ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน)
 
Back    06/10/2020, 10:06    217  

หมวดหมู่

บุคคลสำคัญ


ประวัติ

             ชาติกำเนิด
                  ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน)  เกิดที่บ้านแหลมทราย ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อวันอังคาร แรม ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถะ ตรงกับวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๔๖ บิดาท่านชื่อกิมจั๋วน มารดาชื่อวันเลี่ยน ปู่ชื่อเส้ง ย่าชื่อซุ่น มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๘ คน ประกอบด้วย

๑. นายกิ๊มจ้าย เจริญสิน
๒. นายกิ้มไล่ เจริญสิน
๓. นางสาวพัว เจริญสิน
๔. นายแปลก เจริญสิน
๕. นายม่น เจริญสิน
๖. นายกิ้มอั้น เจริญสิน
๗. นายเปรย เจริญสิน
๘. นายเชย เจริญสิน

             การศึกษา
                 
เนื่องจากบิดามารดาของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นคนที่อาศัยอยู่ในเมือง และประกอบอาชีพค้าขาย จึงสนใจให้บุตรได้รับการศึกษาเล่าเริยนตามสภาพของบ้านเมืองในสมัยนั้น โดยเริ่มตั้งแต่เป็นเด็กวัด ซึ่งมีพระเป็นครูสอน และเลือกวัดที่มีครูดีมีชื่อเสียงอยู่ใกล้ ๆ บ้านด้วย คณะกรรมการจัดทำหนังสือประวัติครู ' ได้กล่าวถึงขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ไว้สรุปได้ว่า ขุนศิลปกรรม์พิศษ (แปลก เจริญสิน) สมัยที่เป็นเด็กวัดช่วงอายุประมาณ ๖-๗ ปี (พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๔๕๓) พ่อได้นำไปฝากเป็นลูกศิษย์ท่านพระครูอั้น เจ้าอาวาสวัดไทรงาม ซึ่งในขณะนั้นโรงเรียนมหาวชิราวุธเปิดทำการสอนอยู่ที่คลองขวาง แต่แม่ของท่านยังนิยมให้รับการศึกษาแบบเดิมคือการอยู่วัด การเรียนแบบศิษย์วัดในเวลานั้นเลิกเรียนหลักนโมและอักษรขอมแล้ว เริ่มต้นหัดเรียน ก. ถึง ฮ. แล้วหัดประสมสระ แม่ ก กา กก กง ตามลำดับ ใช้หนังสือปฐม ก กา หัดอ่าน ต่อมาเป็นแบบเรียนเร็วราว ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้ออกจากวัดไทรงามไปอาศัยอยู่กับน้า ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับวัดกลาง
หรือวัดมัชฌิมาวาส แล้วฝากฝังเป็นศิษย์พระใบฏิกาอ่ำ อมโร หรือต่อมาเป็นพระสมุห์อ่ำ อมโร ซึ่งขึ้นชื่อว่าสอนและอบรมเด็กดี ที่นี่เรียนสูงขึ้นกว่าเดิม หัดทำเลข บวก ลบ คูณ หาร จนคล่อง ได้อ่านหนังสือพลเมืองดิ่ ซึ่งเจ้าพระยาพระเสด็จฯ เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้แต่งและพิมพ์ขึ้นในระยะนั้นเด็กโตที่อ่านหนังสือถึงเล่มนี้นับว่าเป็นคนมีความรู้ชีวิตเด็กวัด เมื่อว่างงานตอนกลางคืนก็ถึงเวลาเล่น ซึ่งส่วนมากเด็กสมัยนี้ไม่นิยมกันเสียแล้วที่สนุกมากได้แก่การ "เล่นเก้" (อาเถิด, ซ่อนหา) ฟาดทึง (จงอางฟิกไข่, จงอางหวงไข่) โนราทุ่มผ้า (มอญซ่อนผ้า) ขี่ม้าส่งเมือง ที่เล่นบ่อย ๆ ไม่เบื่อคือเล่นข้าศึก เอามือเป็นดาบฟันคอกัน ส่งเสียงเยยาเกรียวกราว จนบางครั้งท่านเจ้าคุณเจ้าอาวาสเดินมาใกล้ ๆ ร้องขอให้เบาเสียงลงบ้างขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) สมัยเป็นเด็กวัดได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นต้นกุฏิเป็นกำลังของอาจารย์ ทำหน้าที่ต้มน้ำ หุงข้าวด้ม ทั้งตอนเย็นให้ออกไปบอกบุญเกสัชเพลา คือรับหมากพลูจากชาวบ้านที่ส่งมาถวายพระด้วย และเมื่อมีพระบวชใหม่รู้ภาษามลายูมาอาศัยอยู่ใกล้
กับอาจารย์ จึงขอเรียนจากท่านได้เล็ก ๆ น้อย ๆ แลกเปลี่ยนกับการรับใช้ท่านเป็นพิเศษ ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ อายุได้ ๑๐ ปี อาจารย์ส่งเข้าเรียนในโรงเรียนของวัด โรงเรียนนี้ครูเป็นพระบ้างสามเณรบ้าง เมื่อเข้าเรียนได้ไม่นาน มีฆราวาสคนหนึ่งมาสอนหนังสือ ชื่อ ม.ร.ว.เจือ มาลากุล ท่านสอนชั้นประถมปีที่ ๓ แต่ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ก็พลอยได้เรียนไปด้วยเพราะชั้นเรียนอยู่ติดกันและเปิด โล่งถึงกัน ระหว่างที่เป็นนักเรียนของโรงเรียนวัด ยังไม่ขาดสังกัดตำแหน่งศิษย์ท่านใบฏิกาอ่ำ อมโร ยังคงรับใช้และนอนที่วัดตามเดิม ปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๗  สอบไล่ชั้นประถมปีที่ ๓ ซึ่งเป็นประ โยดประถมและเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนได้ ปีต่อมาจึงไปเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียน
มหาวชิราวุธ ซึ่งได้ย้ายจากคลองขวางไป ณ ที่ใหม่ติดกับวัดไทรงาม รวมเวลาเป็นเด็กวัด ๔ ปี เป็นนักเรียนโรงเรียนวัดอีก ๒ ปี ได้ขึ้นชั้นมัธยมหนึ่งเมื่ออายุ ๑๒ ปี ซึ่งนับว่าค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อย่างอื่นมาชดเชย คือการอบรมจรรยาความประพฤติ และได้เห็นกิจกรรมต่าง ๆ อันเนื่องในพระศาสนาเป็นนิสัยปัจจัยในการดำรงชีวิตต่อมา แม้จะไม่เคยได้บวชเรียนก็พอรู้เรื่องศิลธรรมขนบประเพณี เป็นประโยชน์ในหน้าที่ราชการและการครองชีวิตเมื่อโตขึ้นเป็นอย่างมาก
                 ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนตัวอย่างมณฑลนครศรีธรรมราช "มหาวชิราวุธ" ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา เรียนอยู่ ๔ ปี สอบไล่ได้มัธยมปีที่ ๕ เพราะได้เลื่อนชั้นกลางปีหนึ่งครั้ง เมื่อจบชั้นมัธยมปีที่ ๕ แล้ว จึงได้รับคัดเลือกเป็นครูสำรองของโรงเรียนมหาวชิราวุธ ๑ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ขณะนั้นอายุเพิยง ๑๖ ปีเท่านั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถม วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ เมื่อสอบได้ประโยคครูประถม (ป.ป.) แล้วก็เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และขณะเดียวกันก็เรียนหลักสูตรครูมัธยมที่สามัดยาจารย์สมาคมด้วย ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ สอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ ๘ และครูประโยกมัธยม (ป.ม) สำหรับผลการสอบไล่ในชั้นมัธยมปีที่ ๘ นั้นขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) สอบได้ลำดับที่ ๑๔ จากผู้เข้าสอบทั่วประเทศจำนวน ๑๔๐ คน

             ครอบครัว
                  ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) สมรสกับนางสาวสมจินต์ บูรณธรรม เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ มีบุตร ๑๑ คน แต่ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์เสียหนึ่งคน ทุกคนได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี และมีวุฒิปริญญาตรี-โท ทั้งภายในและต่งประเทศ และที่สืบทอดอาชีพครูก็มีหลายคน ปัจจุบันทุกคนได้ประกอบอาชีพอย่างมั่นคงตามวิชาชีพที่ได้ศึกษามา เช่น เพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ธุรกิจธนาคาร ผู้บริหารการศึกษาและอาจารย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้

1. นางอาภรณ์ สาครินทร์ 
2. นายกมลวัฒน์ ศิลปกรรมพิเศษ
3. นางสาววลัย ศิลปกรรมพิเศษ
4. นางสินี โจนส์ 
5. เด็กชายจารุวัฒน์ ศิลปกรรมพิเศษ ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก
6. นายจิวัฒน์ ศิลปกรรมพิเศษ 
7. นางรุจา เลนุกูล 
8. นางเฉลิมขวัญ ชฎารัตน์ 
9. นางสาวจารุณี ศิลปกรรมพิเศษ 
10. นายสุทธิวัฒน์ ศิลปกรรมพิเศษ 
11. นางมัลลิกา อนันตพันธ์ 

