ตาลโตนด : วิถีคนบ้านทุ่ง (ปัตตานี)
 
Back    14/02/2020, 15:47    4,949  

หมวดหมู่

อาหาร


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด


ภาพจาก ; เพจ#กลอนใต้แหลงใต้คนใต้" ; https://www.facebook.com/groups/2077731925843270

     บ้านทุ่ง หมู่ที่ ๔ ตําบลบ้านทุ่ง อําเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ประชากรมีทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ ๑๑๖ ครัวเรือน ชาวบ้านบริเวณนี้ตั้งถิ่นฐานมาประมาณ ๓ ช่วงอายุคน หรือประมาณ ๓๐๐ ปี จึงมีฐานต้นทุนทรัพยากรหลักคือพื้นที่นากับตาลโตนด ในอดีตหมู่บ้านแห่งนี้ค่อนข้างกันดารไม่มีเส้นทางสัญจร มีเพียงคันนาแคบ ๆ ยังไม่มีถนนหนทางเหมือนเช่นปัจจุบันนี้ ส่วนมากใช้รถจักรยาน (ชาวใต้เรียกว่ารถถีบ) ในการเดินทางเพราะรถยนต์ไม่สามารถสัญจรได้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๗ องค์การบริหารส่วนตําบลได้ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านจัดทําโครงการสร้างถนนสายบ้านทุ่งไปสู่ถนนใหญ่ เป็นระยะทางประมาณ ๓  กิโลเมตร  โดยปกติวิถีชีวิตของคนบ้านทุ่งไม่นิยมออกไปสู่สังคมภายนอก จึงยึดอาชีพทํานาและปืนตาลโตนดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ต้นตาลโตนดจึงเป็นต้นทุนทรัพย์ที่มีค่าในด้านอาชีพซึ่งตาลโตนดส่วนจะขึ้นเองตามบริเวณคันนา (หัวนา)  ซึ่งเกิดจากที่ชาวบ้านจะเก็บลูกตาลที่ตกหล่นอยู่ในแปลงนาของตน มาตั้งไว้บนคันนาเพื่อความสะดวกเวลาไถนาประจําปี ถ้ายอดต้นตาลเอียงไปทางพื้นแปลงนาของใครคนนั้นก็เป็นเจ้าของต้นตาล ซึ่งเป็นมติของชาวบ้านที่ทุกคนยอมรับกัน


วิถีคนปาดตาล
   
 ฤดูกาลขึ้นต้นตาลไปปาดงวงจะเริ่มในเดือนธันวาคมหรือเดือนอ้าย ถึงเดือนกรกฎาคมหรือเดือนแปด โดยการขึ้นไปพิจารณาดูว่างวงตาลนั้นยาวได้ขนาดหรือยัง (งวงตัวเมียจะให้น้ำตาลหวานกว่าตัวผู้ และงวงตัวเมียเท่านั้นที่จะให้ผลตาลส่วนตัวผู้ออกแต่งวง) สมัยก่อนการขึ้นตาล (ปาดตาล) จะมีพ่อเฒ่าผู้แก่ดูฤกษ์ยามการขึ้น ต้นตาลให้ เมื่อได้วันดีแล้วก็จะปีนขึ้นไปทางพะองหรือโองมาทาบและผูกด้วยเชือกกับต้นาล โดยนําไม้คาบไปคาบหรือหนีบงวงตาลอยู่ประมาณ ๑๕ วัน (เช้า-เย็นหรือวันละครั้ง) ต้นตาลที่จะเริ่มให้น้ำตาลหรือปาดได้ ต้องมีอายุ ๑๐ ปี ขึ้นไป หลังจากนั้นอุปกรรณ์หรือภาชนะ เช่น กระบอกไม้ไผ่ (ปัจจุบันใช้ขวดพาสติกหรือแกลลอน) สมัยก่อนจะเอาโคลนจากหัวนาใส่กระบอกไปปหมักรอบ ๆ งวงตาลไว้ประมาณ ๒-๓ วัน จากนั้นก็ถอดกระบอกแช่ออก ปล่อยให้งวงแห้งไปจนเย็นแล้วรูดดินที่งวงตาลออก แล้วจะใช้มีดปาดตาลซึ่งมีความคมเป็นพิเศษปาดตาลเพื่อให้น้ำตาลย้อยออกทิ้งไว้อย่างนั้น ๒ คืน จากนั้นก็ให้ปาดใหม่โดยเอากระบอกหรืออุปกรณ์ที่ใส่ไม้เคี่ยมไว้รองรับน้ำตาล น้ำตาลที่ได้จะเป็นน้ำตาลหวาน หากทิ้งไว้ ๔ วัน จะมีรสออกเปรี้ยว (น้ำตาลเมาหรือหวาก) การใส่เคี่ยมจะมีผลต่อการจะเป็นหวากเร็วหรือช้า โดยปกติจะเรียกกันว่าลูกยอดหรือน้ำตาลเมา ที่เรียกแบบนั้นเพราะได้มาจากบนต้นตาลโดยตรง ส่วนความหวานของน้ำตาลนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาลและลักษณะดินในบริเวณนั้น ๆ โดยช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปี จะเป็นช่วงที่ต้นตาลมีปริมาณน้ำตาลมาก ผู้ชายเกือบทุกครัวเรือนของบ้านทุ่งแห่งนี้จะปืนตาลโตนดอย่างน้อยก็คนละ ๓๐ ต้น หลังจากนั้นต้นตาลจะให้ปริมาณน้ําตาลสดน้อยลง บางคนจึงเริ่มหางานรับจ้างอื่นแทน แต่บางคนจะปืนตาลโตนตลอดทั้งปี แต่ก็ต้องพยายามหาต้นตาลที่พอจะมีน้ำตาล การปืนตาลโตนดจะต้องใช้แรงกายมาก เพราะต้นตาล ๑ ต้นจะต้องปีนขึ้นลงวันละ ๔ เที่ยว ถ้าขึ้นวันละ ๓๐ ต้น ต้องปีนต้นตาลถึง ๑๒๐ เที่ยวต่อ/วัน วิถีชีวิตคนขึ้นตาลแม้จะเหนื่อยแต่แท้จริงกลับมั่นคง จากการสํารวจครอบครัวคนทําตาล ๓๐ ต้น ที่อยู่ตามคันนา ฤดขึ้นตาลมีเพียง ๓-๔ เดือน ผลผลิตน้ำผึ้งโหนดจะได้มากกว่า ๑๐๐ ปีบ ราคารับซื้อถึงบ้าน ๑,๒๐๐-๑,๔๐๐ บาท/ใบ จึงมีรายได้หลักแสนต่อปีจากตาล ๓๐ ต้น ตาลนับเป็นไม้ในระบบนิเวศวัฒนธรรมที่ยั่งยืน และยังสร้างรายได้สูงกว่าพืชเศรษฐกิจทุกชนิด ตาลหนึ่งต้นสร้างรายได้เฉลี่ยราว ๒๐,๐๐๐ บาทต่อปี

