ยก ชูบัวหรือโนรายก ชูบัว เป็นมโนราห์ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในภาคใต้ ท่านมีความสนใจในการรํามโนราห์มาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเด็ก และได้รํามโนราห์เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๔ รวมเวลาที่ท่านรำมโนราห์นานกว่า ๕๐ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้มีจิตใจรักทางการรํามโนราห์อย่างแท้จริง ตลอดถึงเป็นมโนราห์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงมากคนหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ท่านรำมโนราห์ ท่านได้สร้างชื่อเสียงไว้มากมาย อาทิ การรำมโนราห์ที่มหาวิทยาลัยปีนัง ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย การต้อนรับทูตวัฒนธรรม ๒๕ ประเทศ ที่กรุงเทพฯ การรําถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่เกาะอาดัง ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล การรําถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าในรายก ชูบัว เป็นผู้มีวิญญาณศิลปินในการรำมโนราห์อย่างแท้จริง และเป็นผู้ที่มีอัจฉริยะในการรํามโนราห์มากคนหนึ่งในภาคใต้ นอกจากการรํามโนราห์ที่สําคัญ ๆ ดังกล่าวแล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแต่งบทกลอนโนราได้ดีอีก ซึ่งบทกลอนโนราที่ท่านใช้ขับร้องในการรํามโนราห์ส่วนมากจะเป็นบทกลอนที่ท่านแต่งขึ้นเอง ตลอดถึงท่านยังแต่งบทกลอนโนราให้ผู้อื่นขับร้องอีกด้วย ซึ่งบทกลอนโนราเหล่านี้ได้สะท้อนเป็นแนวคิดของในรายก ชูบัว ได้เป็นอย่างดี และขณะเดียวกันก็สะท้อนภาพทางสังคม การทํางาน หลังจากที่โนรายก ชูบัว จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนวัดควนพนางตุง ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง แล้วในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ต่อมาครูทิม พุฒ ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดทะเลน้อย ตําบลทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ได้มาติดต่อขอให้โนรายก ชูบัว ไปเป็นครูที่โรงเรียนวัดทะเลน้อย เนื่องจากขณะนั้นทาง โรงเรียนขาดอัตรากําลังครู โดยได้ตกลงว่าจะให้เงินเดือนท่านเดือนละ 4 บาท และได้ตกลงไว้อีกว่าหลังจากทํางานแล้ว ๓ เดือน ก็จะเพิ่มเงินเดือนให้อีกเดือนละ ๒ บาท รวมเป็น เงินเดือน ๆ ละ ๑๐ บาท แต่ท่านตอบปฏิเสธเนื่องจากขณะนั้นท่านได้ตัดสินใจที่จะไปรำมโนราห์อยู่กับคณะโนราเลื่อน พงศ์ชนะ ซึ่งญาติผู้ใหญ่ทางฝ่ายภรรยาซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกันกับบ้านของท่านเองคือที่บ้านทะเลน้อย ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เมื่อโนรายก ชูบัว รำมโนราห์เสร็จแล้วท่านจะกลับไปพักอยู่ที่บ้านของท่าน เอง โดยท่านจะมีรายได้จากการรําโนราคืนละ ๑ บาท (เฉพาะคืนที่ว่าโนรา) ซึ่งเมื่อรวมรายได้ แล้วท่านจะมีรายได้ จากการร่าโนราเฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำกว่า ๒๐ บาท อีกทั้งท่านเห็นว่าการรำมโนราห์อยู่กับคณะโนรา เลื่อน พงศ์ชนะ นั้นเท่ากับเป็นการฝึกความชํานาญและเพิ่มประสบการณ์ในการรำมโนราห์ให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทําให้ท่านได้แสดงออกในสิ่งที่ท่านชอบ และเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ท่านมีชื่อเสียงในการรำมโนราห์มากยิ่งขึ้น ทำให้ท่านรำมโนราห์อยู่ในคณะโนราเลื่อน พงศ์ชนะ มาเป็นเวลานาน จนกระทั่งท่านมีอายุได้ ๑๖ ปี (ปี พ.ศ. ๒๔๘๑) เมื่อเห็นว่าตนเองมีความสามารถในการราโนราสูงพอ และสามารถเล่นเป็นตัวตลกอีกทั้งสามารถขับบทกลอนโนราได้เป็นอย่างดีแล้ว ท่านจึงได้ขอแยกตัวจากคณะโนราเลื่อน พงศ์ชนะ มาตั้งคณะโนราห์ของตนเองขึ้น โดยใช้ชื่อคณะมโนราห์โนราของตนว่า “โนรายก ทะเลน้อย” ซึ่งเป็นการนําเอาชื่อของตนเองและชื่อบ้านเกิดของท่านมารวมกันตั้งเป็นชื่อของคณะในรา หลังจากตั้งคณะมโนราห์ของตนเองแล้ว โนรายก ชูบัว ก็ได้รับงานแสดงโนราทั่วเกือบทุกจังหวัดในภาคใต้และในบางจังหวัดทางภาคกลาง โดยเฉพาะในช่วงนั้นท่านจะรับงานแสดงมโนราห์มากเป็นพิเศษในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา และพัทลุง ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่ท่านเคยไปแสดงโนราเป็นประจํา เมื่อครั้งอยู่กับคณะของโนราเลื่อน พงศ์ชนะ ท่านจึงมีความคุ้นชินกับเขตพื้นที่ดังกล่าว อีกทั้งยังมีความสนิทสนมกับผู้ชมหลายคน โดยเฉพาะมีความสนิทสนมกับแม่ยกเป็นอย่างดี โดยท่านมักจะแสดงมโนราห์สลับเขตพื้นที่ คนละช่วงฤดูกันระหว่างในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและพังงาเขตหนึ่ง กับในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง อีกเชิดหนึ่ง เนื่องจากเมื่อทางเขตจังหวัดภูเก็ตและพังงาย่างเข้าฤดูฝน ทางเขตจังหวัดพัทลุงจะย่างเข้าฤดูร้อน และเมื่อทางเขตจังหวัดภูเก็ตและพังงาย่างเข้าฤดูร้อน ทางเขตจังหวัดพัทลุงจะย่างเข้าฤดูฝน รวมเวลาที่ท่านแสดงมโนราห์อยู่ในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา และพัทลุง เป็นเวลานานถึง ๔ ปี หลังจากนั้นท่านจึงเข้าได้พิธีครอบเทริด (หรือพิธีผูกผ้าใหญ่) โดยมีโนราวัน (เผ่า) โนราที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในสมัยนั้น ซึ่งอยู่ที่บ้านหลวงครู ตําบลอินคีรี อําเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ทําพิธีครอบเทริดให้ ซึ่งพิธีครอบเทริดนี้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสําคัญมากต่อผู้ที่มีอาชีพเป็นโนรา ซึ่งโนรายก ชูบัว ได้เล่าถึง การเข้าพิธีครอบเทริดของตนเองไว้สรุปได้ว่า เมื่อท่านได้รับงานแสดงมโนราห์ในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา และพัทลุง สลับกันคนละช่วงฤดูอยู่เป็นประจําซึ่งรวมเวลาได้ ๕ ปี ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เมื่อครั้งที่ท่านยกคณะโนรากลับจากแสดงในเขตจังหวัดภูเก็ตและพังงาจะไปแสดงที่จังหวัดพัทลุงนั้น ท่านได้มีโอกาสพบกับโนราวัน (เฒ่า) ซึ่งอยู่ที่บ้านหลวงครู ตําบลอินคีรี อําเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โนราวัน (เฒ่า) มีความสนิทสนมเป็นอย่างดีกับโนราเลื่อน พงศ์ชนะ เนื่องจากเคยได้ประชันโนราด้วยกันหลายครั้ง เมื่อโนราวัน (เฒ่า) ยก คณะโนรามาแสดงที่บ้านทะเลน้อย ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็น เขตบ้านที่บ้านของโนรายก ชูบัว ตั้งอยู่ และท่านก็อยู่ที่บ้านนี้ทุกครั้ง เมื่อท่านยกคณะโนรากลับจังหวัดพัทลุง และเป็นเหตุบังเอิญที่คณะของโนราวัน (เฒ่า) ขาดคนรํามโนราห์ในขณะนั้น โนราวัน (เฒ่า) จึงได้สอบถามกับโนราเลื่อน พงศ์ชนะ ว่ามีใครที่มีความสามารถรําโนราได้ดีบ้าง เพื่อจะชักชวนให้ไปรํามโนราห์อยู่ในคณะโนราของตนเอง โนราเลื่อน จึงได้บอกกับโนราวัน (เผ่า) ว่ามีโนรายก ชูบัว แห่งบ้านทะเลน้อย ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการรํามโนราห์ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่น สนใจศึกษาหาความรู้ด้านมโนราห์เป็นอย่างยิ่ง ครั้นเมื่อโนราเลื่อนได้บอกกล่าวกับท่านถึงเรื่องที่ในราวัน (เฒ่า) ต้องการผู้ที่สามารถรํามโนราห์ได้ดี เพื่อให้ไปอยู่กับคณะของโนราวัน (เต่า) ท่านจึงได้ตอบตกลงที่จะไปฝึกหัดรําโนราอยู่กับโนราวัน (เฒ่า) และได้ฝึกรําโนรากับในราวัน (เฒ่า) อยู่เป็นเวลานาน โดยได้เน้นการฝึกรำทําบทอยู่เป็นเวลานานถึง ๓ เดือน จึงทําให้ท่านมีความชํานาญในการทําบทมโนราห์มากขึ้น จนสามารถทําเลียนแบบครูคือ ในราวัน (เฒ่า) ได้ดี เมื่อท่านเห็นว่าตนเองมีความสามารถรํามโนราห์ได้เป็นอย่างดี