อนุสรณ์สถานซีกิมหยงและภรรยาประดิษฐานหน้าโรงเรียนศรีนคร
(ภาพจาก: amazinghatya.comcom/รูปปั้นอนุสรณ์-จุดกำเนิ/)
นอกเหนือจากขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจียกีซี), พระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงส์) และพระยาอรรถกวีสุนทร ซึ่งที่ถือว่าเป็นบุคคลยุคแรกๆ ที่บุกเบิกเมืองหาดใหญ่หรือบ้านโคกเสม็ดชุน เมื่อ ๗๐–๘๐ ปีให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน อีกผู้หนึ่งที่มีนามว่า “ซีกิมหยง” ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ซีกิมหยงถือกำเนิดที่บ้านเจาพู อำเภอเจียวหลิ่ง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเด็กหนุ่มจีนที่อพยพมาจากเกาะบอร์เนียวตั้งแต่อายุได้ ๑๖ ปี เพื่อตามมาทำงานกับพ่อคือซียกซัน ซึ่งต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น “ขุนศุภสารรังสรรค์” และลุงที่ชื่อซีซือทิน ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ชีกิมหยงกำเนิดมาในลักษณะของบุคคลมีบุญและปัญญาที่หลักแหลม มีจิตใจเอื้ออารี ใฝ่กุศล รู้จักมองการณ์ไกลอันเป็นลักษณะเด่นเฉพาะที่ไม่เหมือนกับผู้ใดและเมื่อก่อสร้างทางมาถึงสถานีหาดใหญ่ ครอบครัวนี้ก็ย้ายมาปักหลักสร้างตัวกันที่นี่ พร้อมกับที่ซีกิมหยงได้แต่งงานกับสาวไทยชื่อละม้าย ฉัยยากุล ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งให้มีการสร้างขยาย เส้นทางรถไฟสายใต้จากจังหวัดเพชรบุรีไปยังปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ตอนเหนือและเส้นทางแยกไปยังอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส อีกเส้นหนึ่ง ซางบิดาของท่านคือนายซียิซาน และนายชีจือถังเป็นผู้รับเหมาเส้นทางรถไฟสายใต้ โดยว่าจ้างบริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด เป็นผู้จัดสร้าง เมื่อสร้างทางรถไฟสายใต้เสร็จพ่อของท่านได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสงขลา ขณะนั้นยังมีอายุเพียง ๒๐ ปี แต่ด้วยสายตาอันแหลมคม ได้เห็นลักษณะภูมิประเทศของเมืองหาดใหญ่มีทำเลดีอุดมสมบูรณ์ด้วยทางน้ำไหลผ่านและมีภูเขา ตรงตามลักษณะฮวงจุ้ยของจีน ประกอบกันเป็นจุดกึ่งกลางการคมนาคมระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และในอนาคตบริเวณนี้น่าจะเป็นเมืองชุมชนที่ใหญ่โตแน่ ดังนั้นนายชีกิมหยง จึงได้ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนมาก โดยร่วมมือกับขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจียกีซี), และพระเสน่หามนตรี (ชื่น) เพื่อบุกเบิกเมืองหาดใหญ่ให้เจริญจนกระทั่งสามารถทำให้เกิดตลาดหาดใหญ่แห่งใหม่มีคนมาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายกันมาก ซีกิมหยงกับขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจียกีซี) มีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษ และเขาก็กระทำเช่นเดียวกันด้วยการกว้านซื้อที่ดินแปลงต่าง ๆ เก็บไว้มากมาย เพียงแต่ของซีกิมหยงมีลักษณะพิเศษตรงที่ว่าที่ดินส่วนใหญ่ของเขาจะเป็นที่รอบนอกเมืองมากกว่า ทั้งนี้เป็นเพราะความเกรงกลัวจะถูกระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังจากนั้นท่านได้เห็นว่าควรพัฒนาในด้านอื่น ๆ พร้อมกันไปด้วย ท่านจึงบริจาคที่ดินเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนศรีนคร ๒ นอกจากนี้ยังมอบให้มูลนิธิองค์กรต่าง ๆ อีกหลายแห่ง เช่น โรงเรียนแสงทอง มูลนิธิซุนยัดเซ็น คริสตจักรหาดใหญ่ โรงเจกิ้วซื่ออำ และยังมอบที่ดินอีกหลายแปลเพื่อสร้างถนนหนทางอีก ๑๐ สาย
ถึงแก่กรรม
ซีกิมหยง เป็นคนที่ขยันทำงานได้ทุ่มเทให้กับการทำงานมาตลอดชีวิต จนไม่มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดโรคตามมาหลายประการ จนในที่สุดก็ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๔๙๑
ภาพจาก: เพจ Hat Yai City/หาดใหญ่ซิตี้ ที่นี้หาดใหญ่
ภาพจาก: เพจ Hat Yai City/หาดใหญ่ซิตี้ ที่นี้หาดใหญ่
อนุสรณ์สถานท่านซีกิมหยงและภรรยาที่โรงเรียนศรีนคร
(ภาพจาก: amazinghatya.comcom/รูปปั้นอนุสรณ์-จุดกำเนิ)
ซีกิมหยงคือใคร. 2549. สืบค้นวันที่ 21 พ.ค. 62, จาก https://hatyai.kemishop.com/blog/ซีกิมหยง-คือใคร/
เพจ Hat Yai City/หาดใหญ่ซิตี้ ที่นี้หาดใหญ่. 2562. สืบค้นวันที่ 21 พ.ค. 62, จาก https://www.facebook.com/pg/Thansorn/photos/photos/? tab=album&album_id=867342499952977