ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ภิญโญ_สุวรรณคีรี
รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี เป็นสถาปนิกชาวไทยและอดีตอาจารย์และอาจารย์พิเศษประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ และศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) เป็นชาวจังหวัดสงขลา เป็นสถาปนิกและศิลปินอาวุโสดีเด่น เป็นที่ยอมรับในด้านสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะในด้านสถาปัตยกรรมแบบไทยเป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในจำนวนสถาปนิกไม่กี่คนในด้านนี้ที่ได้ศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมและสถาปัตยศิลป์แบบไทยมาเป็นเวลาอันยาวนาน ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นบุตรคนโตของคุณพ่อซ้อนและคุณแม่รื่น สุวรรณคีรี บิดาเป็นกำนันตำบลจะทิ้งพระ มารดามีอาชีพทำนาทำสวน ท่านมีความสนใจงานด้านสถาปัตยกรรมไทยมาตั้งแต่เด็ก ๆ ขณะอายุได้ ๘ ขวบ เพื่อนของบิดา(บิดาของท่านเคยบวชเรียนเป็นพระอยู่หลายพรรษา) ซึ่งบวชเป็นพระคือท่านพระครูปทุมธรรมธานี อดีตเจ้าอาวาสวัดสามบ่อ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ขอ เลี้ยงเป็นลูกบุตรธรรม พระครูประทุมธรรมธานี มีความสามารถพิเศษเป็นช่างเขียนลายเวลาที่วัดมีงานก็จะลงมือเขียนลายต่าง ๆ ด้วยตนเอง รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ขณะนันยังเด็กอยู่ก็สนใจไปช่วยเหลือท่านพระครูฯ อยู่เสมอ ท่านจึงได้สอนการเขียนลายต่าง ๆ ให้นอกจากจะเชี่ยวชาญเรื่องการเขียนลายแล้ว พระครูฯ ท่านยังมีความเชี่ยวในการแกะสลักลาย ฉลุยลายไม้ประดับหน้าบันวัด กุฏิโรงเรียนทำให้มีลูกศิษย์เป็นช่างมากมาย ในทุกวันพระบรรดาช่างฝีมือทั้งหลายจะมาคุยแลกเปลี่ยนและช่วยพระครูปธุมธรรมธารี ทำงานช่างและเมื่อเห็นเด็กชายภิญโ สนใจงานด้านนี้ ก็ช่วยกันถ่ายทอดงานต่าง ๆ ให้ เช่น ลายหนังตะลุง ลายประดับอาคาร ลายประคับเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ทำให้ท่านได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องลายต่าง ๆ มาตั้งแต่เด็ก
ภาพบิดามารดา
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=H27Xnuqwguo&t=179s
รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในจำนวนสถาปนิกไม่กี่คน ในด้านนี้ที่ได้ศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมและสถาปัตยศิลป์แบบไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ทัั้งยังได้ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์แบบประเพณีและแบบใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้นำเอาวิชาการแบบใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์แบบไทยในปัจจุบันได้เป็นผลสำเร็จเป็นอย่างดี ท่านได้อุทิศตนให้กับงานสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์เพื่อส่วนรวมมาเป็นเวลาเกือบ ๔๐ ปี รับใช้ศาสนาและสังคมด้วยผลงานศิลปกรรม มีผลงานจำนวนมากทั้งในพระราชอาณาจักรและในต่างประเทศ โครงการสำคัญที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการคือ วัดไทยกุสินารามหาวิหาร ประเทศอินเดีย วัดไทยที่ลุมพินี ประเทศเนปาล เป็นสถาปนิกและศิลปินที่อุทิศตนให้กับส่วนรวมในด้านสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์ เป็นผู้อนุรักษ์สร้างสรรค์ และถ่ายทอดวิชาการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นบุคคลที่มีคุณค่านับอเนกอนันต์ของประเทศ เป็นคนดีมีวิชาที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งในผลงานและการทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง เป็นศิลปินที่มีคุณธรรมและจริยธรรมทั้งในชีวิตและผลงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๗
รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้ริเริ่มปรับปรุงงานสถาปัตยกรรมไทย โดยเน้นการออกแบบมากกว่าการลอกแบบและเน้นการนำระเบียบแบบแผนของครูช่างโบราณมาประยุกต์ให้ดียิ่งขึ้นในเรื่องลักษณะความงดงามของสัดส่วน เป็นผู้ริเริ่มนำวัสดุใหม่ ๆ มาใช้กับงานสถาปัตยกรรมไทย เช่น ลายดุนทองแดง ลวดลายหล่อทองแดง เป็นต้น และยังได้ถ่ายทอดประสบการณ์วิชาความรู้แก่ชนรุ่นหลังตลอดมา โดยนำวิชาการสถาปัตยกรรมแบบใหม่ประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรมแบบไทยปัจจุบัน
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=H27Xnuqwguo&t=179s
การศึกษา
ปีที่สำเร็จการศึกษา | วุฒิการศึกษาที่จบ | สถานที่ศึกษา |
๒๔๘๘ | ประถมศึกษา | โรงเรียนวัดสามบ่อ |
๒๔๙๕ | มัธยมศึกษา | โรงเรียนมหาวชิราวุธ |
๒๔๙๘ | เตรียมอุดมศึกษาชั้นปีที่ ๑ | โรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี |
๒๔๙๙ | เตรียมอุดมศึกษาชั้นปีที่ ๒ | โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง |
๒๕๐๗ | สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
๒๕๑๕ | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย |
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=H27Xnuqwguo&t=179s
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=H27Xnuqwguo&t=179s
การทำงาน
ปี | ตำแหน่ง | สถานที่ทำงาน |
๒๕๐๕ | ครูสอนวิชาวาดเขียน | โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท |
๒๕๐๘ | อาจารย์พิเศษ | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
๒๕๑๐ | อาจารย์ประจำ | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
๒๕๑๕ | อาจารย์พิเศษ | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
๒๕๒๓ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
