ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด
 
Back    15/02/2022, 11:03    950  

หมวดหมู่

อาหาร


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด

            ตาลโตนด (Palmyra Palm) เป็นไม้ในตะกูลเดียวกันกับปาล์ม และมะพร้าว จัดเป็นไม้ชนิดให้ผลที่พบได้ทั่วไปในทุกภาค มีประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ ลูกตาลอ่อน น้ำตาลสด ผลแก่ใช้ทำขนมตาล แก่นไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น  ตาลโตนดมีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามถิ่นฐานหรือภูมิภาค เช่น ภาคกลางเรียกตาลโตนดหรือต้นตาล  ภาคใต้เรียก  ตาลโตนดหรือต้นโตนด ยะลาและปัตตานีเรียกปอเก๊าะตา ตาลโตนดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือนทุกส่วน ถ้าจะเรียกว่าตาลว่าเป็นไม้มหัศจรรย์ก็ว่าได้ ตาลโตนดเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุเป็นร้อย ๆ ปี มีลำต้นสูงถึงได้ถึง ๔๐ เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่กว้าง ๑-๑.๕ เมตร มีก้านเป็นทางยาว ๑-๒ เมตร ขอบของทางของก้านทั้งสองข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง ๆ และคมมาก โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือเรียกว่านิ้วตาล ซึ่งแต่ละนิ้วยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ ๑.๕-๒ เซนติเมตร โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวม และมีกาบแข็ง ๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้าย ๆ กัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่ง ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ ๒ เซนติเมตร และมีกาบแข็ง ๆ หุ้ม แต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมันมักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมันหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง ๑-๓ เมล็ด ต้นตาลตัวผู้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากต้นตาลตัวเมียเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้นตาลตัวผู้จะออกงวงเป็นช่อ ไม่มีผล ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "จั่น" ถ้าการเวียนของทางใบวนไปทางซ้ายมือจะเป็นตาลตัวผู้ ต้นตาลตัวผู้จะสังเกตจาก ใบและงวง เพราะถือเป็นเอกลักษณ์ของต้นตาลตัวผู้อย่างชัดเจน ส่วนต้นตาลตัวเมียนั้นจะมีลักษณะ การเรียงตัวของทางใบ ถ้ามีการเรียงตัววนไปทางขวามือจากบริเวณโคนไปสู่ยอดจะเป็นต้นตาลตัวเมีย แต่ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ต้นตาลตัวเมียจะต่างจากต้นตาลตัวผู้ตรงที่ต้นตาลตัวเมียจะมีลูกเป็นช่อ ๆ หรือชาวบ้านเรียกว่า "ทะลายตาล"

               ผลิตภัณฑ์/ผลิตผลจากตาลโตนด 
                       ผลิตภัณฑ์ผลิตผลจากตาลโตนคมีมากมายหลายชนิคด้วยกัน เช่น

