ชบ ยอดแก้ว
 
Back    20/02/2020, 10:03    165  

หมวดหมู่

ปราชญ์ชาวบ้าน


ประวัติ

 

               ชบหรือครูชบ ยอดแก้ว เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ในครอบครัวชาวนายากจน ณ บ้านเลขที่ ๓๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายปั้น นางเภา ยอดแก้ว มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๔ คน สมรสกับนางสาวปราณี แก้วมหากาฬ เมื่อปี พ.ศ ๒๕๐๒ มีบุตรด้วยกัน ๕ คน เป็นบุตรสาว ๒ คน บุตรชาย ๓ คน
การศึกษา
              ครูชบ ยอดแก้ว เป็นคนจังหวัดสงขลา เรียนหนังสือระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล ตำบลแค อำเภอจะนะ ระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนประชานุกูล อำเภอนาทวี ความที่โรงเรียนอยู่ไกลจากบ้านหลายกิโลเมตรและครอบครัวมีฐานะยากจน จึงต้องอาศัยวัดเป็นที่พัก อดมื้อกินมื้อ แต่เนื่องจากเป็นคนมีความจำดีเลิศและปฏิภาณฉับไว จึงมีผลการเรียนดีเด่นเสมอมา ศึกษาด้วยตนเองจนสอบได้วุฒิพิเศษมัธยม (พ.ม.) และไปศึกษาต่อที่คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา (วิทยาลัยครูสงขลาในสมัยนั้น) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิตในปี พ.ศ.๒๕๒๕
การรับราชการและบทบาททางสังคม
            ครูชบ ยอดแก้ว ดำรงตำแหน่งครูผู้สอนในจังหวัดสงขลา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๐ จึงได้ไปช่วยราชการที่หมวดการศึกษาในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ระหว่างพ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๓๕ จึงลาออกจากราชการ ต่อมาได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
บำเหน็จความดีความชอบ
          ครูชบ ยอดแก้ว ได้รับเครื่องราชอิสริยากรณ์ บ.ม. บ.ช. ต.ม. ต.ช. และเหรียญจักรพรรดิมาลาตามลำดับ รวมเวลาราชการ ๓๗ ปี ได้สองชั้น ๑๓ ครั้ง และเคยได้รับการคัดเลือกเป็นผู้บริหารการศึกษาดีเด่นและข้าราชตัวอย่างของกระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการดีเด่น ๔ กระทรวงหลักของจังหวัดสงขลา รางวัลคนดีศรีสังคม รางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ และศิษย์เก่าของวิทยาลัยครูสงขลา ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับดัดเลือกให้ได้รับรางวัลอนุสรณ์เสงขลานครินทร์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มรณกรรม               
       ครูชบ ยอดแก้ว ปราชญ์ชาวบ้านนักเศรษฐศาสตร์ชุมชน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา เสียชีวิตแล้วโดยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑ พ.ค. ๒๕๕๖ สิริอายุรวม ๗๘ ปี 


ผลงานสำคัญ

           สัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต
               ครูชบ ยอดแก้ว เข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๔ ในโรงเรียนประชาตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวังหวัดสงขลา เพราะอยู่ใกล้บ้าน ขณะที่เรียนอยู่ระดับชั้นประถมศึกษา แม้ไม่ค่อยขยันต่อการศึกษาเล่าเรียนแต่ผลการเรียนก็อยู่ในระดับปานกลาง แต่อย่างไรก็ตามครูชบก็ได้เป็นนักเรียนที่เกเรหรือสร้างความหนักใจให้แก่พ่อแม่แต่อย่างโด แต่ท่านเป็นคนเจ้าความคิดมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยการปฏิบัติของครูซบที่มีต่อเพื่อนนักเรียนและครูอาจารย์นั้นจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล เมื่อเรียนจบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก็ไม่คิดจะเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษา ด้วยเพราะสงสารพ่อแม่ที่ต้องรับส่งเสียให้เล่าเรียน แต่ท่านก็ได้เข้าเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนทวีประชานุกูล อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เพราะในขณะนั้นที่อำนภอจะนะไม่มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ครูชบต้องไปอาศัยวัดเพราะโรงเรียนอยู่ไกลบ้านไปประมาณ ๘-๑๐ กิโลเมตร และเรียนด้วยความยากลำบากเพราะบางวันไม่ได้กินข้าว โดยท่านได้เล่าว่าขณะที่เรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษาท่านไม่ค่อยขยันอ่านตำรามากนักส่วนใหญ่เพื่อนจะอ่านให้ฟัง แต่พราะเมีไหวพริบปฏิภาณดีไนการตอบคำถามครูหรือการสอบ ทำให้มีผลการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนท่านจะมีลักษณะความเป็นผู้นำสูง และมักได้รับมอบหมายให้ออกไปนำเสนอรายงานหน้าขั้นอยู่เสมอ เมื่อมีการถกเถียงกับครูผู้สอนในเรื่องวิชาการ ครูชบจะยึดถือเหตุผลเป็นใหญ่  ต่อมาเมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาก็ต่อจนจบระดับขั้นอุดมศึกษาในโอกาสต่อมา โดยมุ่งเป้าไปที่ครูเพราะมีคนแนะนำว่าหางานง่าย เพราะการเรียนครูในสมัยนั้นพอเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ แล้วหากเรียนครูต่อสองปีก็ได้สอบครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.)  ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เมื่อครูชบไปสอบแข่งขันก็ติดอันดับได้รับทุนให้เรียนครู เพราะสมัยนั้นคนไม่ค่อยเรียนครู ครูชบเมื่อจบครู ว. จากโรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา อำเภอหาดใหญ่ ก็สอบบรรจุได้ สมัยนั้นครู ว. ได้เงินเดือนเดือนละ ๓๕ บาท ครูชบเห็นว่าเงินเดือนน้อยเกินไปจึงตัดสินใจเรียนต่ออีก ๑ ได้ประกาศนียบัตรครูมูล (ป.) ได้เงินเดือนเพิ่มอีก ๕ บาท รวมเป็นได้รับเงินเดือนเดือนละ ๔๐ บาท ต่อมาครูชบก็ขวนขวายสอบด้วยตนเองไปเรื่อย ๆ จนสอบได้วุฒิ พ.ม. ซึ่งขณะนั้นปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ถ้าเป็นสายวิชาชีพครูถือว่าเป็นระดับสูง ต่อมาในยุคหลังวิทยาลัยครูต่าง ๆ ได้เปิดให้ผู้ที่ทำงานแล้วเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ ท่านได้สมัครเรียนจนจบระดับปริญญาตรี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่เปิดสอนในวันเสาร์-อาทิตย์ เมื่อเรียนจบจนถึงระดับปริญญาตรีทางด้านวิชาชีพครู ครูชบก็ปวารณาตนเองที่จะเป็นครูสอนในระดับชั้นประถมศึกษา เพราะปรัชญาทางการศึกษาเขียนไว้ว่า "การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นรากฐานของการศึกษาของประเทศ" มีความสำคัญมาก ครูชบจึงเลือกที่จะสอนและดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาระดับประถมศึกษาในเวลาต่อมา
             ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมาครูชบได้ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลให้ความสำคัญแก่การศึกษาในระดับประถมศึกษาแต่เพียงทฤษฎีเท่านั้น แต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญในด้านปฏิบัติ ทำให้ครูประถมศึกษาที่เก่ง ๆ มักจะย้ายไปสังกัดกรมอื่นในกระทรวงศึกษาธิการ เช่น กรมสามัญศึกษา กรมการฝึกหัดครู แม้กระทั่งในระดับอุดมศึกษา อีกทั้งโรงเรียนประถมศึกษา ได้รับงประมาณค่อนข้างน้อย ทำให้ครูประถมศึกษาไม่ค่อยได้รับการยอมรับ ต่อนายอำเภอจะนะเห็นชอบให้ท่านเดินทางไปรับตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนวัดน้ำขาว อำเภอจะนะ ท่านได้ริเริ่มโครงการพัฒนา ๘ โครงการขึ้นในโรงเรียน โครงการเห็นผลเป็นรูปธรรมภายในเวลาเพียงปีกว่า ๆ คือโครงการสหกรณ์และออมทรัพย์ในโรงเรียน ซึ่งทำให้ครูสามารถกู้เงินดอกเบี้ยต่ำ แก้ปัญหาหนี้สินของครูได้ ส่วนเด็กนักเรียนเมื่อจบจากโรงเรียนไปแล้วก็มีเงินก้อน นอกจากนี้กลุ่มออมทรัพย์ยังจัดสวัสดิการ อาทิ ค่ารักษาพยาบาล ให้กับทั้งเด็กและครูอีกด้วย ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ชาวบ้านในชุมชนเห็นว่าโครงการของครูชบประสบความสำเร็จ อยากมีเงินออม เช่นเดียวกับโรงเรียนบ้าง ครูชบจึงนำแนวคิดมาขยายผลออกนอกโรงเรียนสู่ชุมชน พัฒนารูปแบบเป็น "สัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต" หรือเรียกในภาษาการเงินสมัยใหม่ว่า "ไมโครอินชัวรันซ์" หรือประกันขนาดจิ๋ว แต่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครเพราะใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ ผ่านมา ๓๐ ปี ปัจจุบันสัจจะออมทรัพย์ในแนวที่ครูชบริเริ่มและแนวอื่นที่ได้แรงบันดาลใจจากครูชบ มีจำนวนกว่า ๔๐,๐๐๐ กลุ่มทั่วประเทศ มีเงินออมรวมกับนับหมื่นล้านบาท กลุ่มขนาดใหญ่บางกลุ่มมีสมาชิกนับพันคน มีเงินออมรวมกันหลายสิบล้านหรือเกินร้อยล้านบาท และมีการนำเงินออมไปลงทุนในวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ อาทิ โรงสีชุมชน โรงยาง ฯลฯ 
นับเป็นผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ คือชักจูงให้ชาวบ้านออมเงินกับกลุ่มอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง จากการลดรายจ่ายวันละบาท ซึ่งที่มาของแนวคิดนี้มาจากการสังเกตลองผิดลองถูกของครูชบเองว่า ถ้าบอกให้คนออมเงินเขาคิดทันทีว่าต้องไปหารายได้เพิ่ม แต่ถ้าเปลี่ยนโจทย์เป็นลดรายจ่าย วันละบาทเดียว แบบนี้คนจนจะรู้สึกมีกำลังใจว่าทำได้ โมเดลธุรกิจของครูชบนั้นเรียบง่ายคือนำเงินสัจจะไปปล่อยกู้ให้กับสมาชิก เป้าหมายเงินกู้จะพิจารณาตามความจำเป็นก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญเรื่องของการรักษาโรคภัยไข้เจ็บเป็นอันดับแรก ตามด้วยการกู้ไปปลดหนี้ และเพื่อการศึกษาตามลำดับ เรื่องอื่นนอกเหนือจากนี้ต้องตกลงกันเองระหว่างสมาชิกในกลุ่ม  สิ้นปีกลุ่มออมทรัพย์จะนำผลกำไรมาแบ่งเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน ครึ่งหนึ่งปันผลให้สมาชิก อีกครึ่งหนึ่งนำมาเป็นกองทุนสวัสดิการ ช่วยเหลือสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย อาทิ การคลอดบุตร การรักษาพยาบาล การศึกษา การฌาปนกิจ เป็นต้น แต่มีข้อแม้ว่าสมาชิกต้องออมเงินกับกลุ่มให้ได้ติดต่อกัน ๑๒ เดือน จึงจะมีสิทธิได้รับสวัสดิการ กล่าวง่าย ๆ คือสมาชิกต้องรักษาสัจจะ จึงจะได้ประโยชน์ตามหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในชุมชน  แนวคิดสัจจะลดรายจ่ายวันละบาทของครูชบจึงเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่น่าทึ่ง เพราะสามารถสร้างแรงจูงใจให้คนจนเก็บออมเงินได้สำเร็จ จากบทความของสฤณี อาชวานันทกุลได้กล่าวว่า...  อาจารย์ภีม ภคเมธาวี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้คลุกคลีใกล้ชิดกับครูชบ และวงการการเงินฐานรากไทย (หรือ Microfinance บ้างก็เรียกว่าองค์กรการเงินระดับจุลภาค) มานาน ครูชบไม่ใช่คนแรกที่ตั้งกลุ่มออมทรัพย์ แต่กลุ่มอื่นอย่างกลุ่มออมทรัพย์ ของกรมพัฒนาชุมชนในตำบลน้ำขาวล้มเหลว เนื่องจากไม่เน้นสวัสดิการเน้นการปล่อยกู้ อีกทั้งยังกำหนดระยะเวลานานและเงินก้อนโตเกินกำลังของชาวบ้าน เช่น ต้องออมให้ได้ถึง ๑ แสนบาท ภายใน ๕ ปี จึงจะได้กู้ครูชบเห็นว่าแบบนั้นเป็นการเอารวมเงินชาวบ้านไปฝากธนาคาร ทำให้ธนาคารสบายเพราะมีกลุ่มช่วยรวบรวมเงินก้อนมาฝากธนาคาร ดอกเบี้ยก็ถูกมาก ชาวบ้านไม่ได้เรียนรู้อะไร และไม่เกิดประโยชน์ด้านการเงินสักเท่าไร ครูชบตั้งกลุ่มสัจจะให้ออมเสร็จก็ปล่อยกู้เลย มีเท่าไรก็ปล่อยกู้เท่านั้น ถือเป็นการฝึกสมาชิกจากเงินน้อย ๆ ไม่ต้องไปฝากธนาคาร เรียนรู้จากตัวเลขง่าย ๆ ก่อนและฝึกไว้เนื้อเชื่อใจกันจากจำนวนเงินน้อย ๆ ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามกำลัง ทำให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ทั้งการเรียนรู้และการเงิน คือได้ช่วยเหลือกันจริง ๆ ด้วย อีกประเด็นคือกลุ่มครูชบเน้นสวัสดิการ โดยปล่อยกู้ตามสภาพที่เป็นจริงของชุมชนที่มีเงินกู้นอกระบบร้อยละ ๕-๑๐ หรือ ๒๐ ต่อเดือน โดยปล่อยกู้ร้อยละ ๕ ต่อเดือน แต่กำไรหักเป็นสวัสดิการ ๕๐% อีก ๕๐% ปันผลสมาชิก จากนั้นเมื่อกลุ่มโตขึ้นก็ค่อย ๆ ลดดอกเบี้ยลงตามสภาพชุมชนที่ดอกเบี้ยนอกระบบลดลงไปด้วย

           องค์ความรู้ของครูชบ ยอดแก้ว
              องค์ความรู้ของครูชบ ยอดแก้ว มีหลายด้าน ทั้งที่ได้รับจากการศึกษาในระบบและนอกระบบ แต่ที่เป็นสุดยอดคือการจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ที่นำมาแก้ปัญหาชุมชนได้สำเร็จ และสามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ได้ทั่วทุกาคในประเทศ องค์ความรู้ของครูชบจะมีลักษณะเกี่ยวพันกันกันกระบวนการชีวิตหรือองค์ความรู้ตามแนวคิดของท่างพุทธทาสภิกขุ ที่เรียกว่ามีความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ขององค์ความรู้แต่ละด้าน โดยครูชบสามกรถใช้การบริหารจัดการนำองค์ความรู้ทั้งหมดมาสร้างประโยชน์ให้เกิดกับชุมชนในลักษณะของผู้จัดการ องค์ความรู้องค์ความรู้ส่วนใหญ่ของครูชบ มีรากฐานมาจากความเข้าใจการศึกษาในความหมายกว้าง ไม่ติดกับเพศ วัย รูปแบบ เวลา สถานที่ แต่เป็นการศึกษาที่เอื้อต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคน การจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้ จึงส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในชุมชนอย่างกว้างขวางสามารณก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และฟื้นฟูศักดิ์ศรีของความเป็นคนกลับคืนมาสู่ชาวบ้านอีกครั้งหนึ่ง ลักษณะการมีความรู้เกี่ยวกับการศึกษาความหมายกว้างเช่นนี้ ทำให้ครูชบสามารถแปลความหมายของการศึกษาสู่ภาคปฏิบัติ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ขึ้นทั้งในโรงรียนและชุมชน เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ครูชบเรียนรู้ชีวิตจากชีวิตแห่งความเป็นจริงองค์ประกอบของความรู้ของครูชบ ยอดแก้ว จำแนกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

๑. ความรู้เกี่ยวกับชุมชน 
  ความรู้เกี่ยวกับชุมชนของครูชบ ท่านเองเป็นคนตำบลน้ำขาว อำนภอจะนะ จังหวัดสงขลา และรักท้องถิ่นมากความที่ท่านเป็นคนช่างสังเกต และมีความสัมพันธ์เชิงญาติสูงมาตั้งแต่เล็กจนโต รวมทั้งมีความใส่ใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อคนในชุมชน ได้เห็นและเข้าใจสภาพปัญหาท้องถิ่น โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๒ คือปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาที่รุนแรงมากและก่อให้เกิดความรู้สึกหมดหวัง ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมานานและต้องใช้เวลาในการแก้ แต่ครูชบ ยอดแก้ว ก็สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
๒. ความรู้ทางด้านการศึกษา
     ความรู้ทางด้านการศึกษาของครูชบ ยอดแก้ว โดยท่านได้วิเคราะห์ออกเป็น ๔ ประเด็นประกอบด้วย
    ๑ ระบบการศึกษาไทย จากที่ท่านได้รับราชการครูมานาน (๒๔๙๘-๒๕๓๕) แล้วลาออกจากราชการเพื่อช่วยชุมชน ตลอดระยะเวลาที่ทำงานในวงการศึกษา ทั้งในสายปฏิบัติการสอนและสายบริหาร รวม ๓๗ ปี จากการที่มีชีวิตที่ชีวิตที่ดีดวงอยู่ในวงการศึกษามานาน ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบการศึกษาที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นบางช่วง แม้จะปรับเปลี่ยนอย่างไรก็เกี่ยวข้องกับการศึกษา ๓ ระบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การแบ่งการศึกษาออกเป็นระบบดังกล่าวมีความชัดเจนขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  
   ๒. การบริหารการศึกษา จากประสบการณ์ชีวิตในการรับราชการครูมานาน ทำให้ครูชบมีควานเข้าใจถึงความรักและความเอาใจใส่ ที่ครูควรมีต่อนักเรียน เมื่อดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ท่านจึงได้ไช้วิธีการบริหารแบบครอบครัวและแบบประชาธิปไตย โดยตนเองและครูทุกคนปฏิบัติบัติตนกับนักเรียนเหมือนหนึ่งเป็นคนในครัวเรือนเดียวกัน ให้นักเรียนเรียกครูในโรงเรียนโดยเติมคำว่าพ่อและแม่ไว้ข้างหน้า เช่น คำว่าพ่อครูใหญ่ พ่อครู แม่ครู เพราะสังคมไหยถือว่าครูเปรียบเสมือนพ่อแม่คนที่สองของนักเรียน เด็กจะได้มีความรู้สึกอบอุ่นเสมือนอยู่ที่บ้าน เหมือพ่อปกครองลูก วัฒนธรรมทางความคิดของไทยเรื่องนี้มีความละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง แยบยล เป็นคุณธรมที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา และเป็นกุศโลบายที่ดีในการจัดระเบียบทางสังคม
