พระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร)
 
Back    15/05/2023, 16:18    1,083  

หมวดหมู่

บุคคลสำคัญ


ประวัติ

          พระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) อดีตนายกเทศมนตรีเมืองยะลาและผู้ว่าราชการเมืองยะลา เป็นผู้วางรากฐานผังเมืองยะลาจนได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีผังเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงามที่สุด พระรัฐกิจวิจารณ์ไม่เพียงแต่วางผังเมืองในจังหวัดยะลาเท่านั้นแต่ยังสร้างความเจริญให้แก่ตัวเมืองยะลา หรือที่เรียกว่าตลาดนิบง อีกด้วย ชาวยะลาเรียกท่านสั้น ๆ ว่า พระรัฐจนติดปาก ประวัติส่วนตัวของพระรัฐกิจวิจารณ์ในวัยเยาว์ไม่มีใครทราบมากนัก แม้แต่ลูก ๆ เองก็ไม่ค่อยทราบ ครั้นจะสอบถามจากเพื่อนรุ่นเดียวกับท่านก็หาตัวได้ยาก ทราบแต่เพียงว่าพระรัฐนามเดิมว่า สวาสดิ์ ณ นคร เกิดที่อําเภอคีรีรัฐนิคม (ท่าขนอม) จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ชีวิตในวัยเด็กเป็นคนขยัน ชอบศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ชอบอ่านประวัติของบุคคล พระรัฐกิจวิจารณ์ สําคัญ ๆ ส่วนการศึกษาจริง ๆ ของท่านไม่มีใครทราบว่าท่านจบชั้นใด พระรัฐกิจวิจารณ์ชอบออกกําลังกายเป็นประจํา พระรัฐฯ จึงมีสุขภาพแข็งแรง เคยรับราชการเป็นนายอําเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และเคยเป็นนายด่านตรวจคนเข้าเมือง ชีวิตข้าราชการครั้งสุดท้ายดํารงตําแหน่งข้าหลวงประจําจังหวัดยะลา ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๕๘ เป็นข้าหลวงประจําจังหวัดยะลาคนที่ ๑๐
            
