ภาพจาก : https://outreachtoafrica.org/2018/บ้านเรือนไทยของคนภาคใต้/
บ้านเรือนนับเป็นปัจจัยพื้นฐานในปัจจัย ๔ ที่สำคัญของมนุษย์ ดังนี้เพื่อป้องกันอันตรายจากลมฟ้าอากาศและสัตว์ร้าย ซึ่งต้องเหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ตลอดจนจารีตประเพณีทางสังคม และรูปแบบการดำเนินชีวิต ภาคใต้ของประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย กล่าวคือมีลักษณะเป็นแหลมหรือคาบสมุทรยื่นออกไปจนจรดประเทศมาเลเซีย กอรปกับล้อมรอบด้วยฝั่งทะเลโดยมีอ่าวไทยอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออกและทะเลอันดามันอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตก ด้านสภาพภูมิอากาศของภาคใต้เป็นอาณาบริเวณที่มีอากาศร้อนฝนตกชุก ความชื้นสูงมี ๒ ฤดู คือฤดูร้อนและฤดูฝน ในฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนจัดเหมือนภาคอื่น เนื่องจากได้รับการถ่ายเทความร้อนจากลมทะเลที่พัดผ่านอยู่ตลอดเวลา ในฤดูฝนฝนจะตกชุกมากกว่าภาคอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศดังกล่าวนี้ มีอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้ เช่น การออกแบบรูปทรงหลังคาให้คาให้ลาดเอียงมาก เพื่อระบายน้ำฝนจากหลังคาการการใช้ตอม่อหรือฐานเสาแทนที่จะฝังเสาเรือนลงไปในดิน ด้านสภาพสังคมและวัฒนธรรมประเพณี ประชากรในภาคใต้มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเหล่านี้มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมจะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกับภาคใต้ ได้แก่ มาเลเซีย ซึ่งส่งผลให้เรือนพักอาศัยของชาวไทยใน ๔ จังหวัดภาคใต้ หรือที่เรียกว่า “เรือนไทยมุสลิม” มีลักษณะร่วมกับเรือนพักอาศัยทางตอนเหนือของมาเลเซีย เพราะฉะนั้นเรือนไทยมุสลิมนอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ดังกล่าวแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีต่อการสร้างบ้านเรือนอย่างแท้จริง ทั้งในรูปแบบการใช้พื้นที่ การอยู่อาศัย การประกอบกิจกรรมในการดำรงชีวิตและการประดับตกแต่งตัวเรือนให้งดงาม โดยทั่วไปเรือนมุสลิมมักเป็นเรือนแฝดและสามารถต่อขยายไปได้ตามลักษณะของครอบครัวขยาย โดยมีชานเชื่อมต่อกันและมีการเล่นระดับพื้นเรือนให้ลดหลั่นกันไป เช่น พื้นบริเวณเฉลียงด้านบันไดหน้าแล้วยกพื้นไปเป็นระเบียงจากพื้นระเบียงจะยกระดับไปเป็นพื้นตัวเรือนจากตัวเรือนจะลดระดับไปเป็นพื้นครัว จากพื้นครัวจะลดระดับเป็นพื้นที่ซักล้างซึ่งอยู่ติดกับบันไดหลัง การลดระดับพื้นจะเห็นได้ชัดว่า มีการแยกสัดส่วนจากกันในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ บางตัวเรือนเมื่อสร้างตัวเรือนหลักเสร็จแล้ว ยังต้องกำหนดพื้นที่ให้เป็นบริเวณที่ใช้ทำพิธีละหมาด ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ต้องกระทำวันละ ๕ ครั้ง
การปลูกสร้างบ้านเรือนของชาวใต้ที่รู้จักใช้ภูมิปัญญาสร้างบ้านเรือนให้ยืดหยุ่นและสอดรับกัับภัยธรรมชาติได้เป็นอย่างดี อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของภาคใต้อยู่่ติดทะเล และคติความเชื่อของคนภาคใต้ตลอดถึงความเชื่อในด้านโชคลางต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญในการปลูกสร้างบ้านเรือนของคนภาคใต้ เช่น
ลักษณะเรือนไทยภาคใต้
ลักษณะเรือนไทยภาคใต้เป็นเรือนที่มีความคงทนถาวรและปลอดภัย ส่วนมากมีขนาดใหญ่กว่าเรือนเครื่องผูก เนื่องจากเรือนไทยเครื่องผูกเป็นเรือนที่มีมาก่อนเครื่องสับเรือนเครื่องผูกในภาคใต้ จึงเป็นแบบฉบับที่น่าศึกษาและโดยเฉพาะมีขนาดต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับขนาดจํานวนสมาชิก ฐานะทางเศรษฐกิจ และความจําเป็นของสัดส่วนใช้สอย เรือนเครื่องผูกที่มีขนาดเล็กมากจะมีขนาดประมาณ ๕x๖ ศอก ใช้เป็นเรือนพักเป็นครั้งคราว คนพื้นบ้านภาคใต้เรียกว่า “หนํา” เป็นเรือนยกพื้นครึ่งซีกมีผนังกั้น ๓ ด้าน ไม่จําเป็นต้องมีบันได