พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน มีนามเดิมว่า ทิตย์ ณ สงขลา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ํา เดือน ๕ ปีเถาะ เวลาประมาณ ๑๐.๔๕ น. ที่บ้านตําบลบ่อยาง อําเภอเมืองจังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระยาวิเชียรศีรี (ชม) ผู้สําเร็จราชการเมืองสงขลาลําดับที่ ๘ กับนางจําเริญ ณ สงขลา เป็นบุตรชายคนที่ ๒ ในจํานวน ๓ คน ซึ่งต่างมารดากัน เมื่อเด็กชายทิตย์ ณ สงขลา อายุได้ ๒ ขวบ ท่านย่าได้นําไปฝากให้เรียนหนังสือไทยกับพระธรรมโมลี (กิมเส้ง) และพระวินัยธรสุข วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) พระ อารามหลวง เรียนหนังสือไทยอยู่ ๕-๖ ปี เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้เป็นบิดาได้ส่งบุตรชายทั้ง ๓ คน ไปเรียนหนังสือต่อที่สิงคโปร์ โดยคนโตชื่อปรง ให้เรียนแต่ภาษาอังกฤษอย่างเดียว คนที่ ๒ ชื่อทิตย์ ให้เรียนแต่ภาษาจีนอย่างเดียว คนที่ ๓ ชื่อหนิให้เรียนแต่ภาษามลายูอย่างเดียว เมื่อทั้ง ๓ คน ได้เรียนจบและกลับมาบ้านแล้ว ได้เข้ารับราชการจนได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คนที่ ๑ เป็นพระยาวิชุโชติชํานาญ ส่วนท่านเป็นพระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน คนที่ ๓ เป็นพระยาสุรกาญจน์ ประทีปแก้ว
ต่อมาพระยาอภิรักษ์ราชอุทยานได้สมรสกับคุณลิ้ม ณ สงขลา ธิดาของ พระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) ซึ่งเป็นน้องชายของพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งดํารงตําแหน่งเป็นเทศาภิบาลในเวลานั้น เป็นประธานในพิธีการสมรส จากนั้นคุณทิตย์ก็ได้ทําหน้าที่เลขาส่วนตัวของเจ้าคุณบิดา ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสงขลา และได้ทําการศึกษาในการทําราชการไปในตัวเพื่อรับมรดกการเป็นข้าราชการต่อไป เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗ พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้บิดาถึงแก่อนิจกรรมลงในขณะเดียวกันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้เสด็จฯ ถึงมืองสงขลา ภายหลังจากพระยาวิเชียรคีรี (ชม) สิ้นชีวิตเพียง ๕-๖ วันเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรของพระยาวิเชียรศีรี (ชม) เข้าเฝ้าฯ ทุกคน ตอนนั้นคุณทิตย์ ณ สงขลาอายุได้ ๒๔ ปี พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ ได้ทรงตรัสถามว่าจะไปอยู่กรุงเทพฯ ด้วยกันไหม คุณทิตย์ก็กราบทูลว่าแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จกลับถึงพระนครได้ ๓ วัน ก็ทรงมีพระราชโทรเลขเรียกตัวคุณทิตย์เข้ากรุงเทพฯ ทันที สิ่งแรกที่คุณทิตย์ได้รับพระมหากรุณาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คือ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีตัดเปียโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดํารงค์ราชานุภาพเป็นผู้ตัดแทนพระองค์ ทั้งนี้โดยได้ทรงตรัสว่า “สมเด็จกรมพระยาดํารงค์ราชานุภาพตัดจุกหรือเปียให้ผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะต้องได้เป็นพระยาทุกคน” จากนั้นก็ทรงมอบตัวคุณทิตย์ให้อยู่ในความปกครองของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) และได้ถูกส่งตัวเข้าไปศึกษาและอบรมขนบธรรมเนียมต่าง ๆ จากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เนื่องจากคุณทิตย์ได้รับการศึกษาจากสิงคโปร์และได้รับการอบรมมารยาทจากท่านย่ามาแต่เยาว์วัย คุณทิตย์จึงได้ศึกษาเร็วกว่าผู้อื่น เรียนได้เพียง ๓ เดือน เท่านั้นก็นับว่าจบการศึกษาแล้ว ออกรับราชการสนองพระเดชพระคุณได้แล้ว งานขั้นแรกที่ได้รับหน้าที่ปฏิบัติเป็นมหาดเล็กวิเศษเฝ้า พระทวารห้องพระบรรทมและได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนสิ้นรัชกาลที่ ๕ พอถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวข้าราชการและข้าราชบริพารกันใหม่เกือบทั้งหมตตามพระราชอัชฌาสัย การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ นายฉันหุ้มแพร ต้นเชือก (ทิตย์ ณ สงขลา) ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระพฤกษาภิรมย์ เจ้ากรมสวนหลวง ดูแลสวนทุกแห่งในพระราชวังทั้งในและนอกพระนคร มีข้าราชการคนงานในปกครองเป็นจํานวนมาก ในด้านหน้าที่ราชการในกองเสือป่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ช่วยยกกระบัติเสือป่า กองเสือป่าเสนาหลวง ได้รับราชการมาด้วยดีจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก จนพระราชทานเงินเดือนให้เดือนละ ๑๒๐ บาท และเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี ต่อมาในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ต่อมาในยุคนั้นเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำรัฐบาล มีความจําเป็นต้องดุลย์ ข้าราชการออกถ้าผู้ใดมี พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (ทิตย์ ณ สงขลา) ได้กราบบังคมทูลขอลาออกจากราชการในตอนนี้ ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลว่า อายุ ๕๐ ปี แล้ว ควรจะได้พักผ่อนเสียทีจึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ว่าพร้อมเสมอที่จะฉลองพระเดชพระคุณในงานราชการส่วนพระองค์ แต่ราชการขอกราบทูลลาในที่สุดก็ทรงโปรดอนุญาตตามคําขอ และได้ย้ายกลับไปอยู่ที่สงขลาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และได้รับบํานาญกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