๒๕๒๘ | อาจารย์พิเศษ | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
๒๕๔๐ | อาจารย์พิเศษ | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ |
๒๕๔๑ | รองศาสตราจารย์ | ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผลงานของรองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ที่สร้างสรรค์ไว้มากมาย เช่น พลับพลาที่ประทับในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ ๒ อำเภออัมพวา จังหวัดสุมรสงคราม อุโบสถวัดเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง หอฉันวัดจะทิ้งพระและสถาบันทักษิณคดีศึกษา ในต่างประเทศ เช่น สถาปัตยกรรมในวัดไทยกุสินรามมหาวิหาร ประเทศอินเดีย วัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล และวัดเทพมงคลมุนี มลรัฐเพ้นซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลงานออกแบบ
ภาพจาก : http://kwamrak.blog.fc2.com/blog-entry-1817.html
- พ.ศ. ๒๕๐๙ ออกแบบอาคารประถมพุทธศาสตร์ จิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
- พ.ศ. ๒๕๑๓ ออกแบบพระอุโบสถ วัดเขาช่องพราน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- พ.ศ. ๒๕๒๑
- พ.ศ. ๒๕๒๒ ออกแบบตกแต่งพิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร ท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
- พ.ศ. ๒๕๒๗
- พ.ศ. ๒๕๒๘
- พ.ศ. ๒๕๒๙
- พ.ศ. ๒๕๓๐
- พ.ศ. ๒๕๓๑
- พ.ศ. ๒๕๓๒
- พ.ศ. ๒๕๓๓
- พ.ศ. ๒๕๓๔
- พ.ศ. ๒๕๓๕
- พ.ศ. ๒๕๓๖
- พ.ศ. ๒๕๓๗
- พ.ศ. ๒๕๓๘
- พ.ศ. ๒๕๓๙
- พ.ศ. ๒๕๔๐
- พ.ศ. ๒๕๔๑
- พ.ศ. ๒๕๔๒
- พ.ศ. ๒๕๔๓
- พ.ศ. ๒๕๔๔
- พ.ศ. ๒๕๔๕
- พ.ศ. ๒๕๔๖
- พ.ศ. ๒๕๔๗
- พ.ศ. ๒๕๔๘
- พ.ศ. ๒๕๔๙
- พ.ศ. ๒๕๕๐
- พ.ศ. ๒๕๕๘
|
เกียรติคุณ
จากการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมไทยของรองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี จนเป็นที่ยอมรับ ทำให้ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากหลายหน่วยงานได้แก่ คนดีศรีมหาวชิราวุธ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาปนิกดีเด่น บุคคลตัวอย่างด้านการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมไทย สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่นด้านการสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมไทย ประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่น สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ และสืบทอดผลงานสถาปัตยกรรมไทย การยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (สถาปัตยกรรมไทย) ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ดม.ศ.) รางวัลนิคเคอิเอเชีย ไพรซ์ สาขาศิลปวัฒนธรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย
รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้รับเชิดชูเกียรติจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศาสตราภิชาน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒-๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ในสาขาสถาปัตยกรรม
รางวัล
รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้ต่อไปนี้
- ๒๕๓๑ | โล่เชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ มูลนิธิมหาวชิราวุธ |
- ๒๕๓๑ | ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
- ๒๕๓๖ | บุคคลตัวอย่างด้านอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมไทย สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ |
- ๒๕๓๖ | ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
- ๒๕๓๗ | พระราชทานกิตติบัตร สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ |
- ๒๕๓๗ | รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ |
- ๒๕๓๘ | พระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ |
- ๒๕๓๙ | สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่นด้านการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมไทย คณะกรรมการวันอนุรักษ์มรดกไทย |
- ๒๕๔๐ | โล่เชิดชูเกียรติคนดีศรีมหาวชิราวุธ สมาคมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ |
- ๒๕๔๐ | สถาปนิกดีเด่นด้านการอนุรักษ์ สร้างสรรค์และสืบทอดผลงานสถาปัตยกรรมไทย คณะกรรมการวันอนุรักษ์มรดกไทย |
- ๒๕๔๐ | บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม คณะอนุกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ |
- ๒๕๔๓ | รางวัลนิคเคอิ เอเชียไพรซ์ (สาขาศิลปวัฒนธรรม) (เข้ารับมอบรางวัล เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๓ ณ ประเทศญี่ปุ่น) |
- ๒๕๔๔ | รางวัลเอเซียแปซิฟิก (สาขาศิลปวัฒนธรรม) (ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นในด้านศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) |
- ๒๕๔๔ | ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
- ๒๕๔๕ | ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
- ๒๕๔๖ - ๒๕๔๙ |
ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม เพชรสยาม มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม |
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.) ศิลปินแห่งชาติ : รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี. สืบค้น 26 ส.ค. 64, จาก http://art.culture.go.th/art01.php?nid=208
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2564). ภิญโญ สุวรรณคีรี. สืบค้น 26 ส.ค. 64, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ภิญโญ_สุวรรณคีรี