ว่าว : ภูมิปัญญาภาคใต้
 
Back    14/02/2020, 10:24    64,934  

หมวดหมู่

งานฝีมือ


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด

ภาพจาก : bebaspatan.com/?p=4692

 

           “ว่าว” เป็นวัฒนธรรมการเล่นที่เกิดจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน นักวิชาการได้กล่าวว่าคนไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ํากว่า 700 ปี ด้วยวิธีการนําเอาไม้ไผ่ซึ่งสามารถหาได้ทั่วไป มาประดิษฐ์เป็นของเล่นให้แก่ลูกหลานใช้เล่นกันในเวลาว่างจากการทํางาน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี ซึ่งจะมีลมตะวันตกเฉียงใต้ จากทะเลพัดสู่ฝั่งแผ่นดินใหญ่เรียกว่าลมตะเภาหรือลมว่าว จึงเกิดเป็นวัฒนธรรมเคียงคู่กับสังคม ชาวนาเฉกเช่นเดียวกับชาวนาบริเวณนี้ มีแนวความคิดประดิษฐ์ว่าวขึ้นมาเพื่อให้บุตรหลาน ได้วิ่งเล่นออกกําลังกายตามทุ่งนาบริเวณใกล้เคียงที่พ่อแม่เกี่ยวข้าวช่วงฤดูเก็บเกี่ยว จากนั้นเป็นต้นมาชาวบ้านได้ประดิษฐ์ว่าวเล่นกัน เพื่อความสนุกสนาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบและขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์ว่าวขึ้นมาใครมีวิธีการทําให้ว่าว ติ้งสูงและเสียงดังเมื่อขึ้นไปสู่ท้องฟ้า จะได้รับคําชมเซยและเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน ทําให้มีการเล่นว่าวช่วงฤดูเก็บเกี่ยวกันมากขึ้น จึงก่อให้เกิดเป็นกิจกรรมการแข่งขันว่าวประจําปีภายในหมู่บ้านป่าหลวงช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน และผ่อนคลายจากการตรากตรําทํานา โดยจะใช้พื้นที่บริเวณแปลงนาเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน เพราะเป็นพื้นที่โล่ง ไม่มีต้นไม้เกะกะหรือเกี่ยวสายว่าวได้ 
           ว่าวเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์เพื่อการละเล่น เพื่อความบันเทิง และเพื่อประโยชน์อย่างอื่นอีกมาก การเล่นว่าวมีมานับพันปี โดยเฉพาะในแถบภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ส่วนในแถบยุโรปและอเมริกาตามหลักฐานที่ปรากฎได้มีการใช้ว่าวเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2368 โดยครูคนหนึ่งชื่อยอร์จ ปอกเกต แห่งเมืองบริสโตน ประเทศอังกฤษ ใช้ว่าวยกลูกสาวของเขา ให้ขึ้นไปสังเกตการณ์ในอากาศ และใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ในยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2492 โดยการนำเทอร์โมมิเตอร์ขึ้นไปวัดอุนหภูมิของบรรยากาศ และในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ใช้ว่าวที่ทำเป็นกล่องขนาดใหญ่มหึมาชักไว้เหนือเรือของสหรัฐอเมริกา เพื่อดักให้ปีกและใบพัดเครื่องบินของข้าศึกหักเสียหาย  
        
สำหรับประเทศไทยมีการเล่นว่าวกันทุก ๆ ภาค แต่อาจจะแตกต่างกันบ้างในลักษณะของว่าวและวิธีการเล่น ซึ่งตามหลักฐานที่ปรากฎประเทศไทย มีการเล่นว่าวกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาแล้ว ซึ่งมีเรื่องราวกล่าวกันว่าในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้มีการใช้ว่าวในการสงครามด้วย เหตุการณ์เกิดขึ้นในตอนที่พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นกบฎ พระเพทราชาสั่งกองทัพไปปราบก็ไม่ปราบสำเร็จ ต่อมาได้ยกทัพไปเป็นครั้งที่ 2 แม่ทัพคิดจะเผาเมืองจึงได้ใช้อุบายเอาหม้อดินบรรจุดินดำผูกสายป่านว่าวจุฬาแล้วปล่อยไปถึงแล้วตกลงหม้อดินดำที่บรรจุดินระเบิดก็เผาไหม้บ้านเมืองจนราบคาบ จากประวัติศาสตร์ตอนนี้ปรากฏชื่อว่าวจุฬาเป็นครั้งแรก ต่อมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์การเล่นว่าวยังคงเป็นการละเล่นและกีฬาที่นิยม โดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนกีฬาเล่นว่าว มีการประกวดและแข่งขันว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า โดยมีกติกาการแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้การแข่งขันยุติธรรมและสนุกสนาน สถานที่เล่นว่าวในเขตกรุงเทพมหานครที่เป็นที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันคือท้องสนามหลวง ส่วนในต่างจังหวัดก็นิยมเล่นตามที่โล่งกว้าง หรือตามท้องนาทั่วไป ซึ่งไม่มีต้นไม้เป็นที่ขัดขวางของการเล่นและสะดวกต่อเล่น ต่อมาประเทศมีการพัฒนาผู้คนมากขึ้นทำให้สภาพในเมืองหลวงหรือตัวเมืองในจังหวัดอื่น ๆ มีชุมชนแออัด สิ่งก่อสร้างตึกรามและสายไฟต่าง ๆ เป็นสิ่งกีดขวางของการเล่นว่าว ประกอบสภาพเศรษฐกิจทำให้คนต้องดิ้นรนทำมาหากิน ไม่มีจิตใจที่จะคิดสนุกสนานไปชมการเล่นว่าวได้ดังแต่ก่อน จึงทำให้วงการกีฬาว่าวซบเซาไประยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2526 ได้มีหน่วยงานทั้งราชการและเอกชนได้ร่วมมือกันฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งโดยการจัดงาน "มหกรรมว่าวไทย" ณ บริเวณท้องสนามหลวง มีการประกวดว่าวชนิดต่าง ๆ มากมาย ทั้งว่าวแผง ว่าวประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และว่าวตลกขบขัน โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในงานนี้ด้วย และในปีต่อมาคือปี พ.ศ. 2527 ทางกรุงเทพมหานครก็ได้จัดงานนี้อีกเรียกว่า "งานประเพณีว่าวไทย" ณ ท้องสนามหลวง และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็เสด็จฯ เป็นองค์ประธานอีกครั้ง ส่วนสำคัญคือการประกวดว่าวภาพและการแข่งขันว่าวจุฬากับว่าปักเป้า นอกจากนั้นมีนิทรรศการว่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้ประชาชนได้ชม และในปีต่อ ๆ มาทางกรุงเทพมหานครก็ได้จัดงานประเพณีการเล่นว่าวขึ้นทุกปีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากประชาชนที่มาชมเป็นอย่างมาก ได้ความสนุกสนานและเชียร์กันขณะมีการแข่งขันว่าว ณ บริเวณท้องสนามหลวง ประเภทของว่าวที่เล่นกันแบ่งตามภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ

ภาคกลางมี ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวดุ้ยดุ่ย ว่าวหาง ว่าวอีแผด ว่าวอีลุ้ม
ภาคเหนือมี รูปร่างคล้ายว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง
ภาคตะวันออกมี ว่าวอีลุ้ม ว่าวหาง ว่าวอีแผด ว่าวดุ้ยดุ่ย ว่าวกระดาษ ว่าวมะกอก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ว่าวหาง ว่าวดุ้ยดุ่ย ว่าวอีลุ้ม
ภาคใต้มี ว่าวนก ว่าวนกปีกแอ่น ว่าวนกยูง ว่าวปลาวาฬ ว่าวปลามินแอน ว่าวควาย ว่าวใบยาง ว่าวกระบอก และ
ว่าวเบอร์อามัส

           สำหรับความหมายของคำว่า "ว่าว"  นั้นราชบัณฑิตสถานให้ความหมายไว้ว่า “ว่าว น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสายจูง สําหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู ว่าววงเดือน ว่าวควาย" ว่าวเป็นกีฬาพื้นเมืองอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นิยมทําโครงด้วยไม้ไผ่เป็นรูปต่าง ๆ หุ้มโครงด้วยกระดาษแล้วใช้เชือกชักให้ตัวว่าวต้านกับกระแสลม และเกิดมุมเฉียงกับกระแสลมว่าวจึงลอยอยู่ได้นาน วิธีการเล่นว่าวจะต้องมีคนส่งว่าวและคนชัก แต่ถ้าเป็นว่าวขนาดเล็กมาก ๆ อาจไม่ต้องใช้คนส่งก็ได้
   

          
ว่าวเบอร์อามัส

ภาพจาก : https://www.youtub.com/watch?v=yktIdxbsnYo

        การเล่นว่าวในภาคใต้นั้นนิยมเล่นเพื่อความบันเทิงและสนุกสนานเป็นหลัก ว่าวที่เล่นกันมากในภาคใต้มีหลากหลายประเภท อาทิ เบอร์อามัส (เป็นว่าวที่เกิดจากการสืบค้นตำนานว่าวของสามจังหวัดชายแดนใต้) ว่าววงเดือน (ปัจจุบันเป็นสิทธิบัตรของประเทศมาเลเซีย) ว่าวปักเป้า ว่าวนก ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวอีลุ้ม ว่าวงู ว่าวคน ว่าวกระบอก และว่าวใบไม้ ผู้เล่นมักชักขึ้นในตอนบ่ายแล้วเอาลงในตอนเช้าของอีกวันหนึ่ง โดยบางตัวอาจจะติดแอก (ทำจากไม้ไผ่และขึงด้วยใบลาน) ด้วย ซึ่งจะมีที่ดังและไพเราะ (ส่วนมากจะใช้กับว่าวที่แข่งขัน)  แต่ถ้าเป็นคนสูงอายุจะมักนิยมเล่นว่าววงเดือนขนาดใหญ่ ซึ่งจะประดิษฐ์ว่าวที่มีขนาดของปีกยาวประมาณ 3-4 เมตร ใช้คนส่งว่าวขึ้น 2-3 คน และคนชัก 3-4 คน  อย่างเช่นในภาคใต้ตอนล่าง เช่น ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะนิยมเล่นนว่าววงเดือนกัน โดยจะมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ว่าววงเดือน ว่าวควาย ว่าวเดือน หรือวาบูแล ส่วนมากจะเรียกว่าว่าววงเดือนเพราะมีลักษณะเหมือนดวงเดือน (พระจันทร์) ซึ่งว่าววงเดือนมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ปีก เขา (คล้ายเขาควาย) และดวงเดือนซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างปีกและเขาตอนกลางของลำตัว ว่าววงเดือนมี 2 แบบคือ แบบมีแอกและแบบไม่มีแอก 

