ภาษาถิ่นภาคใต้
 
Back    15/05/2024, 15:38    1,300  

หมวดหมู่

ภาษาท้องถิ่น


ประเภท/รูปแบบเนื้อหา

ร้อยแก้ว


เนื้อหา

                  ชาวไทยภาคใต้มีภาษาถิ่นที่ใช้เป็นประจำอยู่ ๒ ภาษา ใหญ่ ๆ ประกอบด้วย
                  ๑. ภาษาไทยภาคใต้ (ภาษาใต้) นับเบ็นภาษาถิ่นที่สำคัญภาษาหนึ่งของภาษาถิ่น ในเมืองไทยมีพูดกันทั่วไปในจังหวัดภาคใต้ รวม๑๔ จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาจนถึงจังหวัคนราธิวาส
                  ๒. ภาษามะลายู (ภาษายาวี) ที่ใช้พูดกันมากใน ๔ จังหวัดชายแดน ได้แก่ ยะลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส สำหรับภาษามะลายูนั้น ยังเป็นปัญหาสำหรับนักภาษาศาสตร์ว่าจะจัดเบ็นภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศกันแน่ ชาวไทยมุสลิมส่วนมากในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส มักจะพูดและฟังภาษาไทยกลางหรือภาษาไทยใต้ไม่ได้เลย นับว่าเป็นปัญหาที่น่าคิดมาก
                     สำหรับภาษาไทยใต้นั้น ถ้าจะแบ่งย่อยออกเบ็นพวกหรือกลุ่มแล้ว ยังแบ่งออกได้เบ็น ๓ กลุ่ม ประกอบด้วย
                     ก. กลุ่มภาษานคร-สงขลา
                         ภาษานคร-สงขลาเบ็นกาษาทีชาวใต้ส่วนใหญ่ พูดกันในจังหวัดของภาคใต้ ประกอบด้วยจังหวัด สงขลา นครศรีธรรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สตูล  ลักษณะเด่นที่สังเกตุได้ง่าย คือจะออกเสีย ง เบ็น ฮ ตัว ฟ เบ็น ควฺ เช่น เงิน เป็น เฮิน งาน เป็น ฮาน ฟ้า เป็น คว้า เป็นต้น
                     ข. กลุ่มภาษาภูเก็ต-พังงา
                         ภาษาภูเก็ต-พังงาเบ็นภาษาทีใช้พูดกับในท้องถิ่นแถบทะเลอันดามัน คือ จังหวัดภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ มีลักษณะที่พิเศษ คือไม่นิยมออกเสียงตัวสะกดใน แม่กก เช่น ออก เป็น เอาะตก เป็น โตะ นอก เป็น เนาะ เบ็นต้น
                     ค. กลุ่มภาษาปานาเระ-ตากใบ
                         ภาษาปานาเระ-ตากใบ เป็นภาษาที่ใช้พูดกันในบางอำเภอของจังหวัดปัตตานี เช่น ปะนาเระ สายบุรี และในท้องที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ลักษณะเด่นของภาษาในกลุ่มนี้ คือจะออกเสียงสูงที่พยางค์ท้าย ๆ ทำให้มีเสียงไพเราะน่าฟังมาก นอกจากนี้แล้วยังนิยมใช้คำคล้ายคลึงกับคำราชาศัพท์เช่น กางเกง เป็น สนับเพลา ร่ม เป็น กลด เป็นต้น


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ภาษาถิ่นภาคใต้
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024