การทอผ้าไหมพุมเรียง
 
Back    19/07/2024, 10:15    247  

หมวดหมู่

งานฝีมือ


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด


ภาพจาก : ระบบสารสนเทศศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม ; https://qsds.go.th/silkcotton/k_10.php


การเก็บตะกอลายในการทอผ้าพุมเรียง
ภาพจาก : ระบบสารสนเทศศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม ; https://qsds.go.th/silkcotton/k_10.php

                              ผ้าพุมเรียงเป็นผ้ายกที่มีลวดลายสวยงามและมีเอกลักษณ์ต่างไปจากผ้ายกของภาคอื่น ๆ กล่าวคือมีการทอยกดอกด้วยไหมหรือดิ้นเงินดิ้นทอง ในสมัยโบราณจะมีการใช้วัตถุดิบทั้งฝ้ายและไหม โดยแบ่งออกเป็นผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ทอโดยใช้ฝ้าย และผ้าที่ใช้ในงานหรือพิธีการต่าง ๆ จะทอโดยใช้ไหม การทอผ้าพุมเรียงเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ของตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตำบลพุมเรียงเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ อยู่ห่างจากตัวอำเภอไขยาไปประมาณ ๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเรียกว่าแหลมโพธิ์ ซึ่งมีหาดทรายขาวสะอาดและสวยงาม ในอดีตพระบาทสมเด็จพระจุลอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จประพาสและสร้างศาลาไว้ ซึ่งได้กลายเป็นเหล่งท่องเที่ยวมาจนทุกวันนี้ ชาวบ้านในตำบลพุมเรียงส่วนใหญ่เป็นมุสลิมมีอาชีพทอผ้าและประมง โดยชาวไทยมุสลิมที่อพยพมาจากเมืองสงขลา เมืองปัตตานี และเมืองไทรบุรี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวมลายูในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ที่อพยพเข้ามาที่ตำบลพุมเรียงในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ อีกส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มมลายูที่อพอพยพมาจากหมู่เกาะอินโดนีเซีย ซึ่งการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนดังกล่าวทำให้เกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรมร่วมกับขาวไทยโดยเฉพาะการทอผ้าเป็นผู้นำความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าติดตัวมาด้วย และผ่านการถ่ายทอดสืบต่อกันมาด้วยวิธีการสังเกต จดจำ และทดลองปฏิบัติทอจริง โดยไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับการสั่งสมภูมิปัญญาและสืบทอดกันมาสู่ลูกหลานแบบรุ่นต่อรุ่น ชาวไทยมุสลิมนิยมการทอผ้าไหมยกดิ้นเงิน ดิ้นทองหรือยกไหม สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นเอกลักษณ์และสืบทอดสู่ทายาทซึ่งเป็นชาวไทยมุสลิมในปัจจุบัน โดยเฉพาะคุณหวันมะ นุ้ยหมีน เจ้าของร้านวรรม๊ะไหมไทย หมู่ที่ ๒ บ้านหัวเลน ตำบลพุมเรียง ผู้ได้รับการคัดเลือกผลงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ดีเด่น กลุ่มผ้าไหมพุมเรียงของอำเภอไซยา ได้กล่าวไว้ในหนังสือสุราษฎร์ธานี เมืองคนดีศรีแผ่นดินว่า.... เด็กหญิงที่ตำบลพุมเรียงจะเริ่มหัดทอผ้าตั้งแต่อายุยังน้อย โดยสังเกตการทอผ้าของผู้ใหญ่เป็นการเรียนรู้โดยธรรมชาติ ด้วยวิธีสังเกตและทดลองปฏิบัติจริง ผู้ใหญ่จะสอนวิธีการทอ การย้อมสีเส้นไหม การเตรียมเส้นไหมสำหรับทอ การก่อตะกอ  วิธีการและขั้นตอนการพอผ้าเหล่านี้ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาศัยความสามารถในการจดจำจากผู้สอน