หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ (กระจ่าง อรรถวิภาคไพศาลย์)
 
Back    28/05/2020, 16:59    1,961  

หมวดหมู่

บุคคลสำคัญ


ประวัติ

 ภาพจาก :  นำชมนครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์กว่า ๑,๐๐๐ ปี, 2534

          หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ (กระจ่าง อรรถวิภาคไพศาลย์) มีสัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ ที่บ้านท่าโพธิ์ ตําบลท่าวัง อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาชื่อแจ้ง สินธุรงค์ มารดาชื่อเจิม สินธุรงค์ อาชีพของบิดามารดา เป็นช่างทองและค้าขาย
           
หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ (กระจ่าง อรรถวิภาคไพศาลย์) ได้ศึกษาเล่าเรียนโดยเริ่มต้นเรียนหนังสือกับพระอาจารย์คลิ้งที่วัดจันทาราม ซึ่งอยู่ติดกับบ้านเกิด จนอ่านออกเขียนได้และอ่านหนังสือแบบเรียนเร็ว เล่ม ๓ จบ ต่อมาพระอาจารย์คลิ้ง ได้นําไปฝากกับพระจุฬ รัตนะรัด ซึ่งเป็นครูโรงเรียนวัดท่ามอน (ปัจจุบันชื่อวัดศรีทวี) โดยได้เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และสอบไล่ประถมปีที่ ๕ ได้ในปีนั้น ในระหว่างที่เรียนอยู่ในชั้นประถมปีที่ ๓ ทางวัดและโรงเรียนได้หัดให้ไปสวดโอ้เอ้วิหารราย (สวดที่ระเบียงวิหารคตวัดพระบรมธาตุ) ร่วมกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง ชื่อกิมบึง โกศลถิตย์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอุไร (ถึงแก่กรรม) ในการรับเสด็จเจ้านายผู้ใหญ่ที่เสด็จไปวัดพระบรมธาตุ ในการสวดมีสมุดข่อยค่อนข้างเก่าวางอยู่ข้างหน้า เมื่อสวดจบท่านผู้ใหญ่ ๒ ท่าน เข้าใจว่าเป็นข้าราชการไปขอดูว่าสวดเรื่องอะไร จึงได้เรียนท่านว่าหาได้สวดตามเรื่องในหนังสือนั้นไม่ แต่ได้สวดตามที่พิมพ์ไปเป็นแผ่นวางไว้ในหนังสือนั้น ทราบว่าท่านเจ้าคุณวัดท่าโพธิ์ (ม่วง) แต่งเป็นฉันท์เทิดพระเกียรติขึ้นใหม่ในการรับเสด็จคราวนั้น
            จากหนังสือนำชมนครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์กว่า ๑,๐๐๐ ปี ซึ่งพิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ (กระจ่าง อรรถวิภาคไพศาลย์)  ท่านได้เขียนไว้ว่าใน พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้สมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เป็นโรงเรียนมัธยมซึ่งเป็นตึกชั้นเดียว มีหลายห้อง ตั้งอยู่นอกกําแพงวัดท่าโพธิ์ แต่คนทั่วไปเรียกว่าโรงเรียนวัดท่าโพธิ์ เพราะกล่าวว่าเดิมเคยตั้ง