กระด้ง
 
Back    30/04/2018, 14:12    11,053  

หมวดหมู่

เครื่องมือในการดำรงชีวิต


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด


ภาพจาก : http://yamichada.blogspot.com/2013/09/blog-post_4346.html

           เครื่องจักสานพื้นบ้านของภาคใต้ ในแถบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะท้องถิ่นนั้นมีหลายชนิดด้วย เช่น กระเชอ จง โคล่ โต๊ระ สีหล้า (หรือสี้ละ) เครื่องสีข้าว เซงเลง ข้อง โพง นาง ไซ กระด้งหรือด้ง ในบทความจะกล่าวถึงกระด้งหรือด้ง ที่นิยมใช้กันอยู่ในภาคใต้ มี ๒ อย่าง คือกระด้งฝัดข้าวและกระด้งมอน กระด้งทั้ง ๒ ชนิดนี้จะสานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย   พิชชา ทองขลิบ (๒๕๖๓) กล่าวว่ากระด้งของภาคใต้มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งแตกต่างจากภาคอื่น ๆ ของไทย เช่น กระด้งลายขอ กระด้งลายขอจะสานด้วยตอกไม้ไผ่ที่มีรูปร่างกลมรี คล้ายรูปหัวใจ สาเหตุที่เรียกว่ากระด้งลายขอ เพราะกระด้งชนิดนี้จะสานด้วยตอกพิเศษ ซึ่งไม่เกลาเอาเปล้าไม้ไผ่ออกปล่อยให้เป็นปุ่มนูนติดบนผิว ตอกเส้นหนึ่งจะเว้นปล้องข้อไว้เพียงข้อเดียว การสานจะเอาตอกชนิดนี้ไว้บนกึ่งกลางกระด้งและวางปล้องข้อ หรือข้อบนตอกให้สลับฟันปลากันอย่างเป็นระเบียบสวยงาม แต่การใช้งานก็จะใช้ฝัดข้าวและเมล็ดพืชเช่นเดียวกับภูมิภาคอื่น ๆ แต่กระด้งของชาวภาคใต้มีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อที่ยึดถือกันมาแต่โบราณว่าห้ามนำกระด้งขึ้นไปบนยุ้งข้าว เพราะจะทำให้ขวัญข้าวหรือแม่โพสพไม่พอใจแล้วหนีไป ไม่คุ้มครองเป็นมิ่งขวัญทำให้การทำนาไม่ได้ผลดี และความเชื่ออีกอย่างหนึ่งคือ กระด้งเป็นของสำคัญ ต้องเก็บไว้ในที่สูง ไม่ให้คนเดินข้าม มักจะเก็บไว้บนฝาบ้าน เพดาน ชายคา เหนือเตาไฟในครัว ให้ควันไฟช่วยรักษาเนื้อไม้ไผ่ไม่ให้เกิดมอดหรือแมลงนั่นเอง
         กระด้งหรือด้งนำมาใช้งานเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำไร่ ทำนา กระด้งของภาคใต้จะมีลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากกระด้งในภาคอื่น ๆ ทั้งด้านรูปแบบและลวดลายคือจะมีรูปกลมรีคล้ายรูปหัวใจ ส่วนท้ายจะกลมมนและแหลมรีเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการร่อนหรือฝัด นอกเหนือไปจากรูปแบบและโครงสร้างของกระด้งโดยเฉพาะลายขอ ที่มีลักษณะเฉพาะที่สนองความต้องการในการใช้สอยได้ดีแล้ว ขั้นตอนและแบบอย่างของลวดลายในการสานกระด้งชนิดนี้ ยังมีแบบอย่างที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น ที่สืบต่อกันมาแต่โบราณตั้งแต่หลักการสานที่คิดเป็นสูตรด้วยคำคล้องจองไว้ว่า "ยกสองข่มห้า เรียกว่าลายบ้าเอย" ที่เรียกว่า "ลายบ้า" คงเป็นเพราะว่าการสานกระด้งชนิดนี้สานยากนั่นเอง ผู้สานจะต้องเป็นช่างฝีมือดี โดยดูจากแนวทางของเส้นตอกจะต้องเป็นแนวมีระเบียบและลายของปล้องข้อจะเรียงกันได้จังหวะงดงามอยู่ตามด้านหน้ากระด้ง ส่วนด้านหลังจะเป็นแนวร่องตอกซึ่งเรียกว่า "ดี" เช่น ขนาด ๗ ดี หรือ ๙ ดี กระด้งลายขอเป็นกระด้งฝัดข้าวที่มีรูปแบบและลายสานที่ถือว่าเป็นเครื่องจักสานชั้นเยี่ยม ที่ออกแบบรูปร่างและลวดลายประณีต ประสานกับการใช้สอยได้เป็นอย่างดีและมีคุณค่าทางความงามด้วย กระด้งลายขอนิยมสานด้วยตอกไม้ไผ่สีสุก เพราะเป็นไม้ไผ่ที่มีเนื้อแข็งและเหนียว กระด้งลายขอมีลักษณะพิเศษอยู่ที่ตอก ซึ่งจะปล่อยข้อปล้องไม้ไผ่ด้านที่เป็นผิวไว้โดยไม่ได้ตัดออก ตอกด้านนี้จึงมีลักษณะเป็นขออยู่ตามปล้อง ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกว่า "กระด้งลายขอ" ตอกที่จะเว้นข้อไว้เป็นขอนี้เส้นหนึ่งจะมีข้อเหลือไว้เพียงข้อเดียว เวลาสานผู้สานจะต้องสานวางจังหวะของตอกพิเศษ ที่มีข้อเหลือไว้แต่ละเส้น ให้อยู่กึ่งกลางของกระด้ง และเรียงสลับฟันปลา การเหลือข้อไว้บนตอก เพื่อให้เกิดเป็นลายขอบนกึ่งกลางกระด้งนี้ มิได้ทำขึ้น เพื่อความสวยงามแต่อย่างเดียว หากแต่ต้องการให้เกิดประโยชน์ในการฝัดข้าวได้ดีด้วย กระด้งลายขอนี้จะใช้ฝัดข้าวเปลือก ที่ผ่านการซ้อมด้วยมือ หรือสีด้วยเครื่องสีข้าวพื้นบ้านมาแล้ว แต่ยังมีเปลือกข้าวที่เรียกว่าขี้ลีบ (ข้าวลีบ) และกากปะปนอยู่ จะต้องนำมาฝัดด้วยกระด้งลายขอ ลายขอที่เกิดจากการเว้นข้อไว้บนผิวไม้ไผ่ตามธรรมชาตินี้ จะช่วยให้กากข้าวขี้ลีบ และสิ่งที่ไม่ต้องการสะดุดกับขอของตอกที่พื้นกระด้ง ลอยตัวขึ้นบนผิวกระด้ง และจะรวมกันอยู่ตามร่อง ระหว่างขอตรงกลางกระด้ง จึงฝัดหรือเก็บออกได้ง่าย กระด้งฝัดข้าวอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะของภาคใต้คือกระด้งลายบองหยอง กระด้งชนิดนี้สานง่ายกว่ากระด้งลายขอ การสานกระด้งลายบองหยองใช้ตอกไม้ไผ่เช่นเดียวกับกระด้งลายขอ แต่ใช้ตอกเส้นใหญ่กว่าและไม่มีข้อปล้องเป็นตอกเรียบ ๆ  ธรรมดา ผิวหน้ากระด้งจึงเป็นลายเรียบ ๆ กระด้งชนิดนี้ใช้ฝัดข้าวและเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน นอกจากกระด้งทั้งสองชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีกระด้งอีกชนิดหนึ่งเรียกว่ากระด้งมอน คำว่า "มอน" เป็นภาษาปักษ์ใต้หมายถึงกระด้งกลม ขนาดใหญ่กว่ากระด้งฝัดข้าวเท่าหนึ่ง ใช้ตากพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ เพราะเป็นกระด้งขนาดใหญ่ มีเนื้อที่มากกว่ากระด้งทั่ว ๆ  ไป
        ลักษณะของกระด้งชนิดต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่า กระด้งของภาคใต้เป็นเครื่องจักสาน ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นโดดเด่นชนิดหนึ่ง นอกจากนี้กระด้งของภาคใต้ เกี่ยวเนื่องกับคติความเชื่อของชาวใต้ ที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่โบราณด้วย เช่น ห้ามนำกระด้งขึ้นไปบนยุ้งข้าว เพราะจะทำให้ขวัญข้าว หรือแม่โพสพหรือเทพธิดาแห่งข้าว ไม่พอใจแล้วหนีไป ไม่คุ้มครองเป็นมิ่งขวัญทำให้การทำนาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ความเชื่อนี้แม้จะหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมแม่โพสพจึงไม่ชอบกระด้ง แต่ก็เป็นความเชื่อที่เชื่อถือสืบต่อกันมาแต่โบราณ ความเชื่อที่เกี่ยวกับกระด้งอีกอย่างหนึ่ง คือจะต้องเก็บรักษากระด้งไว้ให้ดี ถือว่ากระด้งเป็นของสำคัญต้องเก็บไว้ในที่สูง เช่น ตามชายคาหรือเหนือเตาไฟในครัว เพื่อให้ควันไฟช่วยรักษาเนื้อไม้ ไม่ให้มอดหรือแมลงกัดกินและช่วยให้เส้นตอกแน่น มีสีดำอมแดง ดูสวยงามอยู่เสมอ การที่ชาวบ้านเก็บรักษากระด้งไว้ในที่สูง ไม่ให้เด็กนำไปเล่นนั้นอาจจะมาจากความเชื่อที่ว่าแม่โพสพเป็นผู้มีพระคุณให้ข้าวเลี้ยงชีวิตมนุษย์ จึงควรเก็บรักษากระด้งฝัดข้าวไว้ให้ดี การเก็บรักษากระด้งนี้ นอกจากจะใช้ควันไฟจากการหุงหาอาหารช่วยเคลือบผิวแล้ว บางครั้งจะทำด้วยน้ำมันยางทาขี้ชันผสมรำข้าว ซึ่งจะช่วยให้ใช้ได้นาน ถ้าพิจารณาจากความเชื่อนี้แล้ว จะเห็นว่าเป็นอุบายของคนโบราณ ที่จะรักษากระด้งไว้ให้คงทนใช้งานได้นาน เพราะกระด้งหรือด้งนั้นสานยาก จะต้องใช้ความละเอียดประณีตมาก การสานกระด้งลายขอ และกระด้งชนิดอื่น ๆ ของภาคใต้ ยังมีสานกันอยู่บริเวณพื้นที่ราบที่มีการทำไร่ ทำนา ได้แก่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังมีช่างสานกระด้งลายขอฝีมือดีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก เพราะการสานกระด้งลายขอต้องใช้ความพยายามและต้องมีความละเอียดประณีต ใช้เวลามาก
อย่างไรก็ตาม กระด้งลายขอ กระด้งลายบองหยอง และกระด้งมอน ของภาคใต้ เป็นเครื่องจักสานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นชัดเจนอย่างหนึ่งของภาคใต้ (สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,  ๒๕๖๑, ล. ๒๓)     
       กระด้งหรือด้งของใช้ประจำบ้านชาวใต้ที่นิยมกันมี ๒ ประเภท คือกระด้งฝัดข้าวและกระด้งมอน กระด้งทั้งสองชนิดนี้จะสานด้วยไม้ไผ่และหวาย สำหรับใช้งานด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำไร่ ทำนา กระด้งหรือด้งจะที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากกระด้งภาคอื่นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านรูปแบบและลวดลาย กระด้งฝัดข้าวของภาคใต้ยังออกได้ ๒ ชนิด คือ

