หลวงสําเร็จกิจกรจางวางเมืองปัตตานี มีนามเดิมว่าบุ้ย แซ่ตัน เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนภูมิลําเนาอยู่ที่ตําบลเจียะ ได้ย้ายครอบครัวโดยเรือสําเภาจากเมืองจีนมาอยู่ที่ สงขลา ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เมื่อครั้งกองทัพเมืองไทรบุรีได้ยกมาตีเมืองสงขลา บุ้ย แซ่ตันได้ตอบแทนบุญคุณแผ่นดินที่มาอาศัยด้วยการชวนสมัครพรรคพวกออกอาสาร่วมกับเจ้าเมืองสงขลารบกับพวกไทรบุรีจนกองทัพไทรบุรีถอยหนีกลับไป ด้วยความดีความชอบครั้งนี้เองเจ้าเมืองสงขลาจึงทูลถวายรายงานต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านเป็นหลวงสําเร็จกิจกร จางวางปัตตานี ท่านเป็นต้นตระกูลตันธนวัฒน์และคณานุรักษ์
หลวงสําเร็จกิจกรจางวาง มีภรรยา ๔ คน ภรรยาคนแรกเป็นคนจีน ไม่มีบุตรธิดา เมื่อหลวงสําเร็จฯ ถึงแก่กรรมแล้วได้เดินทางกลับเมืองจีน ภรรยาคนที่ ๒ ชื่อเจียงซุน แซ่โก้ย เป็นชาวเมืองสงขลา มีบุตรธิดา คือ
๑. เม่งจู (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแม่นายบ้านล่าง สมรสกับนายจุยแซ โกวิทยา ซึ่งมีตําแหน่งเป็นนายบ้านล่าง) |
๒. จูเม้ง ตันธนวัฒน์ (หลวงสุนทรสิทธิโลหะ) |
๓. จูล่าย ตันธนวัฒน์ (พระจีนคณานุรักษ์) |
๔. จูเลี่ยง |
๕. เพ็กเลี่ยน สมรสแล้วไปอยู่ที่สิงคโปร์ |
ภรรยาคนที่ ๓ ชื่อวุ่น แซ่ลิ่ม มีบุตรธิดา คือ
๑. จูเส้ง ตันธนวัฒน์ |
๒. จูฮวด ตันธนวัฒน์ |
๓. จูกี แซ่เล่า |
๔. จูซุน กาญจนบุษย์ |
ภรรยาคนที่ ๔ ชื่อเกี้ยด แซ่กอ มีบุตร ๑ คน คือ
๑. นายจูอิน ตันธนวัฒน์ (หลวงวิชิตศุลกากร) |
เมื่อครั้งหลวงสําเร็จกิจกรอยู่เมืองสงขลาประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าปรากฏว่าขณะนั้นมีข้าศึกมาประชิดเมืองสงขลา ท่านจึงอาสาออกรบครั้งแรกหลวงสําเร็จกิจกรและกองทหารพ่ายแพ้ข้าศึก เพราะทหารหิวข้าว ท่านจึงขอแก้ตัวใหม่ คราวนี้จึงวางแผนให้ทหารต้มข้าวใส่กระบอกไม้ไผ่แขวนไว้ที่คอ พร้อมกับออกคําสั่งว่าแม้รบรุกไม่ชนะศัตรูจะไม่ให้กินข้าวในที่สุดก็ประสบชัยชนะข้าศึกพ่ายแพ้ถอยไป ด้วยความดีความชอบเจ้าเมืองสงขลาจึงกราบทูลเสนอไปยังกรุงเทพฯ พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นหลวงกิจกรจางวางเมืองปัตตานีตั้งแต่บัดนั้น เมื่อหลวงสําเร็จกิจกรจางวางนําครอบครัวไปอยู่เมืองบัตตานี ขณะนั้นบุตรและธิดาต่างมีอายุเยาว์วัย เช่น เม่งจู ธิดาคนหัวปีมีอายุเพียง ๕ ขวบ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับบุญวาสนาของท่านและธิดาผู้นี้คือวันหนึ่งท่านและเด็กหญิงเม่งจูไปเยี่ยมพระยาวิชิตภักดีศรีสุรวงษาฯ พระยาตานีขณะนั้นในวังมีการเล่นการพนันแทงโปปั้น พระยาตานีเมื่อเห็นหลวงสําเร็จกิจกรก็พูดเป็นภาษามลายว่า “ดาโต๊ะฆี บาเงะเดาะ ตู่ลงบู่วะ ยาดีตูแวก่าเต๊ะ” แปลว่าคุณหลวง มาดีแล้วให้ช่วยเป็นเจ้ามือด้วย หลวงสําเร็จกิจกรก็ยินดีเมื่อเขย่าลูกเต๋าและเอาถ้วยครอบ แล้วปรากฏว่าเด็กหญิงเม่งจู ธิดาของท่านโถมตัวลงนอนทับไว้และร้องไห้ด้วย พร้อมกับไม่ยอมให้เปิดฝาถ้วยพระยาตานีเห็นเด็กร้องไห้ก็พูดว่ายกเลิกกันไม่ต้องแทง ต่พอให้เปิดฝาถ้วยดูลูกเต๋าเท่านั้น เด็กหญิงก็หยุดร้องและทุกคนตกตลึง เพราะถ้าหลวงสําเร็จกิจกรเล่นพนันครั้งนี้แล้วจะต้องพ่ายแพ้ แม้จะขายของจนหมดตัวก็ไม่พอใช้เขา พระยาตานีก็ให้เล่นต่อไปอีก หลวงสําเร็จกิจกรที่เขย่าลูกเต๋าใหม่ พอทําเสร็จแล้วธิดาของท่านก็โถมทับไว้และร้องไห้ไม่ยอมให้เปิดยดังครั้งแรก พระยาตานีก็ว่าเอ๊ะเด็กคนนี้เป็นยังไงเอ้ายกเลิกอีก เมื่อเจ้าของวังพูดจบแล้ว เด็กหญิงจึงหยุดร้องและเมื่อเปิดฝาถ้วยดูก็มีผลดังครั้งแรกต่อมาครั้งที่สามมีเหตุการณ์เช่นนี้ อีกในที่สุดพระยาตานีจึงพูดว่า “ดาโต๊ะนียาดีออแฆตูเวาะ ซูโงะ บากอดาโต๊ะ คอบาแฮะ ฆือละ” แปลว่าคุณหลวง เป็นผู้มีบุญวาสนาจริง ๆ ต่อไปภายหน้าจะมีฐานะดีเป็นมั่นคง คํากล่าวของพระยาตานี้นับว่าเป็นความจริง เพราะตระกูลหลวงสําเร็จกิจกรจางวางมีความเจริญก้าวหน้าตามลําดับ แม้แต่บ้านนางเม่งจูที่ตลาดจีนเมืองปัตตานี ก็ปรากฏว่ามีนกนางแอ่นมาทํารังอยู่ที่หลังคาบ้าน จึงนับว่ามีโชควาสนาอย่างยิ่งศพของนางเจียงซุน แซ่โก้ย ภรรยาของหลวงสําเร็จ กิจกร อยู่หน้าโรงพยาบาลเก่าจังหวัดปัตตานี ชื่อหน้าศพ หลวงสําเร็จกิจกรจางวาง ได้ขอสัมปทานเหมืองแร่ดีบุกในเมืองยะลาหลายแปลง หลายตําบล เช่น เหมืองถ้ําทะลุ เหมืองบู๊ลัน เหมืองมายอบน เหมืองส่วนหน่าลิ้ว (นาเระ) เหมืองปืนเยาะ เหมืองมุโม เหมืองดีโปะ เหมืองใหม่ เหมืองแบหอ เหมือง หาดทราย และเหมืองปลีกย่อยอีกหลายแปลง เหมืองเหล่านี้ได้ทํามาจนถึงสมัยของพระจีนคณานุรักษ์ ซึ่งสมัยของพระจีนคณานุรักษ์ได้เลือกสัมปทานไว้เพียง ๔ แปลง คือเหมืองถ้ําทะลุ เหมืองบูลัน เหมืองมายอบน เหมืองส่วนหนาว (นาเระ) นอกนั้น ได้สละสิทธิ์หมดกิจการเหมืองแร่ของหลวงสําเร็จกิจกรจางวางเจริญก้าวหน้า จนมีฐานะมั่นคงเป็นปีกแผ่น จึงได้เอื้อเฟื้อเพื่อนบ้านทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม โดยเฉพาะด้านที่เป็นสาธารณประโยชน์ จนเป็นที่รักใคร่ของประชาชนทั่วไปรวมทั้งเจ้าเมืองปัตตานีในสมัยนั้นก็รักใคร่ไว้วางใจ
หลวงสําเร็จกิจกรจางวางตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ใกล้แม่น้ําปัตตานี บริเวณที่เรียกว่าหัวตลาดหรือตลาดจัน (ปัจจุบันคือบริเวณบ้านเรือนริมแม่น้ําปัตตานีที่ถนนปัตตานี ภิรมย์และถนนอาเนาะรู)หลวงสําเร็จกิจกรจางวางได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ ๗๓ ปี ศพบรรจุที่ฮวงซุ้ยหมู่บ้านปะกาฮะรัง ต่อมาภรรยาชื่อนางเจียงซุน แซ่โก้ย ถึงแก่กรรม ก็ได้ทําฮวงซุ้ยที่ตําบลสะบารัง ใกล้โรงพยาบาลปัตตานีตรงบริเวณที่ติดกับสโมสรจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นที่ดินที่พระจีนคณานุรักษ์บุตรชายได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2529). ปักษ์ใต้ชายแดน. ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.