อยู่ในวัดท่าโพธิ์ โดยเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (ม่วง) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ ได้กรุณาจัดตั้งขึ้นและอุปถัมภ์บํารุงตลอดมาในสมัยนั้นทางโรงเรียนได้สนใจการฝึกอบรมวิชาลูกเสือมากมีการสอบเป็นลูกเสือโทและลูกเสือเอกเสมอ ท่านสอบได้เป็นลูกเสือโทและลูกเสือเอกตามลําดับ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายหมู่ตรีและนายหมู่โท มีการฝึกการเดินทางไกลบ่อย ๆ เช่น เดินทางไกลไปค้างแรมที่อําเภอทุ่งสง โดยเดินผ่านช่องเขา ไปตามทางรถไฟ แต่ขากลับโดยสารรถไฟกลับ และเดินทางไปค้างคืนตามอําเภอต่าง ๆ อีกหลายครั้ง โดยได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ตั้งแต่มัธยมปีที่ ๑ ถึง มัธยมปีที่ ๕ รวม ๖ ปี เคยได้รับทุนเล่าเรียน ๒ ปี ๆ ละ ๑๐ บาท เพราะสอบได้ที่ ๑ ได้คะแนนตั้งแต่ ๔๐ % ขึ้นไป ในเวลานั้นคุณครูพร้อย ณ นคร (ขุน บูรณาวาท) เป็นครูใหญ่ และครูมี จันทร์เมืองเป็นครูใหญ่ต่อมา ในการสอบไล่มัธยมปีที่ ๖ นั้น ข้อสอบต้องส่งไปจากกระทรวง เมื่อกรรมการจัดสอบเสร็จแล้ว ต้องรวบรวมกระดาษคําตอบมาตรวจที่กรุงเทพฯ กว่าจะทราบผลสอบก็ช้ามาก ท่านเลยได้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ก่อนจะทราบผลสอบ โรงเรียนเปิดแล้วก็ยังไม่ทราบผลการสอบ จึงได้สมัครเข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๒ ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยได้รับอนุญาตให้เรียนไปก่อน ต้องไปสอบถามที่กระทรวง กว่าจะทราบผลก็เสียเวลาไปมาก เมื่อทราบแล้วก็ยังไม่มีหลักฐานการจะกลับไปขอใบสุทธิที่นครศรีธรรมราช ก็เสียเวลา จึงพยายามขอใบรับรองผลการสอบไล่จากกระทรวง ระหว่างที่วิ่งเต้นอยู่นั้นเพื่อน ๆ หลายคนมีเที่ยง จินดาวัฒน์ สุเทพ ลักขณา ชักชวนให้เรียนกฎหมาย เพราะว่าการเรียนต่อมัธยมปีที่ ๓ และ ๔ แล้วจะขอรับทุนหรือสอบแข่งขันไปเรียนเมืองนอกก็มีโอกาสได้ยาก อายุก็จะเกิน มิฉะนั้นก็เรียนมหาวิทยาลัยจุฬาฯ จึงได้ตกลงใจเรียนกฎหมาย โดยได้ลาออกจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยท่านอาจารย์บอกว่าเมื่อยังไม่ได้ลงทะเบียน เนื่องจากยังไม่ทราบผลการสอบมัธยมปีที่ ๖ จะออกก็ได้แต่โรงเรียนออกใบสุทธิให้ไม่ได้ ท่านเห็นว่าใบสุทธิก็ไม่จําเป็น เพราะมีใบรับรองของกระทรวงแล้ว จึงได้สมัครเข้าเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ในพ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นเวลาเกือบกลางปีแล้วจึงไม่ได้สอบในปีนั้น

ภาพจาก :  นำชมนครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์กว่า ๑,๐๐๐ ปี, 2534

             ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ก็สอบกฎหมายภาค ๑ ได้ และสอบภาค ได้ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้เป็นเนติบัณฑิต การเรียนกฎหมายที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมสมัยนั้นเรียนแต่เวลาเช้า ๑๐.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๒.๐๐ นาฬิกาเท่านั้น ตอนบ่ายไม่มีการเรียน นักเรียนกฎหมายมีเวลาว่างตอนบ่าย จึงได้สมัครทํางานต่าง ๆ กัน มาก และทางราชการก็ผ่อนผันให้นักเรียนกฎหมายมาทํางานตั้งแต่ ๑๒.๐๐ นาฬิกาได้ จึงได้เรียนหารือคุณพ่อและคุณแม่ว่า ถ้าท่านจะกรุณาให้ค่าใช้จ่ายในการเรียนเดือนละประมาณ ๓๐ บาทได้ ก็จะไม่ทํางาน เพื่อจะได้เรียนให้เต็มที่ แต่ถ้าขัดข้องก็จะทํางานไปด้วยเรียนไปด้วย ถ้าทำงานก็คงจะมีรายได้เดือนละ ๒๐ บาท และท่านก็ตอบว่าให้เรียนไปได้ไม่ต้องทํางาน จึงได้ใช้เวลาทั้งหมดในการเรียน ทั้งที่โรงเรียนและเรียนพิเศษ ที่มีผู้สอนกฎหมายด้วย จึงสอบได้ปีละภาคไม่ต้องเรียน เมื่อสอบกฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิตแล้ว ได้ยื่นใบสมัครขอเข้าเป็นผู้พิพากษา และในเวลาเดียวกันก็ได้สมัครเข้าเป็นอัยการที่กรมอัยการด้วย เมื่อสมัครแล้วได้พยายามสืบถามดูปรากฏว่ามีผู้สมัครเป็นผู้พิพากษาเป็นจํานวนมาก ต้องคอยกันจนกว่าจะเรียกเข้าฝึกหัด ซึ่งเป็นเวลานานถึง ๓-๔ ปี ส่วนอัยการรับเข้าฝึกหัดภายในเร็ว ๆ นั้นเอง แต่ยังไม่มีอัตราเงินเดือน เป็นแต่ได้แต่งตั้งให้มีอํานาจหน้าที่ว่าความในศาลได้เหมือนพนักงานอัยการประจํากอง เมื่อตําแหน่งอัตราเงินเดือนว่างก็จะบรรจุเป็นอัยการประจํากองเป็นข้าราชการสัญญาบัตรชั้นตรี เงินเดือนเดือนละ 600 บาท จึงได้ตกลงใจเข้าฝึกหัดที่กองคดีกรม อัยการอยู่ประมาณ ๖ เดือน เงินเดือน ๆ ละ ๙๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ปฏิบัติงานครบ ๑ ปี ได้เพิ่มเงินเดือนประจําปีอีก ๑๐ บาท ครั้นวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัยการจังหวัด จังหวัดอ่างทอง เมื่อถึงวันที่ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้เลื่อนเงินเดือนรอบปีเป็น ๑๒๐ บาท วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้เลื่อนเป็นอัยการชั้น ๕ รับเงินเดือนเดือนละ ๑๕๐ บาท และต่อมาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ทางราชการปรับเงินเดือนอัยการจังหวัดที่เป็นเนติบัณฑิตซึ่งยังมีเงินเดือนไม่ถึง ๒๐๐ บาท ขึ้นเป็นเดือนละ ๒๐๐ บาท ในสมัยที่พระยามานวราชเสวี เป็นอธิบดีกรมอัยการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ แม้ว่าผู้เขียนเพิ่งจะได้ปรับเงินเดือนเดือนละ ๑๕๐ บาทในปีนั้นเอง ก็ได้รับความกรุณา ให้ปรับเป็น ๒๐๐ บาท ด้วย จนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงสัยว่าปีเดียว ขึ้นเงินเดือนถึง ๓ ครั้ง เกรงจะเป็น ความผิดพลาดของทางราชการได้เรียกคลังจังหวัดไปซักถาม เมื่อถึงวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้เลื่อน ๑ ชั้น เป็น ๒๐๐ บาท

ภาพจาก :  นำชมนครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์กว่า ๑,๐๐๐ ปี, 2534


          ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ วันศุกร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ท่านได้เข้าพิธีสมรสกับนางสาวขุ้ยเที้ยง วิโรจน์ศรี (ได้เปลี่ยนชื่อเป็นระรวย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓) บุตรีของนายขุนและนางวิโรจน์ รัตนากร ซึ่งเป็นชาวจังหวัด นครศรีธรรมราชเมืองเดียวกัน ในวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้ย้ายไปเป็นอัยการจังหวัดตรัง ซึ่งตอนนั้นเป็นระยะเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำของต่าง ๆ ราคาถูกเก็บภาษีอากรไม่ใครได้ ทางราชการมีเงินน้อย จึงไม่มีการขึ้นเงินเดือน และยิ่งกว่านั้นข้าราชการยังถูกหักเงินเดือน ๑๐% เป็นการช่วยราชการ มีข่าวเกิดมีความไม่พอใจในรัฐบาลมากขึ้น จนเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยบุคคลที่ใช้ชื่อว่า “คณะราษฎร” อ้างว่าประกอบด้วยทหาร ข้าราชการ พลเรือนและราษฎร โดยมีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรียน เข้ายึดอํานาจการปกครอง แล้วประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองชั่วคราวขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงตกลงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงเรียกวันที่ ๑๐ ธันวาคมว่า “วันรัฐธรรมนูญ” ต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้
               
ต่อมาการเศรษฐกิจค่อยดีขึ้นบ้าง ทางการจึงงดการหักเงินช่วยราชการ และเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เลื่อนเงินเดือนขึ้นเป็น ๒๙๐ บาท เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒ อ้ายไปเป็นอัยการจังหวัดนครปฐม เงินเดือนเท่าเดิม ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงได้เลื่อนขึ้นเป็น ๕๐ บาท วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้ปรับเป็นข้าราชการชั้นเอก เงินเดือนขั้นต่ำ ๓๒๐ บาท วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับโทรเลขคําสั่งกระทรวงให้ไปรักษาการในตําแหน่งข้าหลวงประจําจังหวัดตรังโดยด่วน ได้เดินทางไปจังหวัดตรังก่อนสิ้นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ส่วนครอบครัวยังอยู่ที่นครปฐม เพราะทางรถไฟสายใต้ถูกระเบิดหลายตอน ท่านเองเดินทางไปโดยทางรถไฟ ต้องค้างอ้างแรมเป็นตอน ๆ หลายคืนกว่าจะถึงจังหวัดตรัง เมื่อถึงจังหวัดตรังได้เห็นว่าทหารญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ที่จังหวัดตรัง หลังจากวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกบุกประเทศไทยไม่กี่วัน ได้รับคําสั่งกระทรวงที่ ๒๙/๔๕ ลงวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ แต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงประจําจังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ปรับเงินเดือนเป็น ๕๐๐ บาทตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ และเป็น ๔๕๐ บาท ในวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับราชการเป็นข้าหลวงประจําจังหวัดตรัง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตลอดสมัยสงคราม ชั้นแรกทํางานร่วมกับญี่ปุ่นเพราะทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกยึดจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช (ภาคใต้) ยึดปากน้ำ สมุทรปราการและกรุงเทพฯ ได้ร่วมกับญี่ปุ่นระยะหนึ่ง ต่อมาญี่ปุ่นอ่อนแอลง เพราะฝ่ายอเมริกาได้เข้าร่วมกับอังกฤษและคนไทยที่เป็นเสรีไทยตั้งหลักที่เกาะลังกา ไทยจึงต้องปฏิบัติชนิดตีสองหน้า หน้าหนึ่งเปิดเผยว่าเข้ากับญี่ปุ่น แต่อีกหน้าหนึ่งคอยรับคนไทยที่มาจากเกาะลังกาโดยการกระโดดร่ม มาลงที่เกาะในจังหวัดตรัง แล้วส่งตัวเข้ากรุงเทพฯ ด่วน ญี่ปุ่นทราบวันหลังได้สอบถามว่าทําไมไม่สอบสวนที่ตรังก่อนโดยเขาจะร่วมสอบสวนด้วยตามที่ตกลงกันไว้แต่การพาตัวคนที่จับได้เข้ากรุงเทพฯ ส่วนเพราะผู้ที่ถูกจับเป็นคนไทย ที่อําเภอกันตังพาเข้ากรุงเทพฯ เลย เกรงญี่ปุ่นจะมาตามจึงได้รีบไปพัทลุงเสียแต่เช้ากลับตอนเย็น สารวัตรทหารญี่ปุ่นมาที่บ้านจึงไม่พบต้องแก้ว่าไม่ทราบเรื่องส่งคนไทยซึ่งจับได้ที่กันตั้งเสียก่อน ไม่ได้สอบสวนที่ตรัง จึงเป็นที่สงสัยกันทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น ต้องระวังกันทั้งสองฝ่าย แต่พอประเทศญี่ปุ่นถูกระเบิดประมาณู ญี่ปุ่นยอมแพ้การรบจึงได้ยุติลง
          
ได้ทราบว่ากระทรวงได้สั่งให้ย้ายไปเป็นข้าหลวงประจําจังหวัดเพชรบุรี แต่ยังไม่ได้รับคําสั่ง ก็ได้รับโทรเลขให้เข้ากรุงเทพฯ ได้เดินทางจากจังหวัดตรังในกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ก่อนมีการประกาศสงบศึกเพียงไม่กี่วัน เมื่อไปถึงกรุงเทพฯ เจ้าคุณอรรถการินิพนธ์ ปลัดกระทรวงบอกว่า เข้ามาก็ดีแล้วให้ช่วยรักษาการหัวหน้ากอง กองคลังแทนขุนสวัสดิ์บุรีซึ่งกําลังป่วยมาก ต่อมาท่านขุนสวัสดิ์บุรี หัวหน้ากองคลังถึงแก่กรรม จึงได้รับคําสั่งให้ช่วยงานกองคลัง แต่เวลานั้นคําสั่งให้เป็นข้าหลวงประจําจังหวัดเพชรบุรี ได้ออกมาแล้ว แต่หัวหน้ากองคลังยังไม่มีใครแทน หลวงจรูญบูรกิจจึงได้รับค้าสั่งให้เป็นข้าหลวงประจําจังหวัดเพชรบุรีแทนต่อไป กระทรวงจึงมีคําสั่งให้ผู้เขียนเป็นข้าหลวงประจํากระทรวง แต่ทํางานในหน้าที่หัวหน้ากองคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ทํางานในหน้าที่หัวหน้ากองคลังจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ก็ได้รับคําสั่งให้ไปดํารงตําแหน่งข้าหลวงประจําจังหวัดสงขลา ในขณะนั้นใครอยู่ในตําแหน่งข้าหลวงประจํา จังหวัดสงขลา มีเรื่องยุ่งยากหลายอย่างย้ายกันไปหลายคน จึงมีคํากล่าวว่าการย้ายไปเป็นข้าหลวงประจําจังหวัดสงขลาละก้อเป็นเรื่องเป็นเรื่องตาย ก่อนจะได้รับคําสั่งท่านปลัดกระทรวงให้ไปตรึกตรอง ๓ วันได้ กลับไปกราบเรียนท่านว่าจะให้สมัครก็ไม่ขอสมัคร แต่ถ้าท่านจะสั่งก็สุดแล้วแต่ท่านจะพิจารณา ท่านก็พาไปพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และกราบเรียนท่านว่าแล้วแต่ท่านจะเห็นควร ท่านจึงสั่งให้แต่งตั้งเป็นข้าหลวงประจําจังหวัดสงขลา ในเวลานั้นพูดกันที่กระทรวงและทั่ว ๆ ไปว่า ใครไปเป็นข้าหลวงประจําจังหวัดสงขลาเท่ากับไปเป็นหรือไปตาย เพราะมีเรื่องยากหลายอย่างทั้งภายในและเรื่องชายแดนเกี่ยวกับโจรจีน จึงทหารออกไปตั้งกองปราบปรามอยู่ด้วย ข้าวปลาอาหารก็ขาดแคลนเพราะพากันส่ง ข้าวออกนอกประเทศมากจนไม่มีพอเพียงจะกินภายใน แต่เมื่อถูกแต่งตั้งไปอยู่แล้วก็รีบจัดการขอซื้อข้าวจากนครศรีธรรมราช ทั้งที่ไม่มีเงิน แต่กําลังขอกระทรวงอยู่ทางนครฯ ก็รีบส่งข้างมาให้ได้จัดการออก บัตรปันส่วนข้าวตามอําเภอชายแดน และตั้งเป็นร้านคล้ายสหกรณ์ ภายในก็หายขาดแคลนพอมีกินกันทั่ กัน เรื่องยุ่ง ๆ กลัวไม่มีข้าวกินก็คลี่คลายไป ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากข้าราชการทุกฝ่าย เฉพาะอย่างยิ่งนายอําเภอได้ร่วมมือเป็นอย่างดี และร้านสหกรณ์ที่จังหวัดสงขลาที่ตั้งขึ้นก็ดําเนินไปได้ดี เรื่องยุ่งยาก ต่าง ๆ จึงสงบลง ดํารงตําแหน่งข้าหลวงประจําจังหวัดสงขลามาแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๔ ตั้งแต่เงินเดือน ๔๕๐ บาท จนถึง ๖๕๐ บาท และในต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็ได้รับตําแหน่งข้าหลวงตรวจการกระทรวงมหาดไทย ภาค ๕ และเปลี่ยนแปลงการบริหารเป็น ๔ ภาค ได้เป็นชั้นพิเศษ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เป็นภาค ๔ ภาค จึงย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการภาค ๑ สํานักงานภาคตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมเอากรุงเทพฯ เข้าเป็นจังหวัดหนึ่งของภาค ๑ ด้วย จึงมี ๑๑ จังหวัด รวมสมุทรปราการเข้ามาด้วย ภาค ๑ มี จังหวัดดังนี้
๑. พระนครศรีอยุธยา
๒ นนทบุรี
๓. กรุงเทพฯ
๔. สมุทรปราการ
๕. ปทุมธานี
๖ สิงห์บุรี
๗. ไชยนาท
๘. อ่างทอง
๙. อุทัยธานี
๑๐. ลพบุรี
๑๑. ธนบุรี
           ท่าน
อยู่ในตําแหน่งผู้ว่าราชการมภาค ๑ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็ได้รับคําสั่งย้ายให้ เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และในปี ๒๕๐๑ ก็มีคําสั่งย้ายให้เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ทํางานอยู่กรมฯ ราชทัณฑ์ ๖ ปี ก็กลับมาเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทยอีก จนเกษียนอายุราชการเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นอันสิ้นสุดการรับราชการและเงินเดือนก็ได้รับในอัตราเดือนละ ๘๐๐๐ บาท ซึ่งสูงสุดในสมัยนั้น (เทียบเท่ากับอัตราเงินเดือนปลัดกระทรวง) เมื่อพ้นหน้าที่ราชการแล้วได้รับการบรรจุเข้าทํางานที่สํานักงานสลากกินแบ่งจนอายุ ๖๕ ปีบริบูรณ์ ในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๘ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ด้วยความเห็นชอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งให้หลวงอรรถวิภาคไพศาลเป็นกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ประกาศตั้งมีกําหนดครั้งละ ๒ ปี ได้มีประกาศติดต่อกันมา ๔ ครั้ง ครั้งละ ๒ ปี รวมเป็นเวลา ๘ ปี  เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยในฐานะเป็น ผู้แทนพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และได้รับคําสั่งแต่งตั้งดังนี้ต่อมาอีก ให้เป็นรองประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ผู้ ประสบภัยต่อมากองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบภัย ได้เปลี่ยนแปลงเป็นมูลนิธิสงเคราะห์ผู้ประสบภัย จึงได้เป็นกรรมการมูลนิธิมาตั้งแต่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ และเป็นรองประธานกรรมการเรื่อยมา ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ๖  ตุลาคม ๒๕๑๙ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอํานาจและยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๑๗ รัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาก็ถูกยกเลิกไปด้วย เป็นอันหมดสภาพของการปฏิบัติงานต่าง ๆ เกี่ยวกับทางราชการ สำหรับงานด้านอื่น ๆ เช่น ได้ร่วมจัดตั้งมูลนิธิสงเคราะห์พระสงฆ์ต่างประเทศ ซึ่งมาศึกษาการพระพุท ศาสนาในประเทศไทย ในความดูแลของ พ.ส.ล. โดยรับเงินที่มีผู้เสียสละบริจาคให้เป็นทุน และถวายแก่พระสงฆ์นั้น ๆ ซึ่งมาจากศรีลังกาบ้าง บังกลาเทศบ้าง ที่มาอาศัยวัดต่าง ๆ ที่เจ้าอาวาสรับรอง และถวายเป็นนิตยภัต เช่น เดือนละประมาณ ๒๐๐ บาท ปัจจุบันนี้มีพระสงฆ์ต่างประเทศที่อาศัยวัดอยู่หลายวัด รวมประมาณ ๒๐ รูป เมื่อท่านเรียนจนมีความรู้ดีพอสมควรก็กลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศของท่าน เป็นผลให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายออกไปกว้างขวางและมันคงต่อไป ทําให้ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศนั้น ๆ ดีขึ้น ทั้งในด้านการพระศาสนาและด้านการเมืองของประเทศด้วย

มรณกรรม

         หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ (กระจ่าง อรรถวิภาคไพศาลย์) จากคำบอกเล่าของญาติใกล้ชิดกล่าวว่าปกติท่านเป็นคนมีสุขภาพกายดีมาก บางปีไม่เคยเจ็บป่วยเลย แม้ได้พักร้อนก็ไม่หยุด นอกจากมีกิจจําเป็นก็ลาบ้าง ในบั้นปลายของชีวิตก็มีความปกติสุขพอควร พอใจในการบําเพ็ญกิจการศาสนกุศล ใครพบเห็น ก็ชมว่าแข็งแรงดี แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ย่าง ๗ รอบก็เริ่มเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งแพทย์บอกว่าผู้ชายสูงอายุก็เป็นกันทุกคน ได้เข้ารับการรักษาตัวทําการผ่าตัดที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธในปลาย เดือนกรกฎาคม อยู่โรงพยาบาลเกือบ ๑ เดือนเต็มก็กลับมาพักฟื้นที่บ้าน จนเกือบจะปกติ แต่ก็มีโรคอื่นตามมาอีกเวียนเข้าเวียนออกโรงพยาบาลในช่วง ๒ ปี ถึง ๕-๖ ครั้ง เมื่อคราวที่เป็นหลอดลมอักเสบ รับประทานอาหารตามปกติไม่ได้ เพราะสําลัก นายแพทย์สมพนธ์ บุณยศูปต์ ได้สั่งการให้ผ่าตัดใส่สายยาง เพื่อให้อาหารทางหน้าท้องอยู่ได้ประมาณ ๓ เดือน การที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างปกติ ทําให้ปอดบวม ต้องเข้าโรงพยาบาลอีก เมื่อ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ ปอด ความดัน ทํางานไม่ปกติ กระเพาะอาหารไม่รับอาหารที่ให้ ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยความสงบเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เวลา ๘.๐๐ นาฬิกาเจ้าหน้าที่ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยได้มารับดวงตาที่อุทิศให้ไว้ ส่วนรว่างกายคุณหลวงได้อุทิศ ให้แก่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อบ่าเพ็ญกุศลครบกําหนด แล้วคณะกายวิภาคศาสตร์ก็มารับศพไปเพื่อการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ต่อไป

ภาพจาก :  นำชมนครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์กว่า ๑,๐๐๐ ปี, 2534


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ (กระจ่าง อรรถวิภาคไพศาลย์)
ที่อยู่
จังหวัด
นครศรีธรรมราช


บรรณานุกรม

นำชมนครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์กว่า ๑,๐๐๐ ปี. 2534. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ดี แอล เอส.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024