เรือนเครื่องผูกรูปแบบนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับศาลากลางหนหรือศาลาริมทาง ซึ่งนิยมปลูกสร้างเป็นเรือนเครื่องสับ แต่ศาลากลางหนไม่นิยมกั้นฝา เรือนเครื่องผูกที่มีขนาดโตขึ้นมาอีกเล็กน้อย เนื้อที่ยกพื้นค่อนเรือน ผนังกั้น ลึกลงไปทั้ง ๔ ด้าน เว้นทางเข้าออกทางทิศเหนือหรือทางทิศตะวันออก ตรงกับส่วนโค้ง (ไม่ยกพื้น) ใช้เป็นเรือนพักผ่อน เรือนนอนของผู้สูงอายุหรือคนชราที่ต้องการความสงบ เรือนเครื่องผูกภาคใต้ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมชั่วคราวที่ปลูกสร้างขึ้นเพื่องานพิธีกรรมหรือเพื่อการละเล่น เช่น โรงหนังตะลุง โรงโนรา โรงเลี้ยง ฯลฯ เรือนไทยภาคใต้ที่มีขนาดพอจะจัดได้ว่าเป็นเรือนระดับครอบครัวที่เรียกว่าเรือนประธาน (เรือนหลัก) ตัวเรือนจะเป็นเรือน ๒ หรือ ๓ ส่วน มีการใช้สอยหลักคือ ห้องนอน ห้องครัว และส่วนที่ใช้พักร้อน โดยห้องครัวนิยมต่อชานเรือนทางด้านทิศเหนือหรืออาจต่อชานออกไปหลังคาปีกนกทางทิศตะวันตก แต่ถ้าเป็นเรือนขนาดใหญ่เรือนครัวจะปลูกสร้างเป็นเรือนพ่วงแบบหลังคา “ขวางหวัน” มีชานเชื่อมต่อกับเรือนประธานพื้นชานและครัวนิยมลดระดับ ส่วนเรือนไทยภาคใต้ที่มีขนาดใหญ่นิยมปลูกสร้างเป็นเรือนเครื่องสับ มีเรือนพ่วง เรือนเคียง ซึ่งปลูกสร้างขยายต่อจากเรือนประธานเป็นเรือนหมู่มีชานเรือนซึ่งปลูกโล่งเป็นส่วนเชื่อม นิยมยกพื้นเรือนสูงจนสามารถใช้ประโยชน์จากบริเวณใต้ถุนบ้านได้ มีต้นเสาและบันไดขึ้นลงเพิ่มขึ้น เพื่อรับรอง จํานวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่อาศัยรวมกันแบระบบเครือญาติ ชานเรือนจะเป็นส่วนสําคัญในการติดต่อภายในเรือนหมู่ และใช้เป็นที่ นั่งเล่น เลี้ยงดูสมาชิกที่เป็นหลาน ลักษณะเรือนไทยภาคใต้ทั้ง ๒ ประเภทดังกล่าว มีลักษณะการสืบทอดพัฒนาสืบเนื่องกันมา เชื่อกันว่ามีรูปแบบอย่างเรือนชาวน้ําในภาคใต้ ซึ่งนิยมในลักษณะยกพื้นสูง มีหลังคาทรงจั่วแหลม ตัวเรือนมีลักษณะทรงปลายสอบ มีต้นเสาทําด้วยแก่นไม้เนื้อแข็ง ดินเผา หิน และคอนกรีต หน้าต่างประตูมีบานคู่เปิดเข้าข้างในด้านจั่วหรือด้าน “หุ้มกลอง” ส่วนนอกนิยมตีฝาทึบจั่วตอนในที่โปร่ง คตินิยมในการปลูกสร้างจะหันหน้าบ้าน (หน้าจั่ว) ไปทางทิศตะวันออกเรียกว่าปลูกเรือนตามยาวหวั่น หรือ “ลอยหวัน” โดยเฉพาะเรือนประธานหากมีการขยายต่อเติมก็จะต่อเติมขยายทางด้านทิศเหนือและทางด้านทิศตะวันตก (หลังบ้าน) เรือนครัวที่ปลูกสร้างขึ้นอีกหลังหนึ่งจะปลูกต่อหลังบ้านจะเป็นเรือนที่มีลักษณะ “ขวางหวัน” โดยไม่ถือเป็นข้อน่ารังเกียจแต่อย่างใด เรือนไทยภาคใต้ที่มีลักษณะการต่อเติมตกแต่งเป็นแบบเฉพาะตนคือเรือนไทยมุสลิมภาคใต้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างอย่างชัดเจนในรูปแบบของเรือนเครื่องสับ อาทิ หลังคาปีกนกจะยื่นไปต่อกับปีกหลังคาด้านข้างเป็นลักษณะทรงปั้นหยา จั่วด้านหน้าจะมีลักษณะเป็นชั้นลดหลั่นกันลงมา ชานเรือน นิยมมุงหลังคาและต่อด้านหน้าออกมาเป็นกันสาดมีผนังสามด้านกั้นโปร่งตามคอเสา ช่อง และตัวปั้นลมด้านล่างประดับด้วยลายแกะสลักหรือสายฉลุไม้ ลวดลายเหล่านั้นมีแบบเฉพาะซึ่งได้รับอิทธิพลด้านศาสนา ซึ่งประตูด้านหน้าจะตกแต่งต่อเติมทางเข้าให้มีลักษณะเป็นรูปโค้งเหมือนหลังคาโดม จะเห็นได้จากสุเหร่าและมัสยิด ซึ่งเป็นศาสนสถานของชาวมุสลิมวัสดุที่ใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องผูกส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่หาได้ภายในท้องถิ่น เรือนเครื่องผูกจึงสะท้อนให้เห็นคุณค่าด้านความงามที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น และจัดเป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและคุณค่าทางความงามที่โดดเด่น ซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ วัสดุพื้นบ้านภาคใต้ที่ใช้ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้แก่ เชือก หวาย ไม้ ไม้ไผ่ ใบปาล์ม ฯลฯ ซึ่งสามารถนําไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน ดังนี้