    ๓ ปรัชญาการศึกษา ตลอดชีวิตการทำงานของครูชบหนีไม่พ้นความเป็นครู ทั้งในชุมชนและนอกชุมชน ทำให้เกิดหลักการหลักปรัชญาการศึกษาในความคิดของตนว่าการศึกษาคือการพัฒนาคน ขณะนั้นสภาพสังคมของชุมชนน้ำขาว ที่มีปัญหาศีลธรรมจริยรรมเเสื่อมถอย และปัญหาต่าง ๆ อีกมาก สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากเศรษฐกิจตกต่ำ ครูชบมีความประสงค์จะสร้างเยาวชนในน้ำขาวให้เป็นพลเมืองดี จึงจัดกิจกรมในโรงเรียนทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร เช่น การเรียนการสอนตามที่กระทรวงศึกษการกำหนด การเสริมความรู้ต่าง ๆ เพื่อการเป็นพลเมืองดีและการยังชีพ ได้แก่ โครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอมทรัพย์ ชุมชนนอกโรงเรียนก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน ครูชบก็ได้ใช้การปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาชุมชนคือการออมทรัพย์ ซึ่งได้รูปแบบจากการที่ได้ทดดลองในโรงเรียน เป็นปรัชญาที่สอนให้คนรู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นการสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีใจความว่า "สร้างสังคมด้วยระบบเศรษฐกิจแบบพออยู่พอกิน"
     ๔. จิตวิทยาการเรียนการสอน จากการที่ได้รับการศึกษาด้านจิตวิทยาการเรียนการสอน ในขณะที่เรียนวิชาชีพครูในทุกระดับ และจากประสบการณ์ในการทำงทำงทำงาน ครูชบได้ใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้มาปรับใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน นับตั้งแต่จิตวิทยาการเรียนรู้ การสร้างแรงใจในการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนและจิตวิทยาสังคม ท่านได้เน้นความสำคัญในการสอนให้บุคคลอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มในสังคม เพื่อฝึกให้เด็กมีทัศนคติศีลธรรมจริยธรรม และค่านิยมอันดึงาม สภาพการรวมกลุ่มของเด็กในชั้นเรียนเปรียบเสมือนสังคมย่อย ๆ โรงเรียนและห้องเรียนจึงเป็นสภาพจำลองการเรียนการสอน ให้นักเรียนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์ได้ดีที่สุดของนักเรียน และเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนในภายภาคหน้า
๓. การออมทรัพย์
   การออมทรัพย์นั้นครูชบเรียนรู้การออมทรัพย์จากกรมพัฒนาชุมชมชน ซึ่งได้ทำไปแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ท่านก็นำมาประยุกต์โดยจัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ในหมู่บ้าน เพราะวิธีการและนโยบายของราชการและของชาวบ้านต่างกัน ทางราชการไม่ฝึกให้ชาวบ้านบริหารเงิน แต่เอาไปให้ธนาคารบริหาร ไม่แทรกคุณธรรม ที่สำคัญคือไม่สร้างกระบวนการเรียนรู้การพัฒนากลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต เป็นรูปแบบการออมทรัพย์ ที่ครอบคลุมกิจกรรม และให้หลักประกันแก่สมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย แต่มีธรรมชาติที่สำคัญและแตกต่างจางจากธุรกิจของเอกชนคือ สมาชิกเป็นทั้งเจ้าของและผู้ใช้บริการของออมทรัพย์ หลักการเงินของออมทรัพย์มีลักษณะที่แตกต่างจากธุรกิจ ทั้งในด้านการได้มาซึ่งเงินทุนการใช้เงินทุน การจัดสรรผลตอบแทนให้แก่สมาชิก