ที่มีความชำนาญและปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถรักษาศิลปะการทอผ้าไว้จนถึงปัจจุบัน เครื่องมือที่ไช้ในการทอผ้าของตำบลพุมเรียงในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นการทอผ้าด้วยหูกแบบโบราณ จึงเรียกการทอผ้านี้ว่าการทอหูก การทอผ้าซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้หญิงทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิม โดยเฉพาะหญิงสาวที่จะออกเรือน (แต่งงาน) จะต้องเตรียมผ้าที่จำเป็นทั้งฝ่ายชายและของตนเอง ดังนั้นเด็กหญิงโตที่มีฝีมือในการทอผ้าแสดงให้เห็นถึงความเป็นกุลสตรีที่ดีอีกด้วย ผ้าที่ทอมีทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งแบ่งออกเป็ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และผ้าที่ใช้่ในงานพิธีการต่าง ๆ ผ้าใช้ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่จะทอเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าพื้น ผ้าตา ผ่้าริ้ว และผ้าขาวม้า ซึ่งจะทอเป็นจำนวนมากโดยใช้ฝ้ายทอเพื่อความทนทาน สำหรับผ้าที่ใช้ในงานและพิธีกรรมต่าง ๆ มักจะทอด้วยไหมหรือฝ้ายแกมไหม มีลวดลายทอยกดอกสวยงาม ในช่วงแรก ๆ ผ้าพุมเรียงที่ทอนี้จะนุ่งห่มได้เฉพาะเจ้านาย ขุนนางหรือข้าราชการผู้ใหญ่เท่านั้น อาจเป็นเพราะชาวเมืองปัตตานีและเมืองไทรบุรี ซึ่งยพยพเข้ามาที่ตำบลพุมเรียงนั้นต้องทำงานให้กับเจ้านายหรือข้าราชการผู้ใหญ่ ดังนั้นการทอผ้ายกดอกด้วยไหมจึงมีเฉพาะที่บ้านเจ้าเมือง และบ้านเจ้านายเท่านั้น ผ้าไหมยกดอกพุมเรียงจึงไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ต่อมาในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ส่งเสริมให้คนไทยใช้ของที่ผลิตในประเทศ โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายเน้นให้ใช้ผ้าที่ผลิตขึ้นเอง จึงได้มีการส่งเสริมอาชีพการทอผ้าขึ้น โดยรัฐบาลได้ส่งหน่วยฝึกฝนอาชีพเข้าไปในชนบทต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่ตำบลพุมเรียงได้นำกี่กระตุกมาใช้ในการทอผ้าและเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ การทอผ้าในตำบลพุมเรียงเริ่มซบเซาลง เนื่องจากภัยสงครามและวัสดุที่ใช้ทอผ้าโดยเฉพาะเส้นไหมมีราคาแพงและหาซื้อยาก ประกอบกับความนิยมของชาวบ้านที่เลือกไช้ผ้าที่ทอด้วยเครื่องจักร ซึ่งได้นำเข้ามาขายจำนวนมากตลอดถึงมีราคาถูกและสามารถเลือกซื้อได้ง่ายสะดวกกว่าการทอผ้าใช้เอง ชาวไทยพุทธส่วนมากจึงเลิกทอผ้าไปประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น รับราชการหรือค้าขาย ส่วนชาวไทยมุสลิมยังคงประกอบอาชีพทอผ้าสืบต่อกันมา หญิงไทยมุสลิมที่มีอายุระหว่าง ๑๑-๕๐ ปี ในตำบลพุ่มเรียงจะรับจ้างทอผ้าให้กับผู้ประกอบการทอผ้ารายใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนโดยพอผ้าด้วยกี่กระตุก เพราะจะให้ผลผลิตได้มากกว่าการทอผ้าด้วยหูกแบบโบราณ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก คุณหวันมะยังเล่าต่ออีกว่าเนื่องจากในตำบลพุมเรียงไม่มีการปลูกตันหม่อนเพื่อเลี้ยงไหม กลุ่มทอผ้าจะสั่งซื้อไหมดิบจากจังหวัดอื่น เช่น เพชรบูรณ์ ขอนแก่นแล้วนำมาสาวเป็นเส้นไหน ส่วนไหมจากต่างประเทศก็จะซื้อจากญี่ปุ่นและจีนที่เรียกว่าไหมกวางเจา จากนั้นนำมาย้อมและทอที่ตำบลพุมเรียง เส้นไหมที่ไช้ทอผ้าไหมพุมเรียง แบ่งตามลักษณะและคุณภาพของเส้นไหมได้ ๓ ระดับ คือ

