ภาพจาก : https://link.psu.th/Svpbr9
ขนมอาโป๊งหรือขนมเบื้องมาเลเซีย เป็นอาหารพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศมาเลเซียและนำเข้ามาในจังหวัดภูเก็ต หน้าตาของมันคล้าย ๆ กับขนมเบื้องทองม้วน โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากอินเดียใต้ ซึ่งจะพบได้ทั่วไปในรัฐเกรละ และรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกา ต่อมาเผยแพร่เข้ามาโดยผ่านชาวอินเดียที่อพยพมาใช้แรงงานในคาบสมุทรมลายูในอดีต
คำว่า "อาโป๊ง" นั้นมาจากภาษามลายูถิ่น คืออาปม (Apom) หรืออาปง (Apong) หรืออาปัมมานิซ (Apam manis) เดิมที่ขนมอาโป้งต้นกำเนิดเป็นอินเดียเป็นอาหารประเภทคาวโดยมีส่วนผสมของนมข้าว กะทิ และยีสต์ผสมกัน โดยจะรับประทานคู่กับแกงกะหรี่ เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมทานเป็นมื้อเช้า ต่อมาขนมชนิดนี้ได้ถูกเผยแพร่มาสู่คาบสมุทรมลายู ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรสชาติให้ถูกปากคนท้องถิ่นโดยการผสมน้ำตาลลงไป ทำให้อาโป้งกลายเป็นขนมหวานไป ซึ่งที่นิยมรับประทานในภาคใต้ เฉพาะที่จังหวัดภูเก็ต คนภูเก็ตนิยมรับประทานคู่กับชา กาแฟยามเช้า หรือช่วงบ่าย เป็นขนมที่ทานง่าย และสะดวก ตัวแป้งของขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย ไข่ไก่ เอาแต่ไข่แดง น้ำ น้ำกะทิ และยีสต์ผสมกันได้น้ำแป้งพักไว้ประมาณ ๓-๔ ชั่วโมง แล้วนำ ราดบนกระทะหลุมใบเล็ก กลิ้งน้ำแป้งให้เป็นแผ่นกลมทั่วกระทะ ทิ้งไว้บนเตาอั้งโล่ ใช้ไฟปานกลาง ปิดฝาไว้สักพัก พอเหลืองลอกออกมาม้วนตั้งทิ้งไว้ แป้งแผ่นจะม้วนกลมอยู่ตัวกรอบแต่ตรงกลางนุ่ม รสชาติหวานอ่อน ๆ
ภาพจาก : https://link.psu.th/rPMnYP
วัสดุดิบของขนมอาโป๊ง ประกอบด้วย
- แป้งข้าวเจ้า
- หางกะทิ
- หัวกะทิ
- น้ำตาลทราย
- เกลือ
- ยีสต์
- ไข่แดงไข่ไก่
วิธีทำ
นำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมเข้าด้วยกัน พักไว้ประมาณ ๓-๔ ชั่วโมง จากนั้นก็นำแป้งมาราดบนกระทะหลุมเล็ก ๆ ที่วางบนเตาไฟ โดยกลิ้งน้ำแป้งให้เป็นแผ่นกลม ๆ ทั่วกระทะ ทิ้งไว้โดยใช้ไฟกลาง ๆ แล้วปิดฝาไว้สักครู่ สังเกตพอสีเหลืองก็นำออกมาม้วนตั้่งไว้ แป้งแผ่นจะม้วนกลมอยู่ตัวกรอบแต่บริเวณกลางแผ่นจะนุ่มอร่อยแล้วนำไปราดลงบนกะทะหลุมเล็ก ๆ บนเตาถ่านที่ร้อนพอเหมาะ จากนั้นยกหูกะทะทั้งสองข้างละเลงแป้งลงในกะทะร้อน ๆ เป็นวงกลมจนทั่ว ปิดผาทิ้งไว้สักพัก หมั่นเปิดดูพอสุกก็ลอกออกมาม้วน ทิ้งไว้ให้เย็นรอนำไปรับประทานได้เลย ด้วยรสชาติที่หวานหอมจากกะทิพื้นเมือง ซึ่งมีทั้งแบบกรอบนอกนุ่มใน และแบบแป้งหนานุ่มเสมอกันทั้งชิ้น ดูๆ ไปมีความคล้ายขนมถังแตก เหมาะเป็นของว่างไว้รับประทานเล่นระหว่างมื้อ ยิ่งได้รับประทานคู่กับชาไม่ว่าร้อนหรือเย็น ก็จะอร่อยอยิ่งขึ้นแบบครบรส เคล็ดลับความอร่อยของอาโป๊ง นอกจากสูตรการผสมแป้งแล้ว ยังขึ้นอยู่กับฝีมือในการละเลงน้ำแป้งลงบนกระทะก้นลึก ให้เนื้อแป้งเรียบเนียนเสมอกันเป็นวงกลม ยิ่งถ้าใช้เตาถ่านขนมจะยิ่งหอมอร่อยขึ้นอีกเท่าตัว
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2567). อาโป้ง. สืบค้น 3 เม.ย. 68, https://link.psu.th/mPsubf