ชื่อหมู่บ้านของจังหวัดสตูล
 
Back    25/08/2022, 16:00    2,329  

หมวดหมู่

ภาษาท้องถิ่น


ประเภท/รูปแบบเนื้อหา

ร้อยแก้ว


ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน
สุพล จินตเมฆา

เนื้อหา


ภาพจาก :  https://kyl.psu.th/FvmI5CxKn       

วัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสตูล ที่ในอดีตชาวสตูลได้ใช้คําถิ่นมลายูพูดสื่อสารในชีวิตประจําวัน โดยปะปนไปกับภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดสตูล แต่ปัจจุบันลักษณะการใช้คํายืมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปโดยหันมาใช้ภาษาถิ่นใต้และภาษาไทยมลายมากขึ้นทําให้มีการใช้คํายืมภาษามลายูน้อยลง จากการศึกษาภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลพบกลวิธีในการตั้งชื่อหมู่บ้านในจังหวัดสตูลจะเป็นการทับศัพท์ คือ การนําศัพท์ภาษามลายูมาใช้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงศัพท์ แต่อาจจะออกเสียงตามความถนัดของคนสตูล เช่น ยามู (Jamu) ออกเสียงเป็น ยาหมู, ปุเลา (Pulau) ออกเสียงเป็นปุเล้า, จามัง (Jamang) ออกเสียงเป็นจามั้ง เป็นต้น ภูมินามหรือที่มาของชื่อหมู่บ้านในจังหวัดสตูลที่ใช้กลวิธีในการตั้งชื่อ โดยการทับศัพท์ ๒๔ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกาเนะ (ต้นชะมวง)บ้านลูโบ๊ะฆอเลาะ (ห้วยมีดพร้า) บ้านตันหยงอุมา (แหลมไร่) บ้านตันหยงกลิง (แหลมแห้ง) บ้านปาเต๊ะ (บ้านของเจ้าผู้ครองเมือง) บ้านบันนังปุเลา (เกาะนา) บ้านกะดุ (ต้น ชะพลู) บ้านกุบังจามัง (หนองจอกแหน) บ้านตันหยงโป (แหลมต้นปาบ) บ้านกาลันบาตู (ท่าหิน) บ้านลูโบ๊ะ บาตู (หนองน้ําก้อนหิน) บ้านกาลูบี (ต้นหลุมพี) บ้านลูโบ๊ะการายี (หนองต้นยี) บ้านบูเก็ตยามู (ภูเขางานเลี้ยง) บ้านคลองบาราเกต (คลองท่าแพ) บ้านกุบังปะโหลด (หนองปลาไหล) บ้านปันจอร์ (ทางน้ําไหล) บ้านแป-ระเหนือ (ที่มีเงิน) บ้านดาหลา (คลองลึก) บ้านมะหงัง (แม่เธอ) บ้านบารายี (ถ่านโต๊ะยี) บ้านสุไหงมูโสะ (คลอง) การยืมปนโดยใช้คําศัพท์ภาษามลายู “โต๊ะ (Tua)+คําศัพท์ในภาษาไทยในการตั้งชื่อจํานวน ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโต๊ะยูตะ บ้านโต๊ะซะ บ้านนาโต๊ะขุน และบ้านบากันโต๊ะทิด
        
ความสัมพันธ์ของภูมินามกันภาพสะท้อนของสังคม และวัฒนธรรมหมู่บ้านจังหวัดสตูล
        ภาษาเป็นสิ่งสะท้อนความรู้สึกนึกคิดและการมองโลกของผู้ใช้ภาษานั้น ๆ ดังนั้นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูล จะพิจารณาจากภาษาที่มาและความหมายของชื่อหมู่บ้าน เรื่องราวหรือเหตุการณ์สําคัญที่เคยเกิดขึ้นในท้องถิ่น ภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดสตูลสะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สําคัญที่เคยเกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือในชุมชนนั้น ๆ เหตุการณ์ สําคัญส่วนมากมักเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อชาวบ้านหรือเป็นเรื่องที่สังเกตจดจําของคนในชุมชนและคนในละแวกใกล้เคียง ประกอบด้วย

๑. ภูมินามกับภูมิประเทศและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ 
     นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านที่มีชื่อภูมินามทับศัพท์จากภาษามลายูแต่มาเปลี่ยนแปลงในภายหลัง ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านคลองชุดเดิมเรียกว่า “บูเก็ตบุหงา (ภูเขาดอกไม้)" บ้านควน เดิมเรียกว่า“บ้านกําปงควน (หมู่บ้านเนินสูง) บ้านคลองตายเดิมเรียกว่า "บ้านสุไหงมาตี (คลองตาย) และ บ้านปากบารา เดิมเรียกว่า “บ้านกัวลาบารา (ท่าเรือขายถ้าน)”
๒. การแปลศัพท์
     ภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลที่ใช้กลวิธีในการตั้งชื่อโดยการแปลศัพท์จากภาษามลายูเป็น ภาษาไทย ๗ หมู่บ้านได้แก่ บ้านหาดทรายยาว เดิมได้ชื่อว่า “ปาเซียะปันยง” บ้านทุ่งนุ้ย เดิมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "ปาดัง จกิล" บ้านเกาะนก เดิมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “ปูเลาบูรง” บ้านควนสตอ เดิมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “ควนเปอ ไต” บ้านควนโพธิ์ เดิมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “ควนบูดี” บ้านท่าศิลา เดิมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “เปอกาส้นบาตู” และ บ้านทําแพกลาง เดิมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านบาราเกตุ”
๓. การยืมปน
     คํายืมที่ประกอบด้วยคําไทยส่วนหนึ่งและคําภาษามลายูส่วนหนึ่ง คําไทยที่นํามาประกอบใน คํายืมภาษามลายูนี้จะช่วยอธิบายและบอกลักษณะของคําศัพท์ภาษามลายู ช่วยให้เข้าใจคําศัพท์นั้นได้ดีขึ้น พบ ภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลที่ใช้กลวิธีในการตั้งชื่อโดยการยืมปนภาษามลายูร่วมกับคําศัพท์ภาษาไทย ๒๗ หมู่บ้าน โดยแบ่งออกเป็น
๓.๑ การยืมปนโดยใช้คําศัพท์ภาษามลายู “ควน (Guar)” + คําศัพท์ในภาษาไทย ซึ่งค้าว่า “ควน (Guar)” เป็นคําภาษามลายู หมายถึง เนินดินเล็ก ๆ พบภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลที่ใช้กลวิธีการยืมปน จํานวน ๑๖ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านควนโพธิ์ บ้านควนดินแดง บ้านควน บ้านควนโดน บ้านควนโต๊ะเหลง บ้านควน ยาหวา บ้านควนสตอ บ้านหัวควน บ้านควนไสน บ้านควนเรือ บ้านควนเก บ้านควนโทะ บ้านควนพัฒนา บ้าน ควนโต๊ะเต๊ะ บ้านสายควน และบ้านควนบิหลายสา
๓.๒ การยืมปนโดยใช้คําศัพท์ภาษามลายู “โต๊ะ (Tua)” + คําศัพท์ในภาษาไทย ซึ่งสุมาลี นิมมานุภาพ (2558) ได้กล่าวว่า “โต๊ะ (Tua)” หรือ Dato (ดาโตะ) หรือ Datuk (ดาตุก์) เป็นบรรดาศักดิ์ในภาษามาเลเซีย หมายถึง ฐานันดรศักดิ์ที่สมเด็จพระราชาธิบดีหรือสุลต่านพระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป รวมทั้งผู้ที่ได้รับจากผู้ว่าการรัฐซึ่งมีอยู่ ๔ รัฐ ด้วยกัน บรรดาศักดิ์เหล่านี้ใช้เป็นคํานําหน้านาม ที่แสดงการยกย่องของผู้ชายหรือผู้หญิงที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น PanglimaSetiaDiraja ปังลีมา เซอเรีย ดีราจา