      การเล่นว่าว

       ชาวใต้นิยมเล่นว่าวกันเพื่อความสนุกสนานในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว จะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ว่าวที่นิยมเล่นกันในท้องถิ่นก็เป็นพวกว่าววงเดือน ว่าวควาย ว่าวนก ว่าวปักเป้า ว่าวอีลุ้ม ว่าวปลา ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวกระบอก และว่าวเบอร์อามัส เป็นต้น ส่วนว่าวอื่น ๆ ก็พอมีให้เห็นอยู่บ้าง เช่น ว่าวจรเข้ ว่าวคน และว่าวงู แต่ถ้าเป็นว่าวที่นิยมเล่นกันมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นว่าวนก ว่าววงเดือน ว่าวควายและว่าวเบอร์อามัส โดยนักเล่นว่าวชาวใต้นิยมเล่นว่าวแบบมีแอก (ธนูว่าว)  ประกอบกับว่าวเพื่อประชันเสียงด้วยว่าว่าวตัวไหนมีเสียงแอกดังและไพเราะมากกว่ากัน ผู้เล่นมักนำว่าวขึ้นในตอนบ่ายแล้วและเก็บว่าวลงในรุ่งเช้าของวันถัดมา  และถือว่าว่าวตัวใดชักขึ้นไว้ค้างคืนได้นับว่าว่าวตัวนั้นเป็นว่าวที่ดี การเล่นว่าวโดยทั่วไปมีวิธีเล่นอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ

1. ชักว่าวให้ลอยลมแล้วปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าว
2. บังคับสายชักให้เคลื่อนไหวตามที่ผู้เล่นต้องการ ดูความสวยงาม และฟังเสียง
3. ว่าวที่แข่งขันกัน เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า

      ประเภทของว่าว
           ว่าวจุฬา  
        ว่าวจุฬาจะมีขนาดโตกว่าปักเป้ามาก บางตัวยาวถึง 2 เมตร มีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉกไม่มีหางผูกคอซุงที่อกจึงทำให้ส่ายไปมาได้ มีอาวุธคือ “จำปา” เป็นไม้เหลาโค้งประกบติดสายป่านต่อจากซุงลงมา สำหรับเกี่ยวว่าวปักเป้า ว่าวจุฬาถือเป็นว่าวเอกลักษณ์ประจำชาติไทย มีรูปร่างเหมือนดาว 5 แฉก หรือมะเฟืองผ่าฝาน สามารถบังคับให้เคลื่อนไหวในท่าต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่วและสง่างาม กีฬาว่าวพนันถือว่าว่าวจุฬาเป็นว่าวตัวผู้ใช้เล่นตัดสินแพ้-ชนะกับว่าวปักเป้า ซึ่งถือเป็นว่าวตัวเมีย 

ภาพจาก : https://sailomsk.wordpress.com/2015/12/23/chulakite-2/


             ว่าวอีลุ้ม ว่าวอีลุ้มมีรูปแบบคล้ายว่าวปักเป้า โดยมีรูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่ปลายปีก 2 ข้างติดพู่กระดาษเพื่อช่วยการทรงตัวในอากาศมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีไม้ไผ่เป็นโครงสองอันคืออกและปีกอกจะสั้นกว่าปีกเล็กน้อย กระดาษที่ใช้ปิดทาบลงบนโครงนี้คือกระดาษว่าว ซึ่งจับางเป็นพิเศษส่วนปลายของปีกทั้งสองข้างจะติดพู่กระดาษเพื่อช่วยในการทรงตัว ในขณะที่ว่าวลอยอยู่ในอากาศ มีหางสำหรับถ่วงน้ำหนักป้องกันไม่ให้ว่าวส่ายไปมา 

ภาพจาก : https://kitesss.wordpress3.com/้่ัีื้ประเภทและชนิดของ/ว่าวอีลุ้ม/


              ว่าวบอก (ว่าวกระบอก)  หรือว่าวรางหมูเป็นรูปแบบว่าวของเด็ก ๆ  ที่ทำได้ง่ายโดยใช้กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้าพับเข้าหากันให้เป็นรูปทรงกล่องที่เปิดด้านที่ 4 ไว้  พับว่าวให้มีสัดส่วนเป็น 4 ส่วน  คือส่วนหลังกว้าง  2  ส่วนและส่วนข้างด้านละ 1ส่วน  ใช้เชือกผูกส่วนข้างทั้ง 2 ข้างไว้เป็น (สายพานทรง)บริเวณส่วนบน ว่าวชนิดนี้ทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องมีโครงว่าวเหมาะอย่างยิ่งกับพวกเด็ก ๆ

ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=pFCjIpwO5ys

              ว่าวนก  ว่าวชนิดนี้นิยมเล่นกันมากในจังหวัดพัทลุง  ลักษณะคล้ายนกกางปีกร่อนอยู่บนฟ้า  ส่วนหัวอาจทำเป็นรูปหางนกแผ่บานสวยงาม โครงของว่าวนกในช่วงปีกตอนบนมีลักษณะรูปร่างคล้ายว่าวควาย ต่างกันตรงตอนล่าง ที่มีการออกแบบ ให้เป็นรูปหางนกแบบต่าง ๆ ส่วนหัวทำเป็นรูปหัวนก และมักติดแอก เพื่อให้เกิดเสียงดัง ความสวยงามของว่าวนกอยู่ที่การออกแบบลวดลายและสีสันของตัวนก ว่าวนกบางตัวออกแบบรูปร่างของปีกคล้ายปีกนกจริงมาก เมื่อว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้า จึงมีลีลา คล้ายการโผบินของนกตามธรรมชาติ

ภาพจาก : oknation.nationtv.tv/blog/TheYann/2014/02/13/entry-1


           ว่าวเบอร์อามัส ว่าวเบอร์อามัสเป็นว่าวที่เกิดขึ้นจากการสืบค้นประวัติของตำนานว่าวในภาคใต้ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับว่าววงเดือนหรือเบอร์อามัสหรือวาบูแล (วา = ว่าว, บูแล = ดวงจันทร์, บุหลัน) ของมาเลเซีย แต่ต่างกันที่ว่าวเบอร์อามัสมีโครงว่าวมากกว่าคือมีถึง 21 อัน ในขณะที่ว่าววงเดือนมี  7 อัน  ซึ่งในแง่ของประวัติศาสตร์ความเป็นมาหรือจุดกำเนิดไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนนัก แต่ว่าววงเดือนปัจจุบันกลายเป็นลิขสิทธิ์ของประเทศมาเลเซียไปแล้ว แต่ด้วยความว่าวทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นว่าวที่เด็กและผู้ใหญ่ในภาคใต้ตอนล่างของไทยนิยมเล่นกันมาก ด้วยลักษณะของว่าววงเดือนจะเห็นได้ว่ามีความแปลกแตกต่างจากว่าวทั่วไป ด้วยรูปลักษณ์ที่คล้ายพระจันทร์ในแต่ละช่วงเวลาทั้งจันทร์ซีกจันทร์เสี้ยวและจันทร์เต็มดวงว่าวชนิดนี้บ้างเรียกว่าวเดือนหรือเบอร์อามัสแต่บางพื้นที่เรียกวาบูแล(ภาษายาวี) 

ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=bWopjfjafD0

              ว่าวควาย  ว่าวชนิดนี้เกิดจากการผสมผสานระหว่างว่าวหลา  (จุฬา)  กับว่าววงเดือน  แต่ได้เปลี่ยนส่วนที่เป็นรูปดวงจันทร์ให้เป็นรูปหัวควายแทน โครงรูปร่างเหมือนหัวควายมีเขายาวโค้งรับกับปีกบน ส่วนหัวติดแอกเพื่อให้เกิดเสียงดังคล้ายเสียงร้องของควายขณะเมื่อว่าวถูกชักขึ้นสู่ท้องฟ้า ว่าวควายจัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของว่าวภาคใต้ประเภทหนึ่งที่ไม่เหมือนกับว่าวของภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะจังหวัดสตูลซึ่งเริ่มทำว่าวควายเป็นแห่งแรก และนำมาใช้ในการแข่งขันประเภทมีเสียงดังกังวาน แต่ละปีมีว่าวควายเข้าร่วมแข่งขันจำนวนถึง 300 ตัว เป็นการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นประเพณีที่มีมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพจาก : https://kite-plans.com/ว่าวควายเอกลักษณ์แห่งต/


              ว่าวเป้า  (ปักเป้า)  ว่าวปักเป้ามีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลักษณะคล้ายกับว่าวอีลุ้มแต่ว่าวปักเป้ามีหาง มีไม้ไผ่ 2  ชิ้น ผูกกันเป็นโครงว่าว โดยปกติแล้วจะต่อหางเป็นแถบยาว  เด็ก ๆ  ชอบเล่นเพราะเล่นง่าย มีโครงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนคล้ายว่าวอีลุ้ม แต่โครงไม้ไผ่ส่วนที่เป็นปีกจะแข็งกว่าปีกของว่าวอีลุ้มมาก จึงต้องมีหางยาวถ่วงที่ปลายและมีอาวุธ เรียกว่า "เหนียง" ขณะลอยอยู่ในอากาศจะส่ายไปส่ายมาโฉบเฉี่ยวในท่าต่าง ๆ ได้อย่างฉับไวคล่องตัว เมื่อถึงฤดูแข่งขันว่าวพนัน หากพบเห็นว่าวจุฬามักเห็นว่าวปักเป้าลอยพัวพันอยู่ด้วยเสมอ

