ภาพจาก : https://kyl.psu.th/9TQxYOllD
ภูเก็ตมีวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้งที่เป็นของตนเอง และรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ เข้ามา โดยเฉพาะจากชาวจีนที่อพยพเข้ามาค้าขายและทำเหมืองแร่ ตั้งแต่ต้นปี ๒๓๘๓ เป็นต้นมา ได้นำเอาวัฒนธรรมและประเพณีตั้งเดิมที่เคยปฏิบัติมาเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับ และปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถิงปัจจุบัน ชี่งปรากฏอยู่เป็นหลักฐานให้เห็นเด่นชัดหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร่างอาคารบ้านเรือน ศาลเจ้าหรืออ้าม การแต่งกาย การทำศพ การแต่งงาน ประเพณีกินผักหรือเจียะฉ่าย และร้านจำหน่ายหมีฮกเกี้ยนที่มีอยู่ทั้วตลาดเมืองภูเก็ต ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านี้บางอย่างก็มืการผสมผสานกับประเพณีไทยจนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย-จีน ไปโดยปริยาย และได้กลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวของจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาถิ่นของภูเก็ต เป็นภาษาถิ่นที่มืเอกลักษณ์ของตนเอง มีการใช้คำทับศัพท์ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาไทยผสมผสานกับภาษาจีน ซึ่งคำส่วนหนึ่งก็ยังคงใช้กันอยู่ บางคำก็เลือนหายไปเนื่องจากสาเหตุหลายประการ คือ
๑. คนท้องถิ่นภูเก็ตเองจำนวนมากได้รับค่านิยมผิด ๆ นิยมสอนให้บุตรหลานของตนพูดภาษาไทยกลางมากขึ้น เนื่องจากถูกล้อเลียนว่าพูดไม่ชัด |
๒. ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจเหมืองแร่ได้หยุดกิจการหันมาประกอบอาชีพด้านธุรกิจท่องเที่ยวและอาชีพอื่น ๆ ดั้งนั้นคำที่ใช้เรียกชื่อวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำเหมืองแร่ จึงเลึอนหายไปและมีแนวโน้มว่าจะสูญหายไปในที่สุด |
๓. มีกลุ่มคนจากที่อื่นอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูเก็ตมากขึ้น บุคคลเหล่านี้เมื่อมีการติดต่อสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่น ก็มักใช้ภาษาไทยกลางจึงทำให้การใช้ภาษาถิ่นของภูเก็ตลดลง |
จากสาเหตุดังกล่าวฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำเอาการพูดภาษาถิ่นภูเก็ตในหมวดต่าง ๆ มาเสนอในบทความนี้ ซึ่งคำเหล่านี้คนในภูเก็ตยังคงใช้พูดกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นคำจีนฮกเกี้ยน คำจีนผสมคำ ไทย คำไทยผสมคำจีน และคำภาษาต่างประเทศอื่น ๆ โดยแยกเป็นหมวด ๆ ดังนี้
หมวดขนม อาหาร และเครื่องดื่ม
หมวดเครื่องแต่งกาย
หมวดสิ่งของเครื่องใช้
ภาษาพูด
โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย. (2540). ร้อยปี ร้อยดวงใจ : 100 ปี ภูเก็ตวิทยาลัย. ภูเก็ต : โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย.
Whansky. (2558) . ภาษาท้องถิ่นภูเก็ต. สืบค้น 6 ก.ค. 66, จาก https://myphuketlanguage.blogspot.com/2015/09/blog-post_19.html