เครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีชาวบ้านในภาคใต้นั้นมีมากมายหลายอย่าง เช่น
๑. เครื่องไถนา
เครื่องไถนา เป็นคำรวมสำหรับเรียกอุปกรณ์เทียมวัวในการไถ ก่อนถึงฤดูกาลทำนาชาวบ้านจะต้องเตรียมเครื่องไถให้พร้อม และเครื่องไถเกือบทุกชิ้นจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งเหนียว และเนื้อละเอียดมีความคงทนสูง ทั้งนี้เพื่อกันหักชำรุดในขณะทำนา ไม้ที่ชาวบ้านเลือกใช้เพื่อทำเครื่องไถ เช่น ไม้ตำเสา ไม้นน เป็นต้น สำหรับองค์ประกอบของเครื่องไถ ได้แก่ หัวหมู หางยาม คันไถ แอก และผาล
- หัวหมู เป็นส่วนที่วางกับพื้น ส่วนหน้าจะทำแหลมมนสำหรับใส่ผาลเพื่อไถดิน ช่วงกลางเจาะรูสำหรับเสียบคันไถโดยใช้ลิ่มไม้ตอกอัดไว้
- หางยาม เป็นส่วนที่เสียบลงบนหัวหมู ยาวราวเมตรเศษ มีลักษณะโค้งงอ ส่วนปลายมีที่จับสำหรับบังดับไถให้ทรงตัว หรือเคลื่อนไปในทิศทางที่ต้องการ ช่วงกลางของหางยามเจาะเป็นช่องสำหรับเสียบคันไถ
- คันไถ เป็นส่วนที่เสียบติดกับหางยาม โดยใช้ลิ่มตอกไว้ มีลักษณะยาว ส่วนปลายจะค่อยเล็กงอนเชิดขึ้น เรียกว่า "งอนไถ"
- แอก เป็นไม้ที่วางขวางบนคอวัว ส่วนกลางของแอกเจาะรู้ร้อยเชือกกับลิ่มที่ตอกไว้กับคันไถ ส่วนปลายทั้ง ๒ ข้าง เจาะรูเพื่อสอดไม้ เรียกว่า "ลูกแอก" ซึ่งมีไว้เพื่อสวมคร่อมบนคอสัตว์ โดยใช้เชือกหรือหวายโยงจากโคนลูกแอกอันใน สอดกับปลายถูกแอกทั้งสองไว้
วิธีใช้เครื่องไถนา เริ่มจากเอาหางยามประกอบเข้ากับหัวหมู โดยใช้ลิ่มตอกอัดให้แน่น เอาค้นไถประกอบเข้ากับหางยาม โดยใช้สานไถหรือลิ่มไถตอกอัดไว้ นำผาลไถมาสวมอัดเข้ากับหัวหมู จะได้ไถพร้อมที่จะใช้งานซึ่งการเทียมวัวนิยมนำวัว ๒ ตัวเข้าครอบแอกเพื่อไกนา สำหรับวัวเทียมที่ใช้เทียมแอกจะต้องฝึกหรือบังคับวัวในการไถนาให้เชื่อง ซึ่งชาวบ้านจะนิยมฝึกหัดวัวให้ไถนาในช่วงเดือน ๖ ก่อน จะเริ่มฤดูการทำนา วิธีหัดเริ่มตั้งแต่เอาวัวขนาดเหมาะสำหรับนำมาไถนา อาจใช้วัวลดที่ตอนพันธุ์มาแล้ว หรือวัวเหลิง (วัวหนุ่มที่ยังไม่ตอน) ก็ได้ นำมาฝึกให้เรียนรู้คำสั่งของผู้ฝืก โดยเริ่มจากให้ฝึกคู่กับวัวที่ชำนาญแล้ว โดยให้วัวที่ฝึกใหม่เป็นตัวนอก ยืนด้านขวามือ ส่วนวัวที่ไถนาชำนาญแล้วให้เป็นตัวในยืนด้านซ้ายมือ เมื่อครอบแอกแล้วฝึกให้เดินพร้อมกับวัวตัวใน แล้วเริ่มออกคำสั่งในการไถนา ดังนี้
- ถ้าให้วัวเดินตรงหรือให้เดินออกด้านนอก ออกคำสั่งว่า "แจง"
- ถ้าให้วัวเดินเข้าด้านในเล็กน้อย ออกคำสั่งว่า "เข้า"
- ถ้าให้วัวเดินเลี้ยวตรงหัวงาน ออกคำสั่งว่า "แจงหัวงาน"
- ถ้าให้วัวเดินเลี้ยวเข้า ออกคำสั่งว่า "ลง"
๒. สอบนั่ง
สอบนั่ง หมายถึงกระสอบที่ไว้สำหรับใส่ข้าวเปลือก ข้าวสารหรือสิ่งของต่าง ๆ ชาวบ้านนิยมทำสอบนั่งเพื่อนำมาใช้ในครัวเรือน วัสดุที่นำมาสานเป็นสอบนั่ง คือกระฉูด หรือปาหนัน ซึ่งเป็นพืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
