ภาพจาก : เพจจรูญ หยูทอง ; https://www.facebook.com/run.ranod/photos
จรูญ หยูทอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ที่บ้านหัวป่า หมู่ที่ ๕ ตําบล ตะเครียะ (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ ๕ ตําบลบ้านขาว) อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายเป็ม นางหวีด หยูทอง สมรสกับอนงค์ (อิสระโชติ) มีบุตรชาย ๑ คน จรูญ หยูทอง เริ่มเขียนบทกวีขณะเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและเริ่มมีผลงานด้านบทก วีพิมพ์เผยแพร่ขณะเรียนระดับอุดมศึกษา โดยบทกวีชิ้นแรกที่ตีพิมพ์เผยแพร่ชื่อ "โจรจัดตั้ง" ต่อมาได้ร่วมกันกับเพื่อน ๆ นักเขียนก่อตั้งกลุ่มประภาคาร ทะเลสาบสงขลา เขียนบทกวีตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์วิเคราะห์ข่าวการเมืองในยุคนั้น เช่น ตะวันใหม่ มาตุภูมิ สยามใหม่ หนุ่มสาว
นามปากกา “รูญ ระโนด” ที่ใช้สําหรับเขียนงานวรรณกรรม บทกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น ที่มีเนื้อหาสะท้อนภาพชีวิตและสังคมภาคใต้ ที่ได้พบเห็นโดยประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อม โดยเฉพาะประสบการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นกับตัวเขา ท้องถิ่น และประชาชนในภาคใต้ ผลงานกวีนิพนธ์รวมเล่มเล่มแรกชื่อ “คืนวันที่คาดหวัง” เป็นบทกวีที่เขียนได้สะเทือนใจเพราะเป็นเรื่องราวจากเหตุการณ์ในชีวิตจริงของเขา บทที่ชื่อว่า “รําพึงถึงพ่อ” หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลชมเชยจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือในคณะกรรมการว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESO) ปี ๒๕๓๐ ส่วนงานวรรณกรรมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลชมเชย เรื่องสั้นวรรณกรรมทอง ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ชื่อ “บาดแผล” จรูญ หยูทอง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดสงขลา สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๘
การศึกษา
- ชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป. ๔) ที่โรงเรียน วัดหัวป่า ตําบลตะเครียะ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
- ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป. ๗) โรงเรียนวัดเกษตรชลธี (เลื่อนประภาคาร) ตาบลตะเครียะ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนราษฎร์บํารุง ตําบลระโนด อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนคณาศัยวิทยา ตําบลปากแพรก อําเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และเรียนต่อแผนกวิทย์- คณิต โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ตําบลโพธิ์เสด็จ อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช |
- ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต วิชาเอกสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทักษิณ) นิติศาสตร์บัณฑิตและนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช |
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
การทํางาน
- พ.ศ. ๒๕๒๕ อาจารย์ โรงเรียนบ้านอายเลา ตําบลควนเกย อําเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช |
- พ.ศ. ๒๕๒๖ เจ้าหน้าที่งานนิเทศการศึกษา สํานักงานการ ประถมศึกษา อําเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัด นครศรีธรรมราช |
- พ.ศ. ๒๕๒๘ อาจารย์โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร อําเภอ ชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช |
- พ.ศ. ๒๕๓๐ อาจารย์โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
- พ.ศ. ๒๕๓๙ นักประชาสัมพันธ์ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ |
บทบาททางสังคม
ในอดีต จรูญ หยูทอง ได้เข้ามามีบทบาททางสังคมประกอบด้วย
- ก่อตั้งกลุ่มนาคร (กลุ่มนักเขียนภาคใต้) |
- พ.ศ. ๒๕๒๔ นายกองค์การนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (มหาวิทยาลัยทักษิณ) |
- ประธานโครงการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) จังหวัดนครศรีธรรมราช |
- เลขาธิการสหพันธ์ครูภาคใต้ อําเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัด นครศรีธรรมราช |
- รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าราชการ จังหวัดสงขลา |
- กรรมการองค์กรกลางการเลือกตั้ง จังหวัดสงขลา |
- คณะกรรมการเผยแพร่การปฏิรูปการเมือง (ครก.) มหาวิทยาลัยทักษิณ |
- ที่ปรึกษาชมรมองค์การบริหารส่วนตําบล จังหวัดสงขลา |
- ที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์องค์การบริหารส่วน ตําบลเกาะยอ |
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ องค์การบริหารส่วนตําบลควนลัง หมู่ที่ ๑ |
- กรรมการวิสัยทัศน์จังหวัดสงขลา ด้านการเมืองการปกครอง |
- กรรมการคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สาขาวรรณศิลป์ |
- ร่วมคัดค้านการสืบทอดอํานาจของทายาท คณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พ.ศ ๒๕๓๕ |
- ร่วมรณรงค์การปฏิรูปการเมืองโดยการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ การทําประชาพิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับ |
- ผู้นําครูกรณีการฆาตกรรม ครูเที่ยง เหมทานนท์ โรงเรียนวัดร่อนนา อําเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช |
- กรรมการศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย จังหวัดสงขลา |
- อดีตกรรมการโครงการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)ภาคใต้ตอนล่าง |
- ประธานสมัชชา จังหวัดสงขลา เพื่อการปฏิรูปการเมือง |
เกียรติคุณที่ได้รับ
- พ.ศ. ๒๕๓๓ รางวัลชมเซยกวีนิพนธ์ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี ๒๕๓๑ จาก รวมบทกวี “คืนวันที่วาดหวัง” |
- พ.ศ. ๒๕๒๓๖ รางวัลชมเชย เรื่องสั้น วรรณกรรมของ ๓๖ จาก นิตยสารดอกเบี้ย การเมือง สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และบริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิลอินจิเนียริง จํากัด จาก เรื่องสั้น เรื่อง “บาดแผล” |
- พ.ศ. ๒๕๔๘ รางวัลศิลปินดีเด่น จังหวัดสงขลา สาขาวรรณศิลป์ |
ภาพจาก : เพจจรูญ หยูทอง ; https://www.facebook.com/run.ranod/photos
ภาพจาก : เพจจรูญ หยูทอง ; https://www.facebook.com/run.ranod/photos
จรูญ หยูทอง เริ่มสนใจด้านวรรณกรรมในขณะศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเริ่มมีผล งานด้านบทกวีตีพิมพ์เผยแพร่ ในขณะศึกษาระดับอุดมศึกษา บทกวีชิ้นแรกที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ชื่อ “โจรจัดตั้ง” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติการณ์ของกองกําลังทหารพรานที่ข่มเหงรังแกชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้ ยุคที่มีการเคลื่อนไหวของกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยหรือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ต่อมาชมรมรามทักษิณนําไปดัดแปลงเป็นบทเพลงเพื่อชีวิตของชาวรามทักษิณ เนื้อหาของบทกวีดังกล่าวมีว่า
ระดมพลอันธพาลจากบ้านป่า | ฝึกการฆ่าติดอาวุธรีบรุดส่ง |
ออกเหยียบย่ำมวลประชาในป่าดง | ทั้งคดโกงฉุดคร่าอนาจาร |
ศพที่เกลื่อนเลื่อนทุ่งคงคาวเลือด | หูถูกเชือดแลกเงินตราค่าสังหาร |
เป็นรางวัลแก้ผู้ส่งนาม “หมาพราน” | ที่ล้างผลาญเช่นฆ่าประชาชน |
“ศรีบรรพต” “ป่าพยอม” ถูกล้อมกรอบ | ทมิฬครอบทารุณโหดความโฉดฉล |
คนดีดีถูกล้างผลาญจากพาลชน | ผู้รอดตนจึงทิ้งเหย้าขึ้นเขาไป |
เมื่อโจรป่ามีอาวุธเพื่อฉุดคร่าว | ขู่ข่มเหงชาวนาผู้หมองไหม้ |
โดยเถื่อนถ่อยคําสั่งทุกครั้งไป | พวกจัญไรจึงหาญกล้าล้อมฆ่าคน |
หยุดเสียที่แผนทดลองที่นองเลือด | แผนฆ่าเชือดแล้วทิ้งขว้างข้างถนน |
ล้วนผลักดันมวลมหาประชาชน | จากตำบลออกสู่ป่าหาแนวทาง |
ใครจะจับโจรป่ามาลงโทษ | ใครจะโปรดแก้ปัญหาช่วยสะสาง |
ใครจะซับเลือดเปื้อนตามเถื่อนทาง | ใครจะล้างหนี้เลือดเนื้อพวก “เสือพราน” |
จรูญ หยูทอง ได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มประภาคาร ทะเลสาบสงขลา กลุ่มวรรณกรรมในสถาบันอุดมศึกษา ร่วมกับประมวล มณีโรจน์ มาบ หัวทึง (นิศรัย หนูหล่อ) ปอพอ ศรีออน (คล้ายเทพ นนทพุทธ) และทัศนวิไล (ทัศนัย นวลวิลัย) เขียนบทกวีที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์วิเคราะห์ข่าวการเมืองใน สมัยนั้น เช่น ตะวันใหม่ มาตุภูมิ สยามใหม่ หนุ่มสาว เป็นต้น จรูญ หยูทอง ใช้นามปากกาว่า "รูญ ระโนด เขียนบทกวีที่มีเนื้อหาสะท้อนภาพชีวิตและสังคมภาคใต้ ที่เขาได้ประสบพบเห็นและรับรู้มา ทั้งโดยประสบการณ์ตรงและประสบการณ์โดยอ้อม โดยเฉพาะปรากฏการณ์ ทางสังคมที่เกิดขึ้นกับท้องถิ่นบ้านเกิดของเขาเองและสังคม ที่เขาได้มีโอกาสสัมผัสสัมพันธ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จรูญ หยูทอง มีผลงานกวีนิพนธ์รวมเล่ม (เล่มแรก) ชื่อคือวันที่วาดหวัง จัดพิมพ์โดยสํานักพิมพ์ประภาคาร โดยการรวมบทกวีที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามนิตยสารแล้วจํานวนหนึ่ง บทกวีที่เขาเขียนได้อย่างสะเทือนใจเพราะเป็นเรื่องราวจากเหตุการณ์ในชีวิตจริงของเขา คือบทที่ชื่อว่า “รําพึงถึงพ่อ” ความว่า
"เสมือนหนึ่งว่าเหตุการณ์เพิ่งผ่านพ้น | วันถูกปล้น เผาบ้าน-สังหารพ่อ |
วันที่บ้านถูกเผาเป็นเถ้าตอ | คราวที่น้ำตาคลอ แม่โอดครวญ |
ก่อนตะวันจะลับใบไม่ในวันนั้น | เสียงปืนลั่นแผดก้องริมร่องสวน |
ร่างชราสั่นเทาดั้น เข้าดวล | ถูกสาดสวนด้วยกระสุนแผลพรุนกาย |
ผวาร่างทางแผ่ลงพังพาบ | กระสุนบาประเบิดซ้ำคะมำหงาย |
วิญญาณพ่อยับเยินเกินบรรยาย | พ่อมาตายอย่างอนาถอุจาดตา |
ด้วยจนยากจึงบากหน้ามาถึงนี้ | เพราะยังมีความใฝ่ฝันถึงวันหน้า |
พลิกผืนดินถิ่นกันดารอยู่บ้านนา | ตามประสาเศษซากผู้ยากจน |
รินราดหยาดเหงื่อเพื่อเสกสร้าง | สู้ไถถางตรากตรํากรำแดดฝน |
เพื่อปากท้องหิวกระหายของหลายคน | ได้รอดพ้นความปวดร้าวมีข้าวกิน |
แต่คนบาปจากระบบสังคมบ้า | กลับล้อมมาอย่างชั่วโฉดและโหดหิน |
เพียงหวังเป็นเจ้าของครองที่ดิน | ที่ซึ่งพออยู่กินกับแรงกาย |
เคยติดต่อขอซื้อด้วยมือเปล่า | บังคับเช้าขู่เย็น เค้นให้ขาย |
พ่อยืนยันว่าแดนเถื่อนเป็นเรือนตาย | เพราะไม่มีที่ให้ย้ายอีกต่อไป |
วันนี้...... | วิญญาณพ่อคงมีแต่หมองไหม้ |
ทั้งที่รู้ผู้กระทําความจัญไร | แต่ก็ไม่อาจพามาลงทัณฑ์ |
มือกฎหมายหายหดหมดความหมาย | เงินตราคือเจ้านายมีอาถรรพณ์ |
คดีพ่อพ่ายพับกับเงินพัน | และที่ดินแปลงนั้นเปลี่ยนคนครอง |
พ่อจํา ……… | ลูกก้มหน้าจําทนอย่างหม่นหมอง |
ยังจําวันแดดเดือดและเลือดนอง | ยินเสียงร้องอันปวดร้าวอีกยาวนาน” |
ผลงานประเภทหนังสือ
ผลงานประเภทหนังสือชื่อ “คือวันที่วาดหวัง” ของจรูญ หยูทอง ได้รับรางวัลชมเชยกวีนิพนธ์จากคณะกรรมการว่าการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในงานสัปดาห์หนังสือแห่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จรูญ หยูทองรูญ ระโนด เริ่มเขียนเรื่องสั้นในขณะที่ศึกษาปีสุดท้ายในสถาบันอุดมศึกษา มีประมวล มณีโรจน์ นักเขียนรุ่นพี่ผู้มีผลงานเป็นที่ยอมรับในแวดวงวรรณกรรม คอยให้คําแนะนำ เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ “ความตายที่หมู่บ้าน” เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเขาที่อพยพหนีความอดอยากไปจากทุ่งระโนด หลังเหตุการณ์นำท่วมใหญ่ที่เรียกว่า “ปีโรงน้ำแดง” และวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เผยแพร่ผลงานในหนังสือเริงสารของนเรศ นโรปกรณ์ ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ หลังจากนั้นจึงมีผลงานเรื่องสั้นตีพิมพ์อย่างสม่ำเสมอในหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เช่น สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ผู้หญิง ดอกเบี้ยการ แนวหน้าสัปดาห์วิจารณ์ ชีวิตต้องสู้ เป็นต้น ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ มีผลงานรวมบทกวีเล่มที่ ๒ ชื่อ “ทะเลดาว” ตีพิมพ์เผยแพร่ สํานักพิมพ์ประภาคาร รวบรวมบทกวีที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพรในหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ มาก่อนหน้านั้น บทกวีที่สร้างความสะเทือนใจแก่ผู้อ่านชิ้นหนึ่งชื่อว่า “มาตุภูมิของข้าฯ” ที่เขียนถึงความรู้สึกของคนที่จากบ้านเกิดเมืองนอนไปนาน จนเมื่อกลับมาเยี่ยมเยือนบ้านเก็ ครั้งหนึ่งก็กลายเป็นคนแปลกหน้าไปแล้ว ดังนี้
