ภาพสืบค้นจาก : https://bit.ly/3bHkmZ9
หมู่บ้านปะกาฮะรัง อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ลุ่มล้อมรอบด้วยลําคลองที่แยกสาขามาจากแม่น้ําปัตตานี ช่วงฤดูฝนน้ําท่วมสูงสภาพพื้นที่ไม่เหมาะทําการเกษตรกรรม มีเพียงต้นสาคูที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติตลอดแนวริมคลอง ลําต้นสูงประมาณ 8 เมตร ในอดีตต้นสาคูเป็นเพียงวัชพืชที่ไม่ได้ห่วงแหน ในการเป็นเจ้าของ เพราะชาวบ้านยังไม่รู้วิธีการที่จะนําต้นสาคูมาใช้ประโยชน์ในด้านอาชีพ
ประมาณ 30 ปีที่ผ่านมาต้นสาคูเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้หลักให้กับชาวบ้านในชุมชนจึงเป็นวัตถุดิบที่มีค่ามีราคาการซื้อขายที่ไม่พอเพียงกับการ นํามาสร้างอาชีพ เช่น ลําต้นนํามาทําแป้งสาคูและอาหารเลี้ยงสัตว์ ใบใช้มุงหลังคา ส่วนเปลือกใช้ทําฟืนทําคอกเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ตลอดทั้งปี ทําให้ต้นสาคูลดปริมาณลงเรื่อยๆ จึงต้องสั่งซื้อมาจาก อําเภออื่น ๆ เพื่อเป็นวัตถุดิบที่นํามาประกอบอาชีพ
ลําต้นสาคูใช้ทําอาหารเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากต้นสาคมีลําต้นสูงใหญ่นํามาตัดให้เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 1 เมตร ใช้ขวานกะเทาะเปลือกออกแล้วผ่าเป็นชิ้นๆ ขนาดพอเข้าเครื่องปั่นไฟฟ้า ซึ่งเป็นงานที่ทําได้ง่าย ไม่ค่อยมีความยุ่งยาก เพราะมีการนําเทคโนโลยีมาใช้วันหนึ่งผลิตได้ประมาณ 20 ท่อน ขายในราคาใบละ 17 บาท จะมีพ่อค้ามารับซื้อที่บ้านทุกวันเพื่อนําไปผสมกับรําข้าวใช้ทําเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น อาหาร เป็ด อาหารปลา เป็นต้น
ภาพสืบค้นจาก : https://bit.ly/2wbJsig
เนื้อของต้นสาคูที่บันเรียบร้อยแล้ว นอกจากจะขายเป็นอาหารสัตว์ก็ยังสามารถเพิ่มมูลค่า โดยการนํามาทำแป้งสาคูซึ่งจะมีกรรมวิธีที่ยุ่งยากและซับซ้อน ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทางทรัพย์สินปัญญาที่มีค่าสูง นั้นคือการนําเนื้อสาคูแช่น้ําไว้ 1 คืน พอรุ่งเช้านํามาบีบเนื้อสาคูบนผ้ากรองให้แล้วเสร็จ จึงเทน้ําออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะแป้งสาคูที่ต้องนําไปแช่น้ําอีก 1 คืน แล้ว จึงนําไปตากแดดให้แห้งเพื่อสะดวกในการใช้กระด้งร่อน ส่วนที่ไม่ใช่แป้งออกให้หมดจะได้แป้งสาคูอย่างดีชาวบ้านนิยมนําไปทําขนมลอดช่อง ข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมรวมมิตร ซึ่งเป็นขนมที่ชาวมุสลิมนิยมทํากันมากในช่วงฤดูถือศีลอด นอกจากนั้นสามารถนํามาทําแป้งเปียกติดกระดาษได้อีกด้วย ส่วนกากสาคูที่เหลือจะขายเป็นอาหารสัตว์แต่ราคาจะลดลงเหลือ 5 บาท