ส่วนภรรยาจะได้รับบรรดาศักดิ์เป็น Datin ดา ดิน ตามสามี คําว่า Dato (ดา โตะ) เป็นบรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานจากสุลต่าน ส่วน Datuk (ดาตุก์) เป็นบรรดาศักดิ์ที่ได้รับจากผู้ว่าการรัฐ นอกจากนี้ datuk (ดาตุก์) ยังหมายถึง ปู่ /ตา อีกด้วย แต่ชาวสตูลนํามาใช้เสมือนเป็นคําไทย เพราะคําว่า “โต๊ะ” ในภาษาไทยถิ่นใต้นํามาใช้แทนศัพท์เดิม โดยเฉพาะชาวมุสลิมในภาคใต้ จะใช้คําว่า โต๊ะ แทนคําเรียก ปู่/ย่า/ตา/ยาย จนกลายเป็นคําภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้สื่อสารกันในปัจจุบัน พบภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลที่ใช้กลวิธีการยืมปนโดยใช้คําศัพท์ภาษามลายู “โต๊ะ (Ta) + คําศัพท์ในภาษาไทยในการตั้งชื่อจํานวน ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโต๊ะยุต๊ะ บ้านโต๊ะซะ บ้านนาโต๊ะขุนและบ้านบากันโต๊ะทิด
๓.๓ การตั้งชื่อภูมินามโดยใช้คําศัพท์ภาษามลายูทั่ว ๆ ไป คําศัพท์ในภาษาไทยพบภูมินาม หมู่บ้านในจังหวัดสตูลที่ใช้กลวิธีการยืมปนโดยใช้คําศัพท์ภาษามลายูทั่ว ๆ + คําศัพท์ในภาษาไทยในการตั้งชื่อ จํานวน ๗ หมู่บ้านได้แก่ บ้านบากันใหญ่ บ้านเกาะยะระโตดนัย บ้านเกาะยะระโตดใหญ่ บ้านตะโละน้ํา บ้านฉลุงใต้ บ้านบากันเคย และบ้านปากบารา
๔. การแปรเสียง
    ศอลาฮุดดีน สมาอูน (๒๕๖๑) กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงโทนเสียงและสําเนียงของคําศัพท์ภาษามลายู เป็นไปตามโทนเสียงและสําเนียงภาษาไทยถิ่นใต้สตูล ซึ่งโทนเสียงของภาษามลายูนั้นอยู่ในรูปเสียงสามัญ หรือเป็นลักษณะภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ พบภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลที่ใช้กลวิธีในการตั้งชื่อโดยการแปร เสียง ๒๔ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านวังประจัน แปรเสียงมาจาก “บ้านกบังต้มปาล้น" บ้านหัวกาหมิง แปรเสียงมาจาก “บ้านหัวกําเบง” บ้านน้ำหรา แปรเสียงมาจาก “บ้านน้ำยารา” บ้านเกาะบูโหลน แปรเสียงมาจาก “บ้านปูเลาบูโละ” บ้านเกตรี แปรเสียงมาจาก “บ้านบูเก็ตปุตรี” บ้านเกาะหลีเป๊ะ แปรเสียงมาจาก "บ้านนิปิส" บ้านเจ๊ะบิลัง แปรเสียงมาจาก “บ้านเจ๊ะอินเตอบิลัง” บ้านกาลันยีตัน แปรเสียงมาจาก “บ้านกาลันอินตัน" บ้านแรกอด แปรเสียงมาจาก “บ้านเบงโกะ” บ้านตํามะลังเหนือ แปรเสียงมาจาก "บ้านเดอมาลัง" บ้านตันหยงกาโบย แปรเสียงมาจาก “บ้านตันหยงกปะฮ์” บ้านปูยู แปรเสียงมาจาก "บ้านปปูญ" บ้านตุสน แปรเสียงมาจาก "บ้านดูสน” บ้านเขาพญาบังสา แปรเสียงมาจาก “บ้านรายาวังสา" บ้านโตน แปรเสียงมาจาก "บ้านเตอรยุน” บ้านอุใด แปรเสียงมาจาก “บ้านอุแด” บ้านคลองลิดี แปรเสียงมาจาก “บ้านลิก" บ้านราไว แปรเสียงมาจาก “บ้านลาวัส” บ้านทุ่งสะโต๊ะ แปรเสียงมาจาก “บ้านปาดังเซอราโป๊ะ” บ้านตันหยง ละใน แปรเสียงมาจาก “บ้านตันหยงนานัส” บ้านกาแบง แปรเสียงมาจาก “บ้านกําเบ็ง” บ้านบุโบย แปรเสียงมาจาก “บ้านบานบุโบล บ้านตะโละใส แปรเสียงมาจาก “บ้านตะโละสไร” และบ้านลาหงา แปรเสียงมาจาก “บ้านบาลางา"

