พิชัย แก้วขาว
 
Back    13/02/2020, 15:12    2,471  

หมวดหมู่

ปราชญ์ชาวบ้าน


ประวัติ

ภาพจาก : https://www.facebook.com/ancientthaiweapons/videos/1046662572049411/?t=190&v=1046662572049411       

      พิชัย แก้วขาว อดีตอาจารย์ประจํา แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะกรรมและเป็นผู้ทรงความรู้ในด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2500 ปัจจุบันมีอายุ 63 ปี บิดาชื่อนายฉัง แก้วขาว เป็นข้าราชการครู มารดาชื่อนางแฉล้ม แก้วขาว สถานภาพสมรส มีภรรยาชื่อนางเพ็ญพร แก้วขาว มีบุตรหญิง 2 คน การศึกษาปี พ.ศ. 2506 เรียนชั้นประถทศึกษาปีที่ 1-4  ที่โรงเรียนวัดบันลือคชาวาร ปี พ.ศ. 2510 เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-7 ที่โรงเรียนโคกโพธิ์ ปี พ.ศ. 2513 เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนโพธิ์คีรีราช ปี พ.ศ. 2516  เรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ช่างยนต์ ที่โรงเรียนเทคนิคสงขลา ปี พ.ศ. 2519 เรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ช่างยนต์ ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้  ปีพ.ศ. 2535 ได้เรียนระดับปริญญาตรี จนได้ครุศาสตร์บัณฑิตสาขาศิลปศึกษา จากสถาบันราชภัฏยะลา อาจารย์พิชัย แก้วขาว มีความเชี่ยวชาญกริชมาก ทั้งที่ท่านไม่ได้จบมาทางสายวิชานี้ แต่อาศัยความสนใจและหลงใหลในอาวุธโบราณชนิดนี้มาตั้งแต่วัยเด็ก กอร์ปกับที่บ้านมีกริช 1 เล่ม ซึ่งเป็นมรดกของบรรพบุรุษซึ่งตกทอดมาถึงรุ่นท่าน จึงมีความสนใจใคร่รู้จําได้ว่าเมื่อวัยเด็กจะนํามาเล่นรูปคลําอยู่เป็น ประจําจนโตขึ้นยังฝังใจเรื่องกริชมาโดยตลอดเพราะรูปร่างที่คดไปคดมาแปลกกว่ามีดกว่าดาบทั่ว ๆ ไป

      เมื่อปี พ.ศ. 2523 เริ่มรับราชการทํางานเป็นอาจารย์ประจําช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี จึงได้ริเริ่มสะสมหาซื้อกริชโบราณ ที่มีอยู่ตามหมู่บ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้มีโอกาสพบปะกับเพื่อนซึ่งเป็นชาวมาเลเซีย ซึ่งมีความสนใจและสะสมกริชโดยช่วงแรก ๆ การสะสมกริชก็เหมือนกับการสะสมพระเครื่อง เมื่อมีผู้สนใจมากและให้ความสําคัญราคากริชก็เริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความนิยมบางเล่มราคาห้าหมื่นบาท บางเล่มราคาเป็นแสนสะสมกันแบบรู้รุ่น รู้ตระกูลทําให้เกิดความสนใจและเรียนรู้ไปพร้อมกันโดยการศึกษาจากเอกสารและสอบถามกับชาวบ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ และแลกเปลี่ยนกับนักสะสมกริชชาวมาเลเซีย  หลังจากนั้นได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ผู้ซึ่งเขียนเรื่องเกี่ยวกับกริชลงในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย  ภาคใต้ประมาณปี พ.ศ. 2540 ให้ร่วมดําเนินการศึกษาวิจัยเรื่องกะเทาะสนิมกริชแลวิถีชีวิตชาวใต้ตอนล่าง ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกริชทางด้านสังคมวัฒนธรรมความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ตอนล่าง เมื่อดําเนินการศึกษาวิจัยเสร็จ ปี พ.ศ. 2544 ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ ได้เห็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวอาจารย์พิชัย จึงให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโลหะกรรม ดําเนินการศึกษาวิจัยโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องภูมิปัญญาโลหะกรรมพื้นบ้าน โดยการศึกษาเอกสารโบราณและนํามาทดลองปฏิบัติจริงว่าลวดลายที่เกิดขึ้นจากตากริชและการทําฝักกริช ด้ามกริช หัวกริช เกิดขึ้นอย่างไรและทําได้อย่างไร เนื่องจากในอดีตความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่ แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีผู้สืบสานและกรรมวิธีต่าง ๆ ได้เลือนหายไปพร้อมกับช่างในสกุลต่างๆ ไม่มีผู้สืบทอด


ผลงานสำคัญ

ภาพจาก : culture.pn.psu.ac.th/album/124

       อาจารย์พิชัย แก้วขาว  มีผลงานการออกแบบและผลิตชิ้นงานต้นแบบขึ้นมากว่า 30 ชิ้น มีลวดลายเนื้อเหล็ก 20 ลวดลาย (จัดแสดงอยู่ในชุดนิทรรศการอาวุธโบราณภาคใต้ สถาบันทักษิณคดีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา) ดังนี้        

  1. ลายไข่นักคุ้ม (เปลิือกไข่)
  2. ลายก้นหยอ (ร็อกขี้หอย)
  3. ลายฟันปลา 
  4. ลายระบายผ้า
  5. ลายตานกเปล้า
  6. ลายขนนก
  7. ลายแววนกยูง
  8. ลายมัดหวาย
  9. ลายเกล็ดปลา
  10. ลายไม้พุก (ลายไม้ผุ)
  11. ลาบใบมะพรา้ว
  12. ลายใบสน
  13. ลายรวงข้าว
  14. ลายสะดือปลา
  15. ลายภูเขา (กุหนุง)
  16. ลายหนังเข้
  17. ลานนิ้วมือ
  18. ลายเข็มทอง
  19. ลายท้องงู
  20. ลายตีนช้าง

ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
พิชัย แก้วขาว
ที่อยู่
จังหวัด
ปัตตานี


บรรณานุกรม

สุธี เทพสุริวงศ์ และเบ็ญจวรรณ บัวขวัญ. (2547). การรวบรวใภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี. ปัตตานี : สถบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลา                                    นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024