ภาณุ พิทักษ์เผ่า
 
Back    19/09/2018, 13:21    6,683  

หมวดหมู่

ปราชญ์ชาวบ้าน


ประวัติ

ภาพจาก : http://songkhlatoday.com/paper/69134

       ภาณุ พิทักษ์เผ่า กำเนิดเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่บ้านเลขที่ ๗๗ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ตอนเด็กได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนแสงทองวิทยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ต่อจากนั้นได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนดอนเมือง (ทหารอากาศบำรุง) เขตบางเขน กรุงเทพฯ และมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา เขตดุสิต กรุงเทพฯ และได้ศึกษาขั้นปริญญาตรีสาขาศิลปะ ที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาศิลปากร 

หน้าที่การงาน

       ภาณุ พิทักษ์เผ่า หลังจากจบจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาศิลปากรแล้ว ได้เข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐพื่อรับใช้สังคมดังนี้

๒๕๒๒ - ข้าราชการครู กรุงเทพมหานคร
๒๕๒๖ - อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒๕๓๐ - ลาออกจากราชการ เพื่อบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคม
๒๕๓๐ - ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒๕๓๓ - ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  - รองผู้อำนวยการศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒๕๓๕ - ศึกษาดูงานด้านสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ ประเทศ ญี่ปุ่น
๒๕๓๖  - ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาคนที่ Canaan farmer school ประเทศเกาหลีใต้
๒๕๓๖  - ประธานสหกรณ์กสิกรรมไร้สารพิษ จำกัด
๒๕๔๒ - ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรตัวอย่าง รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน (จังหวัดสงขลา)
๒๕๔๓    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  - ได้รับการแต่งตั้งจาก ฯพณฯ นายกฯชวน   หลีกภัย ให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  - ก่อตั้งสภาประชาชนสงขลา เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
๒๕๔๔ - ร่วมก่อตั้งตลาดนัดเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๒๕๔๘  - ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข เทศบาลนครหาดใหญ่
  - เปิดศูนย์รวมน้ำใจช่วยภัยน้ำท่วม ร่วมกับอาสาสมัครภาคประชาชน นำข้าวสาร อาหารแห้งไปช่วยเหลือชาวสงขลาและ                 จังหวัดใกล้เคียงที่ประสบภัยน้ำท่วม
๒๕๕๐ - ได้รับเชิญไปร่วมงานเทศกาล SLOW food ประเทศอิตาลีในฐานะร้านอาหารครัวเพื่อนสุขภาพที่นำผลผลิตจากเครือ
     ข่ายเกษตรอินทรีย์มาปรุงอาหารเพื่อผู้บริโภค
๒๕๕๐ - คณะกรรมการวิทยาลัยการจัดการทางสังคม, ประธานคณะกรรมการสมัชชาคุณธรรม จังหวัดสงขลา,
    ผู้ทรงคุณวุฒิ เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ จังหวัดสงขลา, เจ้าของร้านครัวเพื่อนสุขภาพ หาดใหญ่,
     เกษตรกรตัวอย่างเจ้าของสวนเกษตรอินทรีย์วิถีไท อ.รัตภูมิ จ.สงขลา, ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอ
     เพียง 77 ม.1 ต.บ้านหาร อ.บางกล่ำ  จ.สงขลา, นายกสมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท, วิทยากรบรรยายเรื่อง “กินอยู่อย่างไรให้
     สุขภาพดี” และ “เกษตรวิถีธรรม นำชีวิตพอเพียง”, อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

ความชำนาญพิเศษ 

       ภาณุ พิทักษ์เผ่า ได้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ของสมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไทย จังหวัดสงขลา โดยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ โดยจุดเด่นของศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง คือการเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการผลิตและเป็นศูนย์กลางในการจัดการด้านการตลาดที่เป็นธรรมและยั่งยืนให้แก่เพื่อนเกษตรกรโดยรวบรวมผลผลิตไร้สารพิษของสมาชิกส่งให้ผู้ประกอบการร้านอาหารโรงพยาบาล ฯลฯ เพื่อสุขภาพของผู้ป่วยและผู้บริโภค และจัดหาตลาดผักปลอดสารพิษเคลื่อนที่นอกจากนี้ศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ยังให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหผู้เข้าฝึกอบรมดำรงชีวิต ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเลิกอบายมุข


ผลงานสำคัญ

ภาพจาก : เพจศูนย์เรียนรู้คุณธรรม เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง

 https://www.facebook.com/452041174919105/photos/rpp.452041174919105/1397255563730990/?type=3&theater

๑. เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา 

      ประวัติการก่อตั้งและความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากในปีพ.ศ.๒๕๔๐ ภาณุ พิทักษ์เผ่า ได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรขึ้นเพื่อรวมตัวกันให้มีเข้มแข็ง และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นสมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๐–๒๕๕๑ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐเพื่อปรับปรุงให้เป็นศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงจนถึงปัจจุบัน ทางศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงเน้นกิจกรรมฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตร “เกษตรอินทรีย์วิถีไท” เพื่ออบรมให้กับเกษตรกรทั่วไป ซึ่งหลักสูตรประกอบด้วยการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง, การพึ่งพาตนเอง, เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง และการปลูกพืชหลากหลายมีรายได้ตลอดปี ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของภาณุ พิทักษ์เผ่า ซึ่งคนคนที่ชอบคิด ชอบทำ จนสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม ซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ในการเลี้ยงชีพได้อย่างดีโดยยึดหลักพอเพียง ในการฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพตามหลัก ๘ อ. เป็นวิชาที่ว่าด้วยการปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนโดยชี้ให้เห็นถึงโทษภัยในการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีรวมถึงที่มาของอาหารเหล่านั้นด้วย มีคำขวัญที่ว่า “กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน” โดยเน้นการปลูกพืชหลากหลายวิธี, การตอนกิ่งเพาะชำ, การปลูกผักคอนโดโดยไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า แต่จะผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์พื้นบ้านและสมุนไพรพื้นบ้านใช้เองอย่างครบวงจร  ทางศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง มีอาคารฝึกอบรมมีอาคารที่พักแยกชาย-หญิง สามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้ครั้งละประมาณ ๖๐–๑๐๐ คน มีห้องน้ำ จำนวน ๑๕ ห้อง มีห้องละมาดแยกชาย-หญิง มีโรงอาหาร มีฐานการเรียนรู้ ที่เป็นแปลงสาธิตที่เหมาะสมกับกิจกรรมตามหลักสูตร และโรงปุ๋ยหมัก โดยมีทีมวิทยากร จำนวน ๑๐ คน

๒.  เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไทจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ ๒๕๕๐
๓. ได้รับการแต่งตั้งจากฯพณฯ นายกฯชวน หลีกภัย (อดีตนายกรัฐมนตรี) ให้เป็นคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรฯ ในปี
    พ.ศ. ๒๕๔๒
๔. ร่วมกับภาคประชาชนก่อตั้ง “สภาประชาชนสงขลา เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม” ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓
๕. เปิดศูนย์รวมน้ำใจช่วยภัยน้ำท่วม ร่วมกับอาสาสมัครภาคประชาชน นำข้าวสาร อาหารแห้งไปช่วยเหลือชาวสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงที่ประสบ
    ภัยน้ำท่วม ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘
๖. ได้รับเชิญไปร่วมงานเทศกาล SLOW food ประเทศอิตาลีในฐานะร้านอาหารครัวเพื่อนสุขภาพที่นำผลผลิตจากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาปรุง
     อาหารเพื่อผู้บริโภคปี พ.ศ ๒๕๕๐
๗. เป็นผู้นำแผนเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ ๒๕๕๐
๘. เป็นผู้ก่อตั้งสมัชชาคุณธรรมจังหวัดสงขลา ร่วมกับเครือข่ายคุณธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณธรรมความดีให้เกิดขึ้นในหมู่
    ประชาชนอย่างต่อเนื่อง
๙. ร่วมก่อตั้ง “สภาความร่วมมือด้านอาหารปลอดภัย จังหวัดสงขลา” ในปี พ.ศ ๒๕๕๑ 

รางวัลเชิดชูเกียรติ

       จากการภาณุ พิทักษ์เผ่าได้อุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขของสังคมโดยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ท่านได้รับมากมาย อาทิ

เกษตรกรตัวอย่างรางวัลชนะเลิศระดับประเทศของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน  กระทรวงเกษตรในปี ๒๕๔๒
- โล่เชิดชูเกียรติ “คนดีศรีสงขลา”เ นื่องในวันมูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ปี ๒๕๕๑
- โล่เชิดชูเกียรติ “คนดีศรีเกษตรอินทรีย์” จากมูลนิธิเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ปี ๒๕๕๒
- รางวัล “คนดีศรีบินหลา” จากประธานเครือข่ายบินหลา ปี ๒๕๕๓

            

ภาพจาก : เพจศูนย์เรียนรู้คุณธรรม เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ;  https://www.facebook.com/452041174919105/photos/rpp.452041174919105/1397255563730990/?type=3&theater

ภาพจาก : https://scf.or.th/paper/62


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ภาณุ พิทักษ์เผ่า
ที่อยู่
เลขที่ ๗๗ หมู่ ๑ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
จังหวัด
สงขลา
ละติจูด
7.075418
ลองจิจูด
100.4629573



วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ข้อมูลประวัติและผลงานของอาจารย์ภาณุ พิทักษ์เผ่า. (ม.ป.ป). สืบค้นวันที่ 20 ก.ย. 61, จาก https://goo.gl/cwX6om
นายภาณุ พิทักษ์เผ่า (ศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง. (2560). สืบค้นวันที่ 20 ก.ย. 61, จาก http://ตําบลคนชายฝั่ง.com/2017/03/07/นายภาณุ-พิทักษ์เผ่า-ศูน/
เพจศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงจ.สงขลา. (2561). สืบค้นวันที่ 20 ก.ย. 61, จาก https://www.facebook.com/452041174919105/photos/                                                                      rpp.452041174919105/1397255563730990/?type=3&theater
มูลนิธิชุมชนสงขลาจับมือ อ.ภาณุ พิทักษ์เผ่า ผลักดันให้เกิดศูนย์อาหารสุขภาพ. (2553).  สืบค้นวันที่ 20 ก.ย. 61, จาก https://scf.or.th/paper/62


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024