        ความสัมพันธ์ของภูมินามกับภาพสะท้อนของสังคม วัฒนธรรมหมู่บ้านจังหวัดสตูล
      ภาษาเป็นสิ่งสะท้อนความรู้สึกนึกคิดและการมองโลกของผู้ใช้ภาษานั้น ๆ ดังนั้นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลจะพิจารณาจากภาษา ที่มาและความหมายของชื่อหมู่บ้าน จึงทําให้เห็นความสัมพันธ์ของชื่อหมู่บ้านที่สะท้อนวิถีชีวิตชาวสตูล ในด้านภูมินามกับความเชื่อของคนในชุมชนภูมินามกับการกําเนิดชุมชนภูมินามกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และภูมินามกับกลุ่มคนชาติพันธุ์ต่าง ๆ เรื่องราวหรือเหตุการณ์สําคัญที่เคยเกิดขึ้นในท้องถิ่นภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดสตูล สะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สําคัญที่เคยเกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือในชุมชนนั้น ๆ เหตุการณ์สําคัญส่วนมากมักเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อชาวบ้านหรือเป็นเรื่องที่สังเกตจดจําของคนในชุมชนและคนในละแวกใกล้เคียง ประกอบด้วย

๑. ภูมินามกับภูมิประเทศและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
     ภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะทางธรรมชาติทั้งที่เป็นภูมิประเทศที่หลากหลาย ซึ่งจําแนกได้เป็น ๕ ลักษณะ
 ๑.๑ แหล่งน้ำ น้ำป็นปัจจัยสําคัญในการดํารงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าชื่อหมู่บ้านที่ตั้งใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติจะมีคําว่า ห้วย หนอง คลอง วัง ได้แก่ บ้านน้ำร้อน บ้านห้วยลึก บ้านห้วยน้ำดํา บ้านท่าคลองใต้ บ้านปลักใหญ่ใจดี บ้านปลักชิมปอ บ้านหนองยูง บ้านวังปริง บ้านวังสายทอง บ้านวังยาว บ้านวังข่อนชัย บ้านคลองขุด บ้านท่าคลอง บ้านคลองตาย บ้านคลองบาราเกต บ้านคลองลึก บ้านคลองลิก บ้านคลองสองปาก บ้านคลองบัน บ้านคลอง ห้วยบ่าบ้านคลองน้ําเค็ม บ้านตะโละน้ํา บ้านท่าหิน บ้านริมห้วย บ้านท่าศิลา เป็นต้น         
๑.๒ เกาะหรือหาด เป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งจังหวัดสตูลมีพื้นที่ส่วน หนึ่งเป็นเกาะประมาณ ๑๐๕ เกาะ คําที่ใช้เรียกภูมิประเทศลักษณะนี้ คือ “เกาะ” และ “หาด” ได้แก่ บ้านเกาะยะระโดตนุ้ย บ้านเกาะยะระโตดใหญ่ บ้านเกาะหลีเป๊ะ บ้านเกาะนก บ้านหาดทรายยาว บ้านเกาะยาว บ้าน เกาะแอหลัง บ้านเกาะเปลว เป็นต้น
๑.๓ ท้องทุ่งเป็นที่ราบโล่งโดยบางครั้งอาจหมายถึงพื้นที่ ที่เป็นท้องนาหรือทุ่งนาด้วย ซึ่งทําเลประเภทนี้มักจะเป็นที่เลี้ยงสัตว์ เพื่อไว้ใช้งานและเป็นอาหาร ทุ่งหญ้าเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านนําสัตว์มาเลี้ยงในตอนเข้าแล้วนําไปบ้านในตอนเย็น เมื่อไปกลับทุกวันทําให้ไม่สะดวกในการนําสัตว์กลับไปกลับมา จึงสร้างที่พักอาศัยเป็นการชั่วคราว ๒-๓ วัน แล้วจึงนําสัตว์กลับบ้าน นานเข้าก็อพยพครอบครัวมาปลูกบ้านอย่างถาวรเพื่อ สะดวกในการเลี้ยงสัตว์ เมื่อผู้คนอพยพมาอยู่มากเข้าก็กลายเป็นหมู่บ้าน การตั้งชื่อหมู่บ้านจะมีคําว่า "ทุ่ง" “นา” “ไร่” “สวน” “ลาน” และลักษณะเด่นหรือความสําคัญของเหตุการณ์ในเขตนั้นมาตั้งชื่อ ได้แก่ บ้านทุ่ง บ้านนาแค บ้านนาลาน บ้านทุ่ง บ้านนาปริก บ้านทุ่งพัก บ้านทุ่งริ้น บ้านท่านา บ้านนาทอน บ้านทุ่งดินลุ่ม บ้านทุ่งเกาะปราบ บ้านทุ่งไหม้ บ้านทุ่ง เป็นต้น