“จากระโนดไปเนิ่นนานไกลบ้านเกิด | หนีเตลิดทิ้งถิ่นแผ่นดินเก่า |
ด้วยฟ้าดินสิ้นปรานีพี่น้องเรา | จึงโถมทับทบเท่าความทุกข์ทน |
บ้านเคยอยู่อู่เคยนอนแต่ก่อนนี้ | กลับแปลกหน้าไปทันทีทุกแห่งหน |
มือก็สั้นตีนก็สากเพราะยากจน | ฟ้าฝนก็ข่มขวัญทัณฑกรรม |
น้ำเหนือปีนั้นเหมือนฝันร้าย | ยินภูตผีพรายระงมร่ำ |
คลื่นครวงอู้พายุบ้าฟ้ามืดดำ | ทุ่งนาเป็นทุ่งน้ำในพริบตา |
เหมือนมีมือมัจจุราชมากวาดต้อน | ดั่งนกจากคอน-อนาถา |
เคว้งคว้างกลางคลื่นจัดที่พัดพา | ไปตายดาบหน้าอย่างจํานน |
จากอ้อมอกแผ่นดินแม่แต่คราวนั้น | ผ่านคืนผ่านวันอันสับสน |
บาดแผลเต็มร่างก็ยังทน | หลายสิบปีที่ถูกปล้นชีวิตไป |
บัดนี้-ไม่มีพ่อต่อไปแล้ว | ยิ่งกว่าแก้วแตกร้าวสิ้นพราวใส |
คืนมาตุภูมิด้วยแผลพิษทั่วจิตใจ | จะมีใครได้สืบสาวเล่าตํานาน |
ว่า–เทือกเถาเหล่ากอแห่งบ้านเกิด | ได้กระเจิงกระเจิดไปทุกย่าน |
ไม่มีใครเคยบวงสรวงดวงวิญญาณ | เผ่าพันธุ์บรรพกาลผู้พ้นกรรม |
กลับระโนดวันนี้-ไม่มีญาติ | พบภาพประหลาดอยู่คลาคล่ำ |
เก็บความหลังทั้งหมดที่จดจํา | รจนาลำนำด้วยน้ำตา……” |
ผลงานประเภทวรรณกรรม
- พ.ศ. ๒๕๓๐ รวมบทกวี “คืนวันที่วาดหวัง” |
- พ.ศ. ๒๕๓๓ รวมบทกวี “ทะเลดาว” |
- พ.ศ. ๒๕๔๓ รวมบทกวีการเมือง “ทุบหน้าโพ” |
- พ.ศ. ๒๕๕๖ รวมบทกวีและเรื่องสั้น “วันที่ผ่านเลย” |
- พ.ศ. ๒๕๔๘ รวมบทความ “มหาวิทยาลัยพันธุ์ใหม่” |
บทกวีและเรื่องสั้นทั้งหมดของจรูญ หยูทอง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์เกิดขึ้นกับตัวเขาและชาวภาคใต้ จากการใช้ชีวิตรวมอยู่ในสังคมชนบทด้วยบทบาทของอดีตนักกิจกรรมในสถาบันอุดมศึกษา คืออดีตนายกองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในยุค ๒๐ สถาบัน นักต่อสู้บนวิถีทางประชาธิปไตยในนามเลขาธิการสหพันธ์ครูภาคใต้ ประธานโครงการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ และอื่น ๆ อีกมากมาย จรูญ หยูทอง เขียนเรื่องสั้นอย่างจริงจังในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นมา เรื่องสั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของเขาและเป็นการปรับใช้ข้อมูลทางคติชนวิทยา เช่น เรื่องผู้ถูกลงทัณฑ์ ตีป่า คนเถื่อนและแมวจรจัด คืนแรม อุบัติการณ์ ผู้มาเยือน รถทัวร์เที่ยวสุดท้าย อรุณสวัสดิ์จริยธรรม ไปไม่ถึงนิพพาน เป็นต้น เรื่องสั้นชื่อ “บาดแผล ” ของเขาได้รับรางวัลชมเชยเรื่องสั้นวรรณกรรมทอง ปี พ.ศ. ๒๕๓๖
จุไรรัตน์ จันทรวงศ์. (2550). ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา. สงขลา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา.