น้อม อุปรมัย
 
Back    05/05/2021, 11:01    2,081  

หมวดหมู่

บุคคลสำคัญ


ประวัติ


ภาพจาก : น้อมรำลึก : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายน้อม อุปรมัย ป. ม., 2526

             น้อม อุปรมัย เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายกลิ่น อุปรมัย นางกิมยี อุปรมัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ที่บ้านปากมะยิง ตําบลปากพูน อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้องร่วมบิดาซึ่งเกิดนางวุ่น อุปรมัย อีก ๕ คน คือ

๑. นางเกลื่อม อุปรมัย
๒. นางเหลื่อม อุปรมัย
๓. นายพร้อม อุปรมัย
๔. นายนาม อุปรมัย
๕. นางกิ้มหลับ จายางกูร

ครอบครัว
               น้อม อุปรมัย ได้สมรสกับภัทรา รัตนสุวรรณ (ทองสุภา) บุตรีนายคล้าย นางแดง รัตนสุวรรณ มีบุตร-ธิดารวม ๗ คน คือ

๑. น.ต.ไผท อุปรมัย
๒. รมัย อุปรมัย
๓. อุปรมัย
๔. ทิพวรรณ อุปรมัย
๕. ธาตรี อุปรมัย
๖. วรุตม์ อุปรมัย
๗. ภรณี อุปรมัย

 


ภาพจาก : น้อมรำลึก : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายน้อม อุปรมัย ป. ม., 2526


ภาพจาก : น้อมรำลึก : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายน้อม อุปรมัย ป. ม., 2526

การศึกษา

- พ.ศ. ๒๔๖๖ สอบไล่ได้ประโยคประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาล ตําบลท่าวัง วัดท่ามอญ (วัดศรีทวีปัจจุบัน)
พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบไล่ได้ประโยคมัธยมศึกษา (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖) จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช (ได้เหรียญหมั่นเรียน ๒ ครั้ง)
พ.ศ. ๒๔๗๖ สอบไล่ได้ประโยคครูมูลพิเศษ
พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบไล่ได้อนุปริญญาทางนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรชั้นสูง วิชาการปกครองจากโรงเรียนข้าราชการ ฝ่ายปกครอง
พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบไล่ได้ชั้นปริญญาตรีธรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง
พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษชั้นสูง จากมหาวิทยาลัยอเมริกัน กรุงวอชิงตันดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
                         ได้รับเกียรติบัตรสมาชิกสมาคมภูมิศาสตร์นานาชาติ


ภาพจาก : น้อมรำลึก : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายน้อม อุปรมัย ป. ม., 2526

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

๑. เหรียญชัยสมรภูมิ
๒. ดุมพระปรมาภิไธยย่อ รัชกาลที่ ๕ เนื่องในการฉลองวันพระราชสมภพครบ ๖ รอบและ ๑๐๐ ปี
๓. ตราทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
๔. ตราประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)


ภาพจาก : น้อมรำลึก : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายน้อม อุปรมัย ป. ม., 2526

 