ผลผลิตจากแป้งสาคูจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อทุกวัน แต่ชาวบ้านผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด เพราะวิธีการค่อนข้างยุ่งยากและชาวบ้านยังไม่มีกลวิธี ในการนําเทคโนโลยีมาใช้ บางคนจะมีอาการแพ้คันตามนิ้วมือ บางคนแพ้มากถึงกับผิวแตกจึงต้องหยุคการทําแป้งสาคูไปโดยปริยาย เหลือครอบครัวที่ยึดอาชีพผลิตแป้งสาคูเพียงไม่กี่ครัวเรือน แม้จะเป็นงานอิสระทําอยู่ที่บ้านและทําได้ตลอดทั้งปี แต่ต้องใช้ความอดทนเริ่มตั้งแต่เช้าเสร็จประมาณ 15.00 น. จะมีรายได้ประมาณ 200 บาทต่อวัน
ภาพสืบค้นจาก : https://bit.ly/2wbJsig
ส่วนใบสาคูสดจะนํามาเย็บเป็นตับมุงหลังคา คอกเป็ด เล้าไก่ เป็นต้น ขนาดตับใบสาคูจะมีความยาว 4 เมตร ในอดีตใช้หวายเย็บแต่เดี๋ยวนี้ชาวบ้านได้ปลูก ต้นคล้าไว้ใกล้บ้านในการเย็บแทนหวายที่หายากและราคาซื้อขายค่อนข้างสูง ส่วนตับจะใช้ไม้ไผ่ซึ่งจะสั่งซื้อมาจากอําเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ผ่านพ่อค้าคนกลาง เมื่อเย็บเสร็จแล้วจะนํามาวางขายบริเวณริมถนนหน้าชุมชน คนที่ผ่านไปมาจะหยุดแวะซื้อในช่วงฤดูฝนจะขายดีมาก ปัจจุบันมีชาวบ้านประมาณ 10 ครัวเรือนที่ยังยึดเป็นอาชีพเสริม เพราะส่วนใหญ่จะออกไปทํางานรับจ้าง สําหรับเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจและไม่มีความอดทนในการฝึกฝน ซึ่งผิดกับบุตรหลานในอดีตที่พ่อแม่บังคับให้เย็บใบสาคูจนกระทั่งชํานาญและยึดเป็นอาชีพเสริมได้
การประกอบอาชีพจากต้นสาคูไม่ว่าจะใช้ทําเป็น อาหารสัตว์ แป้งสาคู และเย็บใบสาคูจะต้องใช้ความอดทน ความพยายาม และต้องมีเวลาในการทํางาน จึงไม่มีเวลาออกไปสู่สังคมภายนอก ส่วนเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีโอกาสเรียนหนังสือ มีแนวทางเลือกวิถีการทํางานได้หลากหลาย จึงไม่มีใครคิดจะสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สําหรับผู้ที่ยึดอาชีพนี้อยู่มาถึงปัจจุบันส่วนมากจะเป็นผู้มีอายุ ที่ได้ยึดอาชีพมาตั้งแต่เด็กซึ่งเหลือไม่กี่ครัวเรือน ถ้าหมดคนรุ่นนี้อาชีพเหล่านี้คงจะสูญหายไป ซึ่งควรจะมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือในการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตให้เป็นระบบเพื่อจะได้นําทรัพย์สินทางปัญญาของชาวบ้านต่อสู้กับกลไกตลาดได้อย่างสมบูรณ์แบบและสืบทอดค้านอาชีพต่อไป
ต้นสาคู. (2562). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก https://bit.ly/2wbJsig
รอฮานี ดาโอ๊ะ, ประสิทธิ์ รัตนมณี และนิปาตีเมาะ หะยีหามะ. (2553). ร้อยเรื่องราวชุมชนวัฒนธรรมปลายด้ามขวาน. ปัตตานี : สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.