ไม้ไผ่ ไม้ไผ่ในภาคใต้มีหลายชนิด ขึ้นชุกชุมอยู่ทั่วไป จัดเป็นวัสดุสําคัญในการทําโครงสร้างของเรือนโดยเฉพาะเรือนเครื่องผูก โดยเอาไม้ไผ่มาใช้ทําเสา ตง คาน จันทัน แป แปทู อกไก่ เคร่าฝา ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถนํามาผ่า เหลา ทําเป็นฟาก พื้นบ้าน ฝาเรือน กลอน หลังคา ตับจาก ตลอดจนใช้ ทําเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปด้วย
หวาย เชือก หวาย เชือกมีมากในภาคใต้มีหลายชนิด และหลายขนาด ใช้ผูกยึด ร้อยสานส่วนต่าง ๆ ของตัวเรือน ตั้งแต่โครงสร้างจนกระทั่งส่วนประกอบปลีกย่อย หวายจัดเป็นวัสดุที่นํา มาผ่าเหลาได้สะดวก มีความคงทนต่อการใช้งานได้ดีมากส่วนเชือกอาจต้องเลือกใช้โดยพิจารณาคุณลักษณะแสดงความเหมาะสม
ใบพืชสกุลปาล์ม ใบพืชสกุลปาล์มได้แก่ ใบจาก ใบตาล ใบลาน ใบสิเหรง ใบกระพ้อ ใบมะพร้าว ฯลฯ ซึ่งหาได้ง่าย ส่วนใหญ่นําเอาใบมาเรียงเย็บเป็นตับ ๆ ใช้มุงหลังคา กั้นฝา หรือทําเครื่องปูลาด ลักษณะการใช้อาจแตกต่างกัน บางแห่งใช้กั้นยืนทั้งทางมีไม้ผูกทับแนวให้เรียบตัดแต่งขอบริมให้ได้แนวเรียบร้อย
ไม้กลม ไม้กลมซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดต่าง ๆ นํามาปลอกเปลือกออกใช้ได้ทั้งดุ้นไม่ต้องแปรรูป เหมาะสําหรับทําเป็นโครงสร้างเรือนเครื่องผูกและโครงสร้างบางส่วนของเรือนเครื่องสับ
เรือนไทยภาคใต้ส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูนเมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้าน ก็จะปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินเพราะว่าดินมีชื้นทำให้เสาผุเร็ว โดยจะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่ประมาณ ๑ ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน ตีนเสาตอนล่างห่างจากพื้นดิน ประมาณ ๑-๒ ฟุต จะมีไม้ร้อยทะลุเสาทุกต้นตามความยาวของตัวเรือนทั้ง ๓ แถว เพื่อทำหน้าที่ยึดโครงสร้างของเรือนให้แข็งแรงมากขึ้น ตัวเรือนกั้นฝาด้วยแผ่นกระดานตีเกร็ดตามแนวนอน กั้นห้องสำหรับเป็นห้องนอน ๑ ห้อง อีกห้องหนึ่งปล่อยโล่ง ด้านหน้าบ้านมีระเบียงด้านข้าง โดยที่เรือนเครื่องสับในภาคใต้จะทำช่องหน้าต่างแคบ ๆ หลังคาทำทรงจั่วถากจันทันให้แอ่นแบบเดียวกับบ้านทรงไทยภาคกลาง แต่ทรวดทรงเตี้ยกว่าเล็กน้อยติดแผ่นปั้นลมแบบหางปลาไม่นิยมทำตัวเหงา เรือนไทยภาคใต้แบ่งเป็น ๒ แหล่ง คือแถบชายทะเลด้านในซึ่งติดกับชายทะเลฝั่งตะวันออกหรือว่าอ่าวไทย และแถบชายทะเลด้านนอกที่ติดกับชายทะเลฝั่งตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน โดยที่พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกด้านอ่าวไทยเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากกว่าฝั่งตะวันตก บ้านเรือนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก มักเป็นเรือนหลังคาหน้าจั่วทรงสูงแบบบ้านทรงไทยภาคกลาง ต่ไม่นิยมทำปั้นลมและตัวเหงา
เรือนไทยมุสลิม
สำหรับเรือนไทยมุสลิม นอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ดังกล่าวแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีต่อการสร้างบ้านเรือนอย่างแท้จริง ทั้งในรูปแบบการใช้พื้นที่ การอยู่อาศัย การประกอบกิจกรรมในการดำรงชีวิต และการประดับตกแต่งตัวเรือนให้งดงาม โดยทั่วไปเรือนมุสลิมเป็นเรือนแฝดและสามารถต่อขยายไปได้ตามลักษณะของครอบครัวขยาย โดยมีชานเชื่อมต่อกันและมีการเล่นระดับพื้นเรือนให้ลดหลั่นกันไป เช่น พื้นบริเวณเฉลียงด้านบันไดหน้าแล้วยกพื้นไปเป็นระเบียง จากพื้นระเบียงจะยกระดับไปเป็นพื้นตัวเรือนจากตัวเรือนจะลดระดับไปเป็นพื้นครัว จากพื้นครัวจะลดระดับเป็นพื้นที่ชักล้างซึ่งอยู่ติดกับบันไดหลัง การลดระดับพื้นจะเห็นได้ชัดว่ามีการแยกสัดส่วนจากกันในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ บางตัวเรือนเมื่อสร้างตัวเรือนหลักเสร็จแล้ว ยังต้องกำหนดพื้นที่ให้เป็นบริเวณที่ใช้ทำพิธีละหมาด ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ต้องกระทำวันละ ๕ ครั้ง ส่วนการกั้นห้องเพื่อเป็นสัดส่วนเรือนไทยมุสลิมจะกั้นแต่ที่จำเป็นนอกนั้นจะปล่อยพื้นที่ให้โล่ง เพราะชาวไทยมุสลิมใช้เรือนเป็นที่ประกอบพิธีทางศสานา นอกจากนั้นยังไม่นิยมตีฝาเพดานเพราะภาคใต้มีอากาศร้อนและฝนตกชุก อากาศจึงอบอ้าวและมักจะเว้นช่องลมใต้หลังคาให้ลมโกรกอยู่ตลอดเวลา การที่ตัวเรือนยกพื้นสูงชาวไทยมุสลิมจึงสามารถใช้ใต้ถุนประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ ส่งเสริมการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น ใช้เป็นบริเวณประกอบอาชีพเสริม คือทำกรงนก สานเสื่อกระจูดหรืออาจใช้วางแคร่เพื่อพักผ่อน บางบ้านอาจกั้นเป็นคอกสัตว์ เป็นต้น
เนื่องจากประเพณีความเปฌนอยู่ของชาวไทยมุสลิมจะแยกกิจกรรมของชายและหญิงอย่างชัดเจน ตัวเรือนจึงนิยมมีบันไดไว้ทั้งทางขึ้นหน้าบ้านและทางขึ้นครัว โดยทั่วไปผู้ชายจะใช้บันไดหน้า ส่วนผู้หญิงจะใช้บันไดหลังบ้าน รวมทั้งเป็นการไม่รบกวนแขกในการเดินผ่านไปมาอีกด้วย ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมของเรือนไทยมุสลิม คือการสร้างเรือนโดยการผลิตส่วนประกอบของเรือนก่อนแล้วจึงนำส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นขึ้นประกอบกันเป็นตัวเรือนอีกทีหนึ่ง ขณะเดียวกันเมื่อต้องการย้ายไปประกอบในพื้นที่อื่น ๆ ตัวเรือนก็สามารถแยกออกได้เป็นส่วน ๆ ได้เสาเรือนจะไม่ฝังลงดิน แต่จะเชื่อมยึดกับตอม่อหรือฐานเสาเพื่อป้องกันปลวก เนื่องจากมีความชื้นสูงมาก นอกจากนี้เรือนไทยมุสลิมยังแยกส่วนที่อยู่อาศัย (แม่เรือน) ออกจากครัว โดยใช้เฉลียงเชื่อมต่อกัน ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าบริเวณแม่เรือนเป็นบริเวณที่สะอาด ส่วนบริเวณครัวนั้นสามารถทำสกปรกได้โดยง่ายและยังสามารถดับเพลิงได้สะดวกเมื่อเกิดเพลิงไหม้บริเวณครัว
ประเพณีและความเชื่อในการสร้างเรือนของชาวไทยมุสลิม
ประเพณีและความเชื่อในการสร้างบ้านเรือนของชาวไทยมุสลินในอดีตจะมีพิธีกรรมหลายอย่าง ซึ่งได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และพุทธ เพราะตามบันทึกประวัติศาสตร์ก่อนหน้าที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามามีอิทธิพลประชาชนในดินเแดนแถบนี้นับถือศาสนาพุทธมาก่อน ดังนั้นเมื่อศาสนาอิสลามเข้ามาแม้ประชาชนในแถบนี้จะนับถือศาสนาอิสลามแล้วก็ตาม แต่ประเพณีต่าง ๆ ของศาสนาพุทธและพราหมณ์บางอย่างก็ยังเป็นที่ยึดถือและปฏิบัติอยู่ เช่น
๑. สถานที่สร้างเรือน สถานที่การเตรียมสถานที่สร้างเรือนจะต้องเป็นพื้นดินราบเสมอกันในบริเวณที่จะสร้างเรือน ส่วนนอกบริเวณดังกล่าวทางทิศเหนือต้องเป็นที่ดอนหรือเนิน และทางทิศใต้ต้องเป็นพื้นที่ต่ำกว่าอาจจะเป็นพื้นที่นาข้าว ส่วนทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกต้องเป็นพื้นที่เสมอกันกับพื้นที่สร้างเรือนถ้าเลือกพื้นที่ในลักษณะเช่นนี้เป็นที่สร้างเรือนแล้ว เชื่อกันว่าเมื่อสร้างเรือนอยู่ชีวิตครอบครัวจะรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข การทำมาหากินจะมีโชคลาภได้ทรัพย์สมบัติเพิ่มพูนและฐานะจะดีขึ้นตามลำดับ แต่ถ้าหาพื้นที่ในลักษณะดังกล่าวไม่ได้ เมื่อตัดสินใจสร้างเรือนในพื้นที่ใดให้หาไม้ไผ่อ่อนที่ยังไม่แตกกิ่งใบ ตัดเอาแต่ด้านโคนมีความยาว ๑ วา โดยวัดความยาวด้วยมือของผู้ที่จะสร้างเรือนจากปลายนิ้วมือขวาถึงปลายนิ้วมือซ้าย จากนั้นนำไปปักตรงใจกลางพื้นที่ที่จะสร้างเรือนในเวลาพลบค่ำให้ลึกลงในดินประมาณครึ่งศอก โดยก่อนจะปักไม้ไผ่ดังกล่าวจะต้องอ่านคัมภีร์อัลกุรอานในบท “อัลฟาตีฮะห์” ๑ จบ แล้วอ่านคำสรรเสริญพระเกียรติพระบรมศาสดามูฮัมหมัดที่เรียกว่า “เศาะลาวาด” อีก ๓ จบ เสร็จแล้วให้อธิษฐานขอให้พระอัลเลาะห์ได้โปรดประทานให้รู้อย่างหนึ่งอย่างใดว่าพื้นที่ที่ตั้งใจสร้างเรือนจะเป็นสิริมงคลหรืออัปมงคล เมื่ออธิฐานจบถึงปักไม้ไผ่ทิ้งไว้จนรุ่งเช้าแล้วจึงนำไม้ไผ่มาวัดความยาวใหม่ หากปรากฏว่าไม้ไไผ่ยาวกว่าเดิมถือว่าพื้นที่นี้ดีหากสั้นกว่าเดิมถือว่าไม่ดีถ้าสร้างเรือนอยู่ครอบครัวจะแตกแยกการทำมาหากินไม่เจริญก้าวหน้าและมี อาถรรพ์ นอกจากนี้ควรเลี่ยงการปลูกเรือนคร่อมจอมปลวกตอไม้ใหญ่หรือคลอง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการปลูกเรือนใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ดินสุสานและพื้นที่รูปลิ้นมีนาขนาบทั้งสองข้าง |