              การรับราชการ
                  
ขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน)  ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการและเป็นผู้ที่สร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติมาโดยตลอด โดยได้รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ มากมาย ดังนี้

- พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๗๔ ครูโรงเรียนมหาวชิราวุธ เคยได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์ตรีขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน)
- ๑ เมษายน ๒๔๗๔ ผู้ช่วยธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราช
- ๘ ธันวาคม ๒๔๗๖ ธรรมการจังหวัดยะลา
- ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๐ ธรรมการจังหวัดสงขลา
- ๑ เมษายน ๒๔๘๕ ศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๘๙ ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา
- ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๑ ผู้ช่วยข้าหลวงตรวจการศึกษาธิการ ภาค ๕
- ๒๘ เมษายน ๒๔๙๕ ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา
- ๒๘ กันยายน ๒๔๙๘8 ศึกษาธิการภาค ๙ (สงขลา)
- ๑ เมษายน ๒๔๙๙ ศึกษาธิการภาค ๘ (นครศรีธรรมราช)
- ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๙ ประจำกระทรวงศึกษาธิการ
- ๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๐ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ภาคศึกษา ๓ (สงขลา)
- ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ภาคศึกษา ๒ (ยะลา)
- ๑ เมษายน ๒๕๐๖ ลาออกจากราชการ ฐานะรับราชการนาน และตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๘๐ ถนนทะเลหลวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

            เกียรติคุณที่ได้รับ
                      ขุนศิลปกรรม์พิศษ (แปลก เจริญสิน) ได้สร้างผลงานไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ผลงานด้านการจัดการศึกษา ผลงานด้านการเขียนหนังสือ และผลงานค้านการทำนุบำรุงโบราณสถาน เป็นต้น จนได้รับการยกย่องอย่งกว้างขวาง ดังที่อาภรณ์ สาครินทร์ และมะเนาะ ยูเด็น บุตรและญาติของท่าน ได้กล่าวถึงเกียรติคุณไว้ว่า...ตลอดชีวิตการทำงานขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ยึดมั่นในความซื่อสัตย์เป็นที่ตั้งตลอดถึงมีความชื่อสัตย์ ชื่อตรงต่องานอาชีพเป็นอย่างมาก ไม่เคยตักตวงผลประโยชน์จากหน้าที่การงานมาเป็นของส่วนตัวและของครอบครัว ได้สั่งสอนอบรมในเรื่องความซื่อสัตย์ให้กับลูก ๆ ทุกคน โดยเฉพาะการฉ้อราษฎร์บังหลวง ขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) เกลียดมากที่สุด จึงทำให้ลูกทุกคนถือปฏิบัติในความซื่อสัตย์สุจริต หลีกเลี่ยงหน้าที่การงานที่อาจจะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้  ผลงานอันดีเด่นด้านมนุษยศาสตร์และอักษรศาสตร์ของขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ทำให้ท่านได้รับเกียรติคุณ ประกอบด้วย
                  -  ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาและวรรณดี จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
                   - เหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๔
                 ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นข้าราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับราชการเกี่ยวกับการศึกษาในเขตการศึกษา ๒ และ ๓ มาเกือบตลอดชีวิตราชการ เคยไปปฏิบัติงานราชการในส่วนกลางครั้งหนึ่ง แต่เป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ปฏิบัติหน้าที่ทั้งในฐานะครูและผู้บริหารการศึกษาอย่างเต็มที่และมีความตั้งใจที่จะพัฒนาการศึกษาของภาคใต้ให้ประสบผลสําเร็จ เมื่อปี ๒๕๐๖ ได้ลาออกจากราชการ มาพักและตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๘๐ ถนนทะเลหลวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๑ รวมอายุได้ ๘๕ ปี


ผลงานสำคัญ

             ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของจังหวัดชายแดนภาคใต้ในฐานะที่ท่านได้รับราชการเกี่ยวกับการศึกษาในภาดศึกษา ๒ และ ๓ มาตลอดชีวิตราชการ ได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งในฐานะครูและผู้บริหารการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคศึกษา ๒ นับเป็นเขตการศึกษาที่มีปัญหาพิเศษ เพราะเป็นเขตที่มีหลายวัฒนธรรมประเพณี แม้กระทั่งภาษาของท้องถิ่นที่มีทั้งภาษาไทยถิ่นและมลายูถิ่น มีเด็กไทยจำนวนมากที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ ท่านจึงได้เริ่มโครงการสอนภาษาไทยแก่เด็กเริ่มเข้าเรียนที่ไม่ได้พูดภาษาไทยมาก่อน เป็นการเตรียมนักเรียนให้พร้อมที่จะเรียนวิชาต่าง ๆ ทำให้นักเรียนได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนผลงานดีเด่นอีกประการหนึ่งของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) คือการพัฒนาสถานที่สอนศาสนาที่เรียกว่า "ปอเนาะ" ให้กลายเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนา ซึ่งนับว่ามีคุณค่ายิ่งต่อการจัดการศึกษาในภาคใต้อย่างแท้จริง ผลงานค้านวิชาการในด้านภาษาและวรรณคดีไทยของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เกิดจากการได้ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความหลากหลายจึงก่อให้เกิดแนวการศึกษาภาษาในแนวเปรียบเทียบ โดยได้รวบรวมคำท้องถิ่นในภาษาไทยและภาษามลายูเรียบเรียงเป็นพจนานุกรมขึ้น นับเป็นผลงานทางภาษาศาสตร์ที่มีค่ายิ่ง
                 
ผลงานด้านการจัดการศึกษา
               ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นข้าราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับราชการเกี่ยวกับการศึกษาในเขตการศึกษา ๒ และ ๓ มาเกือบตลอดชีวิตราชการ เคยไปปฏิบัติงานราชการในส่วนกลางครั้งหนึ่งแต่เป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ปฏิบัติหน้าที่ทั้งในฐานะครูและผู้บริหารการศึกษาอย่างเต็มที่และมีความตั้งใจที่จะพัฒนาการศึกษาของภาคใต้ให้ประสบผลสําเร็จ โดยไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นบุคคลที่ปฏิบัติงานดีเด่นรุ่นบุกเบิกในการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างแท้จริง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ทางราชการได้เสนอความดีความชอบให้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านมนุษยศาสตร์และอักษรศาสตร์ดีเด่น จนได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ นอกจากนี้ท่านยังมีผลงานด้านการจัดการศึกษาในขณะที่ดำรงตําแหน่งต่าง ๆ ที่สําคัญดังนี้

 ๑. ผู้ช่วยธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราช ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) เข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยการสนับสนุนจากพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค ซึ่งเป็นธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราช และมีผลงานด้านการศึกษาที่สําคัญปรากฏให้เห็น ท่านทํางานร่วมกับพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค เกี่ยวกับเรื่องเด็กอายุในเกณฑ์บังคับศึกษา ไม่ได้เข้าเรียนเพราะมีงบประมาณจํากัด จึงได้อาราธนาเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ จัดพระสงฆ์และสามเณรสอนเด็กขึ้นในวัด และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทําให้เด็กมีโอกาสอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้น นับเป็นความคิดริเริ่มประการหนึ่ง จนกระทั่งมณฑลอื่น ๆ เอาอย่างไปจัดบ้าง ซึ่งโรงเรียนวัดเหล่านี้ในเวลาต่อมาก็กลายสภาพมาเป็นโรงเรียนประชาบาล
๒ ธรรมการจังหวัดยะลา ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้รับราชการอยู่ที่มณฑลนครศรีธรรมราชอยู่เพียงปีเดียว ก็ย้ายไปดํารงตําแหน่งธรรมการจังหวัดยะลา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อครั้งที่ท่านไปรับหน้าที่ใหม่ ๆ นั้น ที่ว่าการตั้งอยู่ ณ ตําบลสะเตง อําเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีสภาพล้าหลังมาก มีร้านค้าอยู่ไม่กี่แห่ง ถนนเป็นดินซึ่งเมื่อถึงหน้าฝนก็เป็นโคลนตม จะปันรถจักรยานก็ไม่ได้ เดินเท้าก็เปรอะเปื้อน ที่ทําการของธรรมการจังหวัดต้องอาศัยห้องเรียนของโรงเรียน ประจําจังหวัด คือโรงเรียนเมืองยะลาเป็นสํานักงานชั่วคราว ซึ่งชํารุดจนต้องหาไม้มาค้ํายันกันล้ม และโรงเรียนประชาบาลก็เป็นอาคารแบบชั่วคราว ผลงานด้านการศึกษาของขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ขณะที่ดํารงตําแหน่งธรรมการจังหวัดยะลา ท่านได้การสร้างโรงเรียนประจําจังหวัดยะลา ผลงานด้านการสร้างโรงเรียนประจําจังหวัดยะลาของขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิ้น) ขณะดํารงตําแหน่งธรรมการจังหวัดยะลา ไว้สรุปได้คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้รับงบประมาณให้สร้างโรงเรียนประจําจังหวัดยะลาขึ้นใหม่ แต่งบประมาณดังกล่าวไม่เพียงพอ ท่านจึงได้ขอเงินจากคณะราษฎร (กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕) และจากจังหวัดเข้ามาสมทบด้วย หลังจากสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงได้ตั้งชื่อโรงเรียนนั้นว่า “โรงเรียนคณะราษฎรบํารุง จังหวัดยะลา” เพื่อเป็นอนุสรณ์

๓. ธรรมการจังหวัดสงขลา ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ย้ายมารับตําแหน่ง ธรรมการจังหวัดสงขลาครั้งแรก เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๐ และมีผลงานด้านการศึกษาที่สําคัญ ดังนี้
      ๓.๑ การฟื้นฟูกิจการโรงเรียนเกษตรกรรมในจังหวัดสงขลา ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิ้น) ได้ให้ความสําคัญกับการศึกษาทางด้านอาชีวะเป็นอย่างมาก โดยได้ก่อตั้งและฟื้นฟูขึ้นจนมีความเจริญก้าวหน้าตามลําดับ ดังที่ สุธน เจริญพงศ์ ข้าราชการบํานาญ และพรศักดิ์ พรหมแก้ว กล่าวไว้ในทํานองเดียวกันสรุปได้ว่า เดิมโรงเรียนเกษตรกรรมสงขลาตั้งอยู่ที่โรงเรียนเอ็งเสียงสามัคคี หลังจากนั้นจึงได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ตําบลคอหงส์ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งที่ดินที่ตําบลคอหงส์นั้น กระทรวงศึกษาการธิการและกระทรวงเกษตราธิการ ได้ออกเงินฝ่ายละเท่า ๆ กัน ซื้อสวนยางของเอกชนผู้หนึ่งจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมและสถานีทดลองกสิกรรมขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งในช่วงของการเริ่มดําเนินงานมีรองอํามาตย์เอกหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี) เป็นทั้งอาจารย์ใหญ่และหัวหน้าสถานีทดลอง ได้ปลูกอาคารเรียนลงในที่ดินของสถานีและ สร้างบ้านพักพนักงานในที่ของโรงเรียน พอรองอํามาตย์เอกหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี) ย้ายไปหัวหน้างานคนใหม่ที่เข้ามาเป็นคนละสังกัดและไม่ได้ควบสองตําแหน่งเหมือนอย่างรองอํามาตย์เอกหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี) จึงทําให้เกิดการกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้งขึ้น และเกิดความ ไม่สะดวกใจกันทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ซึ่งมาดํารงตําแหน่งธรรมการจังหวัดสงขลาครั้งแรก จึงได้ย้ายโรงเรียนออกมาอยู่ที่ตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา และทําการฟื้นฟูกิจการโรงเรียนเกษตรกรรมอย่างจริงจัง ทําให้กิจการของโรงเรียนเกษตรกรรมสงขลามีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลาในเวลาต่อมา
   
     ๓.๒ การจัดตั้งโรงเรียนช่างไม้ (โรงเรียนการช่างสงขลา) ในช่วงที่ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ดํารงตําแหน่งธรรมการจังหวัดสงขลาครั้งแรกได้จัดตั้งขึ้นและได้ส่งเสริม กิจการโรงเรียนช่างไม้ให้มีความเจริญก้าวหน้าตามลําดับ ดังที่สุธน เจริญพงศ์ ข้าราชการบํานาญ กล่าวไว้สรุปได้ว่า ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นผู้นําในการจัดตั้งโรงเรียนช่างไม้ขึ้นในจังหวัดสงขลา และได้ดําเนินการทําพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังได้พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับของนักเรียน มีผู้ปกครองให้ความสนใจส่งนักเรียนเข้าเรียนเป็นจํานวนมากทุกปี ต่อมาโรงเรียนช่างไม้ได้ย้ายไปอยู่ที่ตําบลคอหงส์ และเป็นวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ในปัจจุบัน
       ๓.๓ การจัดตั้งและฟื้นฟูโรงเรียนช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสงขลา (โรงเรียนอาชีวศึกษาสงขลา) ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้ทําการก่อตั้งโรงเรียนทอผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้า (โรงเรียนอาชีวศึกษาสงขลา) ขึ้นเป็นครั้งแรกตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ดังที่สามารถ ลพพิจารณ์  และพรศักดิ์ พรหมแก้ว กล่าวถึงการจัดการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาสงขลาไว้สรุปได้ว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ มีชื่อในการจัดตั้งว่า "โรงเรียนช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสงขลา" สังกัดกองอาชีวศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ โดยเปิดสอน ๒ แผนก คือแผนกช่างเย็บเสื้อผ้า และแผนกทอผ้า โดยแยกสถานที่เรียนคือสถานที่ เรียนของแผนกตัดเย็บเสื้อผ้า ในตอนแรกได้เช่าห้องแถว ๑ ห้อง อยู่หน้าวัดดอนรัก ถนนไทรบุรี อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ต่อมาได้ย้ายมาเช่าห้องแถวใหม่อยู่หน้าสาขาสมาคมรัฐธรรมนูญ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหอสมุดประชาชนจังหวัดสงขลา) ส่วนแผนกช่างทอผ้านั้นใช้อาคารชั้นล่างของบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดสงขลา (บริเวณวิทยาลัยพยาบาลปัจจุบัน) เป็นสถานที่เรียนมีครูใหญ่ คนแรกชื่อนางสาวถนอม กระวีวงศ์ ส่วนการรับนักเรียนจะรับผู้สําเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้กําหนดให้โรงเรียนอาชีวศึกษาที่ได้จัดตั้งขึ้นเป็น โรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นต้น ผ่อนปรนเรื่องวุฒิการศึกษาลงเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีผู้เข้ามาเรียน ตามจํานวนที่ต้องการ โดยรับผู้จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หรือเพียงแต่อ่านออกเขียนได้ที่รับเข้าเรียนแล้ว นับเป็นกลยุทธ์หนึ่งของขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ที่จะดึงดูดให้มีผู้มาเรียนในโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นต้นเพิ่มขึ้น จนทําให้กิจการของโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นต้นมีความ เจริญก้าวหน้าเป็นลําดับ และได้เปลี่ยนเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาในเวลาต่อมา
       ๓.๔ การก่อสร้างโรงเรียนวรนารีเฉลิมแห่งใหม่ พรศักดิ์ พรหมแก้ว กล่าวถึงผลงานของขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ที่มีส่วนร่วมในการสร้างโรงเรียนวรนารีเฉลิมแห่งใหม่ สรุปได้ว่าโรงเรียนวรนารีเฉลิมเปิดสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยใช้ห้องชั้นล่างของบ้านพักพระยาอรรถกวีสุนทร อัยการมณฑล อยู่ใกล้วัดแหลมทราย อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่เรียนโดยในวันเปิดเรียนมีนักเรียนชาย–หญิง จำนวน ๒๐ คน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้ย้ายไปอยู่ที่ถนนนครใน เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดแจ้ง แต่ในเดือนมิถุนายนปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พลเรือตรีหลวงสินธสงครามชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นมาตรวจราชการที่จังหวัดสงขลา เห็นว่าที่ตั้งของโรงเรียนมีความคับแคบไป จึงให้พระยารามราชภักดี ข้าหลวงประจําจังหวัด และขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ศึกษาธิการจังหวัด ไปหาสถานที่ใหม่ ในที่สุดเลือกได้ที่ดินริมถนนปละท่า ตรงข้ามวัดสระเกษ ซึ่งเดิมเป็นสนามชนโคของจังหวัด (ที่ตั้งของโรงเรียนวรนารีเฉลิมในปัจจุบัน) และได้ดําเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยใช้งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ จํานวน ๔๓,๗๐๐ บาท ได้อาคารเรียนเป็นตึก ๒ ชั้น ๑ หลัง ต่อมาได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น และโรงเรียนก็มีความเจริญก้าวหน้ามาเป็นลําดับ
      ๓.๕ การย้ายโรงเรียนฝึกหัดครู ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูสงขลาจากบ้านคอหงส์ มาอยู่ที่สําโรงเขตอําเภอเมืองสงขลาจนถึงปัจจุบัน สุธน เจริญพงศ์ ข้าราชการบํานาญ กล่าวถึงการย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูของขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) สรุปได้ว่า การดําเนินการเกี่ยวกับโรงเรียนฝึกหัดครู ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตําบลคอหงส์ อําเภอหาดใหญ่นั้น รู้สึกว่าตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญ แต่ไปใกล้กับบ่อนกาสิโนที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ และมีความอึดอัดอย่างอื่นอีก พอถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงได้ตกลงกับกระทรวงเกษตรซึ่งมีจอมพลผิน ชุณหะวัน เป็น รัฐมนตรี ยกที่ดินของโรงเรียนให้แก่สถานีทดลองกสิกรรม และให้กระทรวงเกษตรสนับสนุนในการของบประมาณย้ายโรงเรียนมาสร้างใหม่ที่ตําบลเขารูปช้าง อําเภอเมืองสงขลา ได้เริ่มสร้างอาคารต่าง ๆ ขึ้นตั้งแต่ปีนั้นและปีถัด ๆ มาจนย้ายโรงเรียนมาที่ใหม่ได้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นบุคคลที่มีส่วนสําคัญอีกคนหนึ่งในการดําเนินการครั้งนี้ให้สําเร็จลุล่วง 
       ๓.๖ การก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ สงขลา หรือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต้ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทในการก่อตั้งวิทยาลัย ในขณะที่ท่านดำรงตําแหน่งศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ดังที่สุธน เจริญพงศ์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างไม้สงขลา กล่าวไว้สรุปได้ว่าการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยได้ร่วมกับขุนศิลปกรรมป์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา และหัวหน้าส่วนราชการของจังหวัดสงขลา พาคณะของหลวงประโมทย์จรรยาวิภาษ อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ไปดูที่ดินบริเวณชายทะเล ซึ่งอยู่ถัดจากศาลจังหวัดสงขลาไปทางทิศใต้ อันเป็นที่หวงห้ามไว้ตั้งแต่สมัยเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งอธิบดีกรมอาชีวศึกษาพอใจ จึงได้ไปขอที่ของราชพัสดุแปลงนี้จากนายพ่วง สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งก็อนุญาตแต่โดยดี วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งตรงกับในช่วงของพลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