๓. คันหาบ
คันหาบเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าคานหาบ คือไม้คานสำหรับหาบข้าวเลียง คันหาบมักใช้คู่กับแสก (สาแหรก) คันหาบนิชมทำด้วยไม้ไผ่สีสุกหรือไม้ไผ่ตงที่แก่จัด โดยเลือกใช้ช่วงโดนของต้นไผ่วัดให้ได้ความยาวประมาณ ๑ วา ผ่าชีกตากแดดให้แห้ง นำไปเหลาให้ปลายทั้งสองเรียวและบางลงกว่าช่วงกลาง ถัดจากปล ายทั้งสองเข้ามาประมาณ ๕ นิ้ว บากให้เป็นหยักหรือไม่ก็ฝังสลักไม้สำหรับเกี่ยวแสก เพื่อให้คันหาบอ่อนตัวดีเวลาหาบ บางคนจะนำคานหาบมาลนไฟ บริเวณถัดจากปลายทั้งสองเข้ามาประมาณ ๑-๓ คืบ
๔. แสก
แสกหรือสาแหรก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้คู่กับคันหาบ ทำไว้สำหรับใส่ข้าวเลียงที่ชาวบ้านเก็บจากท้องนา แล้วนำมาไว้ที่เรือนข้าว
๕. แกะ
เป็นเครื่องมือเก็บข้าวที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างเรียบง่าย มีส่วนประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วน ด้วยกัน คือกระดานแกะทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือไม้ชนิดเบา มักจะใช้ไม้ตีนเป็ดหรือไม้แค ตาแกะหรือคมแกะ ทำคิ้วยเหล็กกล้า ซึ่งช่างจะนิยมใช้เหล็กสำหรับทำเลื่อย และหลอดแกะหรือด้ามแกะทำจากไม้ไผ่เรี้ยะ ที่กึ่งกลางจะเจาะช่องขนาดเท่าความหนาของกระดานแกะ สำหรับฝังกระดานแกะให้ติดกันแน่น เมื่อจะใช้แกะเก็บข้าว เอาแกะใส่เข้าในระหว่างนิ้วคลางกับนิ้วนาง จะใช้มือขวาหรือมือซ้ายก็ได้ตามความถนัดของแต่ละคน ใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้ง จับรวงข้าวแล้วเอามาทาบกับคมแกะ ใช้คมแกะตัดที่คอรวงข้าวแต่ละรวงไปจนหมด ส่วนมืออีกข้างหนึ่งใช้จับรวงข้าวที่เก็บกับแกะ
จนต็มกำมือ วางไว้ในที่แห้งแล้วเก็บต่อไปจนกระทั่งเต็มอีกกำมือหนึ่งก็เอามารวมกัน ตัดต้นข้าวที่เก็บแล้วเอามาผูกรวงข้าวให้แน่นทำเป็นเลียงข้าว
๖. ด้ง
ด้ง หรือ กระด้ง เป็นภาชนะกสาน มีลักษณะแบนขอบกลม มีหลายลายหลายขนาดนิยมใช้ในการฝัดข้าวเปลือก ข้าวที่ผ่านการซ้อมแล้ว หรือไว้สำหรับตากสิ่งของ
๗. เจ้ย
เจ้ยเป็นภาชนะจักสาน ทำจากไม้ไผ่ จากทางสาถู หรือต้นคลุ้ม ชาวบ้านนิยมสานขึ้นเพื่อใช้สำหรับ ร่อนในการแยกข้าวสารออกจากรำข้าว หรือร่อนข้าวเปลือกออกจากเศษฟาง และใช้ในการช้อนหรือดักกุ้ง ปลา และสามารถใช้ตากปลาละพืชผลต่าง ๆ ได้
๘. ครกสีข้าว
