มะม่วงหิมพานต์ : การสืบสานของชาวบ้านรูสะมิแล
 
Back    14/02/2020, 11:17    3,003  

หมวดหมู่

อาหาร


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด

ภาพสืบค้นจาก : https://www.honestdocs.co/the-benefits-of-cashew-nut-health

     อดีตถนนโรงเหล้า ตําบลสะบารัง อําเภอเมืองปัตตานีจะมีชื่อเสียงด้านการเผาเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แต่สภาพพื้นที่ได้พัฒนาไปสู่ความเป็นชุมชนเมืองจึงไม่เหมาะกับอาชีพที่ก่อให้เกิดกลิ่นและควันที่สร้างความรําคาญให้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง จึงต้องแยกอาชีพการเผาเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ไปโดยปริยาย แต่ภูมิปัญญามิได้สูญหายเพราะก่อนหน้านั้น ได้แพร่ขยายไปสู่บุคคลในเขตพื้นที่หมู่บ้านรูสะมิแลในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน
      ชาวบ้านในหมู่บ้านรูสะมิแล ซึ่งเคยเป็นลูกจ้างเผาเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มาก่อนจึงมีประสบการณ์จากการเรียนรู้สังเกต และลงมือปฏิบัติจนมีความชํานาญได้สืบทอดอาชีพการเผามะม่วงหิมพานต์มาสร้างงาน ในชุมชนจนถึงปัจจุบันเพราะสภาพพื้นที่บริเวณนี้เป็นดินทรายใกล้กับทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้าน การเผาเมล็ดมะม่วงหิมพานต์จึงเป็นอาชีพเสริมให้หลายครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่มักจะประสบปัญหาจากสภาพพื้นไม่เหมาะกับการเพาะปลูก จึงต้องสั่งซื้อวัตถุดิบจากเขตพื้นที่อําเภออื่น ๆ เมื่อต้นมะม่วงหิมพานต์ถูกลดพื้นที่ในการปลูก และถูกตัดโคนเพื่อปลูกยางพาราจึงต้องสั่งซื้อวัตถุดิบจากจังหวัดภาคใต้ตอนบน เช่น จังหวัดระนองจึงต้องมีเงินทุนสํารองในการสั่งซื้อวัตถุดิบจํานวนมากผู้ที่ไม่มีแหล่งเงินทุนสํารองเพียงพอกับการลงทุนทําให้ต้องหยุคอาชีพการเผามะม่วงหิมพานต์ไป ปัจจุบันเหลือ อยู่ไม่กี่ครัวเรือนที่สามารถยึดเป็นอาชีพได้


วัตถุดิบและส่วนประกอบ

ภาพสืบค้นจาก : https://bit.ly/2ONaWBp

     วัตถุดิบที่สั่งซื้อในปัจจุบันมีอยู่ 2 แหล่ง คือในแถบพื้นที่ชายแดนใต้ เช่น อําเภอปะนาเระ อําเภอสายบุรี ซึ่งมีขนาดเมล็ดเล็กกว่าที่สั่งซื้อมาจากภาคใต้ตอนบน คือ จังหวัดระนอง ซึ่งนําเข้ามาจากประเทศพม่า ราคาการซื้อขายจะแพงกว่าประมาณ 10 บาท จะมีพ่อค้าคนกลางเป็นตัวแทนในการสั่งซื้อและจําหน่าย ให้กับผู้ผลิตรายย่อยในชุมชนช่วงฤดูที่มีวัตถุดิบมากจะต้องสั่งซื้อครั้งละ 100,000 กิโลกรัม จึงต้องเตรียมเงินสดไว้เป็นทุนสํารองในการซื้อวัตถุดิบ จึงมีความสําคัญจําเป็นต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 100,000 กิโลกรัม นํามาเผาประมาณ 3 เดือนเท่านั้น จําเป็นต้องซื้อเก็บไว้จํานวนมากเท่าที่เงินทุนสํารองมีอยู่ จะได้นําเมล็คมาเผาได้ตลอดทั้งปี นอกจากนั้นการซื้อวัตถุดิบผ่านพ่อค้าคนกลางมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน เพราะต้องซื้อยกกระสอบไม่มีการคัดเลือกเมล็คเสียทิ้ง โดยเฉพาะเมล็ดที่ได้รับความชื้นจะเกิดเชื้อราทําให้เมล็คเน่า ไม่สามารถนํามาเผาได้การสั่งซื้อวัตถุดิบแต่ละครั้งจําเป็นต้องรีบนําเมล็ดมาตากแดดให้แห้งป้องกันเชื้อรา ก่อนเก็บไว้ในกระสอบ เพื่อนําออกมาเผาได้ตลอดทั้งปียกเว้นช่วงฤดูฝน
     การเผาจะใช้วิธีแบบธรรมชาติ ยังไม่มีการนําเทคโนโลยีมาใช้จะเผาได้ประมาณ 70 กิโลกรัมต่อวัน เริ่มต้นการเผาแต่ละวันหลังจากละหมาดหัวรุ่ง ก่อนเผาแต่ละครั้งต้องนําเมล็ดที่เก็บไว้มาแช่น้ําหนึ่งคืนแล้วไปตากแดดให้แห้งสนิท ส่วนอุปกรณ์การเผาเพียงถังน้ํามันที่ไม่ใช้แล้วเจาะรูรอบฐานด้านล่างเพื่อให้ไฟผ่านได้ ใช้เปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นเชื้อเพลิง เพราะยางจากเมล็ดเป็นเชื้อไฟอย่างดีการเผานั้นจะต้องอาศัยความชํานาญในการสังเกตเปลือกมะม่วงหิมพานต์จะเปลี่ยนเป็นสีดํา จึงนํามาคลุกกับขี้เถ้า เพื่อขจัดยางที่เมล็ดออกให้แห้งสนิทจะได้ไม่ติดมือในช่วงที่ตีเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
      การตีเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ต้องอาศัยประสบการณ์เนื้อข้างใน จะได้ไม่แตกซึ่งจะมีราคาแพงกว่าเมล็คมะม่วงที่แตกเป็นซีกหรือหักเป็นชิ้น ๆ บางคนตีเมล็ดเป็นเวลา 30 ปี จะใช้ไม้หรือเหล็กก็ได้ส่วนปัญหาการตีเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ คือยางจากเมล็ดจะติดมือล้างออกยาก จะต้องใช้น้ํามันมะพร้าวและนํามันก๊าด ซึ่งจะเป็นปัญหาสําหรับคนมุสลิมในช่วงเวลาละหมาดที่จําเป็นต้องชําระร่างกายให้สะอาดบางคนเกิดอาการแพ้คันตามนิ้วมือจนอักเสบ
     เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ตีเสร็จแล้วจะต้องนําไปคั่วกับทรายอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรายละเอียดสะอาดจากชายทะเล จากนั้นจะต้องนําไปจ้างปลอกเปลือกที่ติดเมล็คอีกครั้งหนึ่งจึงได้เมล็ดวงหิมพานต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนหมู่บ้านรูสะมิแล