 ๑. เฟอร์นิเจอร์จากไม้ตาล ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากแข็งแรงทนทาน ราคาไม่แพงมากนัก มีตั้งแต่ของใหญ่พวกโต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอนจนถึงของชำร่วยเล็ก ๆ เช่น กล่องใส่บุหรี่ ถ้วยน้ำชา แจกันใส่คอกไม้ ครกและอื่นๆ อีกมากมาย
 ๒. จาวตาลเชื่อม น้ำจาวตาลที่ได้แช่น้ำผสมมะนาวอัตราส่วน จาวตาล ๑๐๐ เมล็ด/มะนาว ๒-๓ ผล แช่จนกว่าไขที่หุ้มเมล็ดเปื่อยยุ่ย ใช้ใบยอขัดผิวให้สะอาด นำจาวตาลที่ได้ไปแช่น้ำปูนใสอีกครั้ง เพื่อให้จาวตาลแข็ง ใช้มีคคว้านเอาขั้วออก เพื่อให้น้ำตาลซึมเข้าได้ง่าย จากนั้นขึ้นต้มพอสุก นำมาลอยในน้ำเย็นตั้งไฟอ่อน ๆ โรยน้ำตาลทรายประมาณ ๒-๒๕ กิโลกรัม/จาวตาล ๑๐๐ เมล็ด
๓. ขนมตาล ทำจากเนื้อตาลสุกที่ได้จากการยี่มีลักษณะเหลว ๆ นำไปห่อผ้าดิบให้สะเด็ดน้ำเสร็จแล้วเคล้ากับแป้งและน้ำเล็กน้อยนวดให้เข้ากัน นำไปผึ่งแดดประมาณ ๒-๓ ช.ม. ขนมตาลที่จะฟูขึ้นโดยไม่ต้องใส่ผงฟู ตักใส่กระทงหรือถ้วยนำไปนึ่งจะได้ขนมตาลที่มีกลิ่นหอมอร่อยปลอดภัยจากสารเคมีเจือปน
๔. ข้าวเหนียวลูกตาล มีลักษณะคล้ายข้าวเหนียวมะม่วง ต่างกันตรงที่เมื่อนึ่งข้าวเหนียวเสร็จแล้วก็ตักข้าวเหนียวใส่จาน ราดด้วยหัวกะทิข้น ๆ ผ่านจาวตาลที่เชื่อมแล้วเป็นชิ้นบางวางทับบนข้าวเหนียวโรยทับด้วยมะพร้าวขูด ที่เป็นเส้นใยบาง ๆ ตามด้วยน้ำตาลทรายที่คลุกกับงาดำ ที่คั่วแล้วก็จะได้ข้าวเหนียวลูกตาลที่แสนจะอร่อย
๕. ขนมโตนดทอด เป็นขนมที่ไส้เป็นจาวดาลเชื่อม นำมาชุบแป้งข้าวเหนียวที่ผสมกับน้ำตาลโตนด หัวกะทิบางสูตรผสมแป้งข้าวเข้านิดหน่อย นำไปทอดลงในกะทะน้ำมันร้อน ๆ จะได้ขนมโตนดทอดที่นุ่ม หอมหวานน่ารับประทาน
๖. แกงหัวโหนด (ตาล) เป็นอาหารคาวคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสงขลา พัทลุง มาแต่โบราณกาล แกงหัวโหนด (ตาล) ได้มาจากลูกตาลอ่อนหรือลอนตาลที่ยังอ่อนอยู่ โดยปอกเปลือกและฝาน (หั่น) เป็นชิ้นบาง ๆ ต้มกับน้ำเกลือหรือแช่น้ำมะขามเปียกเสร็จแล้วล้างน้ำให้สะอาด นำไปแกงกับกะทิแบบแกงเผ็ดใส่กระชายให้มากหน่อย ใส่เครื่องแกงที่ผสมเนื้อปลาย่าง กุ้งหัวมัน หรือกุ้งหางแดงลงไป ปรุงรสด้วยน้ำตาล พร้อมกับใส่เนื้อย่างลงไปรับประทานได้เลย

                การทำจาวตาล
             ปัจจุบันจาวคาลเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และนอกประเทศ ถ้าเป็นตลาดภายในประเทศ นิยมทำเป็นจาวตาลเชื่อมรับประทานกับข้าวเหนียว 
ส่วนตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะฮ่องกง นิยมมากถือว่าเป็นยาบำรุงกำหนัดชนิดหนึ่ง และการทำจาวตาลนี้ อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จำนวนต้นตาลไม่เพิ่มขึ้น เพราะการทำจาวตาลจะเด็ดปลายรากของตาลออก ซึ่งเป็นจุดที่ที่จะเจริญเป็นต้นใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

๑. นำเมล็คตาลที่ได้จากผลตาลที่สุกเต็มที่แล้ว นำมาใส่กระสอบปุ๋ย ผูกปากกระสอบให้แน่น แช่น้ำไว้ประมาณ ๕ วัน (อย่าแช่นานกว่า ๑ เดือน เมล็ดจะเน่า)
๒. นำเมล็ดตาลขึ้นจากน้ำ กองทับกันแล้วใช้ฟางคลุมรดน้ำ ๒-๓ วัน/ครั้ง ประมาณ ๑๕ วัน จะงอกรากขาวประมาณ ๑ คืบ เด็ดปลายรากออกเล็กน้อย เพื่อให้จาวสมบูรณ์เต็มที่ ทิ้งไว้อีก ๓๐ วัน จาวตาลจะขยายเต็มเมล็ด การสังเกตว่าจาวตาลต็มเมล็ดหรือยังนั้น ให้สังเกตที่รากตาล
ถ้ารากตาลมีสีน้ำตาล และส่วนที่ติดกับเมล็ดเริ่มคอดลง นำมาผ่าเอาจาวจาลด้านในได้

             การทำน้ำตาลโตนด
               การทำน้ำตาลโตนด แต่เดิมทำเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน ถ้าเหลือก็แจกจ่ายญาติพี่น้อง โดยใช้เวลาว่างหลังจากการทำนาแล้ว ปัจจุบันมีการทำน้ำตาลโดนดเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพ มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลโตนด รวบรวมน้ำตาลสดเพื่อส่งเตาเคี่ยวน้ำตาล ผลิตน้ำตาลปี๊บและน้ำตาลปึกส่งขายทั้งในและนอกประเทศ การทำตาลโตนดมีขึ้นตอนดังนี้

๑. ช่วงเวลาในการทำน้ำตาลโตนด อยู่ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม หรือประมาณ ๕ เดือน ทำได้ทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ปกติต้นตาลจะสามารถทำน้ำตาลได้ ต้องอยู่ในวัยเจริญพันธุ์อายุตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป อยู่ในระยะแทงช่อดอกใหม่ ๆ ซึ่งมีวิธีทำคล้าย ๆ กันทั้งต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย แต่แตกต่างกันเฉพาะไม้ที่ใช้นวดจั่นที่เรียกว่า "ไม้คาบ" คือไม้คาบที่ใช้นวดช่อดอกตัวผู้ (จั่น) จะมีลักษณะแบน ส่วนไม้คาบที่ใช้นวดช่อดอกตัวเมีย จะมีลักษณะกลมและยาวกว่าไม้คาบที่ใช้กับต้นตัวผู้
๒. อุปกรณ์ในการทำน้ำตาล ประกอบด้วย
- มีดปาดตาล
- เชือกหรือเข็มขัดหนังสำหรับเหน็บมีด
- กระบอกใส่น้ำตาล (เมื่อก่อนนิยมใช้กระบอกไม้ไผ่ ปัจจุบันนิยมใช้ขวดพลาสติก)
พะอง ซึ่งทำกับไม้ไผ่ (ปัจจุบันอาจจะใช้เหล็กข้ออ้อย)
- ไม้คาบตัวผู้ ไม้คาบตัวเมีย
- พะยอมหรือเคียม
  