๑. กระด้งลายขอ เป็นกระด้งฝัดข้าวที่มีรูปแบบและลายสาน ที่ถือว่าเป็นเครื่องจักสานชั้นเยี่ยม ที่ออกแบบรูปร่างและลวดลายประณีต ประสานกับการใช้สอยได้เป็นอย่างดี และมีคุณค่าทางความงามด้วย กระด้งลายขอนิยมสานด้วยตอกไม้ไผ่สีสุก เพราะเป็นไม้ไผ่ที่มีเนื้อแข็งและเหนียว กระด้งลายขอมีลักษณะพิเศษอยู่ที่ตอก ซึ่งจะปล่อยข้อปล้องไม้ไผ่ด้านที่เป็นผิวไว้โดยไม่ได้ตัดออก ตอกด้านนี้จึงมีลักษณะเป็นขออยู่ตามปล้อง ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกว่า "กระด้งลายขอ" ตอกที่จะเว้นข้อไว้เป็นขอนี้เส้นหนึ่งจะมีข้อเหลือไว้เพียงข้อเดียว เวลาสานผู้สานจะต้องสานวางจังหวะของตอกพิเศษที่มีข้อเหลือไว้แต่ละเส้น ให้อยู่กึ่งกลางของกระด้งและเรียงสลับฟันปลา การเหลือข้อไว้บนตอกเพื่อให้เกิดเป็นลายขอบนกึ่งกลางกระด้งนี้ไท้ได้ทำขึ้นเพื่อความสวยงามแต่อย่างเดียวหากแต่ต้องการให้เกิดประโยชน์ในการฝัดข้าวได้ดีด้วย กระด้งลายขอนี้จะใช้ฝัดข้าวเปลือกที่ผ่านการซ้อมด้วยมือหรือสีด้วยเครื่องสีข้าวพื้นบ้านมาแล้ว แต่ยังมีเปลือกข้าวที่เรียกว่าขี้ลีบและกากปะปนอยู่ จะต้องนำมาฝัดด้วยกระด้งลายขอ ลายขอที่เกิดจากการเว้นข้อไว้บนผิวไม้ไผ่ตามธรรมชาตินี้ จะช่วยให้กากข้าวขี้ลีบและสิ่งที่ไม่ต้องการสะดุดกับขอของตอกที่พื้นกระด้ง ลอยตัวขึ้นบนผิวกระด้งและจะรวมกันอยู่ตามร่องระหว่างขอตรงกลางกระด้งจึงฝัดหรือเก็บออกได้ง่าย นอกเหนือไปจากรูปแบบ และโครงสร้างของกระด้งลายขอ ที่มีลักษณะเฉพาะ ที่สนองความต้องการ ในการใช้สอยได้ดีแล้ว ขั้นตอนและแบบอย่างของลวดลายในการสานกระด้งชนิดนี้ยังมีแบบอย่าง ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ ตั้งแต่หลักการสานที่คิดเป็นสูตรด้วยคำที่คล้องจองไว้ว่า "ยกสอง ข่มห้า เรียกว่าลายบ้าเอย" ที่เรียกว่า "ลายบ้า" คงเป็นเพราะว่าการสานกระด้งชนิดนี้สานยากนั่นเอง ผู้สานจะต้องเป็นช่างฝีมือดีเมื่อสานเสร็จแล้วแนวทางของเส้นตอก จะต้องเป็นแนวมีระเบียบและลายของปล้องข้อ จะเรียงกันได้จังหวะงดงามอยู่ตามด้านหน้ากระด้ง ส่วนด้านหลังจะเป็นแนวร่องตอกซึ่งเรียกว่า "ดี" กระด้งลายขอนี้ส่วนมากจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก และนิยมเรียกแนวดีแทนขนาด เช่น กระด้งขนาด ๗ ดี หรือ ๙ ดี เป็นต้น กระด้งที่นิยมใช้กันเป็นกระด้งที่มีลายขอถี่หรือละเอียดมากกว่ากระด้ง ที่มีลายขอห่าง ๆ กัน
๒. กระด้งบองหยอง กระด้งฝัดข้าวอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะของภาคใต้ คือ "กระด้งลายบองหยอง" กระด้งชนิดนี้สานง่ายกว่ากระด้งลายขอ การสานกระด้งลายบองหยองใช้ตอกไม้ไผ่เช่นเดียวกับกระด้งลายขอ แต่ใช้ตอกเส้นใหญ่กว่าและไม่มีข้อปล้อง เป็นตอกเรียบ ๆ ธรรมดา ผิวหน้ากระด้งจึงเป็นลายเรียบ ๆ กระด้งชนิดนี้ใช้ฝัดข้าวและเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน

          ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือกระด้งมอน คำว่า "มอน" เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึงกระด้งกลม ขนาดใหญ่กว่ากระด้งฝัดข้าวเท่าหนึ่ง ใช้ตากพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ เพราะเป็นกระด้งขนาดใหญ่ มีเนื้อที่มากกว่ากระด้งทั่ว ๆ ไป
          ลักษณะของกระด้งทั้ง ๒ ชนิดดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่ากระด้งของภาคใต้ เป็นเครื่องจักสานที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นโดดเด่นชนิดหนึ่ง นอกจากนี้กระด้งของภาคใต้ เกี่ยวเนื่องกับคติความเชื่อของชาวใต้ ที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่โบราณด้วย เช่น ห้ามนำกระด้งขึ้นไปบนยุ้งข้าว เพราะจะทำให้ขวัญข้าว หรือแม่โพสพ หรือเทพธิดาแห่งข้าว ไม่พอใจ แล้วหนีไปไม่คุ้มครองเป็นมิ่งขวัญ ทำให้การทำนาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ความเชื่อนี้แม้จะหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมแม่โพสพจึงไม่ชอบกระด้ง แต่ก็เป็นความเชื่อที่เชื่อถือสืบต่อกันมาแต่โบราณ ความเชื่อที่เกี่ยวกับกระด้งอีกอย่างหนึ่ง คือจะต้องเก็บรักษากระด้งไว้ให้ดีถือว่ากระด้งเป็นของสำคัญต้องเก็บไว้ในที่สูง เช่น ตามชายคา หรือเหนือเตาไฟในครัว เพื่อให้ควันไฟช่วยรักษาเนื้อไม้ไม่ให้มอดหรือแมลงกัดกิน และช่วยให้เส้นตอกแน่นมีสีดำอมแดงดูสวยงามอยู่เสมอ การที่ชาวบ้านเก็บรักษากระด้งไว้ในที่สูง ไม่ให้เด็กนำไปเล่นนั้นอาจจะมาจากความเชื่อที่ว่าแม่โพสพ เป็นผู้มีพระคุณให้ข้าวเลี้ยงชีวิตมนุษย์ จึงควรเก็บรักษากระด้งฝัดข้าวไว้ให้ดี การเก็บรักษากระด้งนี้ นอกจากจะใช้ควันไฟจากการหุงหาอาหารช่วยเคลือบผิวแล้ว บางครั้งจะทำด้วยน้ำมันยางทาขี้ชันผสมรำข้าว ซึ่งจะช่วยให้ใช้ได้นาน ถ้าพิจารณาจากความเชื่อนี้แล้ว จะเห็นว่าเป็นอุบายของคนโบราณ ที่จะรักษากระด้งไว้ให้คงทน ใช้งานได้นาน เพราะกระด้งสานยากจะต้องใช้ความละเอียดประณีตมาก การสานกระด้งลายขอและกระด้งชนิดอื่น ๆ ของภาคใต้ ยังมีสานกันอยู่บริเวณพื้นที่ราบที่มีการทำไร่ ทำนา ได้แก่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังมีช่างสานกระด้งลายขอฝีมือดีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก เพราะการสานกระด้งลายขอ ต้องใช้ความพยายามและต้องมีความละเอียดประณีตใช้เวลามาก อย่างไรก็ตาม กระด้งลายขอ กระด้งลายบองหยอง และกระด้งมอน ของภาคใต้ เป็นเครื่องจักสานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นชัดเจนอย่างหนึ่งของภาคใต้


