ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช  บัวศรี
 
Back    06/07/2023, 14:16    2,202  

หมวดหมู่

บุคคลสำคัญ


ประวัติ

              

               ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช  บัวศรี  เป็นบุตรขุนประทุมสิริพันธ์ (เจริญ  บัวศรี)  กับนางประทุม  สิริพันธ์ (เปล่ง) เกิดที่บ้านตำบลสันใย  อำเภอเมือง  จังหวัดภูเก็ต เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๔๕๙ ที่ตำบลสั้นใน อำเภอเมีอง จังหวัดภูเก็ต ท่านเริ่มการศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนอำเภอเมืองภูเก็ต และเข้าเรียนต่อขั้นมัธยมที่โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จนจบขั้นมัธยมปีที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อจากนั้นบิดาได้ส่งไปเรียนต่อที่ The Anglo - Chinese School เมืองปีบัง ประเทศมาเลย์เขีย (โรงเรียน Methodist Boys School ในปัจจุบัน) สอบไล่ได้ชั้นปีที่ ๗ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๖ บิดาให้กลับประเทศไทย ได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม แล้วย้ายไปเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมศรีอยุธยา ได้รับประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.) และธรรมศึกษาตรี (โดยการสมัครสอบ) หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่คณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต (อ.บ.) และอนุปริญญาประโยคครูมัธยม (ป.ม ) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลังจากรับราชการได้ ๔ ปี ได้รับทุนกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ไปเรียนวิชาการศึกษาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยโอไอโอเสตท จนได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิต ในปี พ.ศ ๒๔๙๒
            การทำงาน         
         ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช  บัวศรี เริ่มรับราชการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ในตำแหน่งอาจารย์ผู้ช่วยโทโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พศ ๒๔๘๔ ได้รับคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งครูโทกรมสามัญศึกษา ต่อมาย้ายไปเป็นครูใหญ่โทโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ จ กระทั่งถึงปึ พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนปีกหัดครูประถมพระนครวังจันทร์เกษม ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนปีกหัดครูชั้นสูงประสานมิตร ต่อมาเปลี่ยนเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งรองอธิการและรักษาการไนตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชา จนถึงปี พ.ศ. ๒๕00 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา แล้วโอนไปเป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการฝึกหัดครู และกลับมาดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จน กระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ ๓0 กันยายน ๒๕๑๗ รวมเวลารับราชการอยู่ ๓๕ ปี  ท่านถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ รวมสิริอายุได้ ๗๗  ปี        
            เครื่องราชอิสริยาภรณ์
           - พ.ศ. ๒๕๓๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
           - พ.ศ. ๒๕๑๗ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
           - พ.ศ. ๒๕๑๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
           - พ.ศ. ๒๕๐๙ เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)


ผลงานสำคัญ

              ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช  บัวศรี ท่านสรัางชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก มีผลการเรียนดีเยี่ยม ขณะศึกษา ณ ต่างประเทศ จนได้รับเชิญเป็นสมาชิกของสมาคมเกียรตินิยมการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ชื่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของบักการศึกษาทั่วโลก จึงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ นอกจากนี้ท่านยังได้รับเชิญเป็นอาจารย์ผู้ช่วยของมหาวิทยาลัยโอไอโอเสตทเป็นเวลา ๑ ปีการศึกษา ท่านได้รับการคัดเลึอกเข้าร่วมประชุมสัมมนายูเนสโกที่ประเทศอังกฤษกับฝรั่งเศส และ สหรัฐอเมริกา ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภามหาวิทยาลัยแห่งชาติ อนุกรรมการข้าราชการพลเรีอนวิสามัญนักเรียนในต่างประเทศ ได้รับพระมหากรูณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ได้รับเลึอกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติเมื่อปี พ ศ. ๒๕๑๖ เป็นผู้ตรวจการลูกเสือสังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสีอแห่งชาติ กรรมการ Governing Board ของศูนย์ Regional English Language Center ณ สิงคโปร์ และเป็นนายกคนแรกของสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ท่านยังเป็นนักเขียนที่ฝากผลงานไว้เป็นประโยชน์อีกหลายเรื่อง อาทิ พุทธศาสตร์กับการศึกษาแผนใหม่ บทความเรื่องการสอนแบบอริยสัจจลี่ ผู้บุกเบิกการจัดทำสารานุกรมศึกษาศาสตร์ เป็นด้น
               
ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี ได้เสนอให้ตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา ขึ้นเพื่อเปิดสอนหลักสูตร ๒ ปี สำหรับผู้ที่มีวุฒิ ป.ม. หรือเทียบเท่า ๔ ปี สำหรับผู้มีวุฒิ ป.ป. หรือเทียบเท่า ให้มีโอกาสได้เรียนปริญญาตรีทางวิชาชีพครู กระทรวงศึกษาธิการ  ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช เป็นผู้ใฝ่ใจศึกษาในเรื่องธรรมะอย่างแตกฉาน และได้ริเริ่มนำเอาพุทธปรัชญามาเรียงถ้อยคำให้เป็นปรัชญาการศึกษาไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาทั้งกระบวนการมีรากฐานสัมพันธ์กับพุทธศาสนา


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช  บัวศรี
ที่อยู่
จังหวัด
ภูเก็ต


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย. (2540). ร้อยปี ร้อยดวงใจ : 100 ปี ภูเก็ตวิทยาลัย. ภูเก็ต : โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024