ครกสีข้าวเป็นเครื่องมือสำหรับสีข้าว ซึ่งมีลักษณะของครกสีเป็นรูปทรงกระบอกที่สานขัดขึ้นด้วยไม้ไผ่ ส่วนปากตอนบนผายออกเล็กน้อย แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนล่างตั้งอยู่บนขาไม้รูปกากบาท ภายในอัดแน่นด้วยดินเหนียวที่ผสมแล้ว มีไม้แบน ๆ เป็น ฟันล่างฝังสลับรอบแกนไม้กลมที่โผล่สูงขั้นมาเรียกว่าโด ทำจากไม้โคงกาง มีส่วนที่สานเสริมรอบ ๆ ด้านข้างยกขอบขึ้นมาเป็นกระเปาะตัดเป็นช่องสี่เหลี่ยมสำหรับให้ข้าวที่สีแล้วไหลออก ส่วนบนมีไม้ทรงสี่เหลี่ยมสอดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางได้ระดับยื่นออกนอกตัวครกทั้งสองข้าง เรียกว่าแขนหรือมือ ตรงกลางไม้นี้จะสวมรับกับโดพอดี ภายในส่วนบนนี้อัดด้วยดินเหนียวผสมแล้ว และมีไม้แเบน ๆ ฝังสลับเป็นฟันบน จากขอบปากที่ผายออกจะเว้าลึกลงเป็นรูปกรวยผ่านทะลุลงไปรอบ โดของส่วนล่างบริเวณที่ใช้ไม้ไผ่สานชาวบ้านนิยมนำมูลวัวมาทา เพื่อให้ครกสีมีความคงทนป้องกันมอดหรือแมลงทำลายได้ เมื่อต้องการสีข้าวจะต้องเทข้าวเปลือกลงในปากครกสี แล้วหมุนคันโยก ซึ่งใส่ไนรูของแขนข้างหนึ่ง ปลายคันโยกผูกติดกับมือจับที่ทำด้วยไม้กลม ๆ แขวนปลายทั้ง ๒ ไว้ เวลาสีให้จับคันโยกที่มือจับโยกให้ส่วนบนหมุนไปรอบ ๆ โด ฟันครกสีข้าวจะบดขยี้ข้าวเปลือกออกเป็นข้าวกล้อง
ซึ่งจะมีทั้งแกลบและข้าวกล้องผสมกันอยู่ จะต้องเอาใส่ด้งแล้วนำไปฝัดเอาแกลบออก
๙. ครกซ้อมข้าว
ครกซ้อมข้าวหรือครกทิ่มข้าว ชาวบ้านในภาคใต้ใช้ครกทิ่มข้าวในการซ้อมข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร ลักษณะของครกซ้อมข้าว เป็นรูปทรงกลมด้านบนขุดเป็นหลุมลึกสำหรับใส่ข้าว ตัวครกนิยมทำจากไม้ตะเคียนหรือไม้หว้า การตำใช้สากซึ่งทำจากไม้สัก ไม้นนท์ หรือไม้กำชำ นำมารมควันไฟเพื่อป้องกันมอด สากจะมีลักษณะยาวเล็ก กึ่งกลางกิ่วคอดเล็กน้อย ไว้สำหรับใช้มือจับเพียงมือเดียว (มีน้ำหนักเบา) วิธีการใช้ครกซ้อมข้าว จะวางครกบนพื้นราบโล่ง ส่วนมากมักอยู่บริเวณข้างเรินข้าว แล้วเอาข้าวกล้องใส่ลงไปไม่ให้เต็ม ใช้มือที่ถนัดเพียงข้างเดียวจับคอสากยกให้สูงสุดแขนพร้อมกับเขย่งปลายเท้า มืออีกข้างหนึ่งเหวี่ยงตามแล้วจ้วงตำลงมาอย่างแรงให้หัวสากตำลงมาที่จุดศูนย์กลางของครกที่มีข้าวอยู่ ตำจนเห็นว่าเมล็ดข้าวถูกขัดจนได้สารที่ขาวสะอาด
๑๐. ครกบด
ครกบดเป็นเครื่องมือสำหรับโม่แป้งทำด้วยหิน ประกอบด้วยอุปกรณ์ ๒ ส่วน คือตัวครกหรือหน่วยครกกับฝาครก ตัวครกมีลักษณะกลมฐานเรียบ ด้านหนึ่งทำเป็นปากสำหรับให้แป้งไหลลงสู่ภาชนะขอบครก ด้านนอกสุดหนาประมาณ ๗ เซนดิเมตร ถัดจากขอบนอกเข้ามาราว ๓ เซนติเมตร ทำเป็นแอ่งลึกลงโดยรอบ เชื่อมเป็นระดับเดียวกับปากครก ช่วงกลางของตัวครกยกสูงขึ้นกว่าขอบครกอีกเท่าตัว ตรงหน้าตัดทำเป็นฟัน ตรงกึ่งกลางของหน้าตัดทำเป็นรูกลมสำหรับใส่เดือยหรือโดไม้รับ