        ๓.๗ การส่งเสริมพลศึกษาและกิจการลูกเสือ ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิ้น) เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีผลงานในด้านการส่งเสริมการกีฬาของจังหวัดสงขลาเป็นอย่างมาก ดังที่ผุสดี เจริญพงศ์ กล่าวไว้ว่า ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้ให้ความสนใจและส่งเสริมพลศึกษามากพอสมควร โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาและกรีฑาประจําปีขึ้นทุกปี และในตอนหลัง ๆ ก็จัดกีฬาประชาชนด้วย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา และ ประชาชน ได้สนใจหันมาเล่นกีฬากันอย่างกว้างขวาง ส่วนในด้านกิจการลูกเสือ ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิ้น) ก็ได้ให้ความสนใจอย่างมากเช่นกัน โดยจะเห็นได้จากการส่งเสริมกิจการลูกเสือให้เจริญก้าวหน้า อีกทั้งยังได้ได้เปลี่ยนแบบหมวกของลูกเสือในจังหวัดที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก ซึ่งเดิมนั้นเคยใช้หมวกแขกหรือที่เรียกกันว่า “ซงโก๊ะ” ตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งต่อมามีการเปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือให้เป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยทางราชการสั่งมาให้ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) สอบถามชาวมุสลิมว่าจะขัดข้องหรือไม่อย่างไร ท่านจึงไปปรึกษาดาโต๊ะยุติธรรมและเชิญ บุคคลที่รอบรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลามมาหารือ ซึ่งต่างก็ลงความเห็นว่า หมวกมีปีกขัดกับบทบัญญัติ   แห่งศาสนา แต่มืคำสอนว่าให้มุสลิมปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังกับของบ้านเมือง จึงเป็นอันว่าลูก
เสือชาวมุสลิมก็ได้ใช้หมวกปีกแทนหมวก "ซงโก๊ะ" แต่นั้นมา
๔. ช่วงดำรงตำแหน่งศึกษาธิการภาค ผลงานของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการภาคต่าง ๆ มีมากมาย บางพื้นที่ก็โดดเด่นบางพื้นที่ก็ไม่โดดเด่น ขึ้นอยู่กับช่วงของเวลาในการไปดำรงตำแหน่งนั้น ๆ อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของบ้านเมืองในแต่ละช่วง ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน ผลงานที่สำคัญพอจะสรุปได้ดังนี้
      ๔.๑ ศึกษธิการภาค ๙ (สงขลา) ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ รัฐบาลได้ตั้งภากการปกครองขึ้นใหม่รวม ๑ ภาค มีผู้ว่าราชการภาคเป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการของกระทรวงและกรมต่าง ๆ เป็นผู้ช่วย ในช่วงนี้เองขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้เลื่อนขึ้นเป็นศึกษาธิการภาค แต่ยังคงดำร งตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดสงขลาอยู่อีกตำเหน่งหนึ่งด้วย และในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้สร้างผลงานด้านการจัดการศึกษาไว้มากมาย เช่น จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิดประจำภาคขึ้น ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ในฐานะศึกษาธิการภาค ๙ ได้รับ
แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ซึ่งกรรมการชุดดังกล่าวประกอบด้วยข้าราชการไทยหลายคน โดยมีอธิบดีกรมอาชิวศึกษาเป็นหัวหน้า และมีผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริการ่วมเป็นกรรมการด้วยอีก ๒ คน ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ซึ่งเป็นคนในพื้นที่จึงต้องรับภาระในการดูแลข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และชั้นรอง ต้องปฏิบัติงานหนักมาก แต่ก็ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากบุคคล และหน่วยราชการอื่น ๆ เช่น หลวงประธานราษฎร์นิกร ให้การสนับสนุนในด้นรถยนด์ คนขับ และน้ำมันหลายครั้ง นายสุชาติ รัตนปราการ เอื้อเฟื้อเรือยนต์ เป็นต้น ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย เมื่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ ทำให้งานราชการดำเนินไปได้ด้วยดี ซึ่งเป็นที่พึ่งพอใจของผู้บังคับบัญชาชั้นสูงเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะเห็นได้หลังจากที่ท่านได้เกษียฌอายุราชการไปแล้ว ผู้บังคับบัญชายังคงมาเยี่ยมที่บ้านพัก โดยเฉพาะหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จะมาเยี่ยมและพูดคุยกันอย่างสนุกสนานเสมอ
         ๔.๒ ศึกษชิการภาค ๘ (นครศรีธรรมราช) รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ผลงานด้านการจัดการศึกษาของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) มีไม่มากนัก เพราะอยู่ได้ไม่นานก็มีการยุบภาคการปกครอง ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) นอกจากจะดำรงตำแหน่งศึกษาธิการภาค ๘ (นครศรีธรรมราช) แล้วท่านยังได้ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย แต่ก็ยังไม่ได้สร้างผลงานอะไรได้มากนัก เพราะรับราชการในช่วงระยะเวลาอันสั้น ประกอบกับมีกฎหมายยกเลิกภาคการปกครองเสียก่อน ดำแหน่งจึงถูกยุบไปด้วย หลังจากนั้นจึงถูกเรียกตัวเข้าประจำกระทรวงศึกษาธิการ
๕. ช่วงดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงภาคศึกษา ผลงานของขุนศิลปกรรม์พิศษ (แปลก เจริญสิน) ในขณะดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ
กระทรวงภาคศึกษา มีมากมายที่สำคัญพอจะสรุปได้ดังนี้
     ๕.๑ ผู้ช่วยข้าหลวงตรวจการศึกษาธิการ ภาค ๕ (นครศรีธรรมราช) ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยข้าหลวงตรวจการศึกษาธิการ ภาค ๕ (นครศรีธรรมราช) มีผลงานด้านการจัดการศึกษาที่สำคัญ พอจะสรุปได้ดังนี้
            ๕.๑.๑ การหาเงินก่อสร้างและพัฒนาสถานศึกษา เกี่ยวกับเรื่องนี้พระราชธรรมสุธิ (สมปอง) กล่าวไว้ว่า ในช่วงนี้ยางพารามืราคาสูงจนเกือบถึงกิโลกรัมละ 30 บาท ทำให้เศรษฐกิจดีชาวบ้านมีเงินใช้จ่ยกันอย่างฟุ่มเฟือย ท่านและเจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะตรวจการสงฆ์ภาค ๕
ได้ออกมาขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ เพื่อขอให้ผู้ซื้อขายยางพาราบริจาคเงินสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ขึ้นในที่ดินของวัดราชาธิวาส แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาอธิบดีกรมตำรวจนำความคิดดังกล่าวไปดำเนินการต่อจนประสบความสำเร็จ และอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวรนารีเฉลิม
ก็ได้ดำเนินการแบบเดียวกัน คือชักชวนผู้ที่ซื้อขายยางพาราร่วมกันบริจาคเงินสร้างอาคารเรียนสำเร็จได้หลังหนึ่ง ซึ่งนับได้ว่าขุนศิลปกรรม์พิศษ (เปลก เจริญสิน) เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มในการจัดหาทุนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง
           ๕.๑.๒ การส่งเสริมการศึกษาภาษามลายู ในช่วงนี้ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้ให้ความสนใจภาษามลายูเป็นอย่างมาก โดยที่ท่านได้รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับภาษามลายูจากขุนจรรยาวิธาน ซึ่งทำงานในที่เดียวกันเป็นผู้จัดหาพจนานุกรมภาษามลายูมาให้อ่าน พร้อมทั้งชี้แจงข้อควรรู้ให้ทราบด้วย ทำให้ท่านได้พบข้อมูลของคำไทยซึ่งมาจากหรือผ่านทางภาษามลายูมาปรากฎอยู่ในภาษาไทย ท่านได้ให้การส่งเสริมการศึกษาภาษามลายู โดยการเขียนบทความลงในหนังสือวิทยาสาร และประชาศึกษา ซึ่งนับเป็นการรากฐานของการพัฒนาการศึกษาในแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความแตกต่างไปจากการจัดการศึกษาในภาคอื่น ๆ ทั้งในด้นภาษา วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ให้ประสบผลสำเร็จในเวลาต่อมา
      ๕.๒ ผู้ตรวจราชการกระทรวงภาคศึกษา ๓ (สงขลา) ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เข้ารับตำแหน่งนี้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลังจากที่ถูกย้ายไปประจำกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ๙ เดือน เนื่องจากทางราชการตั้งดำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงขึ้น รวม ๑๒ ภาค โดยจัดเอาจังหวัดซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันทางภูมิศาสตร์บ้าง ทางวัฒนธรรมบ้าง เข้าเป็นเขตการตรวจของแต่ละภาค ดังนั้นขุนศิลปกรรม์พิศษ (แปลก เจริญสิน) จึงมารับตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงภาคศึกษา ๓ (สงขลา) เพราะมีความเหมาะสมและอยู่ในพื้นที่นี้มาเป็นเวลายาวนาน ท่านมีผลงานที่สำคัญ คือการปรับปรุงพัฒนาครูภาคศึกษา ซึ่งครูภาคศึกษาเดิมที่ส่งไปเรียนจนจบหลักสูตรเป็นรุ่นแรก กลับมาปฏิบัติงานซึ่งจัดขึ้นมาใหม่เป็นงานเชิงพัฒนาชนบท แต่ถือเป็นการศึกษาผู้ใหญ่แบบหนึ่งเรียกว่า "มูลสารศึกษา" หน่วยของภากนี้ผู้ปฏิบัติงานได้เลือกบ้านหมน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่ลงมือปรับปรุง มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมดรวม ๖ คน โดยมีขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นผู้ให้ความร่วมมือในเบื้องต้น ซึ่งในเวลาต่อมาทางกระทรวงมหาดไทย ก็รับโอนทั้งคนและงาน ไป แล้วตั้งขึ้นเป็นกรมเรียกว่า "กรมพัฒนาชุมชน" และมีขอบข่ายงานที่กว้างขวาง
       ๕.๓ ผู้ตรวจราชการกระทรวงภาคศึกษา ๒ (ยะลา) ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เข้ารับตำแหน่งนี้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นภากการศึกษาที่ล้าหลัง มิปัญหาทางการศึกษามาก เช่น นักเรียนมีมาตรฐานค้านการศึกษาต่ำกว่าที่อื่น ๆ และพลเมืองส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมการศึกษาในโรงเรียน เป็นต้น ดังนั้นกระทรวงจึงมีนโยบายโดยเน้นว่าจะต้องมีการปรับปรุงส่งเสริมกันเป็นพิเศษ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของกระทรวง ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรง ภาคศึกษา ๒ (ยะลา) ขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) มีผลงานด้านการจัดการศึกษาที่สำคัญ พอจะสรุปได้ดังนี้
              ๕.๓.๑ การวางแผนดำเนินงานพัฒนาการศึกษา ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ชิต ทิพย์บำรุง กล่าวไว้สรุปได้ว่าเมื่อครั้งที่ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ยังรับราชการอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เข้าร่วมประชุมวางแผนดำเนินงานพัฒนาการศึกษาของภาคนี้และได้อยู่ในพิธีวางศิลาฤกษ์คุรุสมมนาคารด้วย ม.ล. ปั่น มาลากุล รัฐมนตรีในสมัยนั้นได้ให้ข้อคิดเนื่องในงานนั้นว่า การศึกษาภาคนี้มีลักษณะพิเศษฉะนั้นการจัดการศึกษาก็ต้องอนุวรรดให้เข้ากับสภาพของท้องที่ จะดำเนินการอย่างเดียวกับที่อื่น ๆ ไปทุกอย่างนั้นย่อมจะไม่ได้ผลดี ซึ่งขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ก็ได้รับนโยบายมาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในเวลาต่อมา นอกจากนี้บุรินทร์ สิมพะลิก กล่าวถึงการวางแผนดำเนินงานพัฒนาการศึกษา ภาคศึกษา ๒ (ยะลา)
ของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ไว้พอจะสรุปได้ว่า ท่านได้ดำเนินงานพัฒนาการศึกษา ภาคศึกษา ๒ หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ๔ จังหวัดภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยสตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งรัฐบาลได้วางน โยบายและกำหนดโครงการไว้แล้ว แต่การดำเนินงานยังไม่บรรลุผลตามความมุ่งหมาย เนื่องจากมือุปสรรดและปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ ปัญหาโครงการไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชน และปัญหาด้านบุคลกร จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาคขึ้นเป็นที่แน่นอน และ ได้รับเงินงบประมาณป็นพิเศษ จำนวน ๒ ล้านบาท สำหรับปรับปรุงการศึกษาใน  ๔ จังหวัดภาคใต้ จึงได้มีการดำเนินการอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน
โดยแบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือตอนเริ่มต้น ตอนปรับปรุงแก้ไข และตอนพัฒนาการ ซึ่งในทุก ๆ ขั้นตอน จะมีขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานอยู่ด้วยทุกครั้ง
            ๕.๓.๒ การพัฒนารูปแบบการสอน ซึ่งผลงานด้านนี้นับว่าขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้เป็นผู้ดำเนินการเป็นแห่งแรก ดังที่อคิศักดิ์ สุทธิศักดิ์โสภากุล กล่าวไว้สรุปได้ว่า เมื่อเริ่มจัดการศึกษาขึ้นในหัวเมืองนั้น มณฑลปัตตานี (เดิม) ประสบกับปัญหาเรื่องประชาชนไม่นิยมส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนซึ่งจัดตั้งขึ้นจึงพูดและฟังภาษาไทยไม่ได้ เมื่อมีธุระมาติดต่อกับหน่วยราชการเมื่อใดก็พูดกันด้วยภาษามลายู ในสมัยก่อนเคยมีเบี้ยภาษาจ่ายให้แก่ข้าราชการที่พูดมลายูได้คนละ ๒๐ บาทต่อเดือน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ราษฎร แต่ก็เป็นการไม่เอื้อให้เขาขวนขวายใช้ภาษาไทยเลย จึงได้เสนอให้มีกฎหมายมาบังคับ ครั้นรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ แล้ว มณฑลนี้ก็เป็นแห่งแรกที่บังคับการศึกษาทั่วถึงทุกตำบลพร้อมกัน  แต่ปรากฏว่าเป็นการดำเนินการที่รวบรัดจนเกินไป เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น หรือที่เรียกว่ากบฎ ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ นั่นเอง จนกระทั่งขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้ปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่และศึกษานิเทศซึ่งกรมด่าง ๆ ส่งมาร่วมปฏิบัติงานเห็นพ้องกันว่าจะจับงานด้านการสอนภายาไทยแก่เด็ก ซึ่งมีพ่อแม่พูดภายามลายู ด้วยการฝึกทักษะทางฟังและพูดเสียก่อน ระหว่าง ๕00- ๖00 คำ โดยไม่ยอมใช้ภาษาแม่ของเด็กเข้าช่วย เรียกว่าวิธีสอนแบบตรง (Direct Method) เป็นงานสำคัญของภาค และได้ช่วยกันคัดเลือกคำที่จะนำมาฝึก โดย
แยกเป็นหมวด ๆ พร้อมทั้งทำคู่มือครูขึ้นด้วยนอกจากฝึกฟัง พูด แล้วมีการให้เล่นเกมส์ การฝีเมือ
ร้องรำทำเพลง และอื่น ๆ อีกด้วย นอกจากนี้คุรุสัมมนาคาร ภาคศึกษา ๒ กล่าวถึงการพัฒนารูปแบบการสอนของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ไว้สรุปได้ว่า ท่านได้จัดให้มีการประชุมอบรมเพื่อการพัฒนาในด้านวิชาการ ซึ่งมีความหลากหลายในด้านเนื้อหา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๑. การประชุมกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาการศึกษา เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาการศึกษาทั่ว ๆ ไปของภาคศึกษา                  ๒ จำนวน ๒ วัน
๒. ประชุมกรรมการดำเนินการพัฒนาการศึกษา ภาคศึกษา ๒ เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการศึกษาทั่ว ๆ ไป จำนวน      ๑๓ ครั้ง
๓. ประชุมอบรมครูสอนชั้นประถมปีที่ ๑ ตามโครงการของกรมสามัญศึกษา จำนวน ๑๒ วัน ผู้เข้าประชุม ๔๘ คน
๔. ประชุมอบรมครูสอนวิชาสังคมศึกษา และภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา เตรียมอุดมศึกษาและฝึกหัดครู จำนวน ๘ วัน ผู้เข้าประชุม ๘๐ คน
๕. ประชุมอบรมครูสอนเด็กเริ่มเรียน จำนวน ๒๐ วัน ผู้เข้าประชุม ๖๐ คน
๖. ประชุมศึกษาธิการอำเภอ และผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด เพื่อซักซ้อมนโยบายการบริหารการศึกษา จำนวน ๓ วัน ผู้เข้าประชุม ๒๙ คน
๗. ประชุมเจ้าหน้าที่การศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาการ เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานร่วมกัน และเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงานการศึกษาผู้ใหญ่ในภาคศึกษา ๒ ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นจำนวน ๒ วัน ผู้เข้าประชุม ๑๖ คน
๘. ประชุมศึกษานิเทศก์ และครูใหญ่โรงเรียนมัธยมศึกษาบางโรงเรียน ในภาคศึกษา ๒ เพื่อให้ศึกษานิเทศก็และครูใหญ่ปฏิบัติงานประสานกัน ให้ทราบความสำคัญของการนิเทศการศึกษา แนวการจัดและปรับปรุงโรงเรียน และจัดทำโครงการและแนวการปฏิบัติเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา จำนวน ๖ วัน ผู้เข้าประชุม ๔๗ คน
๙. ประชุมอบรมครูบรรณารักษ์ของโรงเรียนประเคราะห์ในภาคศึกษา ๒, ๓ และ ๔ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดอื่น ๆ ของภาคศึกษา ๒ จำนวน ๑๓ วัน ผู้เข้าประชุม ๔๘ คน
๑๐. ประชุมสัมมนาปรับปรุงส่งเสริมปอเนาะในภาคศึกษา ๒ จำนวน ๖ วัน มีผู้ช่วยเหลือและผู้เข้าประชุมสัมมนา ๙๖ คน

