เจ้าพระยาวิเชียรศีรี (เม่น) เป็นบุตรพระยาวิเศษภักดี (เทียนจ๋อง) หรือพระยาวิเศษภักดีฤทธิ์ (ท่านเคยเป็นหลวงนายฤทธิ์นายเวรมหาดเล็กและเป็นคนโปรดของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ) เจ้าพระยาวิเชียรติฯ (เม่น) เกิดในรัชชกาลที่ ๒ วันเสาร์ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๕๘
ลําดับยศและบรรดาศักดิ์
- เดิมได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายจ่าเรศมหาดเล็กหลวง |
- พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อน ขึ้นเป็นพระสุนทรนุรักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาสุนทรานุรักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา |
- พ.ศ. ๒๔๐๘ เมื่อเจ้าพระยาสงขลา (บุญสัง) ถึงอสัญกรรมได้เลื่อนที่เป็นพระยาวิเชียรคีรี ผู้สําเร็จราชการเมืองสงขลา ถือศักดินา ๕,๐๐๐ ไร่ |
- พ.ศ. ๒๔๑๕ ปีวอก ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาวิเชียรคีรี ผู้สําเร็จราชการเมืองสงขลา |
- พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้รับพระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้าฯ |
ราชการพิเศษ
- พ.ศ. ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จ กลับจากประพาสเมืองสงขลาแล้วทรงพระราชศรัทธา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน ๓๗ ชั่งเศษ ให้เจ้าพระยาสงขลา (เม่น) เป็นแม่กองสร้างพระเจดีย์บนยอดเขาตังกวน บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นให้สูงใหญ่กว่าเก่าเป็นสูง ๙ วา ๓ ศอก |
- พ.ศ. ๒๔๑๔ จัดการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อแรกเสวยราชสมบัติเสด็จประพาสประเทศอินเดีย ขากลับเสด็จขึ้นเมืองไทรบุรี เสด็จพระราชดําเนินตามถนนที่สร้างจากเมืองไทรบุรีมาลงเรือพระที่นั่งที่ท่าเมืองสงขลากลับสู่พระนคร เป็นประวัติการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จข้ามแหลมมลายูทางสถลมารคเป็นครั้งแรก |
- พ.ศ. ๒๔๒๑ เจ้าพระยาสุรวงศ์สมุหพระกลาโหมมีบัญชาสั่งให้สร้างตึกเป็นที่พักริมน้ําใกล้ป้อมรักษาขอบเขตต์บ้านแหลมทราย |
- พ.ศ. ๒๔๒๕ เดือน ๙ ระระราชทานเพลิงศพพระอนุรักษ์ภูเบศ์ร (ถัด) บุตรเจ้าพระยาสงขลา (บุญสัง) และหลวงอุดมภักดี ผู้ช่วยราชการ |
- พ.ศ. ๒๔๒๕ พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนต์ร) บุตรชายคนใหญ่ของเจ้าพระยาสงขลา (เม่น) ถึงแก่อนิจกรรม |
- พ.ศ. ๒๕๒๖ สร้างเมรุที่ทุ่งหลังเมืองเผาศพท่านน่วม บุตรพระยาสงขลา (เถี้ยบจ๋ง) ผู้เป็นพี่ร่วมมารดากับเจ้าพระยาสงขลา (เม่น) และจัดการพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงสุทธิ์และศพพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร) |
เจ้าพระยาวิเชียรคร (เม่น) มีท่านผู้หญิงชื่อสุทธิ์ เป็นบุตรพระยารัตนโกษา (บุญเกิด) ชาวกรุงเทพฯ ท่านผู้หญิงสุทธิ์ที่เป็นผู้สร้างวัดสุทธิวราราม มีบุตรและธิดา ๔ คน คือ
๑. พระยาสุนทรานุรักษ์ ( เนต์ร) ต. จ. ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา |
๒. หญิงชื่อกลิ่น |
๓. หญิงชื่อกุหลาบ เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๔ |
๔. หญิงชื่อปั้น เป็นภริยาหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) |
หลังจากที่พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนต์ร) บุตรชายซึ่งเป็นผู้ช่วยราชการเมืองสงขลาถึงแก่อนิจกรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ซึ่งมีอายุได้ ๕๕ ปีเท่านั้น เจ้าพระยาวิเชียรศีรี (เม่น) ก็เริ่มมีอาการป่วยอันเนื่องจากเสียบุตรชายคนใหญ่ซึ่งหวังจะได้เป็นผู้สืบตระกูลแทนตนนต่อไป ประกอบกับท่านมีอายุมากแล้วด้วย ครั้นถึงวันที่ ๗ มิถุนายนตรงกับปีวอก พ.ศ. ๒๔๒๓ เจ้าพระยาวิเชียรศีรี (เม่น)ก็ถึงอสัญกรรมเวลาบ่าย ๒ โมง เป็นผู้สําเร็จราชการเมืองอยู่ ๒๐ ปี สิริอายุได้ ๗๐ ปี
ศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณสงขลา), เจ้าพระยา. (2482). พงศาวดารเมืองสงขลา. พระนคร : โสภณพิพรรฒธนากร.