๑.๔ เนิน ที่สูงหรือที่ดอน เป็นพื้นที่อีกลักษณะหนึ่งที่นิยมใช้สําหรับตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากพื้นที่จังหวัดสตูลมีสภาพทางภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและเป็นเขาเนินดิน สภาพพื้นที่เหล่านี้ได้กําหนดให้ชาวจังหวัดสตูล เลือกที่ตั้งที่อยู่อาศัยเป็นโคกหรือควน (เงิน) สร้างบ้านเรือนเพื่อให้ปลอดภัยจากน้ำท่วมเมื่อถึงหน้าน้ำหรือน้ำทะเลขึ้นถึง ชื่อหมู่บ้านที่บ่งบอกทําเลที่ตั้งหมู่บ้านลักษณะนี้ ได้แก่ บ้านควนโพธิ์ บ้านโคกพิลา บ้านโคกใคร บ้านควนดินแดง บ้านหัวเขา บ้านโคกประดู่ บ้านโคกทราย บ้านควน บ้านควนโดน บ้านควนโต๊ะเหลง บ้านควนสตอ บ้านหัวควน บ้านควนไสน บ้านควนเรือ บ้านโคกโดน บ้านควนเก บ้านควนโต๊ะ บ้านสายควน บ้านควนปีหลายสา บ้านควนตําเสา บ้านเขาแดง บ้านควนดินดํา บ้านควนไสน บ้านควนใหญ่ บ้านโคกพะยอม เป็นต้น
๑.๕ ป่าไม้ ปรากฏร่องรอยการตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ คือใกล้ป่า ป่าเขาเพื่อสะดวกในการหาของป่า การทํามาหากิน จึงมีชื่อเรียกตามลักษณะทําเลที่ตั้งการประกอบอาชีพหรือตามลักษณะของทรัพยากรในแหล่งนั้น ๆ โดยมากมักมีชื่อต้นไม้ปรากฏอยู่ในชื่อหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทุ่งตําเสา บ้านควนไสน บ้านป่าพน บ้านท่ายาง บ้านป่าเสม็ด บ้านของไทร บ้านลานเสือ บ้านบากันใหญ่ บ้านบากันโต๊ะทิด เป็นต้น
    นอกจากนี้ภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลปรากฏชื่อต้นไม้ที่มีความสําคัญต่อทําเลที่ตั้งหมู่บ้าน ๒ ลักษณะ คือ
๑. เป็นชื่อต้นไม้ใหญ่หรือมีต้นเดียวที่พบในหมู่บ้านซึ่งบ่งบอกให้ทราบที่ตั้งของหมู่บ้านชัดเจนยิ่งขึ้น ชื่อหมู่บ้านที่ปรากฏมีต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ บ้านควนโพธิ์ บ้านทุ่งตําเสา บ้านโพธิ์ บ้านกาเนะ (ต้นชะมวง) บ้านลูโบ๊ะการายี (ต้นหยี) เป็นต้น
๒. เป็นชื่อต้นไม้ที่พบมากในหมู่บ้าน ซึ่งชี้ให้เห็นลักษณะเด่นของหมู่บ้านว่ามีต้นไม้มาก ได้แก่ บ้านควนไสน บ้านเกาะไทร บ้านห้วยไทร บ้านป่าพน บ้านทุ่งเสม็ด บ้านไทรงาม บ้านห้วยคล้า บ้านช่องไทร บ้านกาลูบี (ต้นหลุมที) เป็นต้น
      ภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลสามารถสะท้อนถึงเหตุการณ์ที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติครั้งสําคัญ ๆ หรือเหตุการณ์ที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ ได้แก่
๑. เหตุการณ์ที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้แก่ บ้านวังตง บ้านทุ่งไหม้ บ้านห้วยน้ำดํา บ้านน้ำร้อน เป็นต้น
๒. เหตุการณ์ที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ ได้แก่ บ้านคลองสองปาก บ้านกุบังปะโหลดเป็นต้น
๒. ภูมินามกับกลุ่มชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์ชุมชน
๒.๑ ภูมินามกับกลุ่มชาติพันธุ์
        จังหวัดสตูลประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ มาอาศัยอยู่รวมกันตั้งแต่โบราณ อีกทั้งมีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาตั้งรกรากของชาวบ้านจากต่างพื้นที่หรือผู้คนที่มีเชื้อชาติแตกต่างกันออกไป ก่อให้เกิดพัฒนาการของขุมขนและผู้คนที่หลากหลาย และมีการผสมกลมกลืนกันทางสังคมและวัฒนธรรมเรื่อยมา ทําให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้กลายเป็นอีกส่วนหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดสตูลเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดสตูลได้แสดงให้เห็นถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น โดยอาจจําแนกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑) กลุ่มชนจากท้องถิ่นอื่น ๆ ที่เข้ามาอยู่ในชุมชน ซึ่งมีทั้งที่มาจากจังหวัดสตูลเองและเขตพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ บ้านตันหยงอุมา บ้านเกาะเนียง บ้านใหม่ บ้านช่องไทร บ้านทุ่งนางแก้ว เป็นต้น
๒) กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย ๓ กลุ่มชาติพันธุ์ คือ เทศ (อินเดีย) แขก (มาเลเซีย อินโดนีเซีย) และจีน ได้แก่ บ้านตันหยงกลิง บ้านบันนังปุเลา บ้านเขาจีน บ้านจีน บ้านสวนเทศ บ้านเกาะบุโหลน บ้านในเมือง บ้านปากบารา
๓) กลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ได้แก่ กลุ่มมานิ และกลุ่มชาวเล (อูรักลาโว้ย)
๒.๒ ภูมินามกับประวัติศาสตร์ชุมชน
         ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเกิดขึ้นจากชาวบ้านสามัญชนคนธรรมดาที่ช่วยกันประกอบสร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมา ตั้งแต่การบุกเบิกพื้นที่ การตั้งถิ่นฐาน จนกลายเป็นชุมชนต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนต้องผ่านเหตุการณ์และเรื่องราวมากมาย ทั้งความสุขความทุกข์ ความรื่นรมย์ ความยากลําบาก เรื่องราวดังกล่าวนี้เอง เป็นส่วน หนึ่งของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ยังคงหลงเหลือหลักฐานปรากฏให้เห็นในภูมินามของแต่ละถิ่นภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดสตูลสะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สําคัญที่เคยเกิดขึ้นใน หมู่บ้านหรือในชุมชน นั้น ๆ เหตุการณ์สําคัญส่วนมากมักเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อชาวบ้านหรือเป็นเรื่องที่สังเกตจดจําของคนในชุมขนและคนในละแวกใกล้เคียง ประกอบด้วย
๑. เหตุการณ์เมื่อแรกตั้งหมู่บ้านหรือเรื่องราวอันเป็นเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นของหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านลูโบ๊ะฆอเลาะ บ้านบากันใหญ่ บ้านบากันเคย เป็นต้น
2) เหตุการณ์ที่แสดงถึงความเป็นมาของหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านฉลุงใต้ บ้านดูสน บ้านน้ําหรา บ้านแป-ระ บ้านมะนัง บ้านท่าชะมวง บ้านลาหงา เป็นต้น
๒.๓ ภูมินามกับวิถีชีวิตคนท้องถิ่น
        ภูมินามหมู่บ้านนับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการดําเนินชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น ดังนั้นจึงมี ความเกี่ยวข้องกับสภาพทางสังคมของกลุ่มขนนั้น ๆ อย่างแนบแน่นในหลายลักษณะ จากการศึกษาภูมินาม หมู่บ้านในจังหวัดสตูลพบว่าภูมินามหมู่บ้านสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
๑. การประกอบอาชีพ
๑.๑ อาชีพทํานา ได้แก่ บ้านนาแค บ้านท่านา บ้านนาข่าเหนือ บ้านวังนาในบ้านหลวงนา บ้านนาแก้ว บ้านบันนังปูเลา เป็นต้น
๑.๒ อาชีพทําไร่ที่ปรากฏในชื่อหมู่บ้านของจังหวัดสตูลมี 2 ชนิด คือ การทําไร่ข้าว ได้แก่ บ้านไร่ บ้านตันหยงอุมา บ้านไร่ทอน เป็นต้น และไร่สับปะรดได้แก่ บ้านตันหยงละไม้
๑.๓ อาชีพทําสวนยางพารา ได้แก่ บ้านซอย 4 บ้านซอย 8 บ้านซอย 10 บ้านผัง 1 บ้าน ผัง 2 บ้านผัง 3 ฯลฯ
๑.๔ อาชีพทําสวนปาล์มน้ํามันได้แก่ บ้านผังปาล์ม 1 บ้านผังปาล์ม 2 บ้านผังปาล์ม 3 ฯลฯ
๑.๕ อาชีพทําไม้พื้นและเผาถ่านได้แก่ บ้านบากันใหญ่ บ้านบาราย บ้านบากัน โต๊ะทิด เป็นต้น
๑.๖ อาชีพเลี้ยงสัตว์ได้แก่ บ้านทุ่ง บ้านทุ่งหญ้าแดง บ้านฉลุง บ้านวังพะเนียด บ้าน กาแบง เป็นต้น
๑.๗ อาชีพประมงได้แก่ บ้านท่าทะเล บ้านบากันเคย บ้านตันหยงโป บ้านเกาะยาว บ้าน หาดทรายยาว บ้านเกาะสาหร่าย บ้านตันหยงกสิง บ้านราไว บ้านบุโบย เป็นต้น
๑.๘ อาชีพค้าขาย ได้แก่ บ้านจีน บ้านเขาขึ้น บ้านบากันใหญ่ บ้านบากันโต๊ะทิต บ้าน ท่าเรือ บ้านเกาะนก เป็นต้น
๒. เครื่องมือเครื่องใช้และงานหัตถกรรม สามารถสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่เกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมถึงงานหัตถกรรมที่ชาวบ้านประดิษฐ์คิดทําขึ้น เพื่อใช้ในการประกอบ อาชีพหรือการดํารงชีวิตประจําวัน ได้แก่ บ้านราวปลา
๓. การคมนาคมขนส่ง จากการศึกษาภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูล แสดงให้เห็นถึงการ คมนาคมของชาวสตูล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
๑. การคมนาคมทางน้ํา ได้แก่ บ้านท่าเรือ บ้านท่าแพกลาง บ้านท่าแพใต้ บ้านท่าจีน เป็นต้น
๒. การคมนาคมทางบก ได้แก่ บ้านย่านซื่อ บ้านท่าข้าม ควาย เป็นต้น
๓. ภูมินามกับความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ประกอบด้วย
๓.๑ ภูมินามกับความเชื่อ
        ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าของมนุษย์ในสมัยดึกดําบรรพ์หรือ มนุษย์ในปัจจุบัน ความเชื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ เป็นแรงอํานาจอันเร้นลับอยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมากับความเชื่อ ความเชื่อเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของคนใน สังคมนั้น ๆ ทั้งนี้เพราะคนในสังคมเมื่อมีความเชื่อในเรื่องใดแล้วย่อมประพฤติปฏิบัติและแสดงออกให้ สอดคล้องกับความเชื่อนั้น ๆ ภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูล ปรากฏความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องกับชื่อหมู่บ้านดังนี้ 
๑. ความเชื่อเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษดังปรากฏชื่อหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านควนยาหวา บ้านอุไดใต้ และบ้านควนโต๊ะเต๊ะ
๒. ความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าที่เจ้าทางและเทพยดาทั้งหลายทั้งปรากฏชื่อหมู่บ้าน คือ บานทุ่งมะปรัง
๓. ความเชื่อ เรื่องธรรมชาติแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
๑. ความเชื่อเรื่องต้นไม้ ชาวสตูลมีความเชื่อว่าต้นไม้ใหญ่จะมีอายุ ยืนยาวและมีพลังอํานาจ มีรุกขเทวดาสิงสถิตอยู่สามารถปกป้องคุ้มครองคนในหมู่บ้านได้ ดังปรากฏชื่อ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโพธิ์ บ้านควนโพธิ์ บ้านห้วยไทร
๒. ความเชื่อธรรมชาติบางแห่งว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีวิญญาณสิงสถิตอยู่ได้แก่ บ้านลาหงา
๓. ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องลึกลับมหัศจรรย์ ดังปรากฏเป็นชื่อหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปากละงู บ้านมะหลัง บ้านทุ่งทะนาน บ้านเขาพญาบังสา
๔. ความเชื่อและค่านิยมเกี่ยวกับมงคล นาม เชื่อกันว่าหากตั้งชื่อหมู่บ้านด้วยคําที่เป็นสิริมงคล ก็จะส่งผลให้ผู้คนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านนั้นมีความสุข ความเจริญตามไปด้วย จําแนกตามลักษณะการใช้คําที่มาประกอบในภูมินามได้เป็น 5 รูปแบบ ได้แก่
๑. การใช้คําที่แสดงถึงการพัฒนา คือคําว่า “พัฒนา” เช่น บ้านโคกมุดพัฒนา บ้านทุ่งพัฒนา บ้านควนพัฒนา บ้านก้าวใหม่พัฒนา
๒. การใช้คําที่แสดงถึงเงินทอง คือคําว่า “ทอง” หรือ “ทรัพย์” เช่น บ้านขุมทรัพย์ บ้านปาล์มทอง บ้านไทรทอง บ้านอุไร (อุไร หมายถึง ทอง)
๓. การใช้คําที่แสดงถึงความเจริญก้าวหน้า คือคํา ว่า “เจริญ” เช่น บ้านวังเจริญราษฎร์
๔. การใช้คําที่แสดงถึงความสามัคคี คือคําว่า “สามัคคี” เช่น บ้านวังผา สามัคคี
๕. การใช้คําที่แสดงถึงความสุขและความสงบ คือคําว่า “สุข” และ “สันติ” เช่น บ้านสันติสุข

