กระบอกตุด
 
Back    18/03/2021, 16:35    3,993  

หมวดหมู่

เครื่องมือในการดำรงชีวิต


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด


ขอขอบคุณภาพจาก : http://www.iamtrang.com/?p=898

          กระบอกตุดหรือบอกตรุด เป็นอาวุธประจำกายของชาวซาไกผู้ชาย และใช้เป่าหรือตุดสัตว์มาเป็นอาหารในชีวิตประจำวัน  ชาวซาไกเรียกอาวุธประเภทนี้า “บอเลา” ใช้คู่กับลูกดอกที่เรียกว่า “บิลา” บอกตุดประกอบด้วยส่วนสําคัญ ๓ ส่วน คือตัวกระบอก ลูกดอก และกระบอกบรรจุลูกดอก ตัวกระบอกทําจากไม้ไผ่เจาะทะลุปล้องยาว ๑ วาเศษ ส่วนลูกดอกทําจากไม้ไผ่เหลา กลมตรงปลายแหลมอาบด้วยยาพิษที่ทําจากยางน่องผสมยางต้นบุก ยางคางคก และยางเถาวัลย์อีกหลายชนิด ชาวซาไกจะใช้กระบอกตุดหรือบอเลาในการล่าสัตว์บก โดยการเป่าลูกดอกอาบยาพิษที่เรียกว่าต๊อก ส่วนท้ายลูกดอกทําด้วยไม้ระกาทําเป็นจุกยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร แล้วบรรจุลงในกระบอกบรรจุซึ่งทําจากไม้ไผ่ บางปล้องโตยาวประมาณ ๑ ศอก เวลายิงให้เล็งกระบอกไปที่เป้าหมายแล้วเป่าลูกดอกออกไป ลูกดอกก็จะพุ่งออกจากกระบอกปักที่สัตว์ ยาพิษที่อาบบนหัวลูกดอกทําให้สัตว์เจ็บปวดและตายในที่สุด กระบอกตุดหรือบอกตรุดทำจากไม้ไผ่พันธุ์พิเศษที่หายาก มีปล้องยาวมาก โดยจะนำไผ่นั้นมาต่อกันประมาณ ๒ ท่อนให้เป็นท่อยาวเชื่อมด้วยยางชัน กระบอกตุดหรือบอกตรุดมีโครงสร้างเป็นท่อกลวงสองชั้น ชั้นนอกเป็นไม่ไผ่ลำโตกว่าชั้นในเป็นไผ่ลำเล็ก ลูกดอกจะถูกใส่ในตุด เป่ายิงได้ไกลเป็นร้อยเมตร  ลูกดอกจะอาบยาพิษจาก “ยางน่อง” ต้นยางน่อง (Antiaris toxicaria) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มาก มานิจะเอาหินหรือขวานไปฟันที่เปลือกส่วนลำต้น จะได้น้ำยางน่องไหลออกมา ยางน่องมีพิษมากถึงขนาดที่ว่าคนฟันเปลือกไม้ควรต้องอยู่เหนือลม เพราะหากอยู่ใต้ลมก็อาจได้รับพิษได้ เมื่อได้ยางน่องมา ก็จะนำมาเคี่ยวแล้วนำลูกดอกมาอาบยาพิษ เก็บลูกดอกนั้นไว้ใช้ได้อีกนาน ยางน่องจะทำให้สัตว์ที่โดนพิษเป็นอัมพาตและตาย ในทางทฤษฎียางน่องเป็นสารพิษชื่อ Antiarin เป็กลุ่มสาร Cardiac Glycoside ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว เกิดการชัก หัวใจเกร็งตัวและหยุดเต้น หยุดหายใจ ซึ่งเป็นพิษที่รุนแรงมาก สัตว์ที่ได้มาเนื้อบริเวณที่นั้นถูกลูกดอกต้องตัดออกก่อนแล้วจึงนำส่วนที่เหลือมาทำอาหาร

 


กระบอกตุดหรือบอกตรุด
ภาพจาก : http://momojeblue.blogspot.com/2010/10/blog-post.html


บิลาของพวกซาไก
ภาพจาก : http://momojeblue.blogspot.com/2010/10/blog-post.html


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
กระบอกตุด
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


บรรณานุกรม

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2531). ของพื้นบ้านชายแดนภาคใต้. ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ. (2560). มานิ วิถีแห่งป่าเขา (ตอนที่ 4 ตุดและการล่า). สืบค้นวันที่ 18 มี.ค. 64, จาก
           https://deepsouthwatch.org/th/node/10925


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024