|||||||||
๒. ทิศทางของเรือน สำหรับทิศทางของเรือนชาวมุสลิมเชื่อกันว่าไม่ควรสร้างขวางดวงตะวัน เพราะจะทำให้ผู้อาศัยหลับนอนมีอนามัยไม่ดีไม่มีความจีรังยั่งยืนทางที่ดีที่สุด คือหันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันออกให้หลังบ้านอยู่ทางทิศตะวันตก อย่างไรก็ตามชาวมุสลิมสมัยก่อนนิยมสร้างเรือนหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือหรือทางถนนเพื่อการสัญจร ส่วนห้องนอนต้องอยู่ทางทิศตะวันตกบางบ้านนิยมสร้างเรือนข้าว โดยเชื่อว่าเรือนข้าวมีความสำคัญต่อครอบครัว เพราะเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะความมั่นคงของเจ้าบ้าน ทำให้เกิดความเชื่อถือในเรื่องทิศทางและทำเลที่ปลูกสร้างเรือนข้าวต่อมา โดยเชื่อกันว่าการปลูกเรือนข้าวไว้ทางทิศตะวันออกหรือทิศใต้ของเรือนอาศัยจะทำให้มีข้าวอุดมสมบูรณ์ |
|||||||||
3. ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน การเลือกฤกษ์ยามในวันลงเสาเรือนเจ้าของบ้านยังต้องไปหาฤกษ์จากผู้รู้ เช่น โต๊ะอิหม่าน ซึ่งโดยมากวันที่ที่เป็นมงคลในการเริ่มลงเสาเรือนจะถือปฏิบัติกันหลายวิธีและวิธีหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป คือการนับธาตุทั้งสี่อัน ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งมีความหมายดังนี้คือ
|
|||||||||
๔. การยกเสาเอก โดยปกติบ้านหลังหนึ่งจะมี ๖ เสา เวลาลงเสาจะลงหมดทั้ง ๖ เสาพร้อมกัน แต่ถือว่าเสากลางด้านทิศเหนือเป็นเสาเอก ซึ่งเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “เตียงซือรี” ก่อนลงเสาทั้ง ๖ ต้องใช้เหรียญบาทติดไว้ที่โคนทุกเสา แต่ถ้าเจ้าของบ้านเป็นคนฐานะดีอาจติดทองคำด้วย ทั้งนี้ด้วยความเชื่อว่าเมื่อติดเหรียญหรือทองคำที่โคนเสาแล้ว จะได้นั่งบนกองเงินกองทองทำมาหากินดี มีเงินเหลือเก็บและฐานะดีขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับเสาเอก เวลาลงเสาจะต้องเอาผ้าแดง ๑ ผืน ก้านมะพร้าวที่มีใบ ๓-๔ ใบ จำนวนหนึ่งต้น รวงข้าวประมาณ ๑ กำมือ ทองคำจำนวนหนึ่งโดยปกติใช้สร้อยคอทองคำหนัก ๒ สลึง ๑ เส้น ผูกไว้ที่เสาเอกเป็นเวลา ๓ วันจึงเอาออก |
|||||||||
๕. การสร้างเรือน เมื่อเจ้าของเรือนตกลงเลือกสถานที่สร้างได้แล้วก็ถึงขั้นตอนการสร้างเรือน โดยเจ้าของบ้านจะต้องตกลงกับช่างไม้ในเรื่องขนาดแบบเรือน ค่าใช้จ่ายและอื่น ๆ เพราะเรือนที่สร้างจะไม่มีการเขียนแบบแปลน แต่อาศัยความชำนาญของช่างแต่ละคนโดยทั่วไปจะมีแบบและขั้นตอนการสร้างดังนี้
|
การสร้างบ้านเรือนของชาวไทยมุสลินที่มีความโดดเด่นกว่าที่อื่น ๆ คือที่ปัตตานี อันเนื่องจากปัตตานีเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านจึงมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลายคือนอกจากจะเป็นเรือนไม้ยกพื้นใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะร่วมทางสถาปัตยกรรมพื้นฐานของภูมิภาคศูนย์สูตรแล้ว ยังมีลักษณะรูปทรงหลังคาที่โดดเด่นเป็นพิเศษ โดยทั่วไปหลังคาเรือนไทยมุสลิมจะมี ๓ ลักษณะ คือ
๑. หลังคาปั้นหยาหรือหลังคาลีมะ คำว่า “ลีมะ” แปลว่า “ห้า” หมายถึงหลังคาที่นับสันหลังคาได้ ๕ ล้น เป็นรูปทรงหลังคาที่ได้รับอิทธิพลจากถาปัตยกรรมแบบอาณานิคมของชาวตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยานี้นับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้และพบได้ทั่วไปในจังหวัดภาคใต้โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี |
๒. หลังคาจั่วมนิลา ชาวมุสลิมเรียกว่า “บลานอ” ซึ่งหมายถึง าวฮอลันดา หลังคาแบบนี้เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของชาวฮอลันดา เป็นหลังคาที่มีโครงสร้างเช่นเดียวกับหลังคาปั้นหยา แต่เป็นหลังคาที่มีจั่วติดอยู่เพื่อระบายอากาศและดูสวยงาม หลังคาบลานอนี้จะมีรูปแบบที่สวยงามกว่าแบบอื่นเหมาะที่จะมีจั่วอย่างน้อย ๓ จั่ว โดยมีหลังจั่วแฝดและมีจั่วขนาดเล็กสร้างคลุมเฉลียงหน้าบ้านติดกับบันไดทางขึ้น เพื่อใช้รับรองแขกอย่างไม่เป็นทางการ นอกยากนั้นช่างไม่ยังแสดงฝีมือเชิงช่างในการประดิษฐ์ลวดลายด้วยการแกะสลักไม้ ปูนปั้น เป็นลวดลายประดับลวดลายประดับยอดจั่ว และมีการเขียนลายบนหน้าจั่วหรือตีไม้ให้มีลวดลายเป็นแสงตะวัน |
๓. หลังคาจั่ว ชาวมุสลิมเรียกว่า “แมและ” เชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากเรือนไทยภาคกลาง แต่จะมีข้อแตกต่างไปจากภาคกลาง ตรงที่มีปั้นลมปีกนกที่ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบสถาปัตยกรรมจากมาเลเซียไม่เหมือนปั้นลมไทย ซึ่งปลายปั้นลมทั้งสองข้างจะมีเหงาปั้นลมประดับอยู่ |
ประเภทของเรือนไทยภาคใต้
ลักษณะที่โดดเด่นของเรือนไทยทางภาคใต้คือหลังคาที่มีทรงสูง มีความลาดเอียง ลงเพื่อให้น้ำฝน ไหลผ่านได้ อย่างสะดวก ชายคาต่อยาวออกไปคลุมถึงบันได เนื่อง จากฝนตกชุกมาก เสาเรือนไม่นิยมฝังลงไปในพื้นดิน แต่จะใช้ตอม่อหรือฐานเสาที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือที่ทำจากการก่ออิฐฉาบปูนรองรับ เป็นลักษณะเด่นของเรืองทางภาคใต้ เรือนไทยเรียกได้ว่าเป็นเรือนไทยที่มี “ตีนเสา” เพื่อป้องกันปัญหาการผุกร่อนของเสาเมื่อได้รับความชื้นจากพื้นมาก ๆ วิธีการสร้างนั้นจะประกอบส่วนต่าง ๆ ของเรือนบนพื้นดินก่อนแล้วจึงยกส่วน โครงสร้างต่าง ๆ ขึ้นประกอบเป็นตัวเรือนอีกทีหนึ่ง การวางตัวเรือนจะหันเข้าหา เส้นทางสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งสามารถรับลมบกและลมทะเลได้ การวางตัวเรือนแบบนี้ทำให้คนทางภาคใต้หันหัวนอนไปทางทิศใต้เป็นหลัก รอบ ๆ บริเวณบ้านไม่มีรั้วกั้นแต่จะปลูกไม้ผล เช่น มะพร้าว มะม่วง ขนุน หรือกล้วย เอาไว้เป็นร่มเงาและแสดงอาณาเขตของบริเวณบ้านแทน นอกจากเรือนพักอาศัย แล้วยังมีอาคารประกอบบ้านเรือน ได้แก่ศาลาซึ่งมีรูปทรงหลังคาเปลี่ยนลักษณะไปตามความนิยมของรูปแบบของเรือนพักอาศัย และการสร้างก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้สอย เช่น ใช้สำหรับพบปะสังสรรค์หรือเป็นศาลาริมทาง ประชากรในภาคใต้ประกอบด้วยชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมเป็นหลัก ทำให้มีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย จะเห็นได้ชัดจากการใช้ภาษามลายู และภาษาไทย เป็นต้น ชาวใต้ประกอบอาชีพทำประมงวิถีชีวิตผูกพันกับท้องทะเล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่โอบล้อมด้วยทะเลทั้ง ๒ ฝั่ง บางพื้นที่ประกอบอาชีพกสิกรรม เช่นยางพารา เงาะ ทุเรียน ลางสาด แล ลองกอง เรือนไทยภาคใต้สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑. เรือนเครื่องผูก
เรือนเครื่องผูกหลังคาจั่ว : หลังคาทั้งชายคากว้างกว่าเรือนไทยในภาคอื่นๆ เพราะภาคใต้ฝนชุก ลมพายุแรง โครงสร้างหลังคาต้องแข็งแรง
ภาพจาก : https://board.postjung.com/952484#
เรือนเครื่องผูกคือเรือนที่ใช้ไม้จริงเป็นเสารองน้ำหนัก ส่วนโครงสร้างใช้ไม้ไผ่กับจากเป็นส่วนใหญ่ และเครื่องเรือนอื่น ๆ ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ เช่น จาก หญ้าคา แฝก ไม้ไผ่ เป็นต้น ประกอบด้วยการผูกมัดเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้วิธี ตอก-ผูก-ยึด-ตรึง จะพบเห็นเรือนเครื่องผูกตามชนบทในท้องถิ่นห่างไกล หรือตามพื้นที่เกษตรกรรม โดยทั่วไปไม่ใหญ่โตมากนัก ปลูกสร้างตามอัตภาพ เท่าที่ความจำเป็นจะพึงมี และเท่าที่ฐานะผู้อยู่อาศัยจะสามารถแสวงหาได้ เมื่อฐานะดีขึ้นจึงขยับขยายปลูกเรือนเครื่องสับ เรือนเครื่องผูกหรือเรือนมัดขื่อมัดแป ถือเป็นเรือนแบบดั้งเดิม โครงสร้างจะมีหลังคา เสา ตง พื้นใช้ไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็ง สามารถก่อสร้างกันได้เองโดยไม่ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญงาน ปลูกสร้างกันอย่างง่าย ๆ ด้วยภูมิปัญญาไทย ที่ดัดแปลงหยิบจับวัสดุหาง่ายจากธรรมชาติมาสร้างเรือนพักคุ้มกันแดดฝน อุปกรณ์ในการสร้างประกอบด้วย
