ภาพจาก: http://nasongkhla.com/
พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) เป็นเจ้าเมืองสงขลาในตระกูล ณ สงขลา คนสุดท้าย (คนที่ ๘) เป็นบุตรคนใหญ่ของพระยาสุนทรานุรักษ์ ( เนต์ร) และคุณหญิงพับ และเป็นหลานชายคนโตของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ผู้สําเร็จราชการเมืองสงขลา ในตระกูล ณ สงขลา คนที่ ๖ เกิดเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ตรงกับวัน ๑๕ ค่ํา ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านในเมืองสงขลา เมื่ออายุได้ครบ ๒๑ ปี ได้เข้าอุปสมบทที่วัดดอนรักใกล้กับจวนกลางเมืองสงขลา
การศึกษาเล่าเรียน
เริ่มเรียนหนังสือไทยกับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ผู้เป็นปู วิชาช่างไม้ วิชาการยิงปืนกับพระยาหนองจิก (เวียง) วิชาโหราศาสตร์กับคุณหญิงพับ สุนทรานุรักษ์ (มารดา) วิชาแพทย์กับหมอทีมชาวกรุงเทพฯ และท่านเจ้าวัดโปรดเกษ วิชาการเดินเรือกับกัปตันวรติกสก วิชาการถ่ายรูปกับหลวงอรรคนี้นฤมิตร มิสเตอร์สําเบ็กและมีสเตอร์เนาต้า และวิชาช่างเหล็ก ช่างทอง วิชาการทําแผนที่ จนตั้งโรงงานไว้ในบ้านมีเครื่องจักรกลหลายอย่าง รวมทั้งโรงพิมพ์ ห้องถ่ายภาพเป็นของตนเอง ชอบการช่างฝีมือท่าสิ่งของและเครื่องใช้ เครื่องประดับต่าง ๆ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายเจ้านาย แจกข้าราชบริพาร มิตรสหายเป็นที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ
ลําดับตําแหน่งและยศในราชการ
พ.ศ. ๒๔๐๗ อายุ ๑๑ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) อยู่เวรฤทธิ์
พ.ศ. ๒๔๑๓ อายุ ๑๖ ปีเป็นหลวงวิเศษภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา
พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นพระยาสุนทรานุรักษ์ ผู้รั้งราชการเมืองสงขลา
พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นพระยาวิเชียรคีรี ฯ ผู้สําเร็จราชการเมืองสงขลา
พ.ศ. ๒๔๓๙ เมื่อตั้งมณฑลเทศาภิบาลแล้ว ได้รับยศเป็นชั้นที่ ๑ ตรี เทียบเท่ากับมหาอํามาตย์ตรี ได้รับพระราชทานเงิน เดือน ๆ ละ ๔๕๐ บาท
พ.ศ. ๒๔๔๔ เลื่อนเป็นจางวางกํากับราชการเมืองสงขลา ได้รับพระราชทานเบี้ยบํานาญปีละ ๘,๐๐๐ บาท
เครื่องยศและราชอิสสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน
พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรามงกุฎชั้นที่ ๓
พ.ศ. ๒๔๓๓ ตราทุติยะจุลจอมเกล้า ฯ วิเศษ ท.จ. ว. และ พานหมากทองคําเป็นเครื่องยศ
พ.ศ. ๒๔๓๕ ตราช้างเผือกชั้นที่ ๓
พ.ศ. ๒๔๓๖ เหรียญรัชฎาภิเศก
พ.ศ. ๒๔๓๗ เหรียญจักรพรรดิมาลา
พ.ศ. ๒๔๔๐ เหรียญประพาสมาลา
พ.ศ. ๒๔๔๓ เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา ร.ก. ม.ศ.
พ.ศ. ๒๔๔๖ เหรียญทวิธาภิเศกทอง
ราชการพิเศษ
๑. ได้ซ่อมแซมบํารุงบ้านเมือง คือถนนหนทาง เช่น ลาดปูนตามถนนให้บริบูรณ์ดีขึ้น ไปมาสะดวกกว่าแต่ก่อน จนได้รับความซมเซยในราชการ
๒. ตั้งกองปราบปรามโจรผู้ร้าย ที่กําเริบซุกชุมตามแถวทะเลสาประหว่างพรมแดนเมืองสงขลาพัทลุง และนครศรีธรรมราช ให้สงบได้ ๒ คราว
๓. พ.ศ. ๒๔๑๕ เป็นนายด่านทําแผนที่ แต่งถนนระหว่างสงขลากับเมืองไทรบุรี รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จกลับจากประพาสอินเดียและเสด็จขึ้นเมืองไทรบุรีข้ามมาลงเรือพระที่นั่งที่เมืองสงขลาเป็นครั้งแรก
๔. จัดการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จ ประพาสเมืองสงขลาหลายครั้ง
๕. ปกครองเมืองแขก ๗ หัวเมืองได้เป็นที่เรียบร้อยตลอดมา
๖. นําศรีตะวันกรมการแขก ๒ หัวเมืองส่งต้นไม้ทองเงินเครื่อง ราชบรรณาการเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวาย ๕ ครั้ง
๗. พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระราชศรัทธา โปรดให้เป็นแม่กองสร้างศาลาวิหารบนเขาตังกวน ๑ หลัง เป็นตึกมีคูหา ผนังฉายด้วยปูนประสมสีดินแดนเมืองสงขลา
๘. พ.ศ. ๒๔๔๔ เป็นแม่กองสร้างถนนจากหน้าศาลาว่าการมณฑลไปถึงแหลมทราย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จเป็นปฐมแล้วพระราชทานนามถนนสายนี้ว่า “ถนนวิเชียรชม ” ยังปรากฎอยู่จนถึงทุกวันนี้
ชีวิตครอบครัว
พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ได้แต่งงานสมรสกับคุณหญิงสมบุญ บุตรหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) และท่านบั้น มีบุตรธิดา ๕ คน ประกอบด้วย
๑. เด็กชาย ชื่อตุ้ม ถึงแก่กรรมแต่อายุ ๓ ปี
๒. คุณหญิงสวัสดิ์ (ช่วง สุวรรณปัทม)
๓. คุณหญิงพจนวิลาศ (เซย นิโลกม)
๔. นางชนานุกูล (สงวน จารุจินดา)
๕. นางเพ็ชรคีรี (แซม ณลําปาง)
บุตรที่เกิดกับภริยาท่านอื่นประกอบด้วย
๑. พระยาวิชโชตชํานาญ (ปรง)
๒. พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (กิต)
๓. พระยาสุรกานต์ประทีปแก้ว (นิ)
๔. นางสั้น ภริยาหมื่นรักษ์ (นาม)
๕. เด็กหญิงชื่ออ่อน ถึงแก่กรรม
พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) เป็นผู้สําเร็จราชการเมือง ๑๓ ปี เป็นจางวาง กํากับราชการเมืองสงขลา ๓ ปี ต่อป่วยและถึงแก่อนิจกรรม ที่บ้านชายทะเลเมืองสงขลา เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ สิริายุได้ ๕๐ ปี
สกุล ณ สงขลาได้ครองเมืองเป็นผู้สําเร็จราชการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๘ ครั้งกรุงธนบุรีเป็นลําดับมา สิ้นสุดลงเพียงพระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สําเร็จราชการเมืองสงขลาที่ ๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ นับได้ ๘ ชั่วคน เป็นเวลาถึง ๑๒๙ ปี
ศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณสงขลา), เจ้าพระยา. (2482). พงศาวดารเมืองสงขลา. พระนคร : โสภณพิพรรฒธนากร.