สิ่งสำคัญคือสมาชิกสามารถกู้เงินอาไปไช้ประโยชน์ได้ และรักษาดอกเบี้ยไว้ไห้ชุมชนที่จะเป็นของธนาคาร ปลายปีก็มีเงินปันผลสามารถนำดอกผลมาสร้างสวัสดิการได้ เป็นความรู้หนึ่งที่นำมาใช้ควบคู่กับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคน และทำให้คนมีศักดิ์ศรี ระบบวิธีคิดเรื่องสัจจะออมทรัพย์บางส่วนจะคล้าย ๆ กับธนาคารพาณิชย์ แต่ที่มีลักษณะเด่นกว่าก็คือเป็นระบนระบที่ได้ผสานการแก้ปัญหาของชุมชนไว้ด้วย แนวคิดนี้ช่วยให้เกิดการพึ่งตัวเองทางด้านเศรษฐกิจ การพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันระหว่างเครือญาติและคนในชุมชน ทฤษฎีการรวมกลุ่มมักจะใช้แก้ปัญหาชุมชนได้ผลเสมอมา อีกทั้งการออมทรัพย์นอกจากเป็นการรวมกลุ่มแล้ว ยังเป็นการสร้างฐานเศรษฐกิจชุมชนอีกด้วย การพัฒนาต่าง ๆ มักจะมีทุนเป็นปัจจัยสำคัญ หากชุมชนต้องคอยอาศัยเงินทุนจากรัฐย่อมเป็นไปได้ยาก และประสบสบผลสำเร็จได้ยากการออมทรัพย์หรือกิจกรรมของธนาคารหมู่บ้าน จึงเป็นวิธีการให้ชาวบ้านระดมทุนให้แก่ตนเอง ดังคำกล่าวของคนโบรานที่ว่า "มีสลึงพึ่งบรรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน" กลุ่มสัจจะออมทรัพย์มีบทบาทเหมือนกับธนาคารในหมู่บ้าน มีการฝากและกู้ไปทำกิจการอื่นได้ และที่มีให้มากกว่าธนาคารคือสวัสดิการชุมชน ครูชบมีแนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาดรบวงจรชีวิต ที่ชัดเจน เข้าใจถึงปรัชญาอุดมการณ์ โครงสร้างของกลุ่มอย่างชัดเจนได้ถ่ายทอดแนวคิด ปรัชญา อุดมการณ์ และโครงสร้างที่ตนมีอยู่ทั้งหมดให้แก่กลุ่ม การออมทรัพย์ลักษณะนี้มุ่งให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทุนและจัดสรรผลกำไร ไปสู่สมาชิกทั้งในรูปตัวเงินและสวัสดิการ และเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นที่คน ครูขบถือว่ามนุษย์ทุกคนเป็นทรัพยากรที่ล้ำค่ามนุษย์ สามารถพัฒนาได้ด้วยการศึกษาระบบใดระบบหนึ่งจึงได้การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย มาดำเนินการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เพื่อพัฒนางานพัฒนาชุมชน ในการสร้างานสร้างคน และสร้างชาติต่อไป การนำเสนอความคิดและการปฏิบัติผ่านทางทางกลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิตของตำบลน้ำขาว นับเป็นป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประประเทศไทยได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้จริง
๔. สวัสดิการชุมชน
    สวัสติการชุมชน เป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นจากความสำเร็จของการออมทรัพย์ จากการสัมภาษณ์ณ์ครูชบ ทำให้ทราบว่าครรบเป็นคนคนคิดขึ้นคนเราในประเทศไทย เป็นหัวใจสำคัญของการตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ผู้คนในชุมชนนิยมการตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เพราะสวัสติการชุมชนครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล คำทำศพ ทุนการศึกษา หรือเรื่องอื่น ๆ ที่สมาชิกเสนอให้จัดตั้ง ซึ่งเกิดจากความต้องการของชาวบ้านและจำนวนดอกผลที่เพิ่มพูนของกองทุนครูชบ สงสารชาวบ้าน เพราะในชีวิตแทบไม่มีสวัสดิการอะไรเลยข้าราชการยังได้รับสวัสติการต่าง