เมื่อออกจากราชการแล้วได้สมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกเทศบาลเมืองยะลา และได้ดํารง ตาแหน่งนายกเทศมนตรีติดต่อกันถึง ๒ สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๘ พระรัฐฯ มีภรรยา ๖ คน มีบุตร ๒๒ คน บุตรคนหนึ่งในจํานวนทั้งหมดรับราชการเป็นนายแพทย์สาธารณสุขประจําจังหวัดยะลา คือนายแพทย์ณัฐพงศ์ ณ นคร พระรัฐฯ ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ด้วยโรคหัวใจวาย 
            ในช่วงที่พระรัฐฯ ดํารงตําแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองยะลา ท่านได้ทุ่มเทกําลัง กายกําลังใจสร้างเมืองยะลาอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งเมืองยะลาที่ตําบลนิบง เริ่มตั้งแต่การวางผังเมืองเป็นวงเวียน ๑ วงเวียน ๒ และ ๓ เตรียมจัดผังสําหรับก่อสร้างสถานที่สําคัญของทางราชการ เช่น ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าราชการอําเภอเมืองยะลา ศาลจังหวัด และสถานีตํารวจภูธรจังหวัดยะลา พระรัฐฯ ได้จัดหาศูนย์กลางของตัวเมืองร่วมกับบิดาของนายอดุลย์ ภูมิณรงค์ โดยปักหลักไว้และมีก้อนหินเป็นเครื่องหมาย ซึ่งต่อมาจุดศูนย์กลางนี้ก็คือที่ที่เดียวกับผัง หลักเมืองยะลาในสมัยของผู้ว่าราชการจังหวัด พ.ต.อ. (พิเศษ) ศิริ คชหิรัญ ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้
            ผังเมืองยะลานั้นจัดได้ว่าเป็นผังเมืองที่สวยงามมีมาตรฐาน กล่าวคือวางรูปข่ายใยแมงมุม มีวงเวียนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ชั้นในสุดเป็นหลักเมืองรอบวงเวียนชั้นในเป็นที่ตั้ง สถานที่ราชการ เช่น ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด ที่ว่าการอําเภอ และสถานีตํารวจ (ปัจจุบันมีหน่วยราชการตั้งเพิ่มขึ้นมาใหม่หลายหน่วย เช่น สํานักงานที่ดินจังหวัด สํานักงานเกษตร จังหวัด สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสํานักงานสถิติจังหวัด) ถัดออกไปเป็นวงเวียนที่ ๒ เป็นบ้านพักข้าราชการแผนกต่าง ๆ วงเวียนที่ ๓ เป็นโรงพยาบาล สถานศึกษา และบ้านเอกชน และวงเวียนที่ ๔ เป็นย่านอุตสาหกรรมและการค้า ถนนที่มาจากอําเภอต่าง ๆ จะมารวมกันที่บริเวณหลักเมือง แม้ว่าการกําหนดผังเมืองที่แท้จริงจะเป็นของกรมโยธาธิการแต่ก็ได้แนวผังเมืองเดิมมาจากแนวคิดของพระรัฐฯ นั่นเอง พระรัฐฯ ได้ตัดถนนสายสําคัญ ๆ ได้แก่ถนนที่เริ่มจากสถานีรถไฟยะลาไปยังกิโลเมตร ศูนย์ (มลายูบางกอก) ถนนสายนี้ได้ชื่อว่าถนนพิพิธภักดี (ช่วงระยะทางจากสถานีรถไฟถึงวงเวียนหอนาฬิกา) ถนนสุขยางค์ (จากหอนาฬิกาถึงกิโลเมตรที่ศูนย์) และต่อมาภายหลังได้ต่อถนนสุขยางค์ไปจนถึงอําาเภอเบตง จังหวัดยะลา และถนนสิโรรสเป็นถนนสายเอกของเทศบาล เมืองมีความสะอาดและสวยงามเป็นที่เชิดหน้าชูตาของเทศบาลเมืองยะลา ถนนพิพิธภัคดีปรับให้เป็นถนนคู่มีทางสําหรับคนเดินและขี่จักรยานแบบถนนราชดําเนินนอก มีต้นประดู่ขึ้นเรียง รายตามแนวถนน สองฟากถนนดูร่มรื่นสวยงาม ส่วนถนนสิโรรสทําแบบมีเกาะกลาง ๒ ข้างถนน มีทางเท้าที่กว้างขวาง และปลูกไม้ประดับสวยงาม นอกจากนี้พระรัฐกิจวิจารณ์ยังได้ตัดถนนสายย่อยอีกหลายสาย ได้แก่ถนนสายยะลา ถนนไชยจรัส ถนนรัฐกิจ ถนนปราจีน ถนนพังงา และ ถนนรวมมิตร ในการวางผังเมือ และตัดถนนนั้น แต่ละซอยจะห่างกันพอเพื่อว่าเมื่อสร้างบ้านหลังบ้านจะชนกัน แต่ตัวบ้านจะ ห่างกันอยู่ประมาณ ๔ เมตร สําหรับเป็นที่วางขยะถังอุจจาระ (ปัจจุบันสะดวกแก่การดับเพลิงด้วย) ในการก่อตั้งเทศบาลในยุคแรกนั้นพระรัฐฯ ได้พยายามเชิญชวนบุคคลที่มีความสนใจบ้านเมืองและเหมาะสมมาเป็นสมาชิกสภาเทศบาล เช่น นายบุญชอบ สาครินทร์ นายปิติ วิภากุล เป็นต้น เพื่อช่วยกันบริหารให้เทศบาลเจริญก้าวหน้าพระรัฐฯ ได้เสนอเรื่องขออํานาจการควบคุมการก่อสร้างในเขตเทศบาล เพื่อให้เป็นไปเมืองยะลาจึงมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาจนถึงปัจจุบัน ตามลักษณะผังเมืองที่ดี พระรัฐฯ ได้สร้างสนามเด็กเล่นและสนามฟุตบอลขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งตั้งอยู่หน้าปัจจุบันเป็นศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองยะลา นอกจากนี้พระรัฐฯ ยังมีส่วนร่วมในการพิจารณาและให้การสนับสนุนแก่จังหวัดในการย้ายสถานที่ราชการ เช่น ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด สถานีตํารวจภูธร และที่ว่าการอําเภอจากตําบลสะเตงอันเป็นที่ตั้งเมืองเก่า มาตั้งอยู่ในเขตเทศบาลอันเป็นเมืองใหม่ที่ตําบลนิบง ได้มีส่วนร่วมกับจังหวัดในการเวนคืนที่ดินของประชาชนให้เป็นที่ราชพัสดุ เพื่อจัดไว้สําหรับการก่อสร้างสถานที่ราชการรอบ ๆ วงเวียนดังกล่าว และยังร่วมมือสร้างสํานักสงฆ์ วัดพุทธภูมิ โรงเรียนประชาบาลบ้านนิบง (ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์) โรงเรียนประชาบาลตําบลสะเตง (เปลี่ยนเป็นโรงเรียนเทศบาล ๑) และสถานีตํารวจบ้านนิบงในการดําเนินกิจการของเทศบาลนั้น พระรัฐฯ ได้ใช้วิธีการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จะทําอะไรก็จะต้องขอความเห็นจากที่ประชุมของสมาชิกเทศบาลก่อนเสมอ เป็นผู้ที่มีความเสียสละทั้งเวลาและทรัพย์สินส่วนตัวให้กับราชการเป็นอย่างมาก เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับบรรดาข้าราชการและประชาชน นอกจากจะพัฒนาด้านถนนหนทางแล้ว พระรัฐฯ ยังเอาใจใส่ พัฒนากิจการด้านตลาดสด ด้านโรงแรม และโรงภาพยนตร์ให้มีขึ้นในเทศบาลเมืองยะลาเป็นแห่งแรกด้วย สาหรับโรงภาพยนตร์คือนิบงเธียเตอร์
           พระรัฐกิจวิจารณ์เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยถือมติของที่ประชุมใหญ่ เพื่อดําเนินงานของเทศบาลให้เจริญก้าวหน้า และมีความเสียสละทั้งเวลาและทรัพย์สินส่วนตัว ให้กับราชการเป็นอย่างมาก เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับหมู่ข้าราชการและประชาชน และก็ เป็นนโยบายอันดีเลิศในสมัยนั้นความคิดริเริ่มและการพัฒนาอื่น ๆ ที่สําคัญคือ ได้สร้างสิ่งอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นแห่งแรกในจังหวัด คือตลาดสด โรงแรม โรงภาพยนตร์ ตามประวัติข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น นับได้ว่าพระรัฐกิจวิจารณ์ได้เป็นบุคคลที่ เสียสละ มีความคิดริเริ่มมีความมุ่งมั่นศรัทธาที่จะทําให้จังหวัดยะลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เขตเทศบาลมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จนกระทั่งขณะนี้ในเขตเทศบาลเมืองยะลา มีผังเมืองที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
พระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร)
ที่อยู่
จังหวัด
ยะลา


วีดิทัศน์

รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024