๑. ต้านลม |
๒. จันทัน |
๓. เสาตอม่อ |
๔. ตง |
๕. พื้นฟาก |
๖. ลูกตั้งกรอบประตู |
๗. ขนาบหัวแตะ |
๘. บันได |
๙. พรึง |
๑๐. ฝาขัดแตะ |
๑๑. ตับจากหรือแฝก |
๑๒. ครอบอกไก่ |
เรือนเครื่องผูกมักเป็นกระท่อมแบบง่าย ๆ ใช้ไม่ไผ่เป็นโครงสร้างแล้วผูกด้วยหวาย หลังคามุงจากหรือแฝก ไม่นิยมกั้นฝาห้องแต่จะใช้ม่านกั้นห้องนอนแทนให้เป็นสัดส่วน ไม่มีรั้ว ปลูกติด ๆ กันเป็นหมู่บ้านเพื่อจะได้ช่วยเหลือกัน
๒. เรือนเครื่องสับ
ภาพจาก : http://planbaanthaidd.blogspot.com/2014/08/blog-post_25.html
เรือนเครื่องสับหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเรือนฝากระดาน ไม้ที่เอามาสร้างจะต้องเลื่อย ถาก สับ ไส เรือนเครื่องสับนี้เป็นเรือนไทยที่สร้างด้วยฝีมือ เรือนประเภทนี้ไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว วิธีก่อสร้างนั้นโครงสร้างส่วนใหญ่รวมทั้งฝาใช้วิธีเข้าปากไม้ เพื่อให้ไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไปยึดติดกัน การเข้าปากไม้มีทั้งที่ใช้เดือยใส่ในรูเดือย และวิธีให้ปากไม้วางสับกัน หากต้องใช้ตะปูบ้างจะใช้ตะปูจีนหรือสังขวานรหรือสลักยึดพรึงกับเสา การประกอบเครื่องเรือนทั้งหมดที่เป็นไม้จริงจะนิยมใช้ไม้สัก เพราะมีความคงทนอายุการใช้งานยาวนาน ส่วนเสาเรือนนิยมใช้ไม้เต็ง ไม้รัง และไม้แดง เรือนเครื่องสับเป็นบ้านสำหรับคนฐานะดีขึ้นกว่าแบบเรือนเครื่องผูก การสร้างซับซ้อนกว่า ปลูกด้วยไม้เคี่ยม ไม้หลุมพอ หรือไม้อื่น ๆ ยกใต้ถุนสูงพอคนลอดได้ ตัวเรือนมีความยาวเป็นสองช่วงของความกว้าง มีพื้นระเบียงลดต่ำกว่าตัวเรือนใหญ่และมีนอกชานลดต่ำกว่าพื้นระเบียงอีกที หลังคาจั่วตั้งโค้งแอ่นติดไม้แผ่นปั้นลมแบบหางปลา มุงกระเบื้องและมีกันสาดยื่นออกไปกว้างคลุมสามด้าน เพราะภาคใต้อยู่ในสถานที่ฝนชุก ดังกล่าวแล้ว ระเบียงก็มีชายคาคลุมไว้เช่นกันแล้วแยกเรือนครัวออกไปต่างหาก เรือนพวกนี้มักจะสร้างเพิ่มเป็นเรือนหมู่ประมาณ ๓-๔ เรือน สำหรับลูกหลานเมื่อแต่งงานแยกออกไปอยู่อีกเรือนหนึ่ง เรือนเครื่องสับจะอุปกรณ์ในการสร้างประกอบด้วย
๑. อกไก่ |
๒. พรหมหน้าจั่ว |
๓. ลูกฟักหน้าจั่ว |
๔. ปั้นลม |
๕. เหงาปั้นลม |
๖. แปลาน |
๗. หลังคาปีกนก |
๘. ไขราหน้าจั่ว |
๙. ไขราระเบียง |
๑๐. ไขราเชิงชาย |
๑๑. ไขราปีกนก |
๑๒. หลังคาตัวเรือน |
๑๓. หลังคาระเบียง |
๑๔. เดี่ยวใบดั้ง |
๑๕. เดี่ยวเสาดั้ง |
๑๖. ขื่อ |
๑๗. เสาตัวเรือน |
๑๘. เสาระเบียง |
๑๙. รูรอด |
๒๐. คอสอง |
๒๑. หัวเทียน |
๒๒. ใบดั้ง |
๒๓. ไหล่ดั้ง |
๒๔. ปากง้ามเสา |
๒๕. รูเต้า |
๒๖. เต้า |
๒๗. ปากง้ามด้าม |
๒๘. รูหัวเทียน |
๒๙. รางขื่อหัวแป |
๓๐. หย่อง |
๓๑. พรึง |
๓๒. รอด |
๓๓. อกเลา |
๓๔. ล่องตีนช้าง |
๓๕. พื้นชาน |
๓๖. ตงชาน |
๓๗. รอดชาน |
๓๘. ล่องแมวเรือน |
๓๙. บานหน้าต่าง |
๔๐. ล่องแมวชาน |
๔๑. อัฒจันทร์ |
๓. เรือนก่ออิฐฉาบปูน
ภาพจาก : https://thai-wood-house.blogspot.com/2016/08/blog-post_80.html
เรือนก่ออิฐฉาบปูนมีลักษณะและองค์ประกอบที่ต่างออกไปจากเรือนเครื่องผูกและเรือนเครื่องสับคือมีการใช้อิฐและปูนในการปลูกสร้าง
ภาพจาก : https://kyl.psu.th/PTMjqqD6_
ส่วนประกอบหลัก ๆ ของเรือนไทยภาคใต้ มีดังนี้
๑. เสา