ภาพจาก : https://www.pinterest.de/pin/839428818016186772/

         การแข่งว่าว 
 
        ว่าวที่นิยมใช้เล่นแข่งขันในภาคใต้คือว่าวงเดือน ในหมู่ชาวไทยมุสลิมเรียกว่าวชนิดนี้ว่า "วาบูแล" (เป็นประเภทไม่มีแอก) สำหรับว่าววงเดือนที่ไม่มีแอกทำการแข่งขันเพื่อดูว่าว่าตัวไหนขึ้นสูงกว่า ตัวนั้นก็จะขนะและนิยมแข่งขันครั้งละ 2 ตัว แบบแพ้คัดออก เมื่อตัวไหนชนะแล้วก็จะต้องแข่งขันกับว่าวตัวอื่นในรอบต่อไป จนกระทั่งได้ว่าวตัวที่ชนะเลิศ ในส่วนของว่าววงเดือนแบบมีแอกนั้นนิยมประชันเสียงแอกโดยชักปล่อยเอาไว้ค้างคืน ว่าวตัวใดลอยอยู่ได้ตลอดคืนก็ถือเป็นว่าเป็นเลิศ  

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/kitethailand166/ktika-kar-khaengkhan


วัตถุดิบและส่วนประกอบ

          สำหรับวัตถุดิบและส่วนประกอบของการทำว่าวหลัก ๆ ประกอบด้วย
        1. ไม้ไผ่ ซึ่งต้องเป็นลำแก่พอประมาณ ถ้าได้ไม้ไผ่สีสุกจะดีมาก ซึ่งโบราณถือว่าเป็นไม้มงคล ชาวไร่ ชาวนามักจะปลูกไม้ไผ่สีสุกไว้ตามรอบ ๆ บ้าน เวลาไถนาจะเอาไม้ไผ่สีสุกตรงซอ ซึ่งจะเหนียวและแข็ง
          2. เชือกกาวเอ็นด้าย สีต่าง ๆ
          3. 
กระดาษสี หรือกระดาษโปสเตอร์
          4. มีดเหลา
          5. ขี้ผึ้งหรือกาว
          6. ใบตาลหรือใบลานตากให้แห้ง หรือในปัจจุบันอาจใช้ขวดน้ำพลาสติก (กรณีเพื่อทำใบธนู)
          7. ด้ายไนล่อน
          8. อื่น ๆ เช่น  
สีน้ำ กรรไกร มีด พู่กัน เป็นต้น

       วิธีทำว่าวประเภทต่าง  ๆ
             
ว่าวจุฬา  
               
1. เลือกไม้ไผ่ลำแก่พอประมาณ
               2. เริ่มต้นให้เหลากระดงหลัง ความยาวประมาณ 3 ศอก ความหนาประมาณแท่งดินสอ 
               3. ไม้ที่ใช้ทำปีกให้เหลาเอาเฉพาะส่วนของผิวไม้ ช่วงปลายทั้ง 2 ด้านเหลาให้บางกว่าส่วนกลางของปีก ความยาวประมาณ 3 ศอกจำนวน 2 อัน มัดปีกทั้ง 2 อันติดกับกระดงหลัง ให้อยู่ระหว่างกึ่งกลางของกระดงหลัง 
               4. ส่วนขาหรือขาเหยี่ยว ให้เหลาไม้ไผ่เอาส่วนผิวยาวประมาณ 2 ศอก จำนวน 2 อัน มัดติดกันระหว่างกระดงหลังกับปีก แล้วเย็บด้วยถุงพลาสติกติดกับปีกของว่าว (อัตราส่วนของอก : หาง เป็น 3 : 2)
               5. การทำคันธนู (แอก) ให้เหลาผิวไม้ไผ่ความยาวประมาณ 3 ศอกใช้เชือกมัด โดยนำขี้ผึ้งติดกับใบตาล (ใบธนูต้องทำจากใบตาลจะได้เสียงที่ไพเราะ) ทั้ง 2 ด้าน แล้วมัดเชือกติดกับหัวว่าว ตัดหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 ศอก
               6. มัดเชือกตรงหัวว่าวยึดติดกับปีกของว่าว โดยให้อยู่ห่างจากกระดงหลังทั้ง 2 ด้าน ประมาณ 9 เซนติเมตร 
               7. ร้อยเชือกระหว่างกระดงหลังกับปีกเพื่อร้อยเชือกทำเป็นขาเหยี่ยว