- ไหมหนึ่งหรือไหมน้อย เป็นไหมที่มีคุณภาพดีที่สุด ลักษณะของเส้นไหมจะเล็กละเอียด เป็นนวล สวยงาม ใช้เป็นไหมเส้นยืนในการทอผ้า
- ไหมสองหรือไหมกลาง เป็นไหมที่มีคุณภาพรองลงมา เส้นไหมมีลักษณะหยาบ เป็นปุ่มปนบ้างเล็กน้อย เส้นจะโตกว่าไหมหนึ่ง นิยมใช้เป็นเส้น        พุ่งในการทอเนื้อละเอียด
- ไหมสามหรือไหมใหญ่ เป็นไหมที่มีคุณภาพต่ำสุด เส้นไหมจะหยาบและเส้นใหญ่กว่าไหมสอง ใช้เป็นเส้นพุ่ง เนื้อของผ้าเมื่อพอเสร็จแล้วจะ             หยาบกว่าผ้าไหมชนิดอื่น

                    กรรมวิธีการย้อมสีไหม     
 
                ในอดีตจากการบอกเล่าและปฏิบัติติต่อ ๆ กันมา ผ้าที่ทอในพุมเรียงจะใช้สีย้อมผ้าที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งได้จากพืชและสัตว์ที่มีอยู่ในถิ่น เช่น ต้นครามย้อมฝ้ายให้เป็นสีน้ำเงิน เปลือกต้นหงอนไก่ต้มย้อมจะเป็นสีแดง ขมิ้นแก่นขนุนนำมาตำแล้วตัมจะได้น้ำเป็นสีเหลือง สีดำจากผลมะเกลือ สีม่วงได้จากลูกหว้า เปลือกต้นขงโค เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีสีย้อมผ้าประเภทสีสังเคราะห์ การย้อมสีไหมจากสีธรรมชาติจึงลดน้อยลง ประกอบกับปัจจุบันผู้ประกอบการทอผ้าในพุมเรียงส่วนมากจะซื้อเส้นไหนที่ย้อมเสร็จแล้วมาทอผ้า เพราะกรรมวิธีและขั้นตอนการย้อมสีจะยุ่งยากและเสียเวลาในการย้อมมาก คงเหลือแต่ร้านคุณหวันมะเท่านั้น ที่ยังคงดำเนินการย้อมสีไหมด้วยตนเองวิธีการย้อมสีไหมของคุณหวันมะ มีกรรมวิธีและขั้นตอนการย้อมสีคือจะต้องนำไหมดิบมาตัม เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกเรียกว่าการฟอกไหม เส้นไหมจะสะอาดเมื่อย้อมสีสีที่ติดเส้นไหมจะไม่ตกหรือลอกง่ายก่อนทำการฟอกไหม จะต้องนำเส้นไหมไปชั่งถ้าต้องการไหมที่ย้อมเสร็จแล้ว ๑ กิโลกรัม จะต้องชั่งไหมดิบที่จะนำไปฟอก ๑.๔ กิโลกรัม เพราะเส้นไหมดิบเมื่อตัมเสร็จแล้วน้ำหนักจะลดประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ สำหรับน้ำที่ไช้ต้มฟอกประกอบด้วยสบู่กรด และโซเดียมคาร์บอเนต (Sodium Carbonat) ในอัตราส่วนไหม ๑ กิโลกรัม ต่อสบู่กรด ๑ ก้อน และโซเดียมคาร์บอเนต ๑ ขีด ต้มน้ำจนเดือดเมื่อส่วนผสมละลายหมดแล้วจึงนำเส้นไหมไปต้มฟอกในน้ำประมาณ ๒๐-๓๐ นาที สบู่กรดและโชเดียมคาร์บอเนตจะฟอกขี้ผึ้งหรือกาวเธอร์ซิน และฝุ่นละอองที่เกาะเส้นไหมให้หลุดออก ทำให้เส้นไหมขาว อ่อนนุ่มแวววาว หลังจากฟอกเส้นไหมได้ที่แล้ว จึงนำไปซักล้างในน้ำสะอาดอีก ๒-๓ ครั้ง จนเส้นไหมหมดเมือกแล้วบิดไหมพอหมาด ๆ เตรียมนำไปยัอม ต่อไปการย้อมสีไหมคือการทำเส้นไหมให้มีสีสันที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ โดยนำเส้นไหมที่ฟอกแล้วลงไปต้มในน้ำสีที่เดือด ต้มไปจนกระทั่งเส้นไหมดูดสีจนหมดเหลือน้ำใส ๆ และต้องต้องดูด้วยว่าเส้นไหมทุกเส้นมีสีเรียบเสมอกันจึงจะใช้ได้ สีบางสีสามารถใส่ไหมที่ฟอกแล้วต้มในน้ำสีที่เดือดได้เลย เช่น สีแดง สีบานเย็น สีน้ำเงิน แต่บางสีต้องนำไหมที่ฟอกแล้วไปซุบน้ำสีที่ยังไม่ได้ต้มเสียก่อน แล้วบิดเส้นไหมพอหมาด ๆ นำน้ำสีนั้นไปต้มให้เดือดจึงใส่เส้นไหมที่ทุบสีแล้วลงไปตัม สีเหล่านี้ได้แก่ สีเหลือง สีน้ำตาล สีครีม สีชมพู หลังจากที่ต้มให้เส้นไหมดูดสีจนหมด และเส้นไหมทุกเส้นมีสีเรียบเสมอกันแล้ว จึงนำเส้นไหมไปซักในน้ำเย็น ๒-๓ ครั้ง บิดน้ำให้แห้งถ้าเป็นเส้นไหมยืนต้องนำไปลงแข็งเสียก่อน หลังจากนั้นก็กระตุกเส้นไหมให้เส้นไหมกระจายไม่พันกัน แล้วจึงนำไปตากแดดอ่อน ๆ ในที่มีลมพัดผ่าน เมื่อเส้นไหมแห้งจะกระตุกให้เส้นไหมกระจายอีกครั้ง แล้วจึงมัวนเส้นไหมเป็นเข็ด ๆ เก็บไว้เพื่อทอต่อไป
                    
ลวดลายผ้า
               สำหรับลวดลายผ้า ช่างทอผ้าที่ตำบลพุมเรียง จะมีแบบลวดลวดลายผ้าที่ไช้เป็นตัวอย่างการเก็บดอกเรียกว่า "ครูผ้า" ซึ่งได้แก่ผ้าปักด้วยไหมเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นแบบสำหรับทอผ้าดอก เช่น ผ้าปักลายโคมเพชร ที่นางแม๊ะเหรียม หวันมุดา ปักเมื่ออายุ ๑๔ ปี เพื่อเป็นแบบผักทอขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสตำบลพุมเรียง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ และยังปักลวดลายอื่น ๆ ไว้เป็นแบบ เช่น ลายราชสีห์เข้าถ้ำ ลายกินนร ลายช้าง ลายครุฑ ลายนกยูง และลายตกแต่งริมผ้าอีกหลายลาย นอกจากนี้ครูผ้ายังหมายถึงเศษผ้าทอยกดอก ที่ช่างทอผ้าทอไว้แต่เดิมหรือได้รับจากที่อื่นแล้วรักษาไว้ เพื่อเก็บเป็นแบบลายดอกสำหรับทอผ้าครั้งต่อไป ผ้าไหมพุมเรียงมีทั้งผ้าไหมทอยกดอกด้วยหูกโบราณและกี่กระตุก สำหรับหูกซึ่งปัจจุบันเรียกว่ากี่พื้นบ้านหรือกี้โบราณนั้นมีจำนวนวนน้อยมาก ใช้สำหรับทอผ้าไหมยกดอก ส่วนกี่กระตุกจะนิยมกันมากใช้ทอผ้าฝ้ายหรือผักไหมพื้น ผ้าซิ่นไหม ผ้าไหมลายร่อง ผ้าไหมตาหมากรุก ผ้ายกชุดหน้านาง ผ้ายกชุดฝรั่ง ผ้ายกเฉพาะเชิง ผ้ายกดอกถมเกสร ผ้ายกดอกเหล่านี้มีทั้งประเภทไหม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และไหม ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยกดิ้นเงินดิ้นทอง และไหมลายซ้อนตั้งแต่ ๒-๕ สี สลับสี และยังมีผ้าไหมพิมพ์ดอกผ้าสไบ เป็นต้น ผ้าไหมเหล่านี้มอกจากนำไปตัดเป็นผ้าถุงสำเร็จรูป เสื้อ และกระโปรงแล้ว ยังใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระเป้าถือ กรอบรูป พวงกุญแจ ผ้าคลุมผม ผ้ารองจาน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ เนคไท ดอกไม้ประดิษฐ์ ฯลฯ
                    