วัตถุดิบและส่วนประกอบ

         วัตถุดิบที่นำมาทำกระด้งหรือด้ง

๑. ไม้ไผ่หรือหวาย
๒. คีม
๓. ไม้สำหรับเคาะ
๔. มีด
๕. เลื่อย
๖. ลวด
๗. เชือก
๘.  เหล็ก

            วิธีทำกระด้งหรือด้ง

๑. ตัดไม้ไผ่หรือหวาย ยาวประมาณ 2 เมตร หรือยาวตามต้องการ
๒. เหลาไม้ไผ่หรือหวายให้เป็นเส้นบางพอสมควร ที่จะสานกระด้งได้
๓. นำมาเรียงกัน 8 เส้น นำไม้ไผ่มาสานกันเป็นลายขัดกัน 2 เส้น สานต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ตามขนาดที่เราต้องการ
๔. เหลาไม้ไผ่มาดัดทำเป็นขอบกระด้ง
๕. นำขอบกระด้งมาประกอบกัน ใช้ไม้ตีตอกกระด้งให้ชิด
๖. ใช้คีมไม้สำหรับคีบขอบกระด้ง เพื่อให้แนบสนิมแล้วค้างไว้ด้วยหวายถักที่ด้ามคีม เพื่อประโยชน์ให้ผู้สานมัดหวายได้แน่น

 


 https://www.sac.or.th/databases/traditional-objects/th/equipment-detail.php?ob_id=196


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
กระด้ง
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2563). ฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้พื้นฐาน : กระด้ง. สืบค้นวันที่ 16 มี.ค. 64, จาก https://www.sac.or.th/databases/
         traditional-objects/th/equipment-detail.php?ob_id=196
สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2561).  เครื่องจักสานภาคใต้  สืบค้นวันที่ 16 มี.ค. 64, จาก 
         https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=22&chap=3&page=t22-3-infodetail07.html

 


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2025