๓. วิธีการทำน้ำตาล ถ้าเป็นต้นตัวผู้ ต้องเป็นดันที่ออกจั่นแล้ว (อายุ ๑๐ ปีขึ้นไป) ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ถ้าเป็นตัวเมียจั่น หรืองวงตาลต้องยังไม่ลืมตา หรือผลตาลมีขนาดเท่าผลมะนาวต้นตัวผู้ รวบจั่นเข้าด้วยกัน ใช้ไม้ดาบตัวผู้นวดเบาๆ วันละครั้ง ประมาณ ๓-๕ วัน ใช้มีดปาดตาลปาดปลายงวงในตอนเช้า ถ้ามีน้ำตาลไหลซึมออกมาไม่หยุดแสดงว่าใช้ได้ ถ้าเป็นต้นตัวเมีย ใช้ไม้คาบตัวเมียนวดระหว่างลูกประมาณ ๓ วันใช้มีดปาคตาลปาดปลายจั่น (งวง) ดูถ้ามีน้ำตาลไหลซึมไม่หยุดแสดงว่าใช้ใด้ แล้วนำกระบอกน้าตาลใส่ผะยอมเล็กน้อย (ผะยอมเป็นไม้ยืนต้นใช้แทนสารกันบูด) หรือเคึยม เพื่อกันน้ำตาลเสีย อย่าใส่มากจะทำให้น้ำตาลมีรสขมได้ นำกระบอกไปรองรับน้ำตาลสด ซึ่งวันแรก ๆ จะได้ไม่มากนัก และจะเพิ่มมากขึ้นในวันต่อ ๆ ไป โดยจะต้องปาดปลายงวงตาลก่อนรองน้ำตาลทุกครั้ง แต่ถ้าปริมาณน้ำตาลที่ใด้น้อยลงไม่คุ้มกับการขึ้นต้นตาลก็หยุด โดยตาลต้นหนึ่ง ๆ ให้น้ำตาล ๔-๕ กระบอก หรือประมาณ ๒๐ ลิตร/ต้น/วัน เมื่อนำกระบอกน้ำตาลลงมาแล้ว ก็จะนำน้ำตาลสดที่ได้กรองด้วยผ้าขาวบาง นำไปเคี่ยวให้เดือด แต่ถ้าจะจำหน่ายในรูปน้ำตาลสด ก็จะเคี่ยวพอน้ำตาลเดือด (อุณภูมิประมาณ ๑๐ เซสเซียส) ปรุงแต่งกลิ่น รสตามใจชอบ เช่น ใส่ใบเตยหอม สารแต่งกลิ่นอื่น ๆ สารกันเสีย บรรจุขวดเพื่อจำหน่ายต่อไป หรือถ้าทำเป็นน้ำตาลข้นหรือน้ำตาลปีก ก็เคั้ยวต่อไปอีกประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง จนน้ำตาลแก่ (ข้น แคง ฟู) ฟองจะรวมกันก็ยกลงจากเตา คนให้เข้ากันโดยใช้เหล็กกระแทก ตักใส่แบบพิมพ์น้ำปีกที่รองด้วยผ้าขาว ตั้งทิ้งไว้ประมาณ ๒ ชั่วโมง ก็จำหน่ายได้
๔. อุปกรณ์ในการเคี่ยวน้ำตาล ประกอบด้วย
 - เตา  ส่วนใหญ่จะก่อด้วยอิฐฉาบปูน ขนาดของเตาขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลสดที่ได้ อาจจะเป็น ๑-๓  เตา หรือ ๓-๕ เตา ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มกันสร้างเตาเคี่ยวตาลขนาดใหญ่ สามารถเคี่ยวตาลได้ครั้งละ ๑๐ เตา ในเวลาเดียวกัน 
- กะทะเหล็ก เป็นกะทะขนาดใหญ่
- เครื่องกรองน้ำตาล
- เหล็กกระแทกน้ำตาล
- อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กงสำหรับใส่น้ำตาล ถ้วย กระบวยตักน้ำตาล เสียม
  
๕. ปัจจัยที่มีผลต่อสีของน้ำตาลสด จากการศึกษาพบว่าถ้าฝนตก คุณภาพของน้ำตาลไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากความเข้มข้นของน้ำตาลลดลง สีจะขุ่น และถ้าแดดจัด สีของน้ำตาลสดจะจางใส ความเข้มขันของน้ำตาลจะมาก จากการสังเกตพบว่าพื้นที่ปลูกแต่ละแหล่งให้คุณภาพ
ของน้ำตาลต่างกัน และเมื่อนำไปเคี่ยวก็จะได้เนื้อน้ำตาลต่างกันด้วย
๖. การทำความสะอาดกระบอกน้ำตาล หลังจากเทน้ำตาลออกจากกระบอกตาลแล้ว จะทำความสะอาดโดยใช้น้ำสะอาดเขย่าๆ แล้วเททิ้งไป หลังจากนั้นนำไปรมโดยวางครอบรูเตาประมาณ ๓๐ นาที ระวังอย่าให้ไฟแรงเกินไป จะทำให้กระบอกแตกได้ บางท้องที่อาจจะใช้น้ำร้อนหรือน้ำตาลที่ต้มจนเดือดเทลวกกระบอกก็ได้ จากการสอบถามถึงสาเหตุที่ไม่ใช้สารเดมีทำความสะอาจกระบอกตาลไว้ความว่า ถ้าใช้สารเมีแล้วจะทำให้น้ำตาลหดได้ (น้ำตาลที่ได้จะน้อยกว่าปกติและน้ำตาลที่ได้จะมีกลิ่นของสารเคมีได้

 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


วีดิทัศน์

รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024