รถโชเล่
 
Back    14/02/2020, 13:56    5,467  

หมวดหมู่

เครื่องมือในการดำรงชีวิต


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด

 

ภาพสืบค้นจาก https://bit.ly/39CzS6n

       คําว่า โชเล่ เป็นชื่อเรียกที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์อินเดีย เรื่องโชเล่ที่นํามาฉายแบบหนังกลางแปลงเมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นยุคสมัยนิยมของคนปัตตานี ที่ชื่นชอบฟังเพลงและชมภาพยนตร์อินเดีย จึงมีคนพูดถึงรถโชเลในภาพยนตร์เรื่องนี้กันมาก ซึ่งมีกลุ่มพ่อค้าชาวจีนอยู่ในตลาดพิธานมองเห็นช่องทางดัดแปลงรถจักรยานยนต์มาทําโชเล่ เพื่อขนส่งสินค้าในตลาดจนกระทั่งชาวบ้านมองเห็นความสําคัญจึงได้เลียนแบบและนิยมเพิ่มมากขึ้น จึงนํามาสู่การยึดเป็นอาชีพรับส่งแม่ค้าในตลาด
      
ดังนั้นผู้ประกอบอาชีพสามล้อรับจ้างในยุคนั้นเริ่มมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนมาขับโชเล่กันมากขึ้น เพราะวิถีการทํางานในอนาคตจะสดใสกว่า ทําให้ผู้ที่ไม่มีเงินทุนสํารองต้องนําโฉนดที่ดินไปเข้าธนาคารเพื่อต้องการนําเงินมาต่อรถโชเล่ช่วงเวลานั้นรถโชเล่ยังมีจํานวนไม่มากจึงเป็นอาชีพที่มีรายได้ดีทํางานไม่ถึงปีสามารถปลดหนี้สินได้
       ถึงกระนั้นก็ตามรถโชเล่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนรถอย่างถูกกฎหมาย เพราะถือว่าเป็นการนํารถจักยานยนต์มาดัดแปลง ถือว่าผิดกฎหมายจะไม่ได้รับอนุญาตให้ขับขี่รับส่งผู้โดยสาร แต่เมื่อจํานวนรถโชเล่เพิ่มจํานวนมากขึ้นและนํามาประกอบอาชีพรับส่งแม่ค้าในตลาดรถตุ๊กตุ๊ก ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายได้ประท้วงให้ทางราชการออกกฎหมาย ห้ามรถโชเล่วิ่งรับส่งแม่ค้าและผู้โดยสาร
       กลุ่มรถโชเล่จึงรวมตัวกันประท้วงครั้งใหญ่ประมาณ 15  ปีที่ผ่านมาหน้าเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อเรียกร้องให้รถโชเล่สามารถนํามาประกอบอาชีพต่อไปได้จากการท้วงในครั้งนั้น มีผลสรุปอนุมัติให้รถโชเล่บริการรับส่งสินค้าในตลาดได้ต่อไป แต่ไม่อนุญาตรับส่งผู้โดยสารและไม่ได้รับการจคทะเบียนรถอย่างถูกต้องแต่ความสําเร็จในการประท้วงครั้งนั้นเป็นเหตุให้รถโชเล่เพิ่มจํานวนมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งผู้ขับรถโชเล่ต้องระมัดระวัง ถ้าบังเอิญเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจะเป็นฝ่ายผิดทันที สาเหตุมาจากเป็นรถที่ยังไม่ได้รับขึ้นทะเบียนอนุญาตในการขับขี่ แต่ชาวบ้านจํานวนมากยอมเสี่ยงเพราะมีรถโชเล่เหมือนกับมีรถกะบะ 1 คัน นอกจากใช้ประกอบอาชีพได้แล้วยังมีความสะดวกสบายในการเดินทางได้ครั้งละหลาย ๆ คน


ผู้ประกอบการ

ภาพสืบค้นจาก https://talung.gimyong.com/index.php?topic=453608.0

    รถโชเล่นอกจากเป็นยานพาหนะที่ได้รับความนิยมจากแม่ค้าในตลาดแล้ว จะมีกลุ่มแม่บ้านและแม่ค้าที่ทํางานอยู่ในหน่วยงานราชการ เช่น ค่ายทหาร โรงเรียน และเจ้าของร้านอาหารนอกจากนั้นยังมีกลุ่มลูกค้าพม่า เขมร ย่านสะพานปลาเพิ่มเข้ามาเป็นกลุ่มลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มคนต่างด้าวที่ไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ที่อนุญาตตามกฎหมายจึงต้องอาศัยจ้างผู้ขับโชเล่ให้ซื้อสินค้าในตลาดเพื่อขายให้กับกลุ่มคนต่างด้าวในร้าน เพราะรถโชเล นอกจากบริการขนสินค้าได้รวดเร็วแล้วยังขับสะดวกในซอยแคบ ๆ
    อย่างไรก็ตามผู้ขับโชเล่จะต้องเคารพกฎหมาย คือรับส่งสินค้าพร้อมผู้โดยสาร 1 คนเท่านั้น ห้ามไม่ให้บรรทุกเกิน 2 คน ทําให้ลูกค้าใช้วิธีการไปสั่งของตามร้านในตลาดให้แล้วเสร็จ จึงโทรหาผู้ขับรถโชเล่ให้มารับบิลรายการสินค้า ซึ่งจะเป็นร้านประจําที่ผู้ขับโชเล่และแม่ค้ารู้จักกันดีจากนั้นผู้ขับโชเล่จะนําสินค้าไปส่งตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ได้สืบทอดติดต่อกันมาหลายปี บางร้านเป็นลูกค้าร่วมกันมาประมาณ 20 ปี ดังนั้นผู้ขับรถโชเล่มีลูกค้าประจํา ประมาณ 8-10 ร้านก็เพียงพอในการประกอบอาชีพ ถ้าใครขยันมากหน่อยก็สามารถหากลุ่มลูกค้าเพิ่มได้
     ปัจจุบันอาชีพขับรถโชเล่รับจ้างเป็นที่นิยมอย่างมากในจังหวัดปัตตานี โดยเฉพาะชุมชนที่มีตลาดการค้าจัดเป็นอาชีพบริการคนจําเป็นต้องรู้จักคนหลากหลายเชื้อชาติไม่ว่าจะเป็นคนไทยพุทธไทยมุสลิมและไทยเชื้อสายจีน ดังนั้นอาชีพขับโชเล่รับจ้างจึงต้องมีมนุษย์สัมพันธ์และซื่อสัตย์ จึงจะทําให้ผู้โดยสารไว้วางใจแม้เป็นอาชีพที่ไม่ได้ลําบากมากบางคนทํางานเพียงครึ่งวัน หลังจากนั้นสามารถทํางานเสริมอย่างอื่นได้อีก แต่เป็นอาชีพที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายบนท้องถนนที่มีการคมนาคมคับคั่ง


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
รถโชเล่ : ยานพาหนะยอดฮิตในยุคปัจจุบัน
ที่อยู่
จังหวัด
ปัตตานี


บรรณานุกรม

รถโชเล่. (2559). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก https://bit.ly/39CzS6n
รถโชเล่. (2559). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก https://talung.gimyong.com/index.php?topic=453608.0
รอฮานี ดาโอ๊ะ, ประสิทธิ์ รัตนมณี และนิปาตีเมาะ หะยีหามะ. (2553). ร้อยเรื่องราวชุมชนวัฒนธรรมปลายด้ามขวาน. ปัตตานี :  สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
             
 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024