แกะเก็บข้าว
 
Back    20/04/2018, 09:48    12,714  

หมวดหมู่

เครื่องมือในการดำรงชีวิต


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด


ภาพจาก : https://sites.google.com/site/looknampattalung/phumipayya-ni-dan-singkhxng-kheruxng-chi-phun-ban/kaea

               การปลูกข้าวของคนไทยน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ซึ่งมักจะปลูกกระจายกันขึ้นตามธรรมชาติในพื้นที่ดอนหรือที่สูง ซึ่งจะได้ต้นข้าวที่สมบูรณ์มีลำต้นสูง เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์แล้วการปลูกข้าวก็ยังทำกันอยู่โดยกระจายไปตามภูมิประเทศที่กลุ่มคนตั้งถิ่นฐานทั้งที่ดอนที่ลุ่ม โดยเฉพาะที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์โดยธรรมชาติแล้วสภาพพื้นที่ทำนาโดยทั่วไปแล้วมักมีน้ำท่วมขังทั้งนาปรังนาปีทำให้ต้นข้าวตั้งสูงเพื่อหนีน้ำ การใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “แกะ” โดยเฉพาะภาคใต้ซึ่งมีน้ำท่วมขังตลอดปี จึงมีความสะดวกกว่าเครื่องมือชนิดอื่น ๆ  แกะจงเป็นคือเครื่องมือเก็บข้าวของชาวนาภาคใต้ที่มีลักษณะเรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพ ส่วนที่เรียกว่า "เก็บข้าว" เพราะภูมิประเทศของภาคใต้เป็นที่ราบแคบปลูกข้าวได้ครั้งละไม่มากและพันธุ์ข้าวท้องถิ่นมีลำต้นสูง เมื่อรวงข้าวสุกต้นข้าวจะล้มราบลงกับพื้นและมักสุกไม่พร้อมกันทั้งแปลง การใช้แกะเก็บทีละรวงจึงสะดวกกว่าเครื่องมืออื่น ๆ กะเป็นเครื่องมือเก็บข้าวที่มีรูปร่างคล้ายเรือขนาดจิ๋วทําจากไม้และเหล็ก คมแกะทําจากเหล็กบาง เหมือนใบมีด ส่วนกระดานแกะทําจากไม้มักใช้ไม้แคหรือไม้ตีนเป็ด ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีความยาวประมาณ ๔-๘ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๔-๕ เซนติเมตร มีไม้ไผ่กลมขนาดเล็กเสียบขวางไว้ด้านบนซึ่งทําเป็นรอยบาก ด้ามไผ่ยาวประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร เวลาเกี่ยวข้าวก็จะเอาแกะใส่ไว้ในอุ้งมือใช้นิ้วนางและนิ้วกลางคีบไว้ แล้วใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งดึงรวงข้าวมาทาบกับคมแกะมืออีกข้างแล้วเด็ด (แกะ) หรือตัดข้าวทีละรวง ๆ เอาเฉพาะรวงข้าวซึ่งมีคอรวงยาวติดมาด้วยเล็กน้อยพอสำหรับผูก “มัด” รวมกันได้ และสะดวกต่อการจับหิ้ว ซึ่งรวงข้าวมัดหนึ่ง ๆ มีราว ๒๐–๓๐ รวง เรียกว่า “เลียง” หรือ “ช่อ” จึงมีน้ำหนักเบา ง่ายต่อการหาบคอนหรือหิ้ว หรือใส่กระบุงตะกร้าหาบคอนกลับบ้านไกล ๆ  ได้ เวลานวดเพื่อนำมาหุงก็ง่ายไม่ยุ่งยากและไม่เปลืองแรงงาน แล้วทำเป็นมัดหรือกองไว้เป็นพ่อน แกะสามารถเกี่ยวข้าวได้หมดเกลี้ยงกว่าเคียวเพราะต้องเก็บทีละรวง  การเก็บข้าวด้วยแกะต้องใช้เวลาและแรงคนมาก โดยเฉลี่ยนา ๑ ไร่ หากเก็บเพียง ๑ คนจะใช้เวลาในการเก็บประมาณ ๑ สัปดาห์ ทางภาคใต้จึงมีประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวขึ้น
        ในอดีตแกะเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าวหลักของชาวภาคใต้ชาวใต้ เพราะชาวนาภาคใต้นั้นมีเคารพยกย่องแม่โพสพซึ่งเป็นเทวดาประจำต้นข้าว และถือว่าข้าวเป็นของประเสริฐ การเก็บข้าวจึงต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เมล็ดข้าวตกเรี่ยราดจะถือว่าเป็นบาปและแม่โพสพจะหนีไป การใช้แกะเก็บข้าวจึงเป็นวิธีที่ดีเพราะไม่ทำให้เมล็ดข้าวตกหล่นเสียหาย ทำให้ไม่นิยมใช้เคียวเหมือนภาคกลาง ตลอดถึงลักษณะภูมิประเทศและลักษณะการทำนาหรือเก็บเกี่ยวนั้นต่างกัน 
ปัจจุบันชาวนาที่มีใช้แกะนั้นเหลือน้อยมาก เพราะวิถีการเก็บเกี่ยวข้าวได้เปลี่ยนไปจากอดีตมาก (ใช้รถเกี่ยวหรือตัดกับเคียว) ประกอบกับในตลาดก็หาซื้อยากแล้ว