ผู้ประกอบการ

ภาพสืบค้นจาก : https://vi-vn.facebook.com/Cashew.nut.Group/

         การจําหน่ายจะคัดแยกเกรดเป็น 2 เกรด คือเนื้อเมล็ดที่ติดอันเป็นค่จะขายได้ราคาดีกว่าเมล็ดที่แตกออกเป็นซีกมีแม่ค้ามารับ สู้ไปขายตามร้านค้าทั่วไปและส่งไปยังตลาดปาดังเบซา จังหวัดสงขลา เพื่อส่งไปจําหน่ายยังประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นเนื้อเมล็ดแบบธรรมชาติไม่มีการแปรรูป จึงเก็บไว้ได้ประมาณ 3-4 เดือน แต่ต้องเก็บรักษาไว้ อย่าให้ลมเข้าจะทําให้เนื้อเมล็ดไม่กรอบ ดังนั้นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่จําหน่ายตามท้องตลาดในจังหวัดปัตตานี มีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดแบบธรรมชาติไม่มีการแปรรูปซึ่งจะเป็นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ชาวบ้านรูสะมิแลเป็นผู้ผลิต มีอยู่ 2 ขนาด ขนาดเล็กเป็นวัตถุดิบที่ปลูกในอําเภอต่าง ๆ แถบชายแดนใต้ ส่วนเมล็ดที่มีขนาดใหญ่จะสั่งซื้อวัตถุดิบมาจากจังหวัดระนอง เนื้อเมล็ด มีการแปรรูป เช่น การอบเนยจะเป็นผลผลิตจากพ่อค้ารายใหญ่ในจังหวัดปัตตานี และมาจากจังหวัดทางภาคใต้ตอนบน เพราะการแปรรูปเนื้อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพงและต้องศึกษาวิธีการแปรรูป ซึ่งต้องอาศัยเวลาและเงินทุนสํารองค่อนข้างสูง ชาวบ้านจึงไม่อาจกระทําได้เพียงคงไว้ด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม ที่เป็นภูมิปัญญาด้านอาชีพที่ได้รับสืบทอดต่อ ๆ กันมา


แหล่งจำหน่าย

https://vi-vn.facebook.com/Cashew.nut.Group/


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
มะม่วงหิมพานต์ : การสืบสานของชาวบ้านรูสะมิแล
ที่อยู่
จังหวัด
ปัตตานี


บรรณานุกรม

มะม่วงหิมพานต์. (2562). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก https://vi-vn.facebook.com/Cashew.nut.Group/
มะม่วงหิมพานต์. (ม.ป.ป.). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก  https://bit.ly/3bEbt28
มะม่วงหิมพานต์. (ม.ป.ป.). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก https://www.honestdocs.co/the-benefits-of-cashew-nut-healthรอฮานี ดาโอ๊ะ, ประสิทธิ์ รัตนมณี และนิปาตีเมาะ หะยีหามะ. (2553). ร้อยเรื่องราวชุมชนวัฒนธรรมปลายด้ามขวาน. ปัตตานี :  สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
           
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024