               ๕.๓.๓ การสร้างโรงพิมพ์คุรุสัมมนาคาร มโนช บุญญานุวัฒน์ กล่าวถึงการสร้างโรงพิมพ์ที่คุรุสัมมนาคารไว้สรุปได้ว่า ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (เปลก เจริญสิน) ได้สร้างโรงพิมพ์และสถานที่สำหรับฝึกงานด้านหัตถศึกษาแก่ผู้มารับกรฝึกอบรม ๑ หลัง โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงศึกษ าธิการที่เห็นความสำคัญว่า การจะพัฒนาการศึกษาของภาคศึกษา ๒ ให้ก้าวหน้าไปโดยรวดเร็ว จำเป็นต้องมีโรงพิมพ์ขนาดย่อม ซึ่งสามารถทำการพิมพ์ได้ ๓ ภาษา คือภาษาไทย ภาษามลายู และภาษาอังกฤษ เพื่อประโยชน์ในการจัดพิมพ์แบบเรียน การโฆษณา และเพื่อกิจการอื่น ๆ จึงได้จัดซื้อเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์การพิมพ์มาจัดตั้งเป็นโรงพิมพ์ขึ้นที่คุรุสัมมนาคาร โดยใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐๐ บาท
            ๕.๓.๔ การอบรมครูเพื่อสอนชั้นเริ่มเรียนหรือชั้นประถมปีที่ ๑ พิเศษ ดังที่ชิต ทิพย์บำรุง กล่าวไว้สรุปได้ว่า เมื่อใช้คุรุสัมมนาคารเป็นที่ทำการแล้ว ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) จึงได้ดำเนินการตามพระราชประสงค์ โดยเริ่มด้วยการทำความเข้าใจกับผู้บริหารการศึกษาถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน และเน้นการสอนภาษาไทยดามแบบที่คิดกันไว้โดยอาศัยแนวทางซึ่งรัฐมนตรีที่ได้ให้ไว้ว่า เมื่อคิดริเริ่มงานอย่างใดขึ้นก็ให้ดำเนินการไปได้ จึงได้จัดการอบรมครผู้สอนชั้นประถมปีที่ ๑ โอกาสแรกอภิปรายการสอนแบบที่ใช้มาแต่เดิมกับแบบใหม่ดูเป็นที่พอใจและเข้าใจกันดีอยู่ เมื่ออบรมสร็จแล้วก็ติดตามไปดูถึงโรงเรียน ปรากฏว่าบางแห่งทำได้ผล แต่บางแห่งผู้ที่เข้ารับการอบรมไม่ได้สอนขั้นเริ่มเรียนบ้าง ครูใหญ่ไม่เห็นด้วยบ้าง นับว่าได้
ผลเพียงร้อยละ ๒๕ ในครั้งต่อมาก็ได้ปรับปรุงข้อบกพร่อง ซึ่งก็สำเร็จบ้าง เนื่องจากที่ทำไปนั้นไม่มีคำสั่งของกระทรวงเป็นลายลักษณ์อักษร ครั้นถึงวาระที่ต้องทำประมวลการสอนก็ได้ทำประมวลสำหรับเด็กชั้นเริ่มเรียนแยกออกจากชั้นประถมปีที่ ๑ เมื่อส่งให้กระทรวงพิจารณาก็ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้
จึงเป็นที่รับรองว่าการจัดชั้นประถมปีที่ ๑ พิเศษนั้นอยู่ภายใต้ระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ 
             ๕.๓.๕ การจัดการศึกษาโรงเรียนปอเนาะ ในจังหวัดชายแดนเหล่านี้มีสถานศึกษาอิสถามตั้งขึ้นประปรายมานานแล้ว ดังที่ มาโนช บุญญานุวัฒน์ กล่าวถึงการสร้างโรงเรียนปอเนาะ สรุปได้ว่าโรงเรียนปอเนาะเรียกกันเป็นสามัญ มีความหมายว่า "กระท่อม" ซึ่งนักศึกษาปลูกอาศัยอยู่ในสถานที่เรียน ปอเนาะเหล่านี้จะต้องปฏิบัติดามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ต่อมามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครที่เป็นมุสลิมคือ นายรังสฤษดิ์ เชาวนะศิริ ได้เสนอว่าการสอนในปอเนาะมิลักษณะเดียวกับพระในศาสนาพุทธเทศนาสั่งสอนชาวบ้าน  จึงขอให้มีการยกเว้นจากการปฏิบัติตามกฎหมาย ปรากฎว่ากระทรวงได้อนุมัติ เป็นอันว่าปอเนาะสามารถดำเนินการได้ตามอิสระ จนปรากฏว่าในบางตำบลมีโรงเรียนปอเนาะมากกว่าโรงเรียนประถมศึกษา เด็กอายุในระหว่างเกณฑ์บังกับต้องไปเรียนปอเนาะด้วยในตอนบ่าย ทำให้เด็กเหล่านี้ต้องเรียนทั้งในโรงเรียนประชาบาลและโรงเรียนปอเนาะพร้อมกัน และด้วยอิทธิพลของศาสนาทำให้พ่อแม่บังคับลูกให้เรียนศาสนาในปอเนาะจนลืมความสำคัญในการเรียนเพื่ออาชีพ ดังนั้นขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ต้องปรับปรุงการศึกษาแตกต่างไปจากระบบในบางเรื่อง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ส่วนนี้นิยมตื่นตัวศึกษาหาความรู้เพื่ออาชีพ อันเป็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงการศึกบาในปอเนาะไปพร้อม ๆ กันด้วย จำนวนปอเนาะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ละแห่งดำเนินการสอนตามความสามารถและความเห็นของโต๊ะครู จำนวนนักศึกษามากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่ความนิยมในตัวผู้สอน และแต่ละคนเรียนอยู่นาน ๆ เป็นที่กังวลใจแก่เจ้าหน้าที่และแม้มุสลิม ซึ่งมีหัวคิดก้าวหน้าว่าน่าจะมีหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ปอเนาะต่าง ๆ ยึดถือ เพื่อให้การเรียนการสอนมีสมรรถภาพยิ่งขึ้น ทั้งให้เป็นประโยชน์ในชีวิตข้างหน้าของผู้ศึกษา เมื่อกลับไปประกอบอาชีพตามภูมิลำเนาเดิมด้วย วฮับ เหมปทาน กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนปอเนาะ ไว้สรุปได้ว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้มีมุสลิม ๒-๓ คน มาปรารภกับขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ทำให้คิดว่าน่าจะถึงเวลาแล้วที่ควรจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง พอดีกับนายประสาท พิมานแมน กรรมการอิสลาม จังหวัดนราธิวาส และเป็นกรรมการที่ปรึกษาของโครงการฯ ได้ขอให้ทางราชการปรับปรุงส่งสริมปอเนาะให้มีมาตรฐานสูงขึ้น โดยเพิ่มวิชาการอื่นนอกเหนือจากวิชาศาสนา อีกทั้งยังขอให้รัฐบาลอุดหนุนด้านการเงินด้วย กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาอิสลาม อาทิ ดาโต๊ะยุติธรรม โต๊ะครู เป็นต้น รวมจำนวนเกือบ ๑๐๐ คน ไปประชุมหารือกันที่คุรุสัมมนาคาร จุฬราชมนตรีก็ได้รับเชิญไปร่วมด้วย นอกจากนี้มีข้าราชการ คือรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอบางคนไปเป็นที่ปรึกษาด้วย ส่วนของการประชุมนั้นดำเนินการโดยผู้ถือศาสนาอิสลามทั้งสิ้น ซึ่งเลือกพระยาสมันตรัฐบุรินทร์เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก็ร่วมรับฟังอยู่ด้วย ผลการหารือที่ประชุมมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการจัดการปรับปรุงส่งเสริมปอเนาะ และให้เงินอุดหนุนแก่ปอเนาะที่จัดได้ดีด้วย กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นชอบจึงได้กำหนดให้มีกรจัดทำหลักสูตรแบบเรียนและการวัดผลอื่น ๆ ขึ้น ให้มีการเรียนภาษาไทย และวิชาชีพเบื้องต้นด้วย ปอเนาะที่สมัครใจจะทำการปรับปรุงก็ให้จดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ โดยไม่มีการบังคับแต่อย่างใด สำหรับในเรื่องนี้ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ต้องเหน็ดเหนื่อยอย่างมาก โดยใช้เวลาไปเยี่ยมเยียนสถานศึกษาเกือบจะทุกแห่งแม้ที่ตั้งจะอยู่ในที่ห่างไกลก็ตาม 
          ๕.๓.๖ การพัฒนาการสอนภายาไทยแก่เด็กที่พูดภายามลายูในชีวิตประจำวัน วารับ เหมปทาน กล่าวไว้สรุปได้ว่า เมื่อครั้งขุนศิลปกรรม์พิเศษ แปลก เจริญสิน) เป็นศึกษาธิการจังหวัดยะลา ท่านเคยได้เข้าดูการสอนในชั้นประถมของโรงเรียนที่นักเรียนภาษามลายูในชีวิตประจำวันหลายแห่ง เห็นครูใช้วิธีเดียวกับการสอนเด็กที่พูดไทยมาแต่กำเนิด คือพอเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ ๑ ก็สอนหนังสือทันทีโดยให้อ่าน เขียน ภาษาไทย ทำเลข และเรียนวิชาอื่น ๆ ตามหลักสูตรไปพร้อมกัน แต่มีการพลิกแพลงที่สำคัญ คือแปลคำไทยเป็นมลายู เช่น เมื่ออ่านคำเด็กก็แปลว่า บูดะ คำว่ากิน ก็แปลว่า มาแก เป็นต้น ถึงเวลาทำเลขก็แปลโจทย์ภาษาไทยออกเป็นมลายู นอกจากนี้เวลาครูสั่งให้เด็กทำอะไร เช่น นั่งลง ก็ใช้ภาษาของเด็ก ตกลงเด็กได้ยินแต่ภาษา
มลายูเป็นส่วนมาก วิธีนี้ไม่ทำให้เกิดความสันทัดในภาษาไทยเอาเสียเลย จึงมีจำนวนไม่น้อยที่เรียนซ้ำชั้นประถมปีที่ ๑ อยู่นาน บางคนจนอายุครบเกณฑ์บังคับออกจากโร งเรียน ไปก็ไม่จบชั้นประถมปีที่ ๑ เด็กที่มีสติปัญญาอยู่บ้างก็ขึ้นเรียนชั้นประถมปีที่ ๒ พอขึ้นชั้นประถมปีที่ ๓ ครูก็ใช้วิธีสอนแบบเดิม เมื่อออกจากโรงเรียนในไม่ช้าก็ลืมภาษาไทยกลายเป็นคนไม่รู้หนังสือ ซึ่งดูแล้วก็เห็นว่าวิธีสอนเช่นนั้นได้ผลไม่คุ้มค่า แต่ก็ไม่ทราบว่าจะมีวิธีใดที่ดีกว่า เพราะเวลานั้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษก็ใช้วิธีแปลกันทั่วไป เหมือนกับที่ครูสอนภาษาไทยแก่เด็กที่พูดภาษามลายู 
          ๕.๓.๗ การฉายภาพยนตร์เพื่อรณรงค์การเรียนรู้ภาษาไทย มาโนช บุญญานุวัฒน์ และอดิศักดิ์ สุทธิศักดิ์โสภากุล กล่าวถึงการภาพยนตร์เพื่อรณรงค์การเรียนรู้ภาษาไทยของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) สรุปได้ว่าท่านได้นำเอาภาพยนตร์ออกไปฉายกลางแปลงเพื่อให้ประชาชนได้ดู และเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ในภายาไทยมากขึ้น โดยระหว่างการพักก็จะมีการประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวบ้านเป็นอย่างดี เป็นการโฆษณาชักชวนให้ประชาชนเข้าเรียนในระบบโรงเรียนมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนทัศนคติของชาวบ้านก่อน โดยการสั่งมุสลิมมาจากกรุงเทพฯ เพื่อมาอวดชาวบ้าน กล่าวคือขอตัวข้าราชการที่เป็นมุสลิมมาช่วยราชการที่คุรุสัมมนาการ ๔-๕ คน เวลาไปเยี่ยมโรงเรียนหรือชาวบ้านก็นำข้าราชการเหล่านั้นไปด้วย พลางแนะนำว่านี่ก็เป็นมุสลิมที่จบ อบ. จุฬา นี่ก็มุสลิม จบ กศ.บ. ประสานมิตร ชาวมุสลิมในภาคศึกษา ๒ จึงได้รู้ว่ามุสลิมจากถิ่นอื่นเขามีความเป็นอยู่กันอย่างไร และได้พัฒนาการศึกษากันอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ สายสมร ยุวนิมิ กล่าวถึงการฉายภาพยนตร์กลางแปลงของขุนศิลปกรรม์พิศษ (แปลก เจริญสิน) ไว้สรุปได้ว่า ท่านและคณะจะใช้รถ ๖ ล้อ ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิอาเชิยเป็นพาหนะในการเดินทางไปตามถิ่นทุรกันคารต่าง ๆ เพื่อฉายภาพยนตร์ให้ประชาชนชม สลับกับการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา นับเป็นผลงานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (เปลก เจริญสิน) นับได้ว่าท่านเป็นผู้ที่มีวิธีการอันแยบยลในการที่จะค่อย ๆ ซึมซับภาษาไทยเข้าไปในทุกชุมชน แม้ว่าในบางครั้งจะต้องเสี่ยงกับภัยอันตรายจากความไม่เข้าใจของประชาชนในพื้นที่ และการเข้าไปปฏิบัติงานในถิ่นทุรกันดารก็ตาม
           ๕.๓.๘ การส่งเสริมพัฒนาความรู้ของครู ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้ให้ความสำคัญกับครูผู้สอนเป็นอย่างมาก ดังที่ เอื้อม หนูดำ กล่าวไว้สรุปได้ว่าขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้ดำเนินการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนกลางบ้าง ที่ปรึกยาชาวอเมริกันบ้าง ไปช่วยปรับปรุงการศึกษา เช่น ช่วยในการอบรมครูทำประมวลการสอนอยู่ไม่ขาดระยะ ตลอดเวลา ๔ ปี และมีการคัดเลือกครู อาจารย์ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศบ้าง ไปดูงานในระยะสั้นบ้าง ซึ่งเมื่อได้รับความรู้เพิ่มขึ้นครูก็จะเป็นกำลังในการพัฒนาการศึกษาได้เป็นอย่างดี ด้าน จิตต์ โชติอุทัย กล่าวถึงเงินทุนในการพัฒนาครูของขุนศิลปกรรม์พิศษ (เปลก เจริญสิน) ไว้สรุปได้ว่านอกจากงบประมาณแผ่นดินมาดำเนินการแล้ว ขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ยังได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกัน ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และยังได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิอาเซียอีกด้วย นอกจากนี้ยังให้ทุนโต๊ะครูเกือบร้อยคนได้ประชุมสัมมนาที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการเปีดหูเปิดตา โดยใช้เงินประมาณหนึ่ง
แสนบาท และยังได้ช่วยในโครงการย่อยอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ทำงานอยู่ที่ภาคศึกษา ๒ ซึ่งเป็นช่วงท้ายของชีวิต
ราชการ 