แหล่งจำหน่าย
             
ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมพุมเรียงมีทั้งชายปลีก และขายส่ง ช่วงระยะเวลาที่ขายดีอยู่ระหว่างมกราคม-มีนาคม และตุลาคม-ธันวาคม ซึ่งเป็นเทศกาลปีใหม่ และช่วงที่หนุ่มสาวแต่งงานกันมาก สำหรับตลาดขายส่งที่สำคัญอยู่ที่กรุงเทพฯ และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ส่วนตลาดในต่างประเทศก็มีสิงค์โปร์ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของร้านจะเป็นผู้ติดต่อส่งขายเอง แต่บางที่มีตัวแทนมารับซื้อถึงร้านสำหรับร้านของคุณหวันมะ นุ้ยหมีน นอกจากจะจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมพุมเรียงแล้วทางสำนักงานพัฒนาชุนชนอำเภอไชยา ยังพิจารณาให้เป็นที่แหล่งศึกษาดูงานของกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ตลอดถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวชมการผลิตผ้าไหมของนักท่องเที่ยวอีกด้วย  ความสวยงามของลายผ้าและความประณีตของฝีมือการทอผ้าพุมเรียง ซึ่งมีลักษณะเด่นแตกต่างไปจากผ้าทอของภูมิภาคอื่นๆ เช่น การทอยกดอกด้วยไหม และดิ้น ผ้ายกชุดหน้านาง ผ้ายกดอกถมเกสร และผ้ายกดอกลายเชิง เป็นต้น
                จากนโยบายของรัฐบาลในการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ และสำนึกรักบ้านเกิดของตนเอง การทอผ้าพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมที่พุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่น ตามนโยบายดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวพุมเรียง ที่ร่วมกันสร้างศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันงดงามควรแก่การอนุรักษ์ให้เป็นมรดกตกทอดแก่คนในชุมชน ตลอดถึงเกิดความภาคภูมิใจใจในบรรพบุรุษที่สืบทอดการทอผ้าไหมพุมเรียงให้เคียงคู่กับเมืองไชยามาตราบจนทุกวันนี้


การเก็บตะกอลายในการทอผ้าพุมเรียง
ภาพจาก : ระบบสารสนเทศศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม ; https://qsds.go.th/silkcotton/k_10.php


วรรม๊ะไหมไทย ( ภาพจาก : https://suratthanitravel.com/restaurant-and-otop/silk-phumriang/)


วัตถุดิบและส่วนประกอบ

 

 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
การทอผ้าไหมพุมเรียง
ที่อยู่
จังหวัด
สุราษฎร์ธานี


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ระบบสารสนเทศศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม.(ม.ป.ป.) สืบค้น 19 ก.ค. 67, จาก https://qsds.go.th/silkcotton/k_10.php
เอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์, บรรณาธิการ (2545). สุราษฎร์ธานี เมืองคนดีศรีแผ่นดิน. ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024