แล้วจึงได้คิดแปลงท่ารํามโนราห์ขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นท่ารํามโนราห์ที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง หลังจากนั้นในราวัน (เฒ่า) จึงได้ทําพิธีครอบเทริดให้กับโนรายก ชูบัว ซึ่งพิธีนี้ถือว่าเป็นพิธีที่มีความสําคัญและศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสําหรับผู้ที่จะเป็นนายโรงโนราหรือหัวหน้าคณะมโนราห์ต่อไป ซึ่งเรื่องนี้สาโรช นาคะวิโรจน์ อุดม หนูทอง โนราสวัสดิ์ ช่วยพูลชู อาจารย์ สอนนาฏศิลปะพื้นเมือง (โนรา) ที่วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช (เป็นหลานชายของขุนอุปถัมภ์นรากร) ได้กล่าวถึงพิธีครอบเทริดไว้สอดคล้องกันซึ่งสรุปได้ว่าพิธีครอบเทริดเป็นพิธีที่ครูโนราได้กระทําขึ้นเพื่อรับรองความรู้ความสามารถและความเป็นที่ สมบูรณ์ของศิษย์ โดยการครอบเทริดให้ ซึ่งถือเสมือนว่าศิษย์ผู้นั้นได้รับประกาศนียบัตรที่ ประกาศความเป็นมโนราห์โดยสมบูรณ์ตามแบบที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มโนราห์ที่ผ่านพิธีครอบเทริดแล้ว สามารถที่จะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของโนราได้อย่างสมบูรณ์ มโนราห์แต่ละคนจะเข้าพิธีครอบเทริดได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต ซึ่งจะแตกต่างกับโขนหรือละครที่มักจะจัดให้มีพิธีเช่นนี้ทุกปี โนราที่มีความรู้ความสามารถในการรํามโนราห์ได้ดีเพียงใดก็ตาม หากไม่ได้ผ่านพิธีครอบเทริดถือว่าเป็นโนราที่ไม่สมบูรณ์ เรียกกันว่าเป็น “โนราดิบ“ ไม่สามารถที่จะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมโนราห์ได้ และถ้าหากไม่ได้เข้าพิธีครอบเทริดโดยที่มโนราห์คนนั้นแต่งงานเสียก่อน ก็จะเรียกกันว่าเป็น “โนราปราชิก“ พิธีครอบเทริดจึงถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์และ สําคัญยิ่งในชีวิตของผู้ที่เป็นโนรา เมื่อครั้งที่โนรายก ชูบัว ตั้งคณะโนราของตนเองใหม่ ๆ นั้น มีนายแบน ชูบัว ซึ่งเป็นลุงของท่านและเป็นผู้ที่มีจิตใจรักทางด้านการแสดงพื้นบ้าน เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้วยดี และรับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมคณะโนรายก ทะเลน้อย ไม่ว่าคณะโนรายก ทะเลน้อย จะไปแสดงที่ไหนนายแบนจะต้องเป็นธุระจัดการในเรื่องต่าง ๆ ให้ เช่น เกี่ยวกับเครื่องดนตรี เครื่องแต่งตัว การแต่งตัว เป็นต้น และที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งคือนายแบนเป็นผู้ที่มีความสามารถตีทับ ซึ่งเป็นดนตรีประกอบการแสดงโนราได้เป็นอย่างดี ดังนั้นนายแบน จึงทําหน้าที่เป็นคนตีทับของคณะโนรายก ทะเลน้อย ด้วย อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งขณะนั้นโนรายก ชูบัว มีอายุได้ ๒๐ ปี ได้เข้าอุปสมบทตามประเพณีของผู้ชายไทยทั่วไป ณ วัดควนพันแต ตําบลควนพันแต อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยมีพ่อท่านแก้ว วัดควนพันแต เป็นพระอุปัชฌาย์ พ่อท่านคล้าย วัดสนทรา ตําบลทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และพ่อท่านนวล วัดประดู่หอม (บน) ตําบลทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบท แล้วได้รับฉายาว่า “ธมฺมทินโน” โดยไปจําพรรษาอยู่ที่วัดทะเลน้อย ตําบลทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นเวลา ๑ พรรษา โนรายก ชูบัว อุปสมบทอยู่เป็นเวลา ๑ พรรษา จึงลาสิกขาออกมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ หลังจากลาสิกขาแล้วท่านได้เดินทางไปเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต ท่านได้เล่าถึงสาเหตุที่ท่านได้กลับไปภูเก็ตเนื่องจากท่านมีความคุ้นเคยกับเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างดียิ่ง ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านแสดงมโนราห์กับคณะของโนราเลื่อน พงศ์ชนะ อีกทั้งท่านยังมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับบรรดาแม่ยกมโนราห์อีก ด้วย และหลังจากที่ท่านได้กลับจากจังหวัดภูเก็ตแล้วท่านก็ได้เข้ารับราชการตํารวจที่สถานีตํารวจภูธรอําเภอเมืองพัทลุง ตําบลคูหาสวรรค์ อําเภอเมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