หน้าที่ราชการ
พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นมหาดเล็กวิเศษ รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๐ บาท พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายรองพินิตย์ ราชการมหาดเล็กเวรสิทธิ์ รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๖๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายฉัน หุ้มแพร ต้นเชือกรับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระพฤกษาภิรมย์ เจ้ากรมสวนหลวง |
พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๒๐๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๓๐๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้เลื่อนยศเป็นขั้นนายเวร รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๓๕๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาพฤกษาภิรมย์ได้เลื่อนยศเป็นชั้นหัวหมื่น ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๕๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ ๕๐๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๕๕๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๖๐๐ |
พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาอภิรักษ์ราชอุทยานและได้เลื่อนยศเป็นจางวางตรี |
พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๗๐๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ ๙๐๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ ๙๕๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นองคมนตรี ในรัชกาลที่ ๖ |
พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑,๑๐๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ ๑,๒๐๐ บาท |
พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นองคมนตรี ในรัชกาลที่ ๗ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และสิ่งของที่ได้รับพระราชทาน |
พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานเหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ ๕ |
พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้รับพระราชทาน เหรียญรัชมงคลเงิน |
พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทาน เหรียญรัชมงคลาเงิน ได้รับพระราชทาน เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ ๕ รัชกาลที่ ๕ |
พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับพระราชทานเข็มพระชนมายุเงิน |
พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้รับพระราชทาน ตราช้างเผือกชั้นที่ ๕ ทิพยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ ๔ ว.ป.ร. รัชกาลที่ ๕ |
พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทาน เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 5 ตรามงกุฎสยามชั้นที่ ๔ ภัทราภรณ์ เหรียญหรมราชาภิเศกเงิน เข็มอัยราพต เหรียญ จ.ป.ร. ที่ระลึกในงานเก็บพระบรมอัฐิพระพุทธเจ้าหลวง |
พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้รับพระราชทาน ตราช้างเผือก ชั้นที่ ๕ ภูษนาภรณ์ ได้รับพระราชทาน เข็มอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร. ชั้นที่ ๒ |
พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้รับพระราชทาน ตุมอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร. ชั้นที่ ๑ ตรามงกุฏชั้นที่ ๓ มัณฑนาภรณ์ |
พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้รับพระราชทาน ตราตะติยจุลจอมเกล้าวิเศษกับโต๊ะทอง กาทอง |
พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้รับพระราชทาน ตราช้างเผือกชั้นที่ ๓ นิภาภรณ์ |
พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทาน เสมา ว.ป.ร. ชั้นที่ ๓ ตราวชิรมาลา |
พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้รับพระราชทาน แหนบอักษรพระนาม ชั้นที่ ๑ |
พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับพระราชทาน ตราทุติยจุลจอมเกล้าฯ พานทอง |
พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้นที่ ๒ |
ครอบครัว
พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (ทิตย์ ณ สงขลา) สมรสกับคุณหญิงลิ้ม ณ สงขลา มีบุตร-ธิดา ด้วยกัน ๙ คน ประกอบด้วย
๑) นางนิ่ม |
๒) พันเอกภัต |
๓) นางซ้อย |
๔) นายชิต |
๕) นางเสงี่ยม |
๖) นายสาทิศ |
๗) นางจิตรณี |
๘) นายสุเทพ |
๙) นายเล็ก |
บุตร-ธิดาที่เกิดจากภรรยาอื่นประกอบด้วย
๑) รศ. ดร. ชํานาญ ณ สงขลา |
๒) ร.ต. ระวิ |
๓) นายทินกร |
๔) นายธนู |
๕) นางเต็มเปี่ยม |
พระยาอภิรักษ์ราชอุทยานถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๑๔ ณ บ้านเลขที่ ๕๒ หมู่ที่ ๔ ตําบลเขารูปช้าง ถนนสายนาทวี อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา สิริอายุรวม ๙๑ ปี ๑๐ เดือน
พระยาวิเชียรคีรี และอมรา ศรีสุชาติ. (2553). พงศาวดารเมืองสงขลาและโบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองสงขลา. กรุงเทพฯ : พี.เพรส.