ภาพจาก : https://www.sator4u.com/paper/15
พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เคยดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นานถึง ๑๘ ปี แม้เมื่อออกจากราชการแล้ว ยังได้ปฏิบัติหน้าที่สําคัญทางการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูลคนแรก เกียรติประวัติอันสูงส่งของท่านคือ ได้เข้าร่วมรัฐบาลในฐานะรัฐมนตรี โดยมีพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี เคยดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการ กระทรวงมหาดไทย ส่วนตําแหน่งสําคัญอื่นๆ คือ สมาชิกวุฒิสภา ตําแหน่งในท้องถิ่นคือ ประธานสภาจังหวัดสตูลคนแรก พระยาสมันตรัฐบุรินทร์จึงเป็นบุคคลสําคัญคน หนึ่งได้สร้างความเจริญแก่จังหวัดและประเทศชาติโดยส่วนรวม พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (บุรินทร์ สมันตรัฐ) เดิมชื่อตุ่ย บินอับดุลลาห์เป็นบุตรคนที่ ๑๒ ของหลวงโกชาอิศหาก (เกิด บินอับดุลลาห์) และนางเลี้ยบ บินอับดุลลาห์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๑๔ ณ ตําบลบางลําภูล่าง อําเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี โดยเฉพาะผู้ที่มาติดต่อค้าขายกับรัฐบาลกรุงสยาม มีหน้าที่รับเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ของบรรดาหัวเมืองขึ้นฝ่ายแหลมมลายูนําเข้ามาสวามิภักดิ์ บิดาของท่านจึงสนิทสนมคุ้นเคยกับบรรดาสุลต่านทางมลายูเป็นอย่างดี พระยาสมันตรัฐบุรินทร์เข้าโรงเรียน ณ วัดบางลําภูล่าง (วัดเศวตฉัตร) ธนบุรีจึงมีความรู้ภาษาไทยขั้นแตกฉาน อ่านออก เขียนได้ ท่านมักพูดเล่นเสมอว่า ท่านเป็นเด็กวัดคนหนึ่ง ใช้เวลาเรียนหนังสือไทยอยู่ถึง ๓ ปี ต่อจากนั้นก็ได้รับการศึกษาภาษามลายู และรับการอบรมตามลัทธิศาสนาจากทางบ้าน เมื่อท่านมีอายุ ๘ ขวบ เจ้าเมืองปะลิสขอตัวพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม ท่านจึงไปอาศัยที่เมือง ปะลิส รอบรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีทางมลายูอย่างดียิ่ง เมื่อเจ้าเมืองปะลิสถึงแก่กรรมลง ท่านจึงเดินทางกลับกรุงเทพมหานครไปอยู่กับบิดา คือ หลวงโกชาอิศหาก ได้ศึกษาระเบียบบริหาร ราชการต่างๆ คือบิดามีความประสงค์ ให้ท่านเข้ารับราชการ สืบต่อไป
การรับราชการ
- ปี พ.ศ. ๒๔๓๒ อายุ ๑๘ ปี เข้ารับราชการครั้งแรก เป็นล่าม มลายู สังกัดกระทรวงกลาโหม รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๔๐ บาท |
- ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ เป็นล่ามมลายในกองพระวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าสายสนิทวงศ์ข้าหลวงมณฑลปัตตานี ได้รับเงินเดือนๆ ละ ๔๐ บาท ประจําหัวเมืองภาค ใต้ มีเมืองยะหริ่ง สายบุรี และหนองจิก |
- ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ เป็นขุนราชบริรักษ์ รับราชการเป็นล่ามมลฑล ปัตตานี รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐ บาท |
- ปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ดํารงตําแหน่งนายอําเภอเบตง ขึ้นกับเมือง รามันห์ รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๖๐บาท |
- ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นปลัดเมืองสตูล ได้รับพระราชทานเงิน เดือน ๆ ละ ๒๕๐ บาท ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระโกซาอิศหาก |
- ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้รับ พระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๐๐ บาท และในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ |
- ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ต่ออายุราชการไปจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้ออกจากราชการ เพื่อรับพระราชทานบํานาญ |
พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ท่านใช้ชีวิตราชการรวม ๔๓ปี เป็นล่ามมลายู ๘ ปี นายอําเภอเบตง ๑๔ ปี ปลัดเมืองสตูล ๓ ปี และผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ๑๘ ปี
ชีวิตนอกราชการและการเมือง
- ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ อายุ ๖๒ปี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูลคนแรก ได้เข้าร่วมคณะรัฐบาลของพลเอกพระยาพหลพล พยุหเสนาในฐานะรัฐมนตรี |
- ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ยังคงดํารงตําแหน่งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรตามเดิม เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เป็นนายกรัฐมนตรี พระยาสมันตรัฐบุรินทร์เข้าร่วมรัฐบาลเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการ กระทรวงมหาดไทย |
- ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ อายุ ๗๗ ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก |
- ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ดํารงตําแหน่งประธานสภาจังหวัดและดํารงตําแหน่งติดต่อกันมาทุกสมัย ตราบวาระสุดท้ายของชีวิต |
- ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นกรรมการที่ปรึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นกรรมการ ที่ปรึกษาของกอง ประสานราชการกระทรวงมหาดไทย พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๖ อายุ ๙๑ ปี |
๑. ด้านการปกครอง พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เป็นนักปกครองที่ดี เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร มิได้ทํางานอยู่ที่สํานักงานแต่ท่านชอบออกเยี่ยมเยียนราษฎรทุกหมู่บ้านทั้งใกล้ และไกล ตักเตือนให้ผู้คนรู้จักการทํามาหากิน เลี้ยงชีพอย่างสุจริต ส่งเสริมให้ผู้คนรู้จักประกอบอาชีพ เช่นทํานา ทําสวน ประมง ให้ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา ให้รู้จักร่วมแรงร่วมใจกันทํางาน หลักฐานสําคัญคือรายงานตรวจราชการของท่าน ฉบับที่ ๒/๒๕๗๑ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๗๑ ทางกระทรวงมหาดไทยถือเป็นราย งานตรวจราชการด้วอย่างน้ําไปลงพิมพ์ในหนังสือเทศาภิบาล เล่มที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๒ ให้ข้าราชการฝ่ายปกครองยึดถือเป็นแบบอย่าง |
๒. ด้านการศึกษา พระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้วางราก ฐานทางการศึกษาเกี่ยวกับภาษาไทยแก่จังหวัดสตูล แต่บุคคลที่สืบต่อนโยบายและปฏิบัติอย่างจริงจัง คือพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ได้แก่ขยายโรงเรียนสอนภาษาไทยไปยังตําบลต่าง ๆ ได้เร่งรัดการจัดการศึกษาขั้นมูลฐาน ให้สงวนเนื้อที่ไว้ตั้งโรงเรียนประถมศึกษา ประจําตําบลอย่างน้อยแห่งละ ๒๐๐ ไร่ ท่านเล็งเห็นว่าโรงเรียน ต้องมีเนื้อที่มากไว้ก่อน เพราะจะสะดวกในการเรียนการสอน วิชาการเกษตร ท่านพยายามแก้ไขความเชื่อผิด ๆ ของชาวบ้านที่ว่าผู้หญิงเรียนหนังสือร่วมกับผู้ชายไม่ได้ถือเป็นบาป จึงเร่งรัดให้ผู้อยู่ในวัยเรียนทั้งหญิงชายเข้าโรงเรียน ท่านไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนไหนก็มักเข้าพบเด็กนักเรียน ตักเตือน พร่ําสอนเด็ก และได้เขียนบันทึกไว้เป็นหลักฐานในสมุดหมายเหตุของโรงเรียน ต่าง ๆ กล่าวได้ว่าพระยาสมันตรัฐบุรินทร์เป็นผู้วางรากฐานทางการศึกษาที่สําคัญ พอดีตรงกับช่วงประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ มีส่วนให้ชาวสตูลอ่านออก เขียนได้ ปัญหาด้านการใช้ภาษาของจังหวัดสตูลจึงมีน้อยแตกต่างไป จากชาวไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส |
๓. ด้านการคมนาคม พระยาสมันตรัฐบุรินทร์เห็นว่า ถนนหนทางมีความจําเป็นมาก จึงได้ตัดถนนหนทางหลายสาย ผ่านสถานที่จุดสําคัญ ได้แก่ถนนสายด่านเกาะนก ถนนสาย ฉลุงถึงตําบลควนโพธิ์ สายสนามบินเข้าหมู่บ้านท่าจีน บ้านเกตรี สายหมู่บ้านควนสตอถึงบ้านทุบังปะโหลด ถนนสายละถึงทุ่งหว้า และมีโครงการจะตัดถนนหนทางหลายสาย |
๔. ด้านส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมให้ราษฎรปลูกกาแฟ พริกไทย จนทําให้จังหวัดสตูลมีชื่อเสียงด้านกาแฟและพริกไทย ส่งเป็นสินค้าออกไปขายปีนังได้ ส่งเสริมให้คนปลูกพืชผักสวนครัว ชุดปอเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ แจกพันธุ์ไก่ ปลา แก่ประชาชน ให้เปิดตลาดนัดตามตําบลต่าง ๆ เช่น ที่ตําบลฉลุง ตําบลควนโดน เพื่อให้ประชาชนได้มาจําหน่ายผลผลิตเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่น |
๕. การจัดตั้งศาลดาโต๊ะยุติธรรม พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เห็นว่าการจะให้ชาวไทยมุสลิมขึ้นศาลไทยในกรณีความผิดที่เกี่ยวกับศาสนา เรื่องมรดกทรัพย์สิน ก่อให้เกิดปัญหายุ่งยาก ท่านจึงดําเนินการจัดตั้งศาลดาโต๊ะยุติธรรมขึ้นมาเป็นครั้งแรก |
๖. งานด้านวรรณกรรม พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เป็นผู้รอบรู้คงแก่เรียน ได้เรียบเรียงบทความบทปาฐกถา บทวิทยุ กระจายเสียงไว้หลายเรื่อง เพื่อเป็นความรู้และวิทยาทานต่อผู้อื่น เช่น บทความเรื่องชาวน้ํา ความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมของคนป่า พิธีการสมรสของชาวมลายู ประวัติย่อพระยารัษฎานุ ประดิษฐ์มหิศรภักดี ประวัติและความมุ่งหมายของ พ.ร.บ. ปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖ ในหน้าที่กํานันและผู้ใหญ่บ้าน |
๗. ผลงานทางการเมือง กล่าวได้ว่าพระยาสมันตรัฐบุรินทร์สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดสตูลมาก นอกจากท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ท่านยังได้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ร่วมคณะรัฐบาลด้วยถือเป็นรัฐมนตรีคนแรกของจังหวัดสตูล |
๘. ผลงานพิเศษ เป็นที่ปรึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นที่ปรึกษาของกองประสานราชการ กระทรวงมหาดไทยและเป็นล่ามพิเศษ สมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
รวมเรื่องเมืองสตูล : ที่ระลึกครบรอบ 150 ปี. (2533). สตูล : ชมรมถ่ายภาพและการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล.