มะม่วงเบาสงขลา
 
Back    13/03/2025, 15:19    51  

หมวดหมู่

พืชผัก


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด


ภาพจาก : สงขลามหานครการเกษตร, ๒๕๖๕, น. ๓๖         

                มะม่วงเบาสงขลา ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งซื้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ครอบคลุมพื้นที่ปลูกบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ทั้ง ๔ อำเภอของสงขลา คือสิงหนคร สทิงพระ กระแสสินธุ์ และระโนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอสิงหนคร จะมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ทำให้เม็ดเงินสะพัดในจังหวัดสงขลา มากกว่า ๒๐๐ ล้านบาท/ปี มะม่วงเบามีตันกำเนิดในอำเภอสิงหนครเพราะจากหลักฐานที่พบต้นม่วง ที่มีอายุมากที่สุดซึ่งมีอายุหมากกว่า ๑๐๐ ปี ด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ที่มีภูมิประเทศติดทะเล ฝั่งทะเลสาบลงขลา ทำให้ดินมีแร่ธาตุสมบูรณ์ มะม่วงจึงมีรสชาติดี โดดเด่น และแตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ โดยมะม่วงเบาของสิงหนคร จะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ รสเปรี้ยวกำลังดี ไม่เปรี้ยวจัดเนื้อกรอบ เปลือกบาง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เจพาะถิ่นและเป็นที่ต้องการของตลาด
              มะม่วงเบาที่ปลูกในอำเภอต่าง ๆ ของสงขลา จะเรียกโดยรวมว่า "มะม่วงเบาสงขลา" แต่จะมีการปลูกมากในคาบสมุทรสทิงพระโดยเฉพาะที่.สิงหนคร ซึ่งจะปลูกทั้งมะม่วงเบา และมะม่วงพิมเสนเบา รวมพื้นที่ปลูกมากกว่า ๒,๐๐๐ ไร่ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรปลูกมะม่วงเบา และมะม่วงพิมเสนเบาชิงโค เล่าว่าประชากรในหมู่ที่ ๓, ๔, ๕, และ ๖  ในตำบลสทิงหม้อ มีการปลูกมะม่วงเบา และมะม่วงพิมเสนเบาเป็นจำนวนมาก ทั้งลักษณะการปลูกแบบเดี่ยว และแบบไร่น่าสวนผสม เนื่องจากมะม่วงดังกล่าวสามารถเพาะปลูกได้ดีในเขตภาคใต้ และจังหวัดลงขลา ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ ปริมาณผลผลิตมะม่วงอออกสู่ตลาดทั้งปี โดยมะม่วงเบาจะให้ผลผลิตปีละ ๒ ช่วง คือประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน และเดือนกันยายน-ตุลาคม ทำให้ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต้นบ้าตุ้นบำรุงดอกอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตต่อต้นต่อปีราว ๆ ๔๐๐-๖๐๐ กก. ราคาหน้าสวนอยู่ที่ กก. ไม่ต่ำกว่า ๓๐-๘๐ บาท ในปัจจุบันมีการรวมกลุ่มเกษตรกรกว่า ๒๐ ราย หรือกว่า ๑๐๐ ไร่ ทำเกษตรแบปลอดภัยโดยได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) จากกรมวิชาการเกษตร และได้รับการ ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI (Goographical Indication) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการอย่างมากและไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย นอกจากนี้ยังได้รวมกลุ่มแม่บ้านนำมะม่วงเบา และมะม่วงพิมเสนเบาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย ทั้งมะม่วงเบาแซ่อิ่ม มะม่วงเบากวน มะม่วงเบาอบแห้ง แยมะม่วงเบา น้ำยำจากมะม่วงเบา และน้ำมะม่วงเบาพร้อมดื่มในรูปแบบพาสเจอไรซ์ โดยสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัดมากกว่า ๒๐๐ ล้านบาท/ปี มะม่วงเบาและมะม่วงพิมเสนเบาสงขลา จึงถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของจังหวัดสงขลา มีการส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปกระจายสู่ท้องตลาดตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปจนถึงจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ นอกจากขึ้นทะเบียน GI มะม่วงเบาผลสดแล้ว การขึ้นทะเบียนดังกล่าวยังรวมถึงมะม่วงเบาแซ่อิ่ม และมะม่วงเบาดองเกลือ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมของคนในจังหวัด และนักท่องเที่ยวที่มักซื้อนำไปเป็นของฝากที่เป็นอีกหนึ่งซิกเนเจอร์ของสงขลา 


ภาพจาก : https://link.psu.th/73NMe6

            ในด้านนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งนำโดยนายไพเจน มากสุวรรณ์ นายก อบจ.สงขลา ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และการเกษตรท้องถิ่นสงขลาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดย อบจ.สงขลา ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดงาน "ซิมม่วงเบา เที่ยวเมืองเก่าสิงหนคร" เป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมการผลิต กระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์มะม่วงเบาสงขลา ให้เป็นที่รู้จักโดยแพร่หลายมากยิ่งขึ้นสำหรับกิจกรรมภายในงาน "ซิมม่วงเบา เที่ยวเมืองเก่า สิงหนคร" ก็จะมีหลากหลายกิจกรรมให้เพลิดเพลิน อาทิ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของดีอำเภอสิงหนคร จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร การแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังต่าง ๆ และกิจกรรมเที่ยวเมืองเก่าสิงหนคร เป็นต้น  สำหรับการท่องเที่ยววิถีมะม่วงเบา นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมสวนมะม่วงเบา ทำการเก็บเกี่ยวมะม่วงจากต้น พร้อมกับรับประทานมะม่วงน้ำปลาหวาน และไปชมการแปรรูปมะม่วงเบา และมะม่วงพิมเสนเบาเป็นมะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงกวน มะม่วงอบแห้ง และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากมะม่วง ที่สามารถซื้อเป็นของฝากจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะม่วงบ้านนาออก ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โทร. ๐๘๙-๙๗๖๑๒๖๒, ๐๘๙-๘๗๗๒๔๓๘ และ ๐๙๕-๐๘๔๓๕๗๖


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
มะม่วงเบาสงขลา
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


บรรณานุกรม

ธัชธาวินท์ สะรุโณ, บรรณาธิการ. (2565). สงขลามหานครการเกษตร (Songkhla...Metropolis of Agriculture). สงขลา :  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2025