ภาพจาก : ๑๐ สุดยอดสมบัติปัตตานี ประจำปี ๒๕๖๒, ๒๕๖๒, ๑๕
กริช เป็นได้ทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาวุธประจำกาย สิ่งบ่งบอกถึงความเป็นชายชาตรี ตลอดถึงสถานะของผู้เป็นเจ้าของและเครื่องหมายประจำวงศ์ตระกูล กริชสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ไม่ได้เป็นของกลุ่มชาติพันธุ์ใดโดยแท้จริง แต่หากแต่เป็นการสืบทอดและพัฒนาข้ามยุคสมัยและข้ามวัฒนธรรม ที่แตกต่างหลากหลายมาอย่างยาวนาน กริชเป็นมีดสั้นแบบหนึ่งใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คำว่า " กริช" ในภาษาไทยน่าจะถอดมาจากคำว่า "kens" ในภาษามลายูซึ่งหมายถึง "มีดสั้น" คำนี้ผ่านมาจากภาษาชวาโบราณอีกทอดหนึ่งคือ "งริช" หรือ "เงอะริช" หมายถึงแทง กริชเป็นศาสตราวุธประเภทมีดสองคม ในอดีตได้รับความนิยมกันมากในกลุ่มคนแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มชนชาวชวาหรือมาลายู นักวิชาการด้านศาสตราวุธต่างก็มีความเชื่อเป็นไปในแนวทางเดียวกันคือกริช เกิดขึ้นในสมัยที่กลุ่มคนยังนับถือศาสนาพรหม-ฮินดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยอาณาจักรมัชปาหิตบนเกาะชวาเรืองอำนาจ ซึ่งได้สร้างค่านิยมและคติความเชื่อในเรื่องนี้ไว้อย่างมาก
กริชในยุคโบราณจึงได้แฝงเอาไว้ด้วยมิติความเชื่อสรุปได้เป็น ๓ ประการใหญ่ ๆ คือ
๑. ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัว |
๒. ใช้เป็นเครื่องรางของขลังหรือของศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถป้องกันอาถรรพ์และสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ตลอดถึงการบันดาลโชคให้แก่เจ้าของผู้ครอบครอง |
๓ . ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งที่สามารถบ่งบอกถึงสถานภาพหรือยศ ชั้น วรรณะของผู้เป็นเจ้าของกริช |
การใช้กริชในบริเวณคาบสมุทรมลายูและบริเวณใกล้เคียง มีขึ้นอย่างกว้างขวางจากอิทธิพลของชวา ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบของกริชไปตามกลุ่มวัฒนธรรม จนมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวที่สามารถจำแนกรูปแบบของกริชจากด้ามและฝักได้ดังนี้
- กริชสกุลชวา |
- กริชสกุลช่างบาหลี |
- กริชสกุลช่างสุมาตรา (กริชอาเนาะแล) |
- กริชสกุลช่างบูกิส (กริชหัวนกแลเบ็ง, กริชหัวกะด๊ะ, กริชหัวจังเหลน) |
- กริชสกุลช่างโชลุค (กริชชุนดัง, ซุนแด) |
- กริชสกุลช่างคาบสมุทร (กริชหัวลูกไก่, กริชหัวลูกไก่ตายโคม, กริชชวาแดมัมหรือชวาป่วย) |
- กริชสกุลช่างปัตตานี (กริชหัวนกพังกะ หรือกริชตะยง) |
- กริชสกุลช่างสงขลา-นครศรีธรรมราชกริชปัตตานี |
กริชกลุ่มปัตตานี กริชกลุ่มนี้มีการพัฒนารูปแบบจนมีเอกลักษณ์ทั้งทั้งฝักและด้ามจึงเรียกว่า "กริชแบบปัตตานี" นิยมใช้กันในพื้นที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางพื้นที่ของสงขลาและสตูล กริชสกุลช่างปัตตานีมี ๒ แบบ คือกริชแบบหัวนกพังกะ หรือกริชตะยงและทริชแบบแดแป๊ะ ซึ่งปัจจุบันกริชแบบแดแป๊ะ มีจำนวนวนน้อยมาก นอกจากนี้กริชปัตตานียังได้รับอิทธิพลเกี่ยวก้บกริชจากวัฒนธรรมอื่นที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สกุลช่างกริชปัตตานีมีการพัฒนาการทำกริช โดยทำตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งได้อิทธิพลจากการทำการกริชของชาวมลายูตามรูปแบบต่าง ๆ เช่น กริชปันจาง (กริชสกุลช่างสุมาตรา) กริชแบกอ (กริชสกุลช่างคาบสมุทร) กริชหัวนกพังกะหรือกริชตะยง
กริชหัวนกพังกะหรือกริชตะยงจะมีลักษณะเด่นคือด้ามที่มีการแกะสลักเป็นรูปยักษ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตัวหนังวายังของชวา ตัวยักษ์ซึ่งมีจมูกยาวงอน นัยน์ตาถลนดุดัน ปากอ้าแสยะเห็นเขี้ยวและไรฟันชัดเจน ส่วนมือและเท้าถูกลดทอนหายไป ใต้คางมีเคราและผมบนศรีษะเป็นเส้นหยิกหยอง ตลอดจนเครื่องประดับช่างรังสรรค์ ให้เป็นกนกเครือเถาที่มีความงามวิจิตรแฝงด้วยอำนาจและพลังลึกลับเหนือด้าม
กริชปันจาง
ภาพจาก : ๑๐ สุดยอดสมบัติปัตตานี ประจำปี ๒๕๖๒, ๒๕๖๒, ๑๔
กริชปันจางเป็นกริชจากวังสายบุรี ใบชนิดปันจางจริตอ (เซาะร่อง) รูปแบบปาเล่มบัง (งานช่างปัตตานี) ด้ามเป็นไม้แก้วโบราณแกะฉลุ ท้ายด้ามปิดเงินสลักลายฝังพลอยนพเก้า (คติความเชื่อพราหมณ์/ฮินดูมักใช้ทับทิมเป็นเม็ดประธาน) ดอเกาะเงินฉลุลาย (ลูกถ้วย ๕ ชั้นสอดรับกันแต่ไม่เชื่อมติด) ฝักทรงสาลีบุหลัน (พระจันทร์เสี้ยว) ใช้ไม้โบราณลายดั่งรัศมีจันทร์ บ้องฝักหุ้มเงินสลักลายงานช่างปัตตานี/กลันตันกริชแบกอ (บีบตีนช้าง) ลักษณะเด่นคือด้ามคล้ายคนนั่งกอดอก เอียงไหล่ตะแคงหน้า มีหัวจุกปากแหลม มองดูผิวเผินจะคล้ายตัวลูกไก่ตายโคม (ลูกไก่ที่พักเป็นตัวเต็มตายอยู่ในฟองไข่) เป็นกริชที่นิยมใช้เฉพาะชนชั้นสูง
กริชแบกอ (บีบตีนช้าง)
ภาพจาก : ๑๐ สุดยอดสมบัติปัตตานี ประจำปี ๒๕๖๒, ๒๕๖๒, ๑๕
กริชแบกอ (บีบตีนช้าง) มีลักษณะเด่นคือด้ามคล้ายคนนั่งกอดอก เอียงไหล่ตะแคงหน้า มีหัวจุกปากแหลม มองดูผิวเผินจะคล้ายตัวลูกไก่ตายโคม (ลูกไก่ที่พักเป็นตัวเต็มตายอยู่ในฟองไข่) เป็นกริชที่นิยมใช้เฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้น
จุฑาภรณ์ หวังกุหลำ. (2562). 10 สุดยอดสมบัติปัตตานี ประจำปี 2562. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี.