ตำนานนางเงือกทอง สงขลา
 
Back    20/08/2021, 10:52    2,173  

หมวดหมู่

นิทานพื้นบ้าน


ประเภท/รูปแบบเนื้อหา

ร้อยแก้ว


เนื้อหา

             

นางเงือกทอง (Golden Mermaid) ซึ่งตั้งอยู่บนโขดหินธรรมชาติชายหาดแหลมสมิหลา เขตเทศบาลนครสงขลา เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของแหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา นักท่องเที่ยวจำนวนมากนิยมจะไปถ่ายภาพคู่กับนางเงือก นางเงือกทอง ถูกสร้างขึ้นตามนิยายปรัมปราของไทย สำหรับบริเวณที่ประดิษฐานนางเงือกทอง สงขลา จะมีแผ่นจารึกที่ประติมากรรมนางเงือกทองซึ่งเขียนไว้ว่า... สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ในท่านั่งหวีผม ซึ่งหล่อขึ้นด้วยบรอนซ์รมดำ โดยฝีมือการออกแบบ ปั้น และหล่อ โดยอาจารย์จิตร บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง ด้วยงบประมาณราคา ๖๐,๐๐๐ บาท มีตำนานเล่าเกี่ยวกับนางเงือกไว้ดังนี้.... นานมาแล้วจะมีชาวสงขลาพบเห็นผู้หญิงที่มีหางเป็นปลา (นางเงือกในวรรณคดี) จะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำตอนกลางดึกที่แหลมสมิหลาสืบเนื่องมาจากก่อนนี้แหลมสมิหลามีชื่อว่า "สามีลา" คำว่า สามีลา มาจากผู้หญิงคนหนึ่งไปส่งสามีขึ้นเรือไปรบ และสัญญากันว่าจะเดินทางกลับมาให้ตรงตามเวลาที่นัดกันไว้ แต่นานวันเข้าสามีก็ไม่กลับมาหญิงสาวผู้นี้ จึงมานั่งรอสามีอยู่ที่ริมหาดทุกวันจวบจนวันสุดท้ายของชีวิต ทำให้ชาวบ้านสมัยนั้นเห็นนางเงือกนั่งหวีผมด้วยหวีทองคำ ... ขณะที่คนแก่เฒ่าบางครอบครัว ได้เล่านิยายปรัมปราเกี่ยวกับนางเงือกไว้ว่า "นางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้ และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย
            
"นางเงือก" เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อในนิยายปรัมปราและเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ซึ่งในตำนานและเรื่องเล่าโดยมากจะกล่าวกันว่า เงือกนั้นเป็นมนุษย์ครึ่งสัตว์ มีรูปร่างลักษณะในส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน และส่วนท่อนล่างเป็นปลา ซึ่งมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งเรื่องเล่าในส่วนมากจะกล่าวถึงนางเงือกซึ่งเป็นเพศหญิงมากกว่า ส่วนเงือกเพศชายนั้นจะเรียกว่าเงือกเฉย ๆ และมักไม่ค่อยถูกกล่าวถึงมากนัก 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ตำนานเงือกทอง
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


วีดิทัศน์

รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024