บั้นปลายชีวิต
         
น้อม อุปรมัย ตามปกติเป็นคนมีสุขภาพดีไม่มีโรคประจําตัว เป็นคนชอบทํางานไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบศึกษาค้นคว้าวิชาการต่าง ๆ อยู่เสมอ และมักได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยาย อภิปรายตามสถาบัน ต่าง ๆ เป็นประจํา และใช้เวลาว่างเขียนบทความ ในระยะหลังสนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภูมิศาสตร์และ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากเป็นพิเศษ มีผลงานปรากฏลงในหนังสือที่ระลึกของสถานศึกษา ชมรม สมาคม และหน่วยงานต่าง ๆ เสมอ เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๕ น้อม อุปรมัย ได้ล้มป่วย แพทย์หญิงจงดี มิตรกูด แห่งโรงพยาบาลนครคริสเตียน นครศรีธรรมราช ได้ตรวจพบอาการของโรคหัวใจ (โต) และได้เข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลแห่งนี้จนอาการดีขึ้น ต่อมาภัทรา อุปรมัย ภรรยาได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ อาการของโรคหัวใจก็กําเริบขึ้นอีก น.ต. ไผท อุปรมัย ร.น. บุตรชาย ซึ่งรับราชการอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ได้ขอร้องให้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด ท่านจึงเข้ารับการ รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช ๓ ครั้ง อาการดีขึ้นมาก แต่เนื่องจากไม่ยอมหยุดพักผ่อนตามคําแนะนําของแพทย์ อาการจึงทรุดลงอีก มีอาการอ่อนเพลีย แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ และเบื่ออาหาร พล.ต.ต. ศักดิ์ สวยสุวรรณ ผู้บังคับการตํารวจภูธรเขต ๑๑ ผู้ซึ่งท่าน เคารพนับถือ เป็นอย่างมากได้กรุณาแนะนําให้เข้ารับการรักษาพยาบาลกับนายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ผลปรากฏว่าอาการดีขึ้นจึงได้กลับไปพักผ่อนที่บ้านบ่ออ่าง อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจะต้องตรวจสภาพร่างกายและหัวใจกับนายแพทย์ธาดาเดือนละครั้ง ระหว่างที่ท่าน พักฟื้นอยู่ที่บ้านนั้นเมื่อมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องด้วยอาการท้องผูก จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนายแพทย์ปรีชา มิตรกูล นายแพทย์ประจําโรงพยาบาลนครคริสเตียน และสมพร หว่างตระกูล เจ้าหน้าที่ประจําโรงพยาบาลครั้งสุดท้ายท่านได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ แต่เนื่องจากมีอาการบวมที่ท้องและที่ขามาก นายแพทย์ธาดา จึงให้พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเมื่อเวลา ๐๖.๐๐ น. ของวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ท่าน มีอาการอ่อนเพลียมาก เมื่อได้รับประทานอาหารเพีย งเล็กน้อยก็ขอนอนพัก ซึ่งวรุตม์ บุตรชายผู้เฝ้าดูอาการอยู่อย่างใกล้ชิดได้ตามนายแพทย์เวรมาตรวจดูอาการปรากฏว่าหัวใจเต้นอ่อนมากและช้าลงตามลําดับ นายแพทย์และพยาบาล ได้พยายามช่วยชีวิตนายน้อม อุปรมัย จนสุดความสามารถ แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ ท่านได้ถึงแก่กรรม ด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๐๗.๓๐ น. ของวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่ ก่อนถึงแก่กรรมประมาณ ๓ วันท่าน ได้เขียนสั่งความเกี่ยวกับการจัดงานศพของตนไว้อย่างละเอียดทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากที่ได้เขียนไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ และอีกครั้งหนึ่งเขียนเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ทายาทของท่าน ได้ตั้งศพบําเพ็ญกุศล ณ วัดวังตะวันออก ตําบลคลัง อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่วันที่ ๑๗-๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ และได้บรรจุศพไว้ที่วัดวังตะวันออกในคืนวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ตามที่ท่านได้สั่งความไว้ ต่อมาทายาทได้กราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลิงศพนายน้อม อุปรมัย ในวันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ เมรุวัดชะเมา ตําบลท่าวัง อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ จรูญพันธุ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ มาในการพระราชทานเพลิงศพ


ผลงานสำคัญ


ภาพจาก : น้อมรำลึก : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายน้อม อุปรมัย ป. ม., 2526

การรับราชการและตำแหน่งหน้าที่

พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๗๕ ครูจัตวาโรงเรียนประจําจังหวัดนครศรีธรรมราช (เบญจมราชูทิศ)
พ.ศ. ๒๔๗๖ ครูจัตวาโรงเรียนประชาบาลตําบลศาลามีชัย ๒ วัดศาลามีชัย อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๔ ครูดรีโรงเรียนประจําจังหวัดนครศรีธรรมราช (เบญจมราชูทิศ)
พ.ศ. ๒๔๘๕ โอนไปรับราชการกระทรวงมหาดไทยในตําแหน่งปลัดอําเภอตรี อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
พ.ศ. ๒๔๘๖ ปลัดอําเภอตรี อําเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๗ ปลัดอําเภอตรี อําเภอเมืองรัฐปลิศ แคว้นมลายู
พ.ศ. ๒๔๘๘ ปลัดอําเภอตรี อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
พ.ศ. ๒๔๘๘ ปลัดอําเภอตรี กิ่งอําเภอลานสกา อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๔๘๙ ลาออกจากราชการประกอบอาชีพทนายความและเป็นนักการเมืองระดับท้องถิ่นคือเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช รอง                ประธานสภาเทศบาลเมือง นครศรีธรรมราช และเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชหลายสมัย
- พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๐๐ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สมัยแรก
พ.ศ. ๒๕๐๐ (๒๖ ก.พ.-๑๖ ก.ย.) ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ ๒ และได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ๒ สมัย
พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๑ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช สมัยที่ ๓ และได้รับตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ                              กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ ๗ สิงหาคม ๒๕๐๑-๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑
พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๔ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สมัยที่ ๔ และได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร                 สมัยที่ ๓

งานราชการพิเศษ

- พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้รับคําสั่งจาก พล.ต.หลวงเสนาณรงค์ ผบ.กองพล ที่เมืองนครศรีธรรมราช ให้เข้าร่วมคณะฝ่ายไทยในการเจรจาหยุดยิงกับกองทัพ                       ญี่ปุ่นที่ยกพลขึ้นบุกเมืองนครศรีธรรมราช ขณะที่เป็นครูโรงเรียนประจําจังหวัดนครศรีธรรมราช “เบญจมราชูทิศ”
- พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เป็นผู้ร่วมคณะฝ่ายไทยไปรับมอบดินแดน ๔ รัฐมาลัยจากรัฐบาลญี่ปุ่น ขณะที่รับราชการเป็นปลัดอําเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้เป็นพนักงานประสานงานฝ่ายพันธมิตร ในย่านอําเภอบ้านโป่ง นครปฐมและกาญจนบุรี จนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงคราม และได้ปฏิบัติ                         หน้าที่ประสานงานกับกองทหารฝ่ายสัมพันธมิตร คืออังกฤษและอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๑๗ กระทรวงกลาโหมให้มีฐานะเป็น “ทหารผ่านศึกชั้น ๒” เพราะได้ปฏิบัติงานราชการพิเศษดังกล่าวข้างต้น

หน้าที่การงานอื่น ๆ

พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์งานของสหประชาชาติ ในภาคพื้นเอเชียและตะวันออกไกล โดยได้รับการแต่งตั้งจากองค์การสหประชาชาติ                  ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๐
พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ)
พ.ศ. ๒๕๑๘–๒๕๑๔ เป็นอาจารย์พิเศษ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบรรยายประวัติศาสตร์เมืองนครฯ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง                  มณฑลทหารบกที่ ๕
พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๙ เป็นกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นกรรมการค้นคว้าประวัติ “กรุงชิง” เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นกรรมการประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๒๖ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจําวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นอนุกรรมการวัฒนธรรมประจําจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ค. จังหวัดนครศรีธรรมราช 