               ผลงานด้านอื่น ๆ
            
นอกเหนือจากผลงานด้านการจัดการศึกษาแล้ว ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ยังมี ผลงานดีเด่นด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะกล่าวถึงในประเด็นที่สําคัญ ๒ ประเด็น คือการทํานุบํารุง โบราณสถานและโบราณวัตถุ และงานด้านวิชาการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 ๑. การทํานุบํารุงโบราณสถานและโบราณวัตถุ
     
ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นผู้ที่ให้ความสําคัญและใส่ใจต่อการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานและโบราณวัตถุอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการที่เมื่อไปรับตําแหน่งในแต่ละพื้นที่ ก็จะดําเนินการทํานุบํารุงโบราณสถานและโบราณวัตถุทุกครั้งเมื่อมีโอกาส ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
      ๑
.๑ การพัฒนาถ้ำศิลป์ ในปี พ.ศ. 2476 ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้รับ การแต่งตั้งจากกระทรวงธรรมการให้ไปดํารงตําแหน่งธรรมการจังหวัดยะลา และได้พัฒนาถ้ําแห่ง หนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางด้านโบราณสถานเป็นอย่างมาก ดังที่ วิจิตร ศรีสุวิทย์ชานนท์ ข้าราชการของ สถาบันราชภัฏยะลา กล่าวถึงการทํานุบํารุงโบราณสถานและโบราณวัตถุของขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ไว้สรุปได้ว่า ในขณะที่ดํารงตําแหน่งธรรมการจังหวัดยะลา และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2478 ได้ทราบข่าวว่ามีถ้ําอยู่ถ้ําหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดหน้าถ้ํา ตําบลหน้าถ้ํา อําเภอ เมืองยะลา จังหวัดยะลา โดยมีการพบภาพจิตรกรรมในขณะที่กองลูกเสือโรงเรียนประจําจังหวัด ยะลาเดินทางไกลไปพักแรมที่ตําบลหน้าถ้ํา ซึ่งขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้สั่งให้นาย ถ่อง แก้วนิตย์ ผู้กํากับกองลูกเสือเข้าไปตรวจดูถ้ําที่เคยทราบมาว่าพบโบราณวัตถุ ซึ่งผู้พบในครั้ง นั้นคือ หะยีวังกะจิ ชาวไทยมุสลิม จากการตรวจสอบของของกองลูกเสือพบว่าที่ผนังภายในถ้ํานั้น มีภาพเขียนพระพุทธรูประบายสีเก่าแก่อยู่ที่ผนังถ้ํา เมื่อไปดูแล้วก็เห็นว่าเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่ง
     ๑
.๒ การก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร และ ประเสริฐ ผุดผ่อง ข้าราชการกรมศิลปากร กล่าวถึงการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้เริ่มรวบรวมวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบจากอําเภอสทิงพระ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา มาเก็บไว้ที่ทําการจังหวัดสงขลา และได้ขออนุญาตจากกระทรวง ศึกษาธิการ จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลาขึ้นเป็นผลสําเร็จ โดยใช้ที่ทําการจังหวัดสงขลา เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นอกจากนี้ พวง แก้วเนียม ข้าราชการบํานาญ กล่าวถึงการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ไว้สรุปได้ว่า ได้รับคําสั่งจากขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ให้ไปเก็บรวบรวมวัตถุ โบราณที่ขุดค้นพบจากอําเภอสทิงพระ และอําเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งชาวบ้านเป็นผู้เก็บรักษา ไว้ มาจัดทําประวัติและเก็บไว้ที่ทําการจังหวัดสงขลา
     ๑.๓ การพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส สงขลา พระราชศีลสังวร (ผ่อง) เจ้าคณะจังหวัดสงขลา-สตูล ฝ่ายธรรมยุตและพระราชมงคลนายก (เกษม) เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส ฝ่ายธรรมยุต กล่าวถึงผลงานในการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส สงขลาของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ไว้สรุปได้ว่าขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้นำวัตถุโบราณจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มาเก็บไว้รวมกันที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส สงขลา ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดมัชฌิมาวาสวรมหาวิหาร ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เนื่องจากเกิดสงครามมหาเอเชิยบูรพา โดยมีพระมหาช่วง อตฺถเวที เป็นผู้รักษาและดูแลรักษาโบราณวัตถุดังกล่าวนอกจากนี้ สุธน เจริญพงศ์ กล่าวถึงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส สงขลา ของขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ไวัสรุปได้ว่า ท่นได้ให้ความสนใจในเรื่องของการเก็บรักษาโบราณวัตถุของจังหวัดสงขลา เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไปและท่านจะมาร่วมวางแผนงานกับพระมหาช่วง อตฺถเวที่ อยู่สมอตลอดเวลา เพื่อจะได้ช่วยพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
       ๑.๔ การปลูกต้นพระศรีมหาโพธิที่วัดพระมหาธาตุ เป็นผลงานที่สำคัญอีกประการหนึ่งของขุนศิลปกรรม์พิศษ (แปลก เจริญสิน) ขณะดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราชปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ดังที่ พระราชธรรมสุธิ (สมปอง) กล่าวไว้สรุปได้ว่า ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการจัดงานการปลูกต้นพระศีรมหาโพธิที่วัดพระหาธาตุ อำเภอเมืองนครตรีธรรมราช จังหวัดนครตรีธรรมราช ซึ่งหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เชิญมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยมีสมเด็จพระสังฆนายกมาเป็นประธาน และมีราษฎรมาร่วมงานทำบุญนับหมื่นคน แต่เหตุการณ์เรียบร้อยดีไม่มีอาชญากรรมใด ๆ เกิดขึ้น
๒. งานด้านวิชาการขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ได้ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีหลากหลายวัฒนธรรม ก่อให้เกิดแนวการศึกษาภาษาในแนวเปรียบเทียบได้รวบรวมคำพ้องในภาษไทยและภายามลายูเรียบเรียงเป็นพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานได้จัดพิมพ์ขึ้น นับเป็นผลงานทางภาษาศาสตร์ที่มีค่ายิ่ง เป็นการเปิดทรรศนะการศึกษาภาษาศาสตร์แนวเปรียบเทียบแนวหนึ่งที่จะเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ได้มาศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ทางภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ขุนศิลปกรรมัพิเศษ (แปลก เจริญสิน) ยังมีผลงานเขียนทางวิชาการ และงานด้นอื่น ๆ อีกมากมายดังรายละเอียดต่อไปนี้
        ๒.๑ การเรียบเรียงพจนานุกรมคำฟ้องไทย-มลายู ซึ่งมะเนาะ ยูเด็น กล่าวถึงผลงานด้นการเรียบเรียงพจนานุกรมคำพ้องไทย-มลายู ของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) ไว้พอจะสรุปได้ว่า พจนานุกรมคำพ้องไทย-มลายู ของขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน) เป็นการรวบรวมคำพ้องในภาษาไทยและภายามลายูขึ้นเป็นพจนานุกรม ถือว่าผลงานที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก เพราะเป็นงานที่มีคุณค่ายิ่ง ซึ่งได้รวบรวมลักษณะภาษามลายูโดยกล่าวว่า ภาษาไทยและกาษามลายู (ปัจจุบันเรียกว่ามาเลเซีย) มีคำที่พ้องและคล้ายกลึงกันไม่น้อย ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้
              ๒.๑.๑ ฝ่ายหนึ่งยืมคำของอีกฝ่ายมาใช้ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทั้งฉบับ พ. ศ. ๒๔๙๓ และฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้บอกประวัติคำว่ามาจากภาษาชวาและมลายู หรือเทียบคำในภาษานั้น ๆ ไว้จำนวนไม่น้อย ส่วนพจนานุกรมภาษามลายูก็มีที่ระบุไว้หลายคำว่าคำนั้น ๆ ได้ไปจากภาษาไทย
              ๒.๑.๒  เป็นคำที่ต่างฝ่ายต่างยืมมาจากภาษาอื่น ๆ เช่น สันสกฤต ฮินดี เบงคอลิ ทมิฬ เปอร์เซียโปรตุเกส
              ๒.๑.๓  เป็นคำที่อาจพ้องกันมาแต่เดิม โดยเหตุใดเหตุหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ของไทยเป็นคำพยางค์เดียว ส่วนของมลายูเป็นคำ ๒ พยางค์ เช่น ตา กับ มาตา, ดั้ง (แต่เดิมหมายถึงจมูก) กับ หิดง เป็นต้น มีข้อที่พึงสังเกดว่าคำในตระกูลสาขาชวา-มลายู ที่ไทยรับมาใช้นั้นในพจนานุกรมไทยระบุว่าเป็นคำชวา แต่หลายคำในจำนวนนั้นก็เป็นภายามลายูด้วย เช่น บุหงา บุหลัน เว้นบางคำ เป็นของชาวชวาโดยเฉพาะซึ่งมลายูยืมมาแล้วไทยรับช่วงต่อคำสันสกฤตซึ่งนำมาใช้ในภาษาไทยและมลายูนั้น บางคำใช้ในความหมายตรงกันแด่บางคำความหมายแยกออกไป เพราะคำเดิมมีความหมายหลายนัย ไทยรับมาในความหมายอย่างหนึ่ง ส่วนมลายูใช้ในความหมายอีกอย่างหนึ่ง คำที่พจนานุกรมมลายูระบุว่ามาจากภาษาสันสกฤตนั้น ไม่ได้เขียนรูปศัพท์เดิมกำกับไว้ในกรณีที่ตัดคำและเขียนแตกต่างกัน ต้องอาศัยเทียบเคียงกับคำไทย และหลายกรณีต้องพึ่งพจนาบุกรมสันสกฤต อนึ่งมีคำสันสกฤตหลายคำที่มลายูยืมมา 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ขุนศิลปกรรม์พิเศษ (แปลก เจริญสิน)
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


บรรณานุกรม

จักรกฤษณ์ จุฑาทิพรัตน์. (2546). ศึกษาชีวประวัติและผลงานของขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก เจริญสิน). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย                  ทักษิณ.
เฉลิม มากนวล, บรรณาธิการ. (2530). แล--รูสมิแล. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024