เสาเรือนไทยภาคใต้ส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอม่อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูน เมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาท แล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการ นำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ก็สามารถเข้าอยู่ได้ทันที เรือนไทยในภาคใต้ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้าง รูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดิน แต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน ๑ ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน ตีนเสาตอนล่างห่างจากพื้นดินประมาณ ๑-๒ ฟุตจะมีไม้ร้อยทะลุเสาทุกต้นตามความยาวของเรือนทั้ง ๓ แถว เพื่อทำหน้าที่ยึดให้โครงสร้างของเรือนแข็งแรงมากขึ้น ะมีลมแรงจัด หลังคาทำทรงจั่วถากจันทันให้แอ่นแบบเดียวกับเรือนไทยภาคกลางแต่ทรวดทรงเตี้ยกว่าเล็กน้อย ติดแผ่นปั้นลมแบบหางปลา ไม่นิยมทำตัวเหงา
๒ . หลังคา
หลังคาเรือนภาคใต้หลัก ๆ มีอยู่ ๓ ลักษณะ คือหลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคามนิลาหรือหลังคาบรานอร์
- หลังคาจั่ว เรือนไทยภาคใต้ที่นิยมทำหลังคาจั่วแต่จะไม่ชันมากยอดปั้นลมไม่แหลมเหมือนยอดปั้นลมเรือนไทยภาคกลาง หางปั้นลมไม่นิยมทำเป็นตังเหงาแต่ทำเป็นหางปลา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ซึ่งส่วนใหญ่ทำจากโรงงานกระเบื้องบ้านท่านางหอม ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- เรือนหลังคาปั้นหยา มีความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคาเป็นพิเศษ หลังคาตรงหัวท้ายเป็นรูปลาดเอียงแบบตัดเหลี่ยม หลังคามุงกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยมตรงรอยตัดเหลี่ยมหลังคาครอบด้วยกันน้ำฝนรั่ว หลังคาแบบนี้มีโครงหลังคาแข็งแรงมากสามารถทนรับฝนและต้านแรงลมหรือพายุไต้ฝุ่นได้ดีมาก ส่วนใหญ่อยู่ทางแถบจังหวัดสงขลา
- เรือนหลังคามนิลา หรือหลังคาบรานอร์เป็นการผสมผสานหลังคาจั่วผสมกับหลังคาปั้นหยา คือส่วนหน้าจั่วค่อนข้างเตี้ยจะเป็นจั่วส่วนบน ส่วนล่างของจั่วจะเป็นหลังคาลาดเอียงลงมารับกับหลังคาด้านยาวอซึ่งลาดเอียงตลอดเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง เรือนแบบนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดปัตตานี
หลังคาเรือนภาคใต้ที่พบมากจะเป็นบ้านที่มีหลังคาแบบมิลาหรือบรานอร์ แต่จะเพิ่มเติมลายไม้กลมฉลุไม้ที่ส่วนยอด ซึ่งพบมากในชุมชนชาวไทยมุสลิม หลังคาทั้ง ๔ แบบมีอยู่ทั่วไป แต่สัดส่วนของหลังคาจะมีทรงสูงต่ำอย่างไรขึ้นอยู่กับช่างก่อสร้างและวัสดุมุงหลังคาในท้องถิ่นนั้น เช่น ถ้าใช้กระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องขนมเปียกปูน หรือมุงแฝกจาก ความลาดชันของหลังคาจะไม่เท่ากัน
๓. ฝาเรือน
ฝาเรือนนิยมใช้ไม้ตีเกล็ดตามแนวนอนหรือฝาสายบัวในแนวตั้ง ประตูหน้าต่างใช้แกนหมุนวงกบเข้าเดือย แกะสลักเป็นรูปดาวหรือดอกไม้ บานประตูหน้าต่างเซาะร่อง แกะเป็นลวดลาย บานหน้าต่างทำเป็นลูกฟัก กรอบบนและกรอบล่างฉลุโปร่งเพื่อระบายอากาศ
๔. พื้นเรือน
พื้นเรือนนิยมปูด้วยไม้กระดานต่างระดับกัน พื้นเรือนนอนจะสูงกว่าระเบียงและชาน บันไดเรือนคล้ายบันไดเรือนในภาคอื่น ๆ มีตุ่มหรืออ่างใส่น้ำล้างเท้าไว้
๕. ช่องระบายอากาศ
ช่องระบายอากาศ ที่ต้องทำไว้เพราะภูมิอากาศที่มีฝนตกชุก จึงไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างของเรือน แต่จะใช้ช่องระบายอากาศส่วนบนสุดใต้หลังคาตีไม้ห่าง ๆ หรือฉลุไม้ให้เป็นลวดลายต่าง ๆ แทน
๖. เสายอดจั่ว
เสายอดจั่ว ภาษาพื้นเมืองชาวไทยมุสลิมเรียกว่าบูวะหิมูตง ตรงปลายมุมแหลมของยอดจั่ว จะทำเป็นเสาขนาดเล็กทำด้วยไม้กลึง ด้านข้างของเสาตกแต่งลวดลายฉลุไม้
เรือนไทยภาคใต้. (2552). สืบค้น 26 ส.ค. 64, จาก https://www.baanjomyut.com/library/thaihouse/04.html
เรือนไทย ๔ ภาค. (2562). สืบค้น 26 ส.ค. 64, จาก https://board.postjung.com/952484#
วิถีความเป็นอยู่ภาคใต้. (2554). สืบค้น 26 ส.ค. 64, จาก https://kyl.psu.th/tAptqent2