ภูมิปัญญาของชาวภาคใต้ในเรื่องที่อยู่อาศัยได้มีวิวัฒนาการ ด้านการตั้งถิ่นฐานนำไปสู่ที่อยู่อาศัยและบ้านเรือนในลักษณะต่าง ๆ กัน ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิศาสตร์ ดังคติที่ว่า "ต้องปลูกบ้านให้ แค่น้ำ แค่ท่า แค่นา แค่วัด หมายความว่าบ้านที่จะสร้างต้องใกล้แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค อันได้แก่ใกล้ลำคลอง ลำน้ำ อ่าว ทะเล เพื่อสะดวกในการสัญจรและทำมาหากิน ใกล้นาซึ่งใช้ประกอบอาชีพหลัก และใกล้วัดเพื่อสะดวกในการทำบุญและใกล้ศาสนา นอกจากนี้ชาวภาคใต้มีคติที่จะเลือกสถานที่ และบริเวณตั้งบ้านเรือน ที่สะท้อนถึงความเข้าใจสภาวะดินฟ้าอากาศ ฤดูกาล และความแปรปรวนของธรรมชาติ โดยใช้ภูมิปัญญาและคติทางสถาปัตยกรรมพื้นบ้านหลายประการ เช่น
๑. มีคติห้ามปลูกบ้านเรือน "ขวางหวัน" หรือ "ขวางทางตะวัน" (เอาด้านสกัดไปทิศเหนือและทิศใต้) เพราะขวางทางลมมรสุมอาจทำให้หลังคาปลิวและถูกพายุพัดพังได้ง่าย และยังเป็นเหตุให้แสงแดดส่องหน้าบ้านครึ่งวันส่องหลังบ้านครึ่งวัน ทำให้ร้อนอบอ้าวตลอดวัน |
๒. นิยมทำประตูหน้าต่างให้แคบ เตี้ย และเปิดเข้าด้านใน หรือแบบเลื่อนช่วยแก้ปัญหาลมโยก ลมตีเมื่อเปิดและปิด |
๓. ทำหลังคาทรงสูงชัน เพื่อกันลมเปิดและให้น้ำฝนไหลเร็วไม่รั่วง่าย ชายคาเตี้ยและยื่นยาว เพื่อช่วยกันแดดส่องและฝนสาดตัวบ้าน แนวเชิงหน้าจั่วมีหลังยื่นออกไปเรียกว่า "ปีกนก" หรืออาจต่อยาวจนต้องมีเสาค้ำยันเรียกว่า "ลงพาไล" เพื่อกันแดดส่องฝนสาดตัวบ้าน มีช่องให้ลมผ่านระหว่างพื้นบ้านกับพื้นระเบียง และระหว่างเหนือแนวฝากับหลังคา เพื่อให้ลมอากาศระบายถ่ายเท เรียกว่า "ล่องแมว" และ "ล่องลม" |
เรือนไทยภาคใต้
เรือนไทยภาคใต้ที่พบเห็นทั่วไป ประกอบด้วย
๑. เรือนเครื่องผูก
|
๒. เรือนเครื่องสับ
|
เรือนไทยมุสลิม
เรือนไทยมุสลิมจะมีลักษณะเรือนไทยมุสลิม ซึ่งสะท้อนอิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีต่อการสร้างบ้านเรือนทั้งในรูปแบบการใช้พื้นที่ การอยู่อาศัย การประกอบกิจกรรมในการดำรงชีวิตและการประดับตกแต่งตัวเรือนให้งดงาม โดยทั่วไปเรือนมุสลิมเป็นเรือนแฝด และสามารถต่อขยายไปได้ตามลักษณะของครอบครัวขยาย โดยมีชานเชื่อมต่อกันและมีการเล่นระดับพื้นเรือนให้ลดหลั่นกันไป การลดระดับฟื้นจะเห็นได้ชัดว่ามีการแยกลัดส่วนจากกันในการประกอบกิจกกรรมต่าง ๆ บางเรือนเมื่อสร้างตัวเรือนหลักเสร็จแล้ว ยังต้องกำหนดพื้นที่ให้เป็นบริเวณที่ใช้ทำพิธีละหมาด ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ต้องกระทำวันละ ๕ ครั้ง เนื่องจากประเพณีความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมจะแยกกิจกรรมของชายและหญิงอย่างชัดเจน ตัวเรือนจึงนิยมมีบันไดไว้ทั้งทางขึ้นหน้าบ้านและทางขึ้นครัว โดยทั่วไปผู้ชายใช้บันไดหน้า ส่วนผู้หญิงใช้บันไดหลังบ้าน และยังไม่รบกวนแขกในการเดินผ่านไปมาอีกด้วย โดยส่วนใหญ่ชาวไทยมุสลืมไม่ตกแต่งบ้านด้วยลวดลายที่เป็นรูปคนหรือสัตว์ เพราะขัดต่อหลักศาสนาแต่นิยมตกแต่งจั่ว ช่องลม ราวบันได ประตู หน้าต่าง หัวเสาเป็นลวดลายทรงเรขาคณิต ลายเครือเถา และอักษรประดิษฐ์
เรือนจีนชิโนโปรตุกีส
บ้านเรือนจีนแบบชิโนโปรตุกีส (Sino-Fortuguese) คือรูปแบบของสถาปัดยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายูในสมัยจักรารารารารวรดินิยมตะวันตก มีลักษณะผมสมผสานระหว่างสถาปัดยกรรมยุโรปและศิลปะจีน คือสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม/อาคารแบบโคโลเนียล (Colonial Stye) ถ้าเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย (shcp-hcuse cr seni-reidento) ด้านหน้าอาคารชั้นล่างมีช่องโค้ง (arh) ต่อเนื่องกันเป็นระยะ ๆ เพื่อเป็นช่องทางเดินท้า ภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า "อาเขต" (orcode) หรือภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า "หง่อคาซี่" ซึ่งมีความหมายว่าทางเดินกว้างฟุตนอกจากนี้อาคารแบบโคโลเนียล ได้นำลวดลายศิลปะตะวันตกแบบกรีก โรมัน หรือเรียกว่า "สมัยคลาสสิก" เช่น หน้าต่างวงโค้งเกือกม้าสิ่งที่ผสมผสานศิลปะจีน คือลวดลายการตกแต่ง ภาพประติมากรรมจำหรือนูนสูง ทำด้วยปูนปั้นระบายสีของช่างฝีมือจีนประดับอยู่บนโครงสร้างอาคารแบบโปรตุเกส บานประตูหน้าต่าง ตลอดจนการตกแต่งภายในที่มีลักษณะเป็นศิลปะแบบจีนสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส แบ่งเป็น ๒ ประนภท คือเตี้ยมฉู่หรือตึกแถวเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค่ากึ่งที่อยู่อาศัย ชั้นล่างแบ่งพื้นที่อาศัยด้านหน้าเป็นร้านค้าหรือสำนักงาน พื้นผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นกั้นทั้งแบบจีนและตะวันตกผสมกันอย่างลงตัว อีกประเภท คืออั่งม้อหลาว เป็นภาษาจีนฮกเกี๋ยน หมายถึงคฤหาสน์แบบฝรั่งที่นายหัวเหมืองแร่สร้างเป็นที่อยู่อาศัย
อาคารศาสนสถาน
มัสยิด
อาคารมัสยิดเป็นสถานที่ซึ่งชาวมุสลิมโช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นนมัสการพระผู้เป็นเจ้า รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ เป็นสถานที่ประเสริฐสุด ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบเสากลม รูปลักษณะแบบเสาโกธิกของยุโรป ช่องประตูหน้าต่างมีทั้งแบบโค้งแหลมและโค้งมน ส่วนที่สำคัญที่สุด คือหลังคาเป็นยอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร ๔ ทิศ มีหอคอคออยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดอาจจะมีสระน้ำสีเหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดผิดมีลักษณะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่
วัด
อาคารวัดในภาคใต้ ในอดีตอาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ มีอิทธิพลในงานศิลปกรรมทมี่เรียกว่าศิลปะแบบศรีวิชัย ซึ่งมีแบบแผนความงามเกี่ยวข้องกับศิลปะชวาภาคกลางของอินโดนีเซียและต่อเนื่องกับศิลปะอินเดียในสมัยคุปตะ และแบบสมัยปาลวะ เช่น พระบรมธาตุไชยา ซึ่งสร้างบนฐานสี่เหลี่ยมสูงเรียกว่าเรือนธาตุ บนเรือนธาตุเป็นสถูปรูประฆังมียอดเป็นฉัตรช้อนขึ้นไป มุมทั้งสี่ของเรือนธาตุมีสถูปจำลองประดับอยู่ เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถูปศิลปะคุปตะและปาลวะ ลักษณะหนึ่งของศิลปะศรีวิชัยที่พบในวัดหลายแห่งของภาคใต้ คือคตินิยมสร้างเจดีย์บริวารล้อมรอบเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งเป็นคติความเชื่อแบบพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาแทนที่ฝ่ายมหายาน อิทธิพลงานศิลปกรรมลังกาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างงานสถาปัตยกรรมของศรีวิชัย เป็นแบบสถูปทรงครึ่งวงกลมหรือทรงโอคว่ำ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมเตี้ย ๆ เช่น สถูปเติมที่อยู่ในสถูปประธานของวัดมหาธาตุ
ศาลเจ้า
อาคารศาลเจ้าจะมีหลังคาทรงเก๋งจีน มีจั่วยอด จั่วมีทั้งแบบโค้งมน จั่วเหลี่ยม มีทั้งหลังคาเดี่ยวและสองหลังคา สันหลังคาก่ออิฐถือปูน ฉาบผิวตกแต่งด้วยกระเบื้องปรุเคลือบและลายปูนปั้น นิยมเจาะช่องหน้าต่างเฉพาะด้านหน้า ด้านข้างเจาะช่องลมขนาดเล็ก ศาลเจ้าจะเปิดโล่งด้านหน้า โครงสร้างของอาคารจะใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก วัสดุใช้อิฐ หินปูน บางส่วนอาจใช้ซุงกลมหรือเหลี่ยมเป็นส่วนประกอบใช้หินแกรนิตร่วมด้วย เช่น สกัดเป็นกรอบประตูปูพื้น และบันได
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะศิลปศาสตร์. ภาควิชาสารัตถศึกษา. (2554). วันสายรากภาคใต้
โครงการ Learning Resourcess' 54 กลุ่มวิชาโทมัคคุเทศก์ : ภูมิปัญญาภาคใต้ ด้านที่อยู่อาศัย. ภาควิชาสารัตถศึกษา
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.