ๆ จากทางราชการ พนักงานบริษัทเอกชนรัฐวิสาหกิจ ยังได้รับสวัสติการจากองค์กรของตนเอง แต่ชาวบ้านแทบไม่มีองค์กรใดให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการเจ็บไข้ได้ป่วยซึ่งพระพุทธองค์ถือว่าเป็นความทุกข์อย่างหนึ่งของชีวิตกิจกรรมของสวัสดิการชุมชนขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งหรือความก้าวหน้าของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์กลุ่มต่าง ๆ เมื่อครูซบไปบรรยายแนวคิดเรื่องกลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต ก็ให้กรอบแนวคิดและวิธีการเรื่องการจัดตั้งสวัสดิการชุมชนไปด้วย
๕. การจัดการ
   ครูชบท่านเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ร้อยที่เป็นครูภูมิปัญญาไทย คุณลักษณะพิเศษประการหนึ่งของครูภูมิปัญญาคือมักจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และคิดหาหนทางในการแก้ปัญหา และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จนเกิดความรู้แตกฉานออกไปหลาย ๆ ด้าน และท้ายที่สุดก็สามารถประยุกต์ศาสตร์การจัดการที่เกิดจากการเรียนรู้ นำความรู้ต่าง ๆ มาหาความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ครูชบท่านมืองค์ความรู้หลายด้านและสามารถนำความรู้ด้านต่าง ๆ มาสัมพันธ์เชื่อมโยงกันได้อย่างชัดเจน สามารถจัดการหรือบูรณการความรู้ดังกล่าวในการทำงานเพื่อช่วยชุมชน คุณลักษณะพิเศษและความเสียสละของท่านคือเป็นผู้จัดการขยายแนวคิดเรื่องกลุ่มสัจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิตออกไปทั่วประเทศ สามารถนำมาแก้ปัญหาของชุมชนได้ การแก้ปัญหาชุมชนโดยใช้การออมทรัพย์เป็นตัวตั้งของครูชน เป็นกระบวนการชีวิตที่อาศัยฐานจากการศึกษานำมาสู่ความคิด ซึ่งความคิดสุดท้ายคือแม่แบบกลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงวรรชีวิต ที่ตำบลน้ำขาวที่กลายเป็นจุดเด่นของเรื่องแนวคิดในการจัดการศึกษาและการปฏิบัติเกี่ยวกับกลุ่มเล่มสัจจะออมทรัพย์ของครูซบ เป็นแนวคิดและพลักการศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน เส้นทางสายธรรมะ เป็นสันมาชีพ ความคิดใดเป็นสัมมาทิฐิเป็นความคิดชอบ ดำริชอบแล้วย่อมก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า มีพัฒนาการในทางที่ดี เป็นหนหนทางแห่งปัญญา แนวคิดการตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของครูชบนี้ได้ก่อให้กิดความเข้มแข็งทางด้านชุมชน สังคม และภูมิปัญญาของครูชบ ได้รับการยอมรับ จนกลายเป็นภูมิธรรม และหากแนวคิดนี้แพร่กระจายไปทั่วประเทศจะทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ

ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ชบ ยอดแก้ว
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

กัลยานี ปฎิมาพรเทพ. (2543). ครูชบ ยอดแก้ว : ครูภูมิปัญญาไทย : นักเศรษฐศาสตร์ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. ต้นอ้อ.
สฤณี อาชวานันทกุล. (2556). อาลัยครูชบ ยอดแก้ว ผู้บุกเบิกสวัสดิการชุมชนไทย. สืบค้น 2 ส.ค. 67, จากhttps://huexonline.com/knowledge/9/42/


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024