และยึดฝาครกไว้ ส่วนฝาครถทำให้ได้ขนาดเท่ากับหน้าตัดช่วงกลางครก ตรงกลางฝาครกทำเป็นรูให้ได้ขนาดสวมรับกับเดือย ด้านบนของฝาทำเป็นแองสำหรับรับข้าวที่จะบด ด้านข้างของฝาครกใส่ไม้ทำเป็นมือครก การโม่แป้งจะต้องวางครกบดให้สูงจากพื้นเพื่อสามารถรองภาชนะรับแป้งจากปากครกได้ ข้าวสารที่จะโม่ต้องแช่น้ำให้พอง การโม่จะต้องหยอดข้าวสารและหมุนครกไปด้วย การใช้ครกบดถือว่าเป็นการแปรรูปข้าวสารเพื่อนำมาทำเป็นขนมประเภทต่าง ๆ
๑๑. แซง
แชง หรือ กระแชง เป็นเครื่องบังแดดฝน โดยการใช้ใบเตยหรือใบลานมาเย็บเป็นแผง ๓ แผงต่อขนานกันให้ริมของแถบกลางซ้อนทับแถบริมทั้งสอง แล้วแบ่งครึ่งแผงกลางหักพับเป็นสันหลังคา แชงที่ชาวบ้านนิยมทำเพื่อนำไปไว้ในเรือ โดยใส่บริเวณตรงกลางเรือ เป็นหลังคาบังแดดบังฝนเวลาออกเรือหาปลา
๑๒. ทุน
ทุน หมายถึงหลังคาไว้สำหรับมุงในเรือเพื่อกันแดดกันฝน มีเสาไม้สี่เสาปักไว้บริเวณกาบเรือ ตัวหลังคาใช้จากทางมะพร้าว หรือผ้าพลาสติก
๑๓. ตะเกียง/ตะเกียงไอ้ต๋อง
ตะเกียงไอ้ต๋อง หรือเกียงป๋อง ตัวตะเกียงทำด้วยกระป้อง ไส้ตะเกียงทำจากเชือกฝ่้ายขวั้นเป็นเกลียว ใช้นำมันก็าดเป็นเชื้อเพลิง ไว้สำหรับให้ความสว่างในการประมงเพื่อล่อปลา เช่น การทำไซ โหมระ และยอ
๑๔. นุง
นุง หมายถึงเครื่องหวีด้ายเพื่อใช้ในการทอผ้า ครัวเรือนใคที่ทอผ้า มักจะมีนุงไว้ประจำบ้าน
๑๕. ปาดหญ้า
ปาดหญ้า หรือ ปะหยะ เป็นเครื่องมือคล้ายมีดชนิดหนึ่ง มีด้ามยาวไว้สำหรับดายหญ้าหรือถากหญ้า
๑๖. เลื่ออยทุ้ง
เลื่อยทุ้ง เป็นเลื่อยสำหรับแปรรูปไม้ เหมาะสำหรับเลื่ยอคนเดียว
๑๗. การทำคองช้อเรือ
การทำคองช้อเรือ เป็นการทำที่ไว้สำหรับเก็บเรือ นำเชือกมาผูกไว้กับไม้คานบริเวณใต้ถุนหรือนอกชานริมคลอง เมื่อจะนำเรือมาเก็บให้สอดเชือกตรงหัวเรือและท้ายเรือ แล้วค่อยดึงเชือกขึ้นให้ห้องเรืออยู่เหนือผิวน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันเพรียงมาเกาะบริเวณท้องเรือทำให้เรือสามารถใช้งานได้นาน
๑๘. บอกปุย
บอกปุย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าชุดไฟ เป็นเครื่องมือที่สามารถให้กำเนิดไฟ มีความหมายคล้ายกับไฟเช็ดหรือไม้ขีดไฟในปัจจุบัน บอกปุยทำมาจากกระบอกไม้ไผ่ที่มีขนาด ๕-๗ นิ้ว นำปุยนุ่นมายัดใส่ในกระบอกไม้ไผ่ และเตรียมหินตีไฟขนาดย่อมและเหล็กกล้ำหรือเหล็กตะไบไว้สำหรับตีไฟ การใช้บอกปุยโดยใช้มือข้างหนึ่งจับหินตีไฟให้แน่น กดไว้ตรงขอบปากกระบอกไม้ไผ่ ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับแท่งเหล็กกล้า ต่อยลงไปยังหินตีไฟอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดเป็นสะเก็ดให้ไฟติดลามตามเส้น
ใยปุยนุ่น หากต้องการที่จะเร่งไฟในบอกปุย ให้เป้าลมเพื่อช่วยเร่งไฟได้
ประสิทธิ์ บัวงาม. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมของชาวบ้านตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง.
สงขลา : คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.