นกกรงหัวจุก
 
Back    14/02/2020, 09:48    11,450  

หมวดหมู่

อื่นๆ


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด

      นกกรงหัวจุกเป็นนกที่มีอยู่ในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เพลิดเพลิน สนุกสนานเป็นเวลานานแล้ว จากการบอกเล่าของผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกบางท่านเล่าว่า สมัยก่อนช่วงฤดูการถือศีลอดในแต่ละวัน มีความรู้สึกว่าเวลายาวกว่า ช่วงเวลาปกติจึงเลี้ยงนกกรงหัวจุกไว้ที่บ้านเพื่อความเพลิดเพลิน ช่วงเวลาที่รู้สึกร่างกายอ่อนเพลียและกระหาย จะได้ใช้เวลาหมดไปด้วยกิจกรรมและความ เพลิดเพลินกับการเลี้ยงนกกรงหัวจุก แต่ในยุคนั้น การเลี้ยงนกเขาหัวจุกยังไม่ได้รับความนิยมเท่ากับการเลี้ยงนกเขาชวา แต่เมื่อราคานกเขาชวามีราคาสูงขึ้น ทําให้ชาวบ้านที่ไม่มีเงินทุนเพียงพอ จึงเริ่มนิยม เลี้ยงนกกรงหัวจุกอย่างแพร่หลายราว 20 ปีที่ผ่านมา จนเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทุกวัย เกือบทุกครอบครัวจะแขวน นกกรงหัวจุกไว้หน้าบ้าน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรมของชาวบ้านในยุคปัจจุบัน
    ปัจจุบันการซื้อขายนกกรงหัวจุกเกิดขึ้นหลายแห่งในจังหวัดปัตตานี ตลาดที่ใหญ่ที่สุดคือหมู่บ้าน กูแบอีเต๊ะ อําเภอเมือง ภาษามาลายู แปลว่า บึงเป็ด เพราะอดีตจะเลี้ยงเป็ดกันมาก และช่วงเย็นเป็ดจะมารวมตัวกันในบึงใหญ่ในชุมชน แต่ปัจจุบันจะเป็นที่รู้จักค้านตลาดการซื้อขายนกกรงหัวจุก ตลาดแห่งนี้ เกิดขึ้นมาประมาณ 20 กว่าปี จะมีพ่อค้าคนกลาง รับซื้อนกมาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทยและ ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาส่งต่อให้กับพ่อค้ารายย่อย หมู่บ้านกูแบอีเต๊ะ ผู้มาซื้อนกสามารถเลือกซื้อได้ตาม ร้านขายนกจากปากซอยเข้าหมู่บ้านไปจนกระทั่งสุดซอย กลุ่มพ่อค้ารายย่อยมีทั้งผู้ที่อาศัยตั้งแต่ดั้งเดิมและผู้มาเช่าที่ในการขาย แต่ละร้านจะมีนกประมาณ 100-200 ตัว กลุ่มลูกค้าที่มาซื้อมีทั้งคนไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย นกจะมีหลายราคาขึ้นอยู่กับลักษณะของนก
      ผู้เดินทางมาซื้อนกที่นี้เพื่อนําไปเลี้ยงไว้ในกรง บางคนเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่นสนุกสนานเพลิดเพลิน บางคนเลี้ยงไว้เพื่อขายต่อ บางคนเลี้ยงไว้เพื่อการแข่งขัน ผู้เลี้ยงนกจึงต้องแสวงหาสายพันธุ์นกที่คิดว่าดีที่สุด ตามแหล่งต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ สําหรับผู้ที่มี ประสบการณ์จะรู้ลักษณะแต่ละสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์ พม่า สายพันธุ์ประจวบ และสายพันธุ์ลําปาง แต่ละ สายพันธุ์มีลักษณะความโดดเด่นแตกต่างกัน แล้วแต่ ใครจะชอบเลี้ยงสายพันธุ์แบบไหน ปัจจุบันการเลี้ยงนกกรงหัวจุกจะมีอยู่ทุกกลุ่มคน ตลอดถึงการรวมกลุ่มและจัดตั้งเป็นชมรมประจําหมู่บ้าน จะมีร้านค้าเป็นแหล่งศูนย์รวมในการพบปะกลุ่มสมาชิก ภายในร้านมีการบริการซื้อขายกรงนก ผ้าคลุมกรงยาบํารุงอาหารนก และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือร้านสภากาแฟ นอกจากนั้นภายในร้านจะเป็นแหล่งรวมนกจากสมาชิกและผู้ที่สนใจมาฝากขายให้กับลูกค้าที่แสวงหานก สายพันธุ์ดี ๆ เพื่อจะนําไปเลี้ยงต่อในการแข่งขัน
     สนามการแข่งขันนกกรงหัวจุกจะจัดขึ้นในชุมชน ซึ่งกลายเป็นกิจกรรมประจําหมู่บ้านที่จะรู้กันในกลุ่ม ผู้เลี้ยงนก บางชุมชนจัด 1 วัน บางชุมชนจัด 2 วันต่อ สัปดาห์ ซึ่งเป็นสนามเล็ก ๆ เพื่อฝึกนกให้เคยชินกับ สนาม ถือว่าเป็นสนามประลองนก ก่อนจะนํานกเข้าร่วม การแข่งขันสนามใหญ่ซึ่งจะมีนกเข้าร่วมการแข่งขัน ประมาณ 400-1,000 ตัว และจัดในช่วงใกล้วันถือศีลอด เพราะตลอดเวลา 1 เดือนการถือศีลอดจะไม่มีการแข่งขันนก ดังนั้นผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกจะรู้จักสนามใหญ่ ๆ อย่างเช่น "การแข่งขันนกกรงหัวจุกนัดปิดฤดูกาล"