ภาพจาก : https://sailomsk.wordpress.com/2015/12/23/chulakite-2/

ภาพจาก : https://sailomsk.wordpress.com/2015/12/23/chulakite-2/

ภาพจาก : https://sailomsk.wordpress.com/2015/12/23/chulakite-2/

                  ว่าวอีลุ้ม 
                  1. ตัดไม้ไผ่ ผ่าเป็นซี่เล็ก ๆ เลือกมา 2 อัน นำมาเหลาให้กลมกลึงให้ติดผิวไผ่ เพราะทำให้มีสปริง อันหนึ่งเรียกไม้ปีก อีกอันหนึ่ง เรียกไม้อก ไม้ปีกต้องเหล่าปลายทั้ง 2 ข้างให้เรียวทาน้ำมันแล้วลนไฟ
                  2. นำไม้อกและไม้ปีก มาผูกมัดเข้าด้วยกันด้วยเชือกด้าย มัดตั้งฉากกันให้จุดที่ผูกอยู่ประมาณ 1/5 ของไม้อก และ 1/2 ของไม้ปีก
                  3. ผูกด้ายที่ปลายทั้งสองข้างไม้อก แล้วโยงเชือกไปยังไม้ปีกผูกเชือกกับปลายไม้ปีกทั้ง 2 ข้าง พยายามดึงให้โก่งโค้งงอลงมาพอสวยงาม ขึงเชือกให้ตึงเรียกว่าโครงว่าว
                  4. ตัดกระดาษแก้วสีตามแบบที่ขึ้นโครงว่าว เผื่อริมไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นทากาวหรือแป้งเปียกบนของกระดาษให้ทั่วทุกด้านแล้วค่อย ๆ พับทบปิดลงบนเชือกขึงกระดาษให้ตึงทุกด้าน
                  5. ตัดกระดาษสมุดหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร 2 ชิ้น ปิดลงบนไม้แกนบริเวณกลางตัวว่าวทั้ง 2 จุด     

              ว่าวปักเป้า
                  1. การเหลาไม้ไผ่จะใช้ข้อของไม้ไผ่เป็นจุดศูนย์กลางโดยเหลาให้เป็นเหลี่ยมก่อนประมาณ 3 นิ้วแล้วจึงเริ่มเหลาให้เป็นเส้นกลมแล้วลดขนาด ให้เล็กลงจนเรียวในส่วนปลายทั้ง ๒ ข้างของส่วนปีกโดยให้คํานึงถึงแรงลม ถ้าจะทําไว้เล่นสําหรับลมแรงก็ควรจะเหลาให้ปีกแข็งถ้าจะใช้เล่นเวลาลมไม่แรงก็ควรทําให้ปีกอ่อน
                 2. การเหลาไม้คาดควรเหลาให้เป็นสี่เหลี่ยมให้ได้ขนาดพอดีมีความพอดีกับส่วนปีกและส่วนหางโดยเหลาให้มีขนาดเสมอเท่ากันทั้งสิ้น
                 3. นําส่วนปีกมาคาดตรงส่วนหัวโดยให้เหลือส่วนหัวไว้ประมาณ 3 นิ้ว ใช้ตรงกลางระหว่างข้อเป็นที่สําหรับคาดเชือก โดยจะคาดเป็นรูปไขว้พาดเฉียงแล้วใช้เชือกรัดตรงส่วนข้อเพื่อป้องกันการเลื่อน
                 4. ใช้เชือกมัดโยงจากปลายปีกทั้งสองข้างแล้วนําไปรวบมัดรวมไว้ที่ ส่วนหางของตัวว่าวให้เป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแล้วใช้เชือกผูกมัดเพื่อป้องกันการเลื่อน
                 5. การติดกระดาษควรใช้กระดาษว่าวหรือกระดาษสามาติดเพื่อความ ทนทานและความสะดวกและง่ายในการติดโดยใช้แป้งเปียกเป็นส่วนผสมในการ ติดแทนกาวเพราะแป้งเปียกสามารถให้ตัวและมีความยืดหยุ่นดีกว่ากาว โดยใช้แป้งเปียกทาให้ทั่วทั้งโครงทั้งในส่วนที่เป็นไม้ไผ่และเชือกที่คาดไว้ หลังจากนั้นก็ดึงกระดาษให้ตึงโดยการใช้มือลูบให้เรียบแล้วให้มีดหรือกรรไกรตัดส่วนกระดาษที่เหลือออกมาข้างนอก
                 6. การติดส่วนหางให้ใช้ริบบิ้นหรือกระดาษ หรือเศษผ้ามาผูกติดกับ ส่วนทางโดยส่วนหางที่ติดจะมีขนาดยาวหรือสั้นนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวว่าว เป็นสําคัญซึ่งถ้าหากติดส่วนหางยาวเกินไปก็จะทําให้ว่าวหนักส่วนหางซึ่งอาจทําให้ว่าวไม่ขึ้นได้
                 7. การทํา ใช้กระดาษที่เหลือจากการทําว่าวมาตัดเป็นริ้วเล็ก ๆ แล้วผูกติดกับส่วนปลายของปีกทั้งสองข้างโดยประโยชน์ของภู่คือเป็นตัวช่วยในการป้องกันไม่ให้ว่าวเอียงซ้ายหรือเอียงขวามากเกินไปทําให้ว่าวมีความสมดุลในการทรงตัวมากขึ้น
                8. การผูกเชิง การผูกเชิง เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สําคัญถ้าหากทําเชิงไม่ดีก็อาจทําให้ว่าวไม่ขึ้นได้ การทําเชิงต้องหาจุดศูนย์กลางโดยวัดจากจุดศูนย์กลาง โดยให้มีระยะห่างที่เท่ากันไม่ควรทําให้กว้างเกินไปหรือแคบจนเกินไป โดยสามารถทําให้เลื่อนหรือปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพของแรงลม

ภาพจาก : https://www.facebook.com/profile.php?id=100063744424351



            ว่าวนก
               1. การเหลาไม้ไผ่จะใช้ข้อของไม้ไผ่เป็นจุดศูนย์กลางโดยเหลาให้เป็นเหลี่ยมก่อนประมาณ 3 นิ้วแล้ว จึงเริ่มเหลาให้เป็นเส้นกลมแล้วลดขนาดให้เล็กลงจนเรียว ในส่วนปลายทั้ง 2 ข้างของส่วนปีก โดยให้คํานึงถึงแรงลมถ้าจะทําไว้เล่น สําหรับลมแรงก็ควรจะเหลาให้ปีกแข็งถ้าจะใช้เล่นเวลาลมไม่แรงก็ควรทําให้ปีกอ่อน ในการคาดจะคาดเป็นรูปไขว้พาดเฉียงแล้วรัดตรงข้อ เพื่อป้องกันการโยกหรือเคลื่อนระหว่างปีกส่วนบนกับปีกส่วนล่าง โดยผ่าส่วนปลายแล้วสอดให้ปลายทั้งสองข้างประกบกันแล้วท่าการคาดด้วยเชือกด้ายอีกครั้งเพื่อความแข็งแรง
              2. ไม้คาด ควรเหลาให้เป็นสี่เหลี่ยมให้ได้ขนาดความยาวพอดี มีความพอดีกับส่วนปีกและส่วนหางโดยเหล่าให้มีขนาดเสมอเท่ากันทั้งสิ้น
              3. การทําเชือกคาดอก เชือกคาดอกเป็นเชือกที่ผูกไว้ระหว่างปีกส่วนบนกับปีกส่วนล่าง โดยคาดยาวตลอดไปจนถึงส่วนหางของว่างทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเชือกคาดอก เป็นตัวกําหนดความกว้างของปีกทั้งสองข้างให้มีความกว้างเท่ากันทั้งสองข้าง เชือกคาดอกใช้ประโยชน์ในการติดกระดาษและเป็นส่วนที่ใช้บังคับส่วนหางไม่ให้คาดเคลื่อนกับส่วนหัว 
              4. การทําเชือกโยงปีก การทําเชือกโยงปีกเป็นการนําเชือกมาผูกติดกับปีกด้านซ้ายกับปีกด้านขวาโดยจะทําให้ปีกว่าวเชิดขึ้นเล็กน้อยซึ่งเชือกโยงปีกจะมี ความยาวระหว่างปีกด้านซ้ายและปีกด้านขวาเท่ากันทั้งสองข้างซึ่งจะทําให้ว่าว มีความสวยงามและเป็นตัวยึดให้ปีกว่าวแอ่นขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ว่าวมีการถ่ายเทลมได้ดีและไม่ทําให้ว่าวเสียการทรงตัว
              5. การทําหางให้ใช้ไม้ไผ่เหลาให้เป็นรูปแบนแล้วนํามาผูกติดกับส่วนหางของว่าว แล้วใช้เชือกดึงขึ้นมาผูกไว้ที่ใต้ส่วนปีกล่างทั้งสองข้างโดยส่วนหางจะเป็นตัวช่วยในการทรงตัว
              6. การติดกระดาษควรใช้กระดาษว่าวหรือกระดาษสามาติด เพื่อความทนทานและความสะดวกและง่ายในการติดโดยใช้แป้งเปียกเป็นส่วนผสม
ในการติดแทนกาวเพราะแป้งเปียกสามารถให้ตัวและมีความยืดหยุ่นดีกว่ากาว โดยใช้แป้งเปียกทาให้ทั่วทั้งโครงทั้งในส่วนที่เป็นไม้ไผ่และเชือกที่คาดไว้ หลังจากนั้นก็ดึงกระดาษให้ตึงโดยการใช้มือลูบให้เรียบแล้วให้มีดหรือกรรไกรตัดส่วนกระดาษที่เหลือออกมาข้างนอก
              7
. การทําภู่ ให้ใช้กระดาษที่เหลือจากการทําว่าวมาตัดเป็นริ้วเล็ก ๆ แล้วผูกติดกับส่วนปลายของปีกทั้งสองข้าง โดยประโยชน์ของภู่คือเป็นตัวช่วยในการป้องกันไม่ให้ว่าวเอียงซ้ายหรือเอียงขวามากเกินไปทําให้ว่าวมีความสมดุลในการทรงตัวมากขึ้น
              8. การผูกเชิง  การผูกเชิง เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สําคัญถ้าหากทําเชิงไม่ดีก็อาจทําให้ว่าวไม่ขึ้นได้ การทําเชิงต้องหาจุดศูนย์กลางโดยวัดจากจุดศูนย์กลาง โดยให้มีระยะห่างที่เท่ากันไม่ควรทําให้กว้างเกินไปหรือแคบจนเกินไป โดยสามารถทําให้เลื่อนหรือปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพของแรงลม    


ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=fAF-54jk7Wc

            ว่าวควาย
           
1.
 การเหลาไม้ไผ่จะใช้ข้อของไม้ไผ่เป็นจุดศูนย์กลางโดยเหล่าให้เป็นเหลี่ยมก่อนประมาณ ๓ นิ้วแล้วจึงเริ่มเหลาให้เป็นเส้นกลมแล้วลดขนาดให้เล็กลง จนเรียวในส่วนปลายทั้ง ๒ ข้างของส่วนปีก โดยให้คํานึงถึงแรงลมถ้าจะทําไว้เล่นสําหรับลมแรงก็ควรจะเหลาให้ปีกแข็ง ถ้าจะใช้เล่นเวลาลมไม่แรงก็ควรทําให้ปีกอ่อนในการคาดจะคาดเป็นรูปไขว้พาดเฉียงแล้วรัดตรงข้อ เพื่อป้องกันการโยกหรือเคลื่อนระหว่างปีกส่วนบนกับปีกส่วนล่าง โดยผ่าส่วนปลายแล้วสอดให้ปลายทั้งสองข้างประกบกันแล้วทําการคาดด้วยเชือกด้ายอีกครั้งเพื่อความแข็งแรง
            2
. ไม้คาด ควรเหลาให้เป็นสี่เหลี่ยมใจ มให้ได้ขนาดความยาวพอดีมีความพอดี กับส่วนปีกและส่วนหางโดยเหลาให้มีขนาดเสมอเท่ากันทั้งสิ้น
            3
. การทําเชือกคาดอก เชือกคาดอกเป็นเชือกที่ผูกไว้ระหว่างปีกส่วนบนกับปีกส่วนล่าง โดยคาดยาวตลอดไปจนถึงส่วนหางของว่างทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เชือกคาดอกเป็นตัวกําหนดความกว้างของปีกทั้งสองข้างให้มีความกว้างที่เท่ากันทั้งสองข้าง เชือกคาดอกใช้ประโยชน์ในการติดกระดาษและเป็นส่วนที่ใช้บังคับส่วนหางไม่ให้คาดเคลื่อนกับส่วนหัว
            4.
 การทําเชือกโยงปีก การทําเชือกโยงปีกเป็นการนําเชือกมาผูกติดกับปีกด้านซ้ายกับปีกด้านขวาโดยจะทําให้ปีกว่าวเชิดขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเชือกโยงปีกจะมีความยาวระหว่างปีกด้านซ้ายและปีกด้านขวาเท่ากันทั้งสองข้าง ซึ่งจะทําให้ว่าวมีความสวยงามและเป็นตัวยึดให้ปีกว่าวแอ่นขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ว่าวมีการถ่ายเทลมได้ดีและไม่ทําให้ว่าวเสียการทรงตัว
            5
. การทําส่วนหัวควาย นําไม้ไผ่มาเหลาให้มีความอ่อนเหลาให้ได้ขนาดแล้ว นํามาผูกติดกับส่วนของโครงว่าวโดยทําให้เป็นลักษณะคล้ายกับหัวควาย
            6
. การทําเขาควาย นําไม้ไผ่มาเหลาให้มีขนาดเรียวยาวที่ส่วนปลายแล้วนํามาผูกคาดติดกับส่วนหัวของหัวควาย โดยดึงส่วนปลายทั้งสองข้างไปผูกติดกับส่วนปลายของปีกทั้งสองข้างให้มีลักษณะโค้งคล้ายกับเขาควาย
            7. 
การทําหูควาย เหลาไม้ไผ่ให้มีความบางเพื่อสะดวกในการดัดให้เป็นรูปวงรีคล้ายกับหูควายแล้วนําไปผูกติดกับตรงส่วนหัวใต้เขาควาย
            8
. การติดกระดาษควรใช้กระดาษว่าวหรือกระดาษสามาติด เพื่อความทนทานและความสะดวกและง่าย ในการติดโดยใช้แป้งเปียกเป็นส่วนผสมในการติดแทนกาวเพราะแป้งเปียกสามารถให้ตัวและมีความยืดหยุ่นดีกว่ากาว โดยใช้แป้งเปียกทาให้ทั่วทั้งโครงทั้งในส่วนที่เป็นไม้ไผ่ และเชือกที่คาดไว้หลังจากนั้นก็ดึงกระดาษให้ตึงโดยการใช้มือลูบให้เรียบแล้วให้มืดหรือกรรไกรตัดส่วนกระดาษที่เหลือออกมาข้างนอก
            9
. การผูกเชิง การทําเชิงเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สําคัญ ถ้าหากทําเชิงไม่ดีก็อาจทําให้ว่าวไม่ขึ้นได้ การทําเชิงต้องหาจุดศูนย์กลางโดยวัดจากจุดศูนย์กลางโดย ให้มีระยะห่างที่เท่ากันไม่ควรทําให้กว้างเกินไปหรือแคบจนเกินไป โดยสามารถ ทําให้เลื่อนหรือปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพของแรงลม


ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=5wnSqrqKePc


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ว่าว : ภูมิปัญญาภาคใต้
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ประวัติและความเป็นมาของว่าวไทย. สืบค้นวันที่ 25 ก.พ. 63 , จาก https://sites.google.com/site/kitethailand166/prawati-laea-khwam-pen-ma-khxng-waw-thiy
สุธี เทพสุริวงศ์ และเบ็ญจวรรณ บัวขวัญ. (2547). การรวบรวใภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี. ปัตตานี : สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลา                                 นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
พิทย์ มัชรินทร์ และคณะ. (2554). คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. สงขลา :สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024