หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์)
 
Back    21/09/2022, 11:12    1,181  

หมวดหมู่

บุคคลสำคัญ


ประวัติ

       หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึง ติณสูลานนท์) เกิดเมื่อวัน ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นบุตรของ นายสุก นางขลิบ มีภูมิลําเนาเดิมอยู่ที่ หมู่ที่ 9 ตําบลท่าดี อําเภอ เมือง (ปัจจุบันคืออําเภอลานสกา) จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา รวม ๔ คน คือ

๑. นายบึง ติณสูลานนท์
๒. นางช่วย (มีสามีชื่อนายรอด ศรีจํานอง)
๓. นายเที่ยง (มีภรรยาชื่อนางสัง)
๔. นางยก (มีสามีชื่อนายชื่น รสมัย)

         หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ได้ถือกําเนิด ณ หมู่ที่ ๑ ตําบลท่าดี อําเภอเมือง (ปัจจุบันคืออําเภอลานสกา) จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อมีอายุอันสมควร บิดามารดาก็ได้ส่งให้ไปอุปสมบทที่สํานักวัดพระนครเมืองนครศรีธรรมราช (โดยที่เพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันจากตําบลท่าดีไปศึกษาเล่าเรียนด้วยคือนายแคล้ว นายสุย และนายคลิ้ง) หลังจากอุปสมบทได้ ๑ พรรษา ก็ได้ไปเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนสุขุมาภิบาลวิทยาในสํานักวัดท่าโพธิ์ (ต่อมาคือโรงเรียนศรีธรรมราชแล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนเบญจมราชูทิศ เรียนได้ ๑ ปี ก็สอบไล่ได้รับประกาศนียบัตร สําหรับความรู้หนังสือไทย ชั้น ๒-๓ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ขณะนั้นอายุได้ ๑๕ ปี ในช่วงระหว่างการศึกษาเล่าเรียน หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ได้มาเยี่ยมเยียนบิดามารดาที่บ้านท่าดี โดยการเดินทางทางเรือที่บ้านหัวท่า ตําบลนา อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปตําบลท่าดี ใช้ระยะเวลาการเดินทาง รวม ๒ วัน ใน ระหว่างการเดินทางต้องแวะพักค้างคืนที่บ้านชัน ๑ คืน แล้วไปขึ้นที่ท่าเรือใกล้วัดปะ (ในขณะนั้นประชาชนใช้เส้นทางคลองท่าใหญ่เพื่อการขนส่งสินค้า ระหว่างนครศรีธรรมราชกับคีรีวง)  ส่วนการเดินทางจากท่าเรือวัดปะ (ตําบลท่าดี) ไปบ้านหัวท่า ตาบลนา ใช้ระยะเวลาเดินทาง ๑ วัน เนื่องจากเรือล่องตามสายน้ําจากคลองท่าใหญ่ ซึ่งมีต้นน้ําที่ตําบลคีรีวง อําเภอลานสกาในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่การศึกษาสมัยโบราณต้องอาศัยพระภิกษุเป็นผู้สอน นายสุกและนางขลิบ จึงได้ส่งนายบึ้ง บุตรชายคนโตให้เข้ามาบวชเรียนที่วัดพระนคร อันเป็นสํานักศึกษาพระพุทธศาสนาและหนังสือที่สําคัญแห่งหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้น


นางยก รสมัย น้องคนสุดท้อง (ถึงแก่กรรมแล้ว)
(ภาพจาก : เกิดถิ่นใต้, 2529,)


วัดท่าโพธิ์
(ภาพจาก : เกิดถิ่นใต้, 2529,)

         ชีวิตราชการ
      
เมื่อสําเร็จการศึกษาได้สมัครเข้ารับราชการเป็นเสมียนกองมหาดไทยเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับราชการและเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการมาโดยลําดับ ภายหลังจากการรับราชการหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึง ติณสูลานนท์) ก็ต้องโยกย้ายไปปฏิบัติราชการ จึงทํา ให้ห่างเหินจากบ้านเกิดเมืองนอนและญาติพี่น้อง แต่ก็ได้มาร่วมงานศพบิดามารดาและน้อง ๆ ที่วัดปะ ตามประเพณีนิยมของสังคมไทย เป็นครั้งคราว นอกจากนั้นยังได้อนุเคราะห์ช่วยเหลือน้อง ๆ ตามสมควร  
         
หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ไดเรับราชการและเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการมาโดยลําดับ โดยมีตําแหน่ง ดังนี้

พ.ศ. ๒๕๔๕ เสมียนกองมหาดไทยเมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๔๗ เสมียนกองอัยการเมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๔๔๕ แห่งเมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๔๕๕ ยกระบัตรเมือง ประจําอําเภอปากพนัง
พ.ศ. ๒๔๕๗ พะท่ามะรง เมืองสงขลา
-พ.ศ. ๒๔๗๐ พะท่ามะรงพิเศษ 

        บรรดาศักดิ์

  ปี ๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ให้เป็นขุนวินิจทัณฑกรรม ถือศักดินา ๔๐๐ ไร่
ปี ๒๔๖๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นหลวงวินิจทัณฑกรรม ถือศักดิ้น ๖๐๐ ไร่



หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ขณะอายุได้ ๒๙ ปี
(ภาพจาก : เกิดถิ่นใต้, 2529,)

  

               ครอบครัว
         
รักแรกพบของหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) กับนางสาวออด มัฏฐกุล เริ่มต้นจากงานฉลองซึ่งกํานันตําบลนาได้จัดให้มีขึ้นในครั้งนั้น มีลิเกมาแสดง บรรดาข้าราชการเสมียนกองมหาดไทย เมืองนครศรีธรรมราช คือนายบึง ติณสูลานนท์ และเพื่อน คือนายกลอน มัลลิกะมาศ (ขุนอาเทศคดี) ก็ได้มาดูลิเกในครั้งนั้นด้วยหลังจากนั้นท่านก็เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกับนางออด มัฏฐกุล จนกระทั่งได้แต่งงานกัน โดยนางออด ติณสูลานนท์ เป็นบุตรสาวของนายหมี นางสัง (บางคนเรียกว่านางมุดสัง) ตั้งบ้านเรือนอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านหัวคูตะวันตก ตําบลนา อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๓ คน ประกอบด้วย

๑. นางแหมะ มัฏฐกุล (มีสามีชื่อนายปั้น)
๒. นายพลับ มัฏฐกุล (มีภรรยาชื่อนางปลึก)
๓. นางออด มัฏฐกุล 

           ภายหลังจากการแต่งงานแล้วนายบึง ติณสูลานนท์ ก็ได้มาพักอาศัยอยู่กับพ่อตา แม่ยาย คือนายหมี-นางสัง ที่บ้านหัวคูตะวันตก จนกระทั่งมีบุตรคนแรก คือนาย ชุบ ติณสูลานนท์ จึงได้ย้ายไปรับราชการที่อําเภอปากพนัง และมีบุตรธิดาต่อมาคือ นายเลข ติณสูลานนท์ และนางขยัน (ติณสูลานนท์) โมนยะกุล ต่อมาได้ย้ายไปรับราชการที่จังหวัดสงขลา มีบุตรธิดาคือ นายสมนึก ติณสูลานนท์ นายสมบุญ ติณสูลานนท์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เด็กหญิงปรี ติณสูลานนท์ และนายวีระณรงค์ ติณสูลานนท์ ชีวิตครอบครัวของตระกูล “ติณสูลานนท์” ก็เหมือนกับชาวชนบทโดยทั่วไป ที่จะต้องต่อสู้ดิ้นรนเลี้ยงลูก ๘ คน ให้ได้รับความสุขตามควรแก่อัตภาพ ถึงแม้ว่ารายได้หลักของครอบครัวมีเพียงเงินเดือนของหลวงวินิจทัณฑกรรม แต่ด้วยความมานะ อดทน ก็สามารถให้การเลี้ยงดูลูกทุกคนได้อย่างมีความสุข ด้วยเหตุที่หลวงวินิจ ทัณฑกรรมรับราชการ และได้เล็งเห็นความสําคัญของการศึกษา จึงได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่เพียงเพื่อให้ลูกได้รับการศึกษา เฉกเช่นครอบครัวอื่นทั้งหลาย เพราะตระหนักดีว่าโตยฐานะครอบครัวของข้าราชการที่กอร์ปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การศึกษาเท่านั้นที่จะช่วยให้ลูกมีอนาคตได้ จึงพยายามเก็บหอมรอมริบ เพื่อเป็นการทุนสําหรับส่งเสียให้ลูกได้มี โอกาสรับการศึกษาอย่างดีที่สุดเท่าที่สามารถจะให้ได้ 
         หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) กับนางวินิจทันตกรรม (ออก ติณสูลานนท์) ได้ใช้ชีวิตเพื่อหยิบยื่นความสุขในท่ามกลางความเหนื่อยยาก เพื่อยังความเจริญ ให้แก่ลูกทุกคนโดยมีหวังสิ่งใดตอบแทนมากไปกว่าความภาคภูมิใจ 


บ้านหลังแรก
(ภาพจาก : เกิดถิ่นใต้, 2529,)

            ความผูกพันแน่นแฟ้นในบวรพระพุทธศาสนา
          
หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) เป็นบุคคลหนึ่งที่มีจิตใจน้อมนําเข้าถึงพระพุทธศาสนา นับเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีเป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลทั้งหลาย ซึ่งจะ เห็นได้ว่าตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ทั้งในเบื้องต้น ในช่วงกลางและในบั้นปลายชีวิต ได้มีความผูกพันแน่นแฟ้นกับพระภิกษุสงฆ์ตลอดมา กล่าวคือในช่วงวัยหนุ่ม บิดา มารดาได้ส่งตัวท่านจากบ้านตําบลท่าดีมาอยู่วัดพระนคร เมื่ออายุพอสมควรก็ได้อุปสมบทเป็นระยะเวลา ๑ พรรษา หลังจากนั้นก็ได้เข้าเรียนภาษาไทยที่โรงเรียนสุขุมาภิบาลวิทยาในสํานักวัดท่าโพธิ์ เมื่อย้ายไปรับราชการที่จังหวัดสงขลาก็ได้เป็นประธานในการบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหารวัดมัชฌิมาวาส และเมื่อเกษียณอายุแล้วไปอยู่กรุงเทพมหานคร ก็ยังได้ปรารภกับพระครูธรรมสารศีลวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดดอนรัก จังหวัดสงขลาว่า ....
           อยู่ทางกรุงเทพฯ ไกลวัด ไม่เหมือนอยู่สงขลา ได้ไปหาพระเจ้าพระสงฆ์ สนทนาธัมโมธัมมะ ทําให้จิตใจสบาย ดังคําไว้อาลัยที่พระครูธรรมสารศีลวัฒน์ ได้เขียนไว้ในหนังสือที่พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพรองอํามาตย์โท หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึง ติณสูลานนท์) ณ ฌาปนสถาน กองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันเสาร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๑๖ ความตอนหนึ่งว่า...
           
อาตมาได้รู้จักสนิทสนมกับคุณหลวง เมื่อปี ๒๔๗๓ ซึ่งขณะนั้นอาตมาบวชได้เป็นพรรษาที่ ๒ คุณ หลวงยังดำรงบรรดาศักดิ์เป็น นวินิจทัณฑกรรม ท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์พระธรรมวิโรจนเถร (พลับ ฐิติกโร) ยังดํารงสมณศักดิ์เป็นพระครูศาสนภารพินิจ เจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง และเจ้าคณะจังหวัดสงขลา ได้ปรารภกับพระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโยธิน) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยคณะกรรมการ ปรารภเพื่อจะปฏิสังขรณ์พระวิหาร พระยาศรีธรรมราช ได้เลือกเอาขุนวินิจทัณฑกรรมเป็นประธาน ขุนประธานราษฎร์นิกร เป็นที่ปรึกษา ก่อสร้างเปลี่ยนเครื่องไม้หลังคาทั้งหมด เอาฝาประจันห้องหน้าพระประธาน ออกและก่ออิฐช่วงโค้งระหว่างเสาระเบียง ขึ้นตั้งกรอบหน้าต่างติดลูกกรงเหล็กและที่ประตูดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ การบูรณะปฏิสังขรณ์ได้สําเร็จลงโดยรวดเร็ว พระวิหารหลังนี้พระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา) เป็นผู้สร้าง งานเสร็จไปโดยเรียบร้อยในปีนั้นเพราะได้รับความสนับสนุนจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม (เช่ง อุตตโม) วัดราชาธิวาส เจ้าคณะมณฑลภูเก็ต และนครศรีธรรมราช ได้สนับสนุนประมาณ ๖,000 บาท สมทบทุนกับผู้บริจาค จนพระวิหารสําเร็จเรียบร้อยและในปี นั้นท่านเจ้าคุณธรรมวโรดมกับท่านพระครูศาสนภารพินิจ ได้เสนอขอเลื่อนบรรดาศักดิ์ขุนวินิจทัณฑกรรมและขุนประธานราษฎร์นักร ขึ้นเป็นหลวงวินิจทัณฑกรรม และหลวงประธานราษฎร์นักร ในวันเฉลิมพระชนพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ....
         นอกจากความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ยังได้ให้ความเคารพนับถือพระสงฆ์ ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า จนถึงกับได้กราบนมัสการให้พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน ฤทธิโชติ) เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งชื่อให้บุตรเพื่อเป็นมงคลนามดังจะเห็นได้จากคําไว้อาลัยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่เขียนในหนังสือรัตนธัชมุนีอนุสรณ์ที่ได้ จัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพพระรัตนธัชมุนี ณ เมรุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ตอนหนึ่งว่า...

        “ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระเถระที่เปี่ยมไปด้วยพระพรหมวิหารธรรม สมบูรณ์ ด้วยคุณสมบัติควรแก่การสักการบูชา ระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่ได้เทศนาอบรมธรรม ให้แก่ประชาชนทั้งในเขตปกครองและนอกเขตปกครอง นอกจากนี้ยังเป็นนักพัฒนา โดยเริ่มจัดตั้งโรงเรียนฝึกทอผ้าขึ้นที่วัดพระมหาธาตุ รมหาวิหาร พัฒนาวัดวาอารามต่าง ๆ ให้มีสภาพดีขึ้น ส่งเสริมอบรมศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ได้ ศึกษาเล่าเรียนมีวิชาความรู้จึง อนึ่งท่านเจ้าคุณและบิดาของกระผมเป็นศิษย์ร่วมอุปัชฌาย์อาจารย์เดียวกันและบิดาของกระผมเป็นผู้กราบนมัสการขอให้ท่านเจ้าคุณตั้งชื่อให้กระผม จึงนับได้ว่าท่านเจ้าคุณเป็นผู้มีพระคุณต่อกระผมเป็นส่วนตัวด้วย...”


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์)
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


บรรณานุกรม

วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช. ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้. (2529). เกิดถิ่นใต้. นครศรีธรรมราช : ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024