติกที่มีลวดลายสีสันหลากหลายเป็นความนิยม ในช่วงหลังจากการรับอทธิพลของผ้ามาเลเซีย
                                                                                                          ั
                   ิ
                  อนโดนีเชีย ชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมนุ่งโสร่งลายตะรางแบบชาวเบงกอล นอกจากนี้ วิถี พานิชพนธ์
                  ยังอรรถาธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ "ผ้าปาเต๊ะ "และ"ผ้าทอปัตตานี" ไว้อย่างน่าสนใจว่า สำหรับชาวใต้โดยทั่วไป
                  ไม่นิยมสวมเสื้อผ้าที่ผลิตด้วยใยไหม เว้นแต่จะเป็นโอกาสพิเศษเท่านั้น  ในเวลาทั่วไปจะนิยมสวมเสื้อผ้าบางเบา
                  แต่มีลายสีสันฉูดฉาด โดยเฉพาะผ้าย้อมสีที่เรียกว่า "ผ้าปาเต๊ะ" เป็นที่นิยมแพร่หลายตามคาบสมุทรมลายู

                                           ึ
                  ภาคใต้ ชาวมลายู จนกระทั่งถงชาวหมู่เกาะชวา หมู่เกาะสุมาตรา และ ฟิลิปปีนส์  ผ้าปาเต๊ะเป็นผ้าฝ้ายเนื้อบาง
                  นำมาเขียนลายด้วยขี้ผึ้ง และใช้สีย้อมภายในกรอบเส้นขี้ผึ้ง  จะให้ลายชัดเจนกว่าการมัดย้อม ส่วนใหญ่นิยมใช้
                  ทำผ้านุ่ง ผ้าโสร่ง ตัดเสื้อและใช้เป็นผ้าปูนั่ง หรือผ้าคลุมต่าง ๆ ส่วน "ผ้าทอปัตตานี" เป็นผ้ามัดหมี่คล้ายคลึงกบ
                                                                                                           ั
                                                              ี
                  ผ้าสมปักปูมของเขมรมาก ส่วนใหญ่ทอด้วยไหมละเอยด ลวดลายกระเดียดไปทางผ้ามาเลย์และชวามีเทคนิค
                  หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีผ้าโสร่งไหมที่วิจิตร สวยงามมากคล้าย ๆ โสร่งอีสาน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9