 

ภาพสืบค้นจาก https://bit.ly/2So0bHY

        ศึกแชมป์ชนแชมป์ ณ สนามซัสโก้ (บานา) อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งถือเป็นสนามใหญ่รองจากสนามการแข่งขันนกกรงหัวจุกชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ หน้าโรงแรมซีเอส ปัตตานี  การสมัครการแข่งขันสนามใหญ่ ๆ จะต้องมี การจองบัตรเข้าร่วมการแข่งขัน มีการเปิดจองบัตร ล่วงหน้า ดังนั้นช่วงเวลาการแข่งขันสนามเล็ก ๆ จะมี การประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มผู้เลี้ยงนกทราบ ผู้นํานกเข้าร่วมแข่งขันจะต้องเสียงค่าสมัครตามข้อกําหนด แต่ละสนาม เช่น ราคา 500 บาทบ้าง 1,000 บาทบ้าง ผู้สมัครก่อนมีสิทธิ์เลือกแขวนนกในสนามการแข่งขัน ว่าจะแขวนนกของตนเองอยู่บริเวณแถวข้าง แถวกลาง ซึ่งผู้เลี้ยงจะรู้นิสัยนกของตนเองอยู่แล้ว บางตัวชอบอยู่ กรงใหญ่ เมื่ออยู่กรงเล็กไม่ขัน บางตัวได้ฟังเสียง เจ้าของจะขันทันที บางตัวจะขันเมื่อแขวนไว้ใกล้นก ตัวอื่น บางตัวจะกลัวเสียงนกที่มีอายุมากกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการเลี้ยงนกที่ผู้เลี้ยงต้องเรียนรู้ลักษณะนิสัยนกของตนเองเพื่อโอกาสแห่งชัยชนะ


ภาพสืบค้นจาก https://bit.ly/39Cws3P

กติกาการแข่งขัน
     กติกาการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ซึ่งกติกาที่ผู้เลี้ยงนกถือว่ายากที่สุดเรียกว่าการแข่งแบบมาราธอน 4 ยก 12 คอก แต่ละยกนั้นจะมีคณะกรรมการจับเวลาด้วยการใช้กะลามะพร้าวหรือถ้วยเจาะรู ตรงกลางใส่ในถังน้ํา ภาชนะจมลงก้นถังเมื่อไร หมายถึงหมดเวลา 1 ยก เฉลี่ย ยกละประมาณ 20 วินาที นกจะต้องขันยกละ 3 คอก หรือว่า 3 ครั้งต่อหนึ่งยก รวม 4 ยกได้ 12 คอก/ครั้ง ซึ่งเป็นการยากสําหรับนกที่จะขันได้ตามกฎกติกา ส่วนบางสนามใช้กติกาลดหย่อนลงมาเพื่อเปิดโอกาสให้นก เช่น 4 ยก 9 คอก คือ รวมการแข่งขันทั้ง 4 ยก ให้นกขันรวมกัน 9 คอก/ครั้งก็จะได้เข้ารอบ
       คณะกรรมการตัดสินการแข่งขันมีประมาณ 10 คน แบ่งออกเป็นชุดละ 2 คน แยกกันตัดสินตามโซนที่จัดแบ่งไว้พร้อมกัน กรรมการหนึ่งคนจับเสียงร้องของนก พร้อมกับฟังสัญญาณจับเวลาจากคณะกรรมกลาง อีกคนทําหน้าที่ในการจดบันทึกเสียงร้องในแต่ละยก ถ้านกตัวใดเข้ารอบแล้วจะพับกระดาษไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเข้ารอบต่อไป
    การแข่งขันแต่ละครั้งจะมีนกเพียง 1 ตัวเท่านั้นเป็นผู้ชนะ เพราะจะแข่งขันจนกว่าจะหานกตัวชนะเลิศ ส่วนนกตัวอื่น ๆ ที่ตกรอบไปก่อนหน้านี้ก็ต้องคอยจนกว่า จะปิดสนาม เพราะไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายในการแข่งขัน สําหรับรางวัลการ แข่งขันแต่ละสนามจะแตกต่างกัน นอกเหนือจากรางวัลชนะเลิศที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 แล้ว ยังมีรางวัลอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งเงินรางวัลจะได้มาจากค่าสมัครของสมาชิก ที่เข้าร่วมการแข่งขัน แต่สําหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันนกกรงหัวจุกมองว่าเงินรางวัล ไม่สําคัญเท่ากับความสนุกสนานตื่นเต้นและชื่นชอบกับกีฬาการแข่งขันนกกรงหัวจุก
     บรรยากาศการแข่งขันนกกรงหัวจุก มีความสนุกสนานตื่นเต้นกับบรรดาผู้ เลี้ยงนกและกองเชียร์ ซึ่งจะรู้ลักษณะนิสัยของนกได้อย่างดีว่าจะแสดงลีลาท่าทาง อย่างไรให้นกขันคล้ายกับการเชียร์มวย จึงมีการโห่ร้อง ตบมือให้จังหวะ พร้อมเรียกชื่อนกของตนเองต่างกันออกไปอย่างสนุกสนาน เทคนิคและกลวิธีการแข่งขัน จะต้องใช้ไหวพริบปฏิภาณกันตั้งแต่ช่วงเริ่มการแข่งขัน บางคนต้องอุ่นเครื่องนก ของตนก่อนด้วยการแขวนไว้ตามเบอร์ในสนามทันทีที่มาถึง เพื่อให้คุ้นเคยกับ นกตัวอื่น ๆ บางคนรู้ว่านกจะร้องทันทีที่อยู่ใกล้นกตัวอื่น ผู้เลี้ยงจึงต้องใช้ผ้าคลุม ไว้จนกว่าจะมีการแข่งขัน นกบางตัวร้องอยู่ดี ๆ เห็นนกตัวอื่นลําพองขนเล่นก็จะ เล่นตาม ถ้าเป็นนกอายุน้อยแขวนใกล้กับนกแก่ เมื่อได้ยินเสียงก็จะกลัวไม่ยอมขัน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในสนามที่เจ้าของต้องใช้เทคนิคและลีลาในการเชียร์ เพื่อให้นก ของตัวเองมีเสียงขันออกมา เพื่อจะได้เข้ารอบต่อไป


วัตถุดิบและส่วนประกอบ

กรงนกกรงหัวจุก


        กรงนกเขาชวาและกรงนกกรงหัวจุก มีลักษณะแตกต่างกัน โดยกรง นกเขาชวานิยมทรงรูปกลมมน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๔ นิ้ว สูงประมาณ ๑๖-๑๘ นิ้ว ในอดีตการทำกรงนกมีลักษณะเรียบ ๆ ต่อมาได้มีการพัฒนา โดยแกะดอกเป็นรูปต่าง ๆ ที่ซี่กรงเรียกว่า “กรงมีดอก” ล่าสุดมีการพัฒนาถึงขั้นทําด้วยไม้สาวดํา ไม้มะม่วงป่าและไม้ชิงชัน ทั้งตัวกรงและซี่กรง พร้อมทั้งแกะสลักที่ฐานกรง รียกว่า “กรงแกะสลัก สําหรับกรงนกกรงหัวจุกที่นิยมทรงสี่เหลี่ยมคางหมู สูงประมาณ ๓๐ นิ้ว ด้านล่างกว้างประมาณ ๑๔ นิ้ว นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแบบเช่น แบบบัตตานี แบบนราธิวาส แบบนครศรีธรรมราช แบบสิงคโปร์ ทรงกลมแบบถังเบียร์ แบบสมไก่ แบบหกเหลี่ยม แบบสี่เหลี่ยมและแบบโดมมัสยิด ไม้ที่น่ามาทําเป็นกรงได้แก่ ไม้สาวดํา ไม้มะม่วงป่า ไม้ประตู ไม้ชิงชัน ไม้มะเกลือ ไม่หลุมพลอ ไม้ตะเคียน ไม้สัก สวนไม้ที่นํามาทําซี่ลูกกรง ได้แก่ ไม้ไผ่สีสุก ไม้ไผ่ลําละลอก ไม้ไผ่ดงและไม้ไผ่อื่น ๆ ซึ่งดีที่สุดคือไม้ไผ่สีสุกและไม้ไผ่ลําละลอก
         ไม้ไผ่ที่จะนํามาทํากรงถ้าหากจะให้แข็งแรงทนทานและใช้ได้นาน ให้ใช้ไม้ไผ่ที่แก่จัด ซึ่งก่อนที่จะนํามาเหลาต้องเอาไปแช่น้ำทะเลนานประมาณ ๒-๓ เดือน แล้วนํามาเก็บในที่ร่มประมาณ ๒-๓ เดือน จะทําให้เนื้อไม่เหนียว มอดไม่กิน เวลาเหลาไม่ได้เนื้อจะสวยสดคงที่


ผู้ประกอบการ

 

 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
นกกรงหัวจุก
ที่อยู่
จังหวัด
ปัตตานี


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

รอฮานี ดาโอ๊ะ, ประสิทธิ์ รัตนมณี และนิปาตีเมาะ หะยีหามะ. (2553). ร้อยเรื่องราวชุมชนวัฒนธรรมปลายด้ามขวาน. ปัตตานี :  สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา                     
           มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
นกกรงหัวจุก. (2554). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก https://bit.ly/2So0bHY
นกกรงหัวจุก. (2561). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63,https://bit.ly/39Cws3P


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2025