มรณกรรม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โนรายก ชูบัว ได้ล้มป่วยและได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลระโนด และโรงพยาบาลสงขลา เมื่อมีอาการดีขึ้นจึงได้เดินทางกลับบ้าน ต่อมาได้มีอาการแน่นหน้าอก หายใจติดขัด ทางบ้านจึงได้นําตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลระโนดอีกครั้ง แต่อาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ท่านเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นเวลา ๒ อาทิตย์ แพทย์เห็นว่าอาการป่วยได้ทุเลาลงจึงอนุญาตให้กลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน แต่เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๒๑.๓๐ น. โนรายก ชูบัว ก็ได้ถึงแก่กรรม ณ บ้านเลขที่ ๓๔๓ หมู่ที่ ๔ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา สิริรวมอายุได้ ๘๓ ปี ๑๐ เดือน
ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์ |
โนรายก ชูบัว เป็นผู้ที่มีผลงานด้านการแสดงโนราที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โนรายก ชูบัว ไปทําสวนอยู่ที่ตําบลควนกาหลง อําเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล และเป็นช่วงเดียวกันกับที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จไปที่เกาะอาดัง ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นายอําเภอควนกาหลงได้ไปเชิญโนนรายก ชูบัว เพื่อให้รำถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การรําโนราหน้าพระที่นั่งในครั้งนั้นโนรายก ชูบัว ได้รําโนราโดยใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที และสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้พระราชทานเข็มที่ระลึกซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติในชีวิตที่ได้มีโอกาสรําโนราหน้าพระที่นั่งโนรายก ซูบัว ได้แสดงโนรามาเกือบตลอดชีวิต จนถือได้ว่าท่านเป็นโนราชั้นครูคนหนึ่ง ต่อมาเมื่อมีอายุมากขึ้นได้รับเชิญเป็นวิทยากรสอนศิษย์ตามสถานศึกษาต่าง ๆ แต่ท่านก็ยังคงรักการรําโนราอยู่เป็นชีวิตจิตใจแม้ว่าจะไม่รําโนราแสดงเป็นเรื่องเป็นราว แต่ท่านก็เต็มใจอย่างยิ่งที่จะรำโนราสาธิตให้คนทั่วไปได้เห็นถึงการรําโนราที่ถูกต้องตามแบบดั้งเดิมของชาวภาคใต้
ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
โนรายก ชูบัว เป็นผู้มีอัจฉริยะในการรํามโนราห์อย่างแท้จริง ท่านได้ใช้ชีวิตการเป็นศิลปินอยู่ในแวดวงของการแสดงมโนราห์มาเป็นเวลานานกว่า ๕๐ ปี ทําให้ท่านได้สั่งสมประสบการณ์ด้านการแสดงมโนราห์ไว้มากมาย มีลูกศิษย์และเพื่อนร่วมงานตลอดจนบุคคลทั่วไปที่ท่านรู้จักมากมาย อีกทั้งท่านยังได้สร้างผลงานด้านการแสดงโนราไว้มากมาย จนทําให้ท่านได้รับรางวัลต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก ซึ่งผลงานและรางวัลที่ท่านได้รับดังกล่าวถือเป็นเกียรติยศที่ทําให้โนรายก ชูบัว ได้รับการเชิดชูเกียรติจากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ซึ่งเป็นศิลปินด้านมโนราห์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป จนทําให้ท่านมีความประทับใจในการแสดงมโนราห์ครั้งสําคัญ ๆ มากมายหลายครั้งรวมทั้งรางวัลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าต้อนรับทูตวัฒนธรรม ๒๕ ประเทศ ที่กรุงเทพฯ |
- พ.ศ. ๒๕๑๓ โนรายก ชูบัว ไปทำสวนอยู่ที่ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล และเป็นช่วงเดียวกันกับที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จไปที่เกาะอาดัง ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นายอำเภอควนกาหลงได้ไปเชิญโนรายก ชูบัว เพื่อให้รำถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การรำโนราหน้าพระที่นั่งในครั้งนั้น โนรายก ชูบัว ได้รำโนราโดยใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที และสมเด็จพระบรมราชชนนีได้พระราชทานเข็มที่ระลึก ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติในชีวิตที่ได้มีโอกาสรำมโนราห์หน้าพระที่นั่ง |
- พ.ศ. ๒๕๑๘ รําถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่เกาะอาดัง ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ซึ่งการรำในครั้งนั้นโนรายก ขบัว ได้รับพระราชทานเข็มที่ระลึกจากสมเด็จพระบรมราชชนนี |
- พ.ศ. ๒๕๑๘ เผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๕ โดยมีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ดําเนินรายการ ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษ โดยโนรายก ชูบัว ได้รับเชิญจากกรมศิลปากร ให้ไปรําโนรา ณ โรงละครแห่งชาติ พร้อมกับขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราทุ่ม เทวา) ในการทําครั้งนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ได้ประทานเทริดให้ ๑ ยอด ให้โนรายก ชูบัว |
- พ.ศ. ๒๕๒๐ รำเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๐ หาดใหญ่ สงขลา (สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑ สงขลา) |
- พ.ศ. ๒๕๒๒ รำในงานประชุมต้อนรับอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วโลก ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมเอเซียพัทยา จังหวัดชลบุรี |
- พ.ศ. ๒๕๒๓ เผยแพร่ ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (ผ่านฟ้า ๒) จํานวน ๒ ครั้ง |
- พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับเชิญจากสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พร้อมด้วยโนราอีก ๗ คณะ ไปรําในงาน “มหกรรมโนรา” ที่โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ |
- พ.ศ. ๒๕๓๑ รําถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์ วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ |
- พ.ศ. ๒๕๓๙ รำในงานกาญจนาภิเษก ณ ท้องสนามหลวง และที่ถนนราชดําเนินนอก |
ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
เกียรติคุณที่ได้รับ
จากการรํามโนราห์ครั้งสําคัญ ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โนรายก ชูบัว ยังมีรางวัลและเกียรติยศอีกมากมาย ดังนี้
- พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับผ้ามนโนราสีสวยสด จาก พ.ต.อ. ขุนพันธรักษ์ราชเดช |
- พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้รับขันเงินจากพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ ในการฉลองพระไตรปิฎกวัดหาดใหญ่ใน อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
- พ.ศ. ๒๕๐๓ รำต้อนรับทูตวัฒนธรรม ๒๕ ประเทศ ที่กรุงเทพ ฯ |
- พ.ศ. ๒๕๑๘ รําถวายสมเด็จพระบรมราชชนนี ที่เกาะอาดัง ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ซึ่งการรําถวายในครั้งนี้ ในรายก ชูบัว ได้รับพระราชทานเข็มที่ระลึกจากสมเด็จพระบรมราชชนนี |
- พ.ศ. ๒๕๑๘ รำเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๕ โดยมีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ดําเนินรายการ ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษโดยโนรายก ชูบัว ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรให้ไปรําโนรา ณ โรงละครแห่งชาติ พร้อมกับขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่ม เทวา) ในการรำครั้งนั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ได้ประทานเทริดให้ ๑ ยอด |
- พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับเกียรติบัตรจากกรมศิลปากร ในฐานะที่เป็นผู้ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการในด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างดียิ่ง ยังผลให้กรมศิลปากรสําเร็จสมความมุ่งหมายในการทํานุบํารุงด้านศิลปวัฒนธรรม |
- พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับโล่เกียรติยศจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะที่เป็นผู้อุทิศตนบําเพ็ญประโยชน์อย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยการริเริ่มวางพื้นฐานและฝึกสอนโนราให้แก่ข้าราชการและนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
- พ.ศ. ๒๕๒๐ รำเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๐ หาดใหญ่ สงขลา |
- พ.ศ. ๒๕๒๒ รำในงานประชุมต้อนรับอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วโลก ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมเอเชีย พัทยา จังหวัดชลบุรี |
- พ.ศ. ๒๕๒๓ รำเผยแพร่ ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (ผ่านฟ้า ๒) จํานวน ๒ ครั้ง |
- พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับเชิญจากสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรม พร้อมด้วยในราอีก ๗ คณะ ไปรำในงานมหกรรมโนรา ที่โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ |
- พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับการยกย่องจากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นศิลปินพื้นบ้านดีเด่นสาขามโนราห์ |
- พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับโล่ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นสาขามโนราห์ ที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เป็นผู้ประกาศ โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
- พ.ศ. ๒๕๓o ได้รับการยกย่องจากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติประวัติที่สําคัญยิ่งในชีวิตของท่าน |
- พ.ศ. ๒๕๓๑ รําถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ |
- พ.ศ. ๒๕๓๙ รำในงานกาญจนาภิเษก ณ ท้องสนามหลวงและที่ถนนราชดําเนิน กรุงเทพฯ |
โนรายก ชูบัว เป็นมโนราห?ที่มีความรู้ความสามารถในการร่าโนราเป็นอย่างดียิ่ง ผลงานด้านโนราของท่านเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของคนทั่วไป ทั้งที่เป็นการแสดงโนรา การถ่ายทอด ศิลปะการแสดงโนราให้แก่ศิษย์ และการประพันธ์วรรณกรรมเพื่อการแสดงโนรา จนทําให้ท่านเป็นมโนราห์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของภาคใต้และท่านได้รับเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติประวัติที่สําคัญยิ่งในชีวิตของท่าน ปัจจุบันในรายก บ้า อยู่ที่ ตําบลระโนด อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา ท่านยังคงรับแสดงโนราอยู่ แต่เนื่องจากท่านเป็น โนราชั้นครูจึงมักจะได้รับเชิญให้แสดงเป็นการสาธิตและแสดงแก้บนเป็นส่วนใหญ่
ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
พรทิพย์ มหันตมรรค. (2544). ศึกษาชีวประวัติและผลงานด้านโนราของโนรายก. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษัณ.
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2549. (2549). สงขลา : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
อัศวิน แสงกุมาร. (2557). โนรายก ชูบัว อัตลักษณ์ถิ่นใต้รำร่ายโนราห์. วัฒนธรรม, 53 (1).