ถ้วน หลีกภัย
 
Back    18/07/2023, 16:38    1,055  

หมวดหมู่

บุคคลสำคัญ


ประวัติ

             
ภาพจาก : แม่ถ้วน หลีกภัย, ๒๕๕๔ :๔๘

              นางถ้วน หลีกภัย เป็นบุตรีของนายจุง และนางซุ่นกี่ จูห้อง เกิดเมื่อปี ๒๔๕๕ ณ บ้านที่ตำบลบางรัก ทั้งบิดาและมารดามีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนคุณตาเป็นกำนันตำบลบางรัก จังหวัดตรัง ชื่อขุนผดุงชนเกษม (หรือพันตี้) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน ได้แก่
              ๑. นายวิศาล จิโรจน์กุล (ถึงแก่กรรม)
              ๒. นายสิบ จูห้อง (ถึงแก่กรรม)
              ๓. นายหยิด จูท้อง (ถึงแก่กรรม)
             ๔. นางอั้น วินสน (ถึงแก่กรรม)
             ๕. นางถ้วน หลีกภัย
             ๖. นายเกษม จูห้อง (ถึงแก่กรรม)
             ๗. นางกิ่งกาญจน์ สุรกิจบรรหาร
                   และมีน้องร่วมบิดา ๔ คน ได้แก่
             ๑. นายเต็ก จูห้อง
             ๒. นายมานพ จูห้อง
             ๓. นางวลัยพร สุทธินนท์
             ๔. นายไข่ จูห้อง (ถึงแก่กรรม) 
                  นางถ้วน หลีกภัย สมรสกับ นายนิยม หลีกภัย อาชีพครู ในปี ๒๔๗๗ มีบุตรธิดารวม ๙ คน ได้แก่

             ๑. นายกิจ หลีกภัย
  
           ๒. นายสวัสดิ์ หลีกภัย
             ๓. นายชวน หลีกภัย
             ๔. นายถาวร หลีกภัยฃ 
             
๕. ด.ช. ภิญโญ หลีกภัย (ถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยเด็ก)
             ๖. นางสาวจงจิตต์ หลีกภัย
             ๗. นายระลึก หลีกภัย
             ๘. นางจงใจ (หลึกภัย) พุทธสุวรรณ
             ๙. นางจำเนียร (หลีกภัย) ดุริยประณีต
                  การใช้ชีวิตที่บ้านเดิมของนางถ้วนที่ตำบลบางรัก ซึ่งท่านได้เล่าให้ลูก ๆ ฟังว่าท่านได้ไปโรงเรียนแค่ ๒ วัน แล้วต้องออกมาทำหน้าที่ดูแลแม่คือนางซุ่นกี่ ชื่งล้มป่วยด้วยโรคอัมพาต ทำให้ไม่สามารถเดินได้ แม่จึงทำหน้าที่ดูแลนางชุ่นกี่ โดยอาบน้ำ ป้อนอาหาร อยู่บนชั้น ๒ ชั้นของบ้านชีวิตที่บ้านเดิมของพ่อที่ตำบลบางรัก ด้วยเหตุที่ต้องดูแลมารดาที่ป่วยด้วยโรคเหน็บชา ท่านจึงยังอยู่ในบ้านเดิมของแม่ที่ตำบลบางรักแม้จะได้แต่งงานกับครูนิยมแล้ว เมื่อนางซุ่นกี่ผู้เป็นมารดาเสียชีวิตลงครอบครัวท่านจึงย้ายไปอยู่บ้านเดิมของพ่อ ซึ่งอยู่ในตำบลบางรักเช่นกันต่อมาได้คลอดลูกคนที่ ๒ ที่บ้านเดิมของพ่อ จากนั้นไม่นานนักก็ได้ย้ายไปสร้างครอบครัวที่สวนตำบลท้ายพรุ ซึ่งก็คือบ้านที่อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ห่างจากตำบลบางรักไปประมาณ ๒ กิโลเมตร และให้กำเนิดลูกอีก ๗ คน ที่บ้านตำบลท้ายพรุนี้ ชีวิตที่บ้านตำบลท้ายพรุบ้านตำบลท้ายพรุ คือบ้านที่ครูนิยมและนางถ้วนมาสร้าง ซึ่งเมื่อเริ่มแรกมีลักษณะเป็นกระท่อมมุงหลังคาด้วยใบจากส่วนพื้นเป็นดิน ควบคู่กับการสร้างบ้านคือการจ้างคนมาขุดบ่อน้ำ ด้วยบริเวณบ้านตั้งอยู่บนควน (ควนหมายถึงเนินสูง) บ่อน้ำบ้านนี้จึงลึกกว่าบ่อน้ำบ้านอื่น ๆ กล่าวคือต้องขุดลึกถึง ๑๔ เมตร จึงจะพบตาน้ำ น้ำในบ่อนี้จึงเย็นและใสไม่กระด้างเหมือนน้ำประปา เวลาอาบต้องใช้น้ำมากจึงจะล้างสบู่ออกหมด ผู้คนละแวกนั้นได้ใช้น้ำบ่อนี้อยู่นานหลายสิบปี จวบจนแต่ละบ้านมีน้ำประปาใช้แล้ว ผู้คนก็ยังมาตักน้ำบ่อนี้ไปใช้ดื่ม เพราะน้ำไม่กระด้าง


ภาพจาก : แม่ถ้วน หลีกภัย, ๒๕๕๔ :๓๙

 

               ลำดับเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของนางถ้วน หลีกภัย 

๒๔๕๕    ถือกำเนิดที่บ้านตำบลบางรัก
๒๔๖๕    นางซุ่นกี๋ ผู้เป็นมารดาป่วยเป็นโรคเหน็บชา
๒๔๓๗   เข้าพิธีแต่งงานกับครูนิยม หลีกภัย
๒๕๗๘   ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกที่บ้านเดิมของแม่ที่บางรัก
๒๔๗๙   นางซุ่นกี๋เสียชีวิต จึงได้ย้ายครอบครัวไปอยู่กับนายเจียม และนางเล้ง ผู้เป็นบิดาและมารดาของครูนิยมที่บ้านตำบลบางรัก ซึ่งเป็นบ้านเดิมของพ่อนั่นเอง บ้านหลังนี้อยู่ห่างจากบ้านเดิมของแม่เพียงเดินข้ามสวนยางของพ่อ และอยู่ใกล้กับบ้านขุนผดุงชนเกษม และนางเหล็ง ผู้เป็นตาและยาย
๒๕๗๙     ให้กำเนิดบุตรคนที่ ๒ ที่บ้านเดิมของพ่อที่ตำบลบางรัก นางเล้งดูแลหลานย่าคนนี้จนอายุได้หกขวบ
๒๔๘๐      แยกครอบครัวมาสร้างบ้านที่ตำบลท้ายพรุ บริเวณนี้ต่อมาเป็นตำบลทับเที่ยง ซึ่งเริ่มแรกมีลักษณะเป็นกระท่อมบนถนนวิเศษกุลอยู่ห่างจากบ้านบางรักประมาณ ๒ กิโลเมตร กระท่อมหลังนี้ได้ มีการปรับเปลี่ยนหลายครั้งจนเป็นบ้านในปัจจุบัน
๒๔๙๐     ลูกชายคนที่ ๕ เสียชีวิต
๒๕๙๑     นายจุง บิดาป่วยหนักจึงมาพักรักษาตัวที่บ้านตำบลท้ายพรุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านปัจจุบัน และเสียชีวิตในเวลาต่อมาที่บ้านหลังนี้
๒๕๑๒     สามีป่วยจึงพามารับการรักษาตัวที่กรุงเทพฯ
๒๕๑๔     สามีเข้ารับการผ่าตัดระบบทางเดินปีสสาวะที่ ร.พ. รามา โดยการดูแลของนายแพทย์วีระสิงห์ เมืองมั่น
๒๕๑๙    สามีป่วยเป็นคนไข้ไป-กลับ ร.พ. รามา ภายใต้การดูแลของ ศ. เกียรติคุณ นพ. อรรถสิทธิ เวชชาชีวะ ท่านได้ขึ้นมาช่วยดูแลสามีที่บ้านในกรุงเทพฯ 
๒๕๒๕    สามีถึงแก่กรรมที่บ้านในจังหวัดตรัง
๒๕๓๒    เข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าที่ ร.พ. ศิริราช โดยการดูแลของ ศ. เกียรติคุณ นพ.ยงยุทธ วัชรดุลย์
๒๕๓๖    ได้รับรางวัลแม่ดีเด่นแห่งชาติ
๒๕๓๖    ป่วยหนักเข้ารับการรักษาตัวที่ ร.พ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการดูแลของ ศ. นพ. ธาดา ยิบอินซอย
๒๕๔๒    ป่วยด้วยโรคหัวใจ รับการรักษาที่ ร.พ. ศิริราช โดยการดูแลของ ศ. เกียรติคุณ นพ. ศุภชัย ไชยธีระพันธ์
๒๕๔๘ และ ๒๕๕๐ ป่วยรับการรักษาที่ ร.พ. ศิริราช โดยการดูแลของรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์
๒๕๕๑    กลัมเข้าผ่าตัดสะโพกที่ ร.พ. รามคำแหง ภายให้การดูแลของนายแพทย์สงัด ลิมปิวัฒกี่ 
๒๕๕๔   ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม 

           นางถ้วน หลีกภัย เป็นชาวตรังโดยกำเนิดบิดาเป็นจีนฮกเกี้ยน ส่วนมารดาชื่อนางกี่ มีเชื้อสายไทย-จีน เรียกว่าบาบาในภาษาถิ่น ท่านมีนามสกุลเดิมคือแซ่เอี๋ยว  ซึ่งเป็นนามสกุลทางฝ่ายบิดานางถ้วน หลีกภัย อ่านหนังสือไม่ได้ เพราะเมื่อสมัยเด็กมารดาป่วยเป็นอัมพาต ท่านยอมสละความใฝ่ฝันที่จะเป็นนางพยาบาลอยู่ปรนนิบัติมารดาจนเมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ได้เริ่มทำการค้าด้วยการเก็บใบพลูขาย แล้วขยายไปรับซื้อมะพร้าว และหมากมาตากแห้งส่งไปขายที่ปีนั่ง นางถ้วน หลีกภัย ขายหมากและมะพร้าวแห้ง โดยฝากไปกับเรือและไม่รับค่าสินค้าเป็นเงินแต่ขอรับเป็นทอง ซึ่งบางส่วนจะเอาไปขายต่อที่ร้านทอง ซึ่งนางถ้วน หลีกภัย เล่าไว้ว่า "เป็นการกำไรสองต่อ" กิจการซื้อขายมะพร้าว และหมากตากแห้งเจริญก้าวหน้า จนต้องหาผู้ช่วย เพียงอายุ ๑๕ ปีเศษ ท่านมีผู้ช่วยงานที่เป็นชายร่วม ๑๐ คน โดยไปตระเวนรับซื้อหมาก มะพร้าวถึงจังหวัดปัตตานี การไปซื้อนั้นใช้ทอง เช่น สร้อย หรือต่างหูไปแลก จึงเป็นที่ถูกใจของเจ้าของหมาก มะพร้าวอย่างยิ่ง เมื่อรับซื้อแล้ว ท่านก็จะนำมาตากจนแห้งสนิททำให้สินค้าไม่เป็นราขายได้ดีเป็นที่นิยม จากการศึกษาวิจัยของภิญโญ ตันพิทยคุปต์ (๒๕๓๗) ได้สัมภาษณ์ท่านเมื่อปี ๒๕๓๗ ท่านได้เล่าถึงประวัติตนเองในช่วงนี้ว่า "แขกผู้รับซื้อที่ปีนังติดใจเพราะตากแห้งอย่างดีไม่มีเชื้อรา ยายถือว่าทำอะไรแล้วต้องทำให้ดี นี่คือนิสัยของยาย" (ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ ๒๕๓๗ : ๑๓๕ ; อ้างถึงใน ญิบ พันจันทร์ ๒๕๓๗ :๔๕) นางถ้วน หลีกภัย สมรสกับครูนิยมเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี เนื่องจากมีบุตรธิดาหลายคนจึงขยันซันแข็งหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว นับแต่กรีดยางทำขนม ทำกระเบื้องมุงหลังคา ทำท่อ ทำเสาชีเมนต์ และไปขายของตามตลาดนัดที่หมุนเวียนจัดขึ้นในตำบลรอบนอก ๒ หรือ ๓ วันต่อครั้ง อาทิ ตลาดเกาะหยี นาโยง ห้วยยอด กะปาง คลองมวน ในการไปขายของตามตลาดนัดนี้ แม่ค้าจะไปกันเป็นกลุ่ม ไปกันเป็นคันรถกระบะ สินค้าที่ขายมีตั้งแต่หอม กระเทียม ถั่วงอก พุงปลา (ไตปลา) ขนมพอง ขนมลา (เป็นขนมพื้นเมืองในเทศกาลเดือน ๑๐ (ตรุษสารท)) ต้มจับฉ่าย เป็นต้น กล่าวได้ว่าที่แผงของนางถ้วน หลีกภัย มีสินค้านานาชนิด การซื้อการขายทั้งหมดดังกล่าว นางถ้วน หลีกภัย ทำด้วยตนเองทั้งหมดแทบทุกขั้นตอน เพราะสามีเป็นครูและเอวบางร่างน้อย อีกทั้งลูก ๆ ก็ยังเล็กอยู่่วัยไล่เลี่ยกัน ท่านต้องตระเวนขายของตามตลาดนัดในจังหวัดตรังด้วยตนเองไม่น้อยกว่า ๒๐ ปื จนเป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านในตำบลต่าง ๆ ในจังหวัดตรัง จากการสอบถามอดีตเพื่อนแม่ค้าหรืออดีตลูกค้า ตลอดจนผู้รู้จักมักคุ้นกับท่าน พบว่าท่านมีคุณลักษณะที่เด่นชัดหลายประการจากการศึกษาวิจัยของภิญโญ ตันพิทยคุปต์ (๒๕๓๗) ได้กล่าวไว้ว่าคุณลักษณะที่เด่นชัดของนางถ้วน หลีกภัย ประกอบด้วย
               ๑. ความมานะ พากเพียร อดทน และสู้งาน จากการศึกษาหาข้อมูลในพื้นที่ คำบอกเล่าของจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน อาทิ "รู้จักแม้ถ้วนมาตั้งแต่เกิดเลย สมัยก่อนตอนเราไปโรงเรียน เห็นแม่ถ้วนแบกน้ำยางแล้วจากบางรักไปหน้าวัดควน" "ขยัน ตัดยาง ๒ ครั้ง ตัดเช้า ตัดเย็น ทำมะพร้าวย่างขาย ทำขนมค่อม (ขนมสอดไส้) ขายของตลาดนัด" "แต่ก่อนแก่ทำงานลำบากมาก ไปตั้งแต่หัวรุ่งหวางอีเข้าบ้าน (กว่าจะเข้าบ้าน) กะค่ำ" "แกชยัน ทำมาหากินเพิ่งหยุดจากงานตอนแก่ แกทำมาหากินสมัยก่อนตัดยางเอง ตัดยางให้ลูกเรียนหนังสือ แกทำมาหากินทำงานจริง ๆ"  
"เรื่องค้าขายทำชนม ทำมาหากินไม่มีใครชนะแกหรอก แกทำมา"แกขยันมาก แกอยู่เฉยไม่ได้" "รู้จักแกมาตั้งแต่เกิดเป็นญาติข้างพ่อ เห็นแกมาตั้งแต่แกสาว ๆ ยังไม่ได้แต่งงาน แกขยันจนตัวซีด ทำแต่งาน ตัดยาง ขายของตามนัด แกเคยเล่าว่าแกไปขายของตอนเย็น ซื้อผักที่เขาขายเหลือ หมูที่เขาขายเหลือเอามาเคี่ยวน้ำมันกากหมู สงขึ้นมาต้มกับผักเป็นกระทะเป็นจับฉ่าย ในเพิงที่บ้านจะทำเป็นหิ้ง แล้วนอนบนหิ้งเฝ้ากระทะ มีคนรู้จักคนหนึ่งไปช่วยแม่ถ้วนช่วยทำทุกอย่าง ต่อมาแต่งงานร่ำรวยมากเนื่องจากฝึกความขยันมาจากแม่ถ้วน" ผู้ให้สัมกาษณ์คนหนึ่งรำลึกถึงคำสอนของแม่ถ้วน ที่ให้กำลังใจให้สู้งานว่า แกพูดว่า "มึงลำบากเท่านี้ไม่เท่ากู เวลากูจะไปขายของ กูตื่นแรกตี ๓ (ตั้งแต่ตี ๓) ไม่มีเวลาทำกับข้าวให้ลูก พอข้าวพลุ่ง (เดือด) กูใส่สารกุ้ง (กุ้งแห้ง) โรยปีดไว้พอแห้งก็กินได้ กูเลี้ยงมาได้ดีทั้งเพ กูเลี้ยงมาพรรณนั้น กินกับสารกุ้งนั้นแหละ"นายกเทศมนตรีเมืองตรังได้ให้ข้อคิดเรื่องนี้เช่นกัน "ในสายตาของผม ผมคิดว่าโส (พี่สะใภ้) ทำงานจนเด็ก ๆ ลูก ๆ เกิดความสงสารพ่อแม่นึกเห็นพ่อแม่ทุ่มแรงกายและใจ เพราะตลอดเวลาทำให้ลูกตลอดเลย เวลากลางคืนกับเวลากลางวันทำงานแทบไม่ต่างกัน...ลูก ๆ ของโสที่ได้ดีผมยอมรับว่าเป็นเพราะแม่" (ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ (๒๕๓๗) ; อ้างถึงใน ญิบ พันจันทร์ ๒๕๓๙ : ๑๑๙) นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย เองได้เคยแสดงความคิดเห็นในคุณลักษณะประการนี้ของมารดาว่า "จำได้ว่าตีหนึ่ง ตีสองแม่ตื่นแล้ว ไปชายของตามตลาดนัด พอตลาดนัดในเมืองซบเซา ก็ออกไปขายตามตลาดนัดตำบล ต้องเร่ร่อนไปตามตำบลต่าง ๆ ในระยะทางกว่า ๖๐ กิโล แม่ผมทำงานหนักมาตลอด (ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ (๒๕๓๗) ; อ้างถึงใน เริงศักดิ์ กำธร ๒๕๓๖ : ๒๓) 
              ๒. ความมีศิลปะในการพูด คุณลักษณะนางถ้วน หลีกภัย ในทัศนะของคนที่รู้จักในประการที่ ๒ คือความมีศิลปะในการพูด พูดเก่ง เข้าใจพูด เข้าทำนอง "ปากเป็นเอก" คำบอกเล่าส่วนใหญ่จะมีดังนี้คือ "แกพูดเก่ง พูดไม่หยาบ เหมือนนายชวน นั่นแหละ" "รู้จักแม่ถ้วน ไม่พบกัน ๑0 ปี ก็ยังจำได้ แกพูดดี" "เวลาแกแหลง (พูด) แกมีจิตวิทยาในการแหลง" "แกเก่งในการชักชวน พูดชวนชาวบ้าน" "พูดเก่งมาก ช่างอุปมาอุปมัย วาจาเป็นเอก" "เวลาแหลง (พูด) แหลงเก่งให้ความรู้ แต่ละคำต้องนำมาวินิจฉัย" "ซอบใจคำพูด พูดไม่หยาบ เหมือนนายชวนนั่นแหละ" ความเป็นผู้มีศิลปะในการพูด ได้ปรากฎชัดในตัวอย่างการตอบคำสัมภาษณ์ เช่น "นายชวนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วยายดีใจหรือไม่" "นางถ้วนตอบว่า "ดีใจไม่ได้ถ้าจะดีใจคือดีใจกับประชาชน เพราะชวนคนเดียวเสียงเดียวไม่สามารถทำให้เป็นนายกได้" เมื่อปลัดมณฑล ชาติสุวรรณ ได้เดินเท้าไปรับราชการที่จังหวัดปัตตานี และได้เดินทางผ่านจังหวัดตรัง ได้แวะไปคารวะนางถ้วน หลีกภัย ได้แสดงความสามารถทางการพูดให้ปรากฎในรายงานของผู้สื่อข่าว ดังนี้ "แม่อายุ ๘๒ ปีแล้ว แม่ดีใจที่อุตส่าห์เดินเท้ามาเยี่ยมแม่เพราะคนอื่นนั้นเขาจะนั่งรถกันทั้งนั้น แต่ลูกนั้นเดินมาดูแลสุขภาพตนให้ดี หากหิวก็ให้กินอย่าอดอาหาร เรื่องอำนาจไม่ชอบธรรมที่ปล้ดพูดกับแม่นั้น แม่ไม่ทราบความเป็นมาจึงพูดหรือแสดงความคิดเห็นอะไรไม่ได้ แม่ขอเตือนหากหิวก็ให้กินจะได้มีแรงเดินต่อไป เพราะหากไม่มีแรงก็เดินไปไม่ถึง อย่าเดินอดอาหารดูแลสุขภาพตนให้ดี แม่ไม่รู้เรื่องระบบราชการหรอก เพราะไม่ได้เป็นผู้แทน ข่าวสารสารไม่ค่อยได้ดูเดี๋ยวไปงานศพ งานแต่งงาน ต้องนอนพักผ่อนเพราะไม่ค่อยสบาย ข้าราชการที่เดือดร้อนที่มาหาก็ไม่ค่อยจะได้คุยกับแม่ เพราะแม่ไม่ใช่ผู้แทนอย่างที่บอก ส่วนเรื่องการเดินเท้าไปรับตำแหน่งที่จังหวัดปัตตานีนั้น แม่ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวการเมืองแต่อย่างใด เพราะดูทีวีเพียงเรื่องเดียวคือ "ดาวพระสุกร์" นอกนั้นแม่ไม่ค่อยได้ดู ข่าวก็ไม่ดูแม่ก็ไม่ทราบถ่วงหน้าว่าปลัดจะมาเยี่ยม แม่เพิ่งทราบก็ให้เขาเอาขนมและกาแฟมารับ มาที่นี่ก็ต้องกินกันก่อน" (ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ (๒๕๓๗) ; อ้างถึงใน กรุงเทพธุรกิจภาคใต้ ๓๐ มิ.ย. ๓๗ : ๑-๒)
             ๓. การปฏิสันถารเป็นการเยี่ยม มีเรื่องเล่ากันในหมู่คนสนิทที่ไปมาหาสู่บ้านแม่ถ้วน หลีกภัยเสมอว่าแม่ถ้วนรับแขกเก่ง รับแขกได้ทุกระดับ ไม่ต้องห่วงว่าจะปฏิสันถารไม่เป็นหรือไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี แขกจะไปแวะเยี่ยมบ้านแทบทุกวัน และบางวันจะมีหลายกลุ่ม หลายคณะ คำบอกเล่าเกี่ยวกับคุณลักษณะประการนี้ของนางถ้วน หลีกภัย มีมากมายดังนี้ "นิสัยเหมือนนายก* คือสุภาพ เจอหน้าทักทาย" "แม่ถ้วนแกไม่ใคร่รู้จักชื่อใคร แต่แกพูดสนิทกับทุกคน แกหารู้ไม่ (ไม่รู้หรอก) ว่าเราชื่ออะไร" "เคยนั่งรถมาด้วยกัน แกเคยพามาส่งที่หน้าบ้านเลย ตอนนั้นไปงานศพที่หลังจวน ไม่รู้แกจำได้ไหม แกเรียกว่าลูก ว่าหลานทุกคำ" "แกเห็นใครแกก็ทัก รู้จักไม่รู้จัก ทักเพ" (ทักทั้งนั้น) "ซื้อของอะไร จะพูดดี เรียกลูก เรียกหลาน ทุกคำ" "เวลาปี่ใหม่แกฝากของมาให้ ไปเยี่ยมก็ให้ของมา" "แม่ถ้วนมาขายของ ค้าของทุกวันเลย คุยกับปัาทุกวัน ที่หลาด (ตลาด) ที่บ้านใจดี ถ้บอกว่าเอาได้นี่แกว่าเอาแหละลูก ตามใจทะ (พบ) ที่ไหนทักทุกที" "ไปที่บ้านจะต้อนรับดี ถ้าไม่มีอะไรก็ให้หุงข้าวกินเอง ถ้าไม่หุง แกหุงให้กิน" "เวลาไปที่บ้านแกต้อนรับดี หาของกินมาต้อนรับ"

             ๔. ความเป็นผู้มีปฏิกาณและไหวพริบดี ความมีไหวพริบและปฏิกาณของนางถ้วน หลีกภัย สรุปได้จากคำบอกเล่าที่เกี่ยวก้บของนางถ้วน หลีกภัย มีดังนี้ "เวลาเขาถามเรื่องการเมืองมาก ๆ ยายก็จะพูดถึงหนังดาวพระศุกร์ นักข่าวถามว่าไม่รู้มั่งหรือว่าเขามีการอดข้าวกันหน้าสภา ยายบอกไม่รู้ เขาถามว่าไม่เคยดูข่วหรือยายบอกว่า ยายดูแต่ดาวพระศุกร์" นักข่าวมาหาจะมาหาข่าวชอกแซกยายบอกว่า "ไม่ได้อะไรหรอกวันนี้วันแม่เราจะพูดกันแต่เรื่องแม่ ๆ ลูกๆ  กัน" ผู้คุ้นเคยได้ยกตัวอย่างที่แสดงถึงปฏิกาณไหวพริบที่ดีของนางถ้วนหลีกภัย ดังนี้ "เคยมีวิทยาลัยนาฏศิลป์มาอวยพรแล้วให้แกพูด แกก็สามารถขับกลอนออกมาได้ โดยไม่ทันตั้งตัวมาก่อน ขนาดไม่ได้เรียนหนังสือ" "เมื่อคราววีระ (วีระ มุสิกพงส์) มาหาแกแหลง (พูด) ดี แกแหลงว่าลูกวีระหลุดจากตาราง แม่จะปิ้ง (ย่าง) หมูปีใหม่สักตัว จริง ๆ อันที่จริงแล้วนางถ้วน หลีกภัยจะย่างหมู ๑ ตัว เป็นประจำอยู่แล้ว ทุกวันขึ้นปีใหม่" ความมีปฏิภาณดีทำให้แม่ถ้วน หลีกภัย สามารถแปลงความเสียเปรียบมาเป็นข้อได้เปรียบ ดังที่นางถ้วน หลีกภัย เล่าไว้ในหนังสือของ ญิบ พันจันทร์ ตอนหนึ่งว่า "เรื่องที่ว่านายชวน เป็นลูกแม่ค้ขายพุงปลานั้น ยายแก้ว่า "พ่อแม่พี่น้อง ถ้าฉันขายพุงปลาแล้วผิด พี่น้องก็อย่าเลือกลูกฉัน ถ้าฉันขายพุงปลาแล้วผิดกฎหมาย เป็นคนไม่ถูกต้อง พี่น้องอย่าใส่เสียงให้นายชวน แล้วฉันอยากรู้ว่าคนขายพุงปลากับคนขายไม้เถื่อนใครผิดกว่ากัน ถ้าคนขายไม้เถื่อนถูกต้อง ก็ให้ใส่เสียงให้ฝ่ายโน้น ฝ่ายนี้อย่าใส่" (ญิบ พันจันทร์ ๒๕๓๗ : ๑๐๓ ; อ้างถึงใน ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ ๒๕๓๗ : ๑๔๐)
             ๕. ความจำเป็นเลิศ คุณลักษณะอีกประการหนึ่งที่ผู้รู้จัก นางถ้วน หลีกภัย กล่าวว่าเป็นที่แปลกใจคือ ความจำที่เป็นเลิศ "แกยังจำได้ดีทักทาย..มึงทำอะไรหว่างนี้ (ระหว่างเวลานี้) ๒-๓ ปี ก่อนมาวัดแถวนี้ แกยังถามหา" "แกจำชื่อแม่น" "แม่ถ้วนจำดีไม่ขี้หลงขี้ลืม โดยขายของต้องจำดี" "แม่ถ้วนความจำดี เล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟังกี่หน (ครั้ง) กี่ที่ ก็เหมือนเดิม เด็ก ๆ ชอบอยู่กับแก เพราะแกเล่านิทานเก่ง" "ความจำแกดี ตอนแกไข้ ลูกชายไปเยี่ยม เรียกว่ายาย แกยังบอกว่า ไม่ใช่ต้องเรียกย่า" (ลูกชายของเกลอนายชวน) "แม่ถ้วนแกรู้จักคนมาก จำหน้าคนได้หมด ใครอยู่ที่ไหน" "ถ้วนความจำดี ฉันความจำไม่ดีแล้ว" "แม่ถ้วนความจำดีนั่นแหละ ไม่หลงลืม ดูได้จากคำพูดของแก"
             ๖. ความเป็นผู้รู้คุณค่าของเวลา นางถ้วน หลีกภัย เป็นบุคคลที่รู้คุณค่ของเวลา จะไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่เคยมีเวลาว่าง ไม่ว่าจะเป็นสมัยยังเด็กหรือสมัยล่วงเข้าสู่วัยชรา ดังคำบอกกล่าวของนายกเทศมนตรีเมืองตรังที่ว่า "นี่คือชีวิตของโส (พี่สะไก้) เรารับรู้ได้ว่าทุกเวลาของโสมีค่าเสมอ ทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะหัวรุ่งลุกขึ้นกรีดยาง แต่ก่อนยังใช้ตะเกียงน้ำมันก็าดพอถึงเวลายังต้องขึ้นรถไปขายของตลาดนัด กลับมาจากขายของต้องออกไปซื้อของมาเตรียมการขายในวันต่อไป ไม่ว่าจะดึกตื่นเพียงใดก็ต้องทำให้เสร็จ พอเสร็จแล้วต้องลุกขึ้นไปกรีดยางอีกแล้ว วันแล้ววันเล่าวนอยู่อย่างนั้น (ญิบ พันจันทร์ ๒๕๓๗ : ๑๑๗ ; อ้างถึงใน ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ ๒๕๓๗ : ๑๔๐)
             ๗. ความนอบน้อม ถ่อมตน เหตุผลหนึ่งที่นางถ้วน หลีกภัย เป็นที่นิยมของชาวบ้านคือ "แกเป็นคนดี ไม่ถือตัว เหมือนสมัยก่อน เหมือนกับบ้าน ๆ เรา" "ดีเสมอ ไม่ถือตัว แม่ถ้วนเคยเล่าให้ฟังว่าตอนลูกสาวแต่งงานลูกเขยแต่งเครื่องเพชรอย่างแรง มีคนตัดชุดให้ ๑ ชุด แต่ไม่ใส่คนในบ้านโกรธอย่างแรงที่ไม่แต่งตัว" "ไม่ยกตัวเอง ทำตัวเป็นบุคคลธรรมดา ถ้าเป็นคนอื่นคงคิดว่ามียศฐาบรรดาศักดิ์แต่แม่ถ้วนแกอยู่พรรณปรือ (อย่างไร) ก็อยู่พรรณนั้น" "แม่ถ้วนอยู่ธรรมดาไม่สนใจออกหน้าออกตาอะไร" "ลูกแกเป็นนายกแล้ว แกก็เป็นเหมือนเดิม" "แกเก่ง นิสัยแกไม่หยาบกับเพื่อน นิสัยเรียบร้อยเหมือนนายก* นิสัยดีไม่จองหอง พูดไม่ดูถูกคน" "แกเป็นคนดีมาก เหมือนเดิมไม่ถือตัว" "เป็นแม่ที่ดีเหมาะสมที่ลูกเป็นนักการเมือง วางตัวได้ดี""รู้จักแม่ถ้วนตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย" "แม่ถ้วนแกเป็นคนเหมือนเดิม แต่ก่อนเป็นยังไง ตอนนี้ก็เหมือนเดิม แกเป็นคนไม่ถือตัว คบได้กับทุกคน" "แกพูดดีมาก ไม่เคยให้ร้ายใคร ใครจะเป็นอย่างไรก็ตามใจเขา พอลูกได้เป็นนายกแกก็พยายามอธิบายให้ชาวบ้านฟังว่าแกยังเหมือนเดิม ให้เรียกเหมือนเดิม เวลาพูดถึงนายกให้คนทั่วไป เรียกนายชวนเหมือนเดิม" "ไม่ถือตัว ไปบอกงาน (ไปเชิญมางาน) ก็มา" 
                ๘. ความเชื่อมั่นในตนเอง แม้จะไม่ได้เรียนหนังสือแต่นางถ้วนหลีกภัย มีความเชื่อมั่นในตนเองและได้บอกเล่าเกี่ยวกับตนเองว่า "ยายเป็นคนโบราณ ประสบงานหลายสิ่ง ยายความรู้ไม่มี แต่ความรู้ที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้ ยายพอรู้บ้าง" สมัยที่แต่งงานกับครูนิยม แม่ถ้วนและสามียังคงอยู่กับบิดา เนื่องจากมารดาถึงแก่กรรมไปแล้วนางถ้วนไม่อาจละทิ้งให้บิดาอยู่ตามลำพัง จนกระทั่งมีบุตรได้ ๒ คน และคิดจะออกไปสร้างฐานะกับสามี นางถ้วน หลีกภัย จัดการสู่ขอภรรยาให้บิดาเป็นผู้เจรจาทำความเข้าใจกับพี่ชาย ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่ต้องหาภริยาให้บิดาจนพี่ชายต้องยอมตามเหตุผลที่โน้มน้าวจูงใจหนักแน่น และน่าเชื่อถือคือ ทำอย่างนี้ฉันว่าถูกต้องแล้ว เพราะถ้าเตี่ยเจ็บไข้ลูก ๆ สูยัง (มี) ผัวสูยังเมีย ใครจะได้มาเฝ้าดูแลเตี่ยอยู่ตลอดเวลา เพราะเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วผัวเมียดีที่สุดเพราะผัวเมียทำได้ทุกอย่าง" (ญิบ พันจันทร์
๒๕๓๗ : ๒๕ ; อ้างถึงใน ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ ๒๕๓๗ : ๑๔๒) ผู้คุ้นเคยคนหนึ่งได้เล่าให้ฟังด้วยความชื่นชมว่า ครั้งหนึ่งเคยได้ยินบุตรชายคนโตทักท้วงนางถ้วน หลีกภัย ให้ระมัดระวังเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ในเวลาที่นักข่าวมาหาข่าวว่า "วัง ๆ มั่ง แม่เอ้ย" (ระวังระวังบ้าง) คำตอบคือ "กูรู้แหละ กูทำถูก"
               ๙. ความเป็นผู้รู้จักควบคุมอารมณ์ได้ดี เท่าที่รู้และเห็นไม่เคยพบนางถ้วน หลีกภัยแสดงอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับคำบอกเล่าเท่าที่ได้รับ คือ
"แม่ถ้วนอารมณ์ดี แหลง (พูด) มาก แต่ไม่หอน (ไม่เคย) หน้าบูด หน้าเบี้ยว" "โกรธก็โกรธจริง ก็เก็บความแค้นไว้ในใจ เพียงแต่แกบอกว่า เขาไม่เจริญหรอกลูกเอ๊ย" "ไม่เคยเห็นโกรธใคร" "แกช่วยสอนเด็ก เด็กที่พบแกจะฉลาดขึ้น แกสอนว่าอย่าเที่ยวเถียง คนเพราะเถียงแล้วจะขาดทุนลง" "บุคลิกนายชวนกับแม่ถ้วน คล้ายกัน"
              ๑๐. ความเป็นผู้มีจิตวิทยาที่ดี นางถ้วน หลีกภัย มีคุณสมบัติอีกประการหนึ่งคือการรู้จักคน และเลือกปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสมกับคน ไม่ว่าจะเป็นการพูด การปฏิสันถาร การปฏิบัติตนให้เป็นที่ยอมรับเป็นพวกนางถ้วน หลีกภัย ได้กล่าวถึงตัวเองไว้อย่างน่าสนใจว่า "หลังจากลูกชายได้เป็นนายกรัฐมนตรี แม้แต่เรื่องนุ่งห่มก็ระวัง ถ้าเรานุ่งห่มดีกว่าก่อนคนก็หัวเราะเยาะเย้ย บางคนอาจจะพูดว่าเราเปลี่ยนไปแล้ว บางครั้งแต่งตัวเสร็จแล้วแลกระจก แลแล้วบอกว่าชุดนี้ใช้ไม่ได้ เพราะมันเกินกว่าแต่ก่อนนี่ทุกอย่างยายระวังมาก ยายอยากอยู่ให้เหมือนเดิม" การรู้จิตวิทยาชาวบ้านที่จะไม่ปฏิบัติตนให้เกิดความรู้สึก "แปลกแยก" ในด้านการแต่งกาย และความป็นอยู่ได้สร้างความประทับใจให้กับชาวบ้านมาก ผู้ให้สัมภาษณ์พูดในทำนองเดียวกันว่า "แกแหลงดี ความเป็นอยู่แบบบ้าน ๆ กันเองดี อายุ ๘o เหลือ (เศษ) อยู่บ้านเฉย ๆ ไม่คล้ายนาย" นอกเหนือจากการแต่งกายและการดำรงตนแล้ว ยังมีตัวอย่างพฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นนักจิตวิทยาชาวบ้านชั้นเยี่ยมของนางถ้วน หลีกภัย อันสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนมาก จากคำบอกเล่าของผู้ให้สัมภาษณ์ ดังนี้ภรรยาของเกลอคนหนึ่งของนายชวน เล่าด้วยความซาบซึ้งใจว่า "ตอนพ่อนายชวนเสีย ยังลงชื่อแฟนให้เป็นเจ้าภาพด้วย" ในด้านการพูด นางถ้วน หลีกภัย ก็ได้แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของความมีจิตวิทยาที่ดีเช่นกัน ดังผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งยกย่องนางถ้วนหลีกภัยว่า "แกพูดดี ไม่เคยพูดยกยอลูกตัวเอง" แม้กระทั่งในการสอนหรืออบรม คุณสมบัติประการนี้ก็แสดงให้เห็นได้ดังคำบอกเล่าของอดีตเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งว่า* ปี ๓๓-๓๔ จำไม่แม่นแล้ว แกมาพูดวันเด็กพูดซึ้งเรื่องเลี้ยงลูก นายชวนสมัยเด็ก ๆ บอกให้รักพ่อแม่อย่าดื้อ ให้เชื่อฟังพ่อแม่ พ่อแม่รักเราเหมือนแกรักนายชวนแล้วจะได้ดีเหมือนนายชวน แล้วแกร้องเพลงกล่อมซึ้ง บางคนร้องเลย แกหลังค่อม ๆ ใส่เสื้อขาว นุ่งผ้าถุง ผมขาว" การอบรมเลี้ยงดูบุตรธิดา ให้รู้จักคุณค่าของเงินและประหยัด นางถ้วน หลีกภัย ก็ทำได้อย่างละมุนละม่อม และบังเกิดผลดี ด้วยเทคนิคที่นางถ้วนเล่าให้ฟังคือ "พอเย็นโรงเรียนเลิก บอกลูกให้กลับบ้านเร็ว ๆ ช่วยไปขายขนม เบี้ยที่ได้ตั้งเป็นกองกลาง ใครดือดร้อนก็เอาไปได้ สอนให้เด็กรู้ว่าเงินได้มาอย่างไรเบี้ยกองกลางใช้สำหรับการเรียน ไม่ได้เอามาซื้อข้าวสารกิน"
             ๑๑. ความตระหนักในคุณค่าของการศึกษา แม้ตนเองจะไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนด้วยเหตุผลความจำเป็นทางครอบครัว แต่นางถ้วน หลีกภัยได้ตรากตรำทำงานหาเงินส่งเสียให้ลูก ๆ ได้ศึกษาตามสติปัญญาของแต่ละคนน ายชวน หลีกภัย ได้เล่าถึงมารดาไว้ว่า "แม่นั้นเป็นคนไม่มีความรู้ แต่ก็เห็นคุณค่าของการศึกษา ไม่ขัดข้องที่จะให้ลูก ๆ ทุกคนเรียนหนังสือ เมื่อเป็นเช่นนั้นแม่ต้องทำงานหนักเพื่อหารายได้ เพื่อช่วยให้ลูก ๆ ทุกคนได้เล่าเรียน" (ญิบ พันจันทร์ ๒๕๓๗ : ๘ ; อ้างถึงใน ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ ๒๕๓๗ : ๑๔๔) นางถ้วน หลีกภัย ได้เล่าถึงปณิธานของตนเกี่ยวกับการศึกษาว่า "ตั้งใจตั้งแต่แต่งงานว่าถ้ามีลูกมีเต้า แม่จะต้องพยายามให้ลูก ๆ ทุกคนได้เรียนหนังสือโดยน้ำมือแม่" (ญิบ พันจันทร์ ๒๕๓๗ : ๔๗ ; อ้างถึงใน ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ ๒๕๓๗ : ๑๔๕) แม้แต่บุตรหลานชาวบ้าน นางถ้วน หลีกภัย ก็สนับสนุนให้ศึกษา
เล่าเรียนช่วยเหลืออุปกระให้ที่อยู่ที่อาศัยระหว่างศึกษา จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านหลายรายได้บอกเล่าในทำนองเดียวกันว่า "รู้จักแม่ถ้วน เพราะมาขายของที่ตลาดลูกไปอยู่บ้านแกไปเรียนหนังสือ" ตอนไปเรียนหนังสือที่ทับเที่ยงพักบ้านแม่ถ้วน ลูกสาวน้าเรียนแล้วเป็นเกลอกับน้องสาวคนสุดท้องของนายชวน" นางถ้วน หลีกภัยเองได้เล่าว่า "ยายเลี้ยงเด็กหลายคน ลูกคนจน ๆ เป็นนางพยาบาลหลายคน ตอนนี้ยังอยู่ ๕ คน"
                ๑๒. ความเป็นผู้มีทักษะทางการค้า ทุกคนที่ได้รู้จักนางถ้วน หลีกภัยสมัยเป็นแม่ค้าตลาดนัดยอมรับว่า นางถ้วน หลีกภัย เป็นผู้หญิงที่ "ค้าขายเก่ง" ถึงขั้น "หาคนขายเก่งเทียบได้ยาก" "อะไร ๆ แกขายได้หมด" จนอดีตเพื่อนแม่ค้าคนหนึ่งถึงขนาดบอกเล่าลูกหลานไว้ว่า "อย่าไปขายแค่ (ใกล้) มัน" สาเหตุเนื่องมาจากประสบการณ์เป็นแม่ค้าขายขนมพอง-ลา (ขนมพื้นเมืองภาคใต้ในเทศกาลงานเดือนสิบ (วันสารท)) ตลาดเดียวกับนางถ้วน หลีกภัยแล้วต้องประหลาดใจว่าขนมของตนเส้นละเอียด สวย ขณะที่ขนมของนางถ้วน หลีกภัย ไม่สวยไม่น่รับประทานเท่า กลับขายได้อย่างเทน้ำเทท่า จนเจ้าตัวต้องยอมปลงใจว่า "เป็นเกณฑ์ (ชะตา) ของเขา" แล้วมาบอกเล่าเชิง
สั่งสอนลูกหลานดังกล่าวไปด้วย


 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ถ้วน หลีกภัย
ที่อยู่
จังหวัด
ตรัง


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

แม่ถ้วน หลีกภัย. (2554). ตรัง : ครอบครัวหลีกภัย.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024