     


ขอขอบคุณภาพจาก : http://oknation.nationtv.tv/blog/pajondotcom/2010/03/01/entry-1


ขอขอบคุณภาพจาก : http://oknation.nationtv.tv/blog/pajondotcom/2010/03/01/entry-1


วัตถุดิบและส่วนประกอบ

          แกะเป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพมาก การเก็บข้าวของชาวนาภาคใต้จึงนิยมใช้แกะกันก็เพราะภูมิประเทศของภาคใต้เป็นที่ราบแคบ ปลูกข้าวได้ครั้งละไม่มากและพันธุ์ข้าวท้องถิ่นมีลำต้นสูง เมื่อรวงข้าวสุกต้นข้าวจะล้มราบลงกับพื้นและมักสุกไม่พร้อมกันทั้งแปลง การใช้แกะเก็บทีละรวงจึงสะดวกกว่าเครื่องมืออื่น ๆ  ในขณะที่ภาคกลางมีทุ่งนากว้าง ชาวนาภาคกลางจึงใช้เคียวในการเกี่ยวข้าวครั้งละมาก ๆ  แกะมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ ๓ ส่วนคือ

๑) ตาแกะหรือคมแกะ เป็นใบมีดเหล็กกล้ามีหูแหลมสองข้างสำหรับตอกฝังติดกับกระดานแกะยาวประมาณ ๕-๖ เซนติเมตร
๒) กระดานแกะ ทำจากไม้เนื้อแข็งหรือไม้เบา เช่น ไม้ตีนเป็ด ไม้เค โดยจะตัดไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้างประมาณ ๔4 เซนติเมตร หนาประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร  ด้านหนึ่งยาวประมาณ  ๕-๖ เซนติเมตร ใช้ตอกติดตาแกะ อีกด้านหนึ่งยาว ๘-๙ เซนติเมตร เป็นที่ติดด้ามแกะ
๓) ด้ามแกะ ทำจากไม้ไผ่เรี้ย เรียกสั้น ๆ ว่า "เรี้ย" ยาวประมาณ ๗-๘ เซนติเมตร โดยเสียบขวางติดกับกระดานแกะใช้เป็นด้ามจับ

  วิธีใช้แกะเก็บข้าว
        วิธีใช้แกะเก็บข้าวนั้นชาวนาที่ใช้แกะจะใส่แกะระหว่างนิ้วกลางกับนิ้วนาง ใช้นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือจับรวงข้าวทาบกับคมแกะแล้วตัดทีละรวง ใช้มืออีกข้างกำรวงข้าวที่ตัดแล้วมารวมกัน เมื่อเต็มกำมือแล้วมัดหรือผูกทำเป็นเลียงข้าว แล้วนำไปเก็บในยุ้งหรือเรินข้าวหรือลอมข้าวต่อไป


แหล่งจำหน่าย

        แหล่งผลิตแกะที่มีชื่อเสียงในอดีตองจังหวัดสงขล คือโรงตีเหล็กที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง และบ้านบ่อสระ อำเภสิงหนคร แต่ปัจจุบันเลิกกิจการไปหมดแล้วเพราะมีการใช้รถเกี่ยวข้าวกันมากขึ้นทำให้สะดวกและรวดเร็ว ทำให้มีผู้ใช้แกะเก็บข้าวน้อยลง


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
แกะเก็บข้าว
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2531). ของพื้นบ้านชายแดนภาคใต้. ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2561). แกะ และ กรูด. . สืบค้นวันที่ 25 มี.ค. 64, จาก https://thehumans.sac.or.th/sac/material/9


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024