ผลงานทางวิชาการบางส่วน

๑. ประวัติเมืองนครศรีธรรมราชและลําดับผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช
๒. งานเดือนสิบ ๒๕๐๖ เรื่องรอยบาทเหยียบแน่นไว้
๓. งานชุมนุมธรรมศาสตร์เรื่องพระร่วง
๔. ที่ระลึกงานธรรมศาสตร์ ๑๐ ธ.ค. ๐๘ เรื่องประเทศใหม่โพ้นทะเล
๕. ที่ระลึกเปิดอาคารศาลจังหวัดและศาลแขวงนครศรีธรรมราช ๒๕๐๙ เรื่องเค้าเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช
๖. งานชุมนุมมุสลิม ๒ ธันวาคม ๒๕๑๐ เรื่องมัสยิดซอลาฮุดดิน
๗. งานนครศรีกวีศิลป์เรื่องเยี่ยมแดนประหาร-วัดโคกพระยา
๘. งานชาวลุ่มน้ำปากพนังสังสรรค์เรื่องอ่าวไทยและไหล่ทวีป
๙. รัฐสภาสาร ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓ คําอภิปรายของนายน้อม อุปมัย ในการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
๑๐. เอ.ยู.เอ. ๑๙๗๐ เรื่องทัศนคติของคนสําคัญ
๑๑. อนุสรณ์งานแจกประกาศนียบัตรหน่วยศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๐ ก.พ. ๑๔
๑๒. วารสารธรรม ๑๐ มกราคม ๒๕๑๕ เรื่องหนักแน่นตุแผ่นผา
๑๓. สารนครศรีธรรมราช ตุลาคม ๒๕๑๕ เรื่องพระพนมวังนางเสดียงทอง
๑๔. อนุสรณ์ครบรอบ ๒ ปี วิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๑๕ เรื่องวัดประดู-วัดแจ้ง
๑๕. อนุสรณ์พิธีแจกประกาศนียบัตร หน่วยศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ นครศรีธรรมราช ๑๕-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ คําขวัญ “ปณิธานชีวิต”
๑๖. เบญจมราชูทิศ ปีการศึกษา ๒๕๑๕ เรื่องวิญญาณกษัตริย์ไทย เรียกหาความเป็นไท
๑๗. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพอาจารย์พระครูอัตตปาโมชร์ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๖ เรื่องวัดเสมาเมือง
๑๘. งานนักกีฬาไทยไปแข่งขันที่สิงคโปร์ เรื่องเราลุกจากเมืองศรีธรรมราชมา
๑๙. อนุสรณ์ปี ๒๕๑๖ โรงเรียนรัชฎาภิเศกรุ่นแรกเรื่องฉันจะซื่อสัตย์
๒๐. อนุสรณ์พิธีมอบประกาศนียบัตร หน่วยศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ นครศรีธรรมราช ๖-๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ เรื่องความลึกลับของเจดีย์หินในวัด          พระมหาธาตุ
๒๑. วิชาฉบับชีวิตไทยปักษ์ได้เรื่องการขับไล่พม่าออกจากเมืองนคร ๒๒. อนุสรณ์จากคณะศิษยานุศิษย์ ในงานรับสมณศักดิ์พระไพศาลศิริวัฒน์ ๕                    ธันวาคม ๒๕๑๙
๒๓. ที่ระลึกในพิธีเปิดอาคารที่ทําการศาลจังหวัดปากพนัง ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ เรื่องพระบรมธาตุแห่งเมืองนครศรีธรรมราช
๒๔. วันธรรมศาสตร์ ๒๕๒๐ นครศรีธรรมราช เรื่องสารจากลูกโดม
๒๕. อนุสรณ์ครบรอบปีวิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ ๘ พฤษภาคม ๒๕๑๖ เรื่องแบบอย่างพระพุทธรูปนานาชาติ
๒๖. ประวัติความเป็นมาของวัดท่าโพธิ์วรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๒๐
๒๗. ชีวิตไทยปักษ์ได้เรื่องป้อมค่ายสี่มุมเมืองนครศรีธรรมราช
๒๘. ชีวประวัติสังเขปของครูฉ่ำ จำรัสเนตร อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช ๕ สมัย
๒๙. รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชเรื่องนครศรีธรรมราชสมัยอยุธย

 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
น้อม อุปรมัย
ที่อยู่
จังหวัด
นครศรีธรรมราช


บรรณานุกรม

น้อมรำลึก : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายน้อม อุปรมัย ป. ม. ณ ฌาปนสถานวัดชะเมา อำเภอเมือง
            จังหวัดนครศรีธรรมราช วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2526. (2526). กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช. 


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024