พระยาราชพัสดุอภิมณฑน์ (อั้น ณ สงขลา) เป็นบุตรพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์ ณ สงขลา) และนางเลื่อน เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ที่บ้านในเมืองสงขลา เมื่อเรียนหนังสือไทยที่บ้าน อ่าน ออกเขียนได้แล้ว พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ทีพระภัทรธรรมธาดา (แจ้ง) เป็นอุปยชฌายจำวัดอยู่วัดมัชฌิมาวาส และในปีนั้นเองได้ตามพระภัทรธรรมธาดา (แจ้ง) เข้ามากรุงเทพฯ พักอยู่ที่วัดราชผาติการาม ความทราบถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้ไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ในสํานักของพระองค์
ตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ที่ได้รับ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้เข้าศึกษาวิชา ณ มหามกุฎราชวิทยาลัย ๔ ปี สอบไล่ได้ชั้นนักเรียนตรี ภาษามคธและภาษาไทยได้ชั้นที่ ๑
พ.ศ. ๒๔๔๕ มีอายุครบจะอุปสมบทเป็นภิกษุได้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้โปรดให้อุปสมบทเป็นภิกษุ และทรงเป็นพระอุปยชฌาย์ด้วยพระองค์เอง ต่อมาภายหลังได้ลาสิกขาบท เริ่มทํางานอยู่ในสํานักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จนได้เป็นเลขานุการและอุปัฎฐากอยู่คราวหนึ่ง
พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้ทําการสมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงเจริญ ปราโมช ธิดานายเรือเอกหม่อมเจ้าจํารูญ ปราโมช และได้อยู่ด้วยกันตลอดมา แต่ไม่มีบุตร
พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้เข้ารับราชการในกรมสวนหลวง มีตําแหน่งหน้าที่เป็นเสมียนโท
พ.ศ. ๒๔๕๒ เลื่อนชั้นเป็นนายงานชั้น ๑
พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นหลวงอุทยานบริรักษ์ ตําแหน่งปลัดกรมสวนหลวง
พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้ากรมสวนหลวงและได้เลื่อนยศเป็นชั้นจ่า
พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้ย้ายมาเป็นพัสดุกรมชาวที่ มีตําแหน่งเป็นปลัดกรม และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระอุทยานบริรักษ์
พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นพระยาราชพัสดุ์อภิมณฑน์ และได้รับพระราชทานยศเป็นรองหัวหมื่น
พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้รับยศเป็นนายหมวดตรี และใน พ.ศ.๒๔๖๕ ได้รับยศเป็นนายหมวกเอกในกองเสือป่า
พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ย้ายไปเป็นปลัดกรมกองคลังวรอาศน์
พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นผู้กํากับการพระราชวังต่างจังหวัด
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นผู้ทําการในตําแหน่งผู้อํานวยการรักษาวังไกลกังวล และเป็นผู้ดูแลพระราชนิเวศน์มฤคทายวันด้วย
พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตัดทอนงบประมาณ ได้ออกจากประจําการรับพระราชทานเบี้ยบํานาญ แต่คงรับราชการโดยได้รับพระราชทานเงินจ้างในงบพระมหากรุณา
พ.ศ. ๒๔๗๖ เข้าประจําการตําแหน่งผู้อํานวยการแผนกรักษาวังไกลกังวล กองมหาดเล็กซาวที่ กรมมหาดเล็กหลวง
พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นหัวหน้าแผนกรักษาวังไกลกังวล กองมหาดเล็กชาวที่ กรมมหาดเล็กหลวง
พ.ศ. ๒๔๗๘ ออกจากราชการประจําเมืองในการปรับปรุงกระทรวงวังเป็นสํานักพระราชวัง
พ.ศ. ๒๔๘๐ เข้ารับราชการในตําแหน่งวิสามัญ เป็นเจ้าพนักงานผู้ช่วยอํานวยการวังไกลกังวล แผนกชาวที่ กองมหาดเล็ก ภายหลังย้ายสังกัดขึ้นในสํานักงานเลขานุการ สํานักพระราชวัง และมีหน้าที่ช่วยดูแลการรักษาพระราชนิเวศน์มฤคทายวันด้วย
พ.ศ. ๒๔๘๑ ออกจากราชการพ้นจากตําแหน่งหน้าที่
เครื่องราชอิสสริยาภรณ์
๑. จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
๒. ตริตาภรณ์มงกุฎ
๓. ตติยจุลชมเกล้าวิเศษ และโต๊ะทอง กาทอง
๔. เหรียญรัชมังคลาภิเศกเงิน
๖. เหรียญบรมราชาภิเศกเงิน รัชชกาลที่ ๖
๗. เหรียญรัตนาภรณ์ในรัชกาลที่ ๖ ว.ป. ร. ชั้น ๔
๘. เหรียญบรมราชาภิเศก รัชชกาลที่ ๙
๙. เหรียญรัตนาภรณ์ ในรัชชกาลที่ ๙ ป.ป.ร. ชั้น ๔
๑๐. เหรียญเฉลิมพระนคร ๑๕๐ ปี เงิน
นอกจากนั้นได้รับพระราชทานเข็มไอยราพต เสมา ว.ป.ร. ทองคํา เสมาทองคําลงยา ร.ร. ชั้นที่ ๓ ดุม ว.ป.ร. ทองคําลงยาชั้นที่ ๑ และเพิ่มอักษรพระบรมนามาภิไธยลงยาชั้น ๒ รัชชกาลที่ ๖ พระยาราชพัสดุอภิมณฑน์เป็นคนสุภาพ มีอัธยาศัยอ่อนโยน ใจคอกว้างขวางโอมอ้อมอารี เมื่อรับราชการอยู่ที่หัวหิน จังหวัดประจวบครีขันธ์ ได้รับรองและช่วยเหลือบรรดาผู้ที่รู้จักซึ่งออกไปตากอากาศ หรือผ่านไปตําบลหัวหินเป็นอย่างดี เมื่อออกจากราชการแล้วได้กลับเข้ามาอยู่บ้านแพรกสงวนสุข ถนนพระราม ๕ จังหวัดพระนคร จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๒ ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการ ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ สิริอายุได้ ๕๕ ปี
ศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา), เจ้าพระยา. (2482). พงศาวดารเมืองสงขลา. พระนคร : โสภณพิพรรฒธนากร.