การเคี่ยวนตาล
       การเคี่ยวน้ําตาลสดจะเป็นหน้าที่ของแม่บ้านและบรรดาลูก ๆ ทุกคน จึงทำให้ไม่มีเวลาออกไปสู่สังคมภายนอก โดยจะนิยมเคี่ยวน้ําตาลสดครั้งเดียวคือช่วงเช้า ส่วนน้ําตาลสดช่วงเย็นจะเคี่ยวพอประมาณแล้วนํามารวมกับน้ําตาลสดช่วงเช้าจึงต้องใช้เวลาเคี่ยวทั้งวันกว่าจะได้เป็นน้ําผึ้งเหลว

การขายน้ำตาล
        การซื้อขายน้ำตาลจะมีหลายรูปแบบ สำหรับน้ําตาลสดที่ขายกันในปัจจุบันนี้ประมาณปี๊บละ ๑,๐๐๐ บาท โดยจะมีพ่อค้าเข้ามาตระเวนซื้อเกือบทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเดือนถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม จะมีความต้องการน้ําตาลสดปริมาณมาก เพื่อนําไปรับประทานช่วงเปิดบวช หรือจะมีพ่อค้าจากจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลาเข้ามาซื้อจํานวนมาก ปัจจุบันจะมีพ่อค้าสั่งจองเพื่อส่งไปขายต่อให้กับโรงงานผลิตเหล้า (เหล้าเถื่อน) แต่ช่วงนั้นปริมาณน้ําตาลสดจะมีปริมาณน้อย และส่วนที่เหลือจากการขายน้ําตาลสดจะนํามาเคี่ยวเป็นน้ําผึ้งเหลว ซึ่งน้ําตาลสด ๕ ปี๊บ จะได้น้ําผึ้งเหลวประมาณ ๑ ปี๊บครึ่งเท่านั้น เพราะต้องเคี่ยวจนกว่าน้ําตาลสดแปรสภาพเป็นน้ําผึ้งต้องใช้เวลานาน 


ผู้ประกอบการ

    

 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ตาลโตนด : ยังคงอยู่คู่กับคนบ้านทุ่ง
ที่อยู่
จังหวัด
ปัตตานี


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ตาลโตนด. (2561). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก https://www.winnews.tv/news/22070
ตาลโตนด. (2557). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก https://bit.ly/3by3wvH
รอฮานี ดาโอ๊ะ, ประสิทธิ์ รัตนมณี และนิปาตีเมาะ หะยีหามะ. (2553). ร้อยเรื่องราวชุมชนวัฒนธรรมปลายด้ามขวาน. ปัตตานี :  สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
                 
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024