   อันที่จริงความเชื่อด้านต่าง ๆ ของผู้คนในจังหวัดสตูลไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ทั้งหมด เพราะจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่หลายส่วนโดยเฉพาะความเชื่อ ที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ความเชื่อเรื่อง โต๊ะหยงกงซึ่งเชื่อว่าเป็นศาลเจ้าแขก เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลสิ่งต่าง ๆให้เกิดแก่ชีวิตผู้คนและขุมขน ในทางที่ดีหากว่าได้มีการปฏิบัติ ที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อาจจะโยงไปสู่ความเชื่อด้านอื่น ๆ ขณะเดียวกัน ความเชื่อเรื่องอื่น ๆ ก็สามารถที่จะเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ด้วยเช่นกัน เช่นโต๊ะ หยงกง ในฐานะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้นได้ตามความเชื่อของผู้คนและ ขุมขน เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนและชุมชน แม้ว่าความเชื่อของชาวจังหวัดสตูลจะมีหลายด้าน เมื่อ วิเคราะห์จากภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูล ที่สามารถอธิบายไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ นั่นคือ วิถี ชีวิตที่แท้จริงของผู้คนและชุมชน ความเชื่อของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีผล ต่อวิถีชีวิตมนุษย์ ทั้งการให้คุณประโยชน์ และการให้โทษ และเป็นการยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะเป็นทาง กายหรือทางใจ ภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลจึงสะท้อนความเชื่อต่าง ๆ ดังนี้

๑. ความเชื่อเกี่ยวกับบุคคลในตํานาน ได้แก่ บ้านปาเต๊ะ บ้านโต๊ะยูตะ บ้านโต๊ะวัง บ้าน โต๊ะขะ บ้านควนยาหวา บ้านนาโต๊ะขุน บ้านควนโต๊ะเต๊ะ บ้านนาแก้ว บ้านอุไดใต้ เป็นต้น
๒. ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้แก่ บ้านควนโพธิ์ บ้านห้วยไทร บ้านทุ่งมะปรัง บ้านสาหงา
๓.๒ ภูมินามกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
        จากการศึกษาภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อ ตํานานและนิทานพื้นบ้านได้อย่างชัดเจนในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. การละเล่น การละเล่นที่ปรากฏอยู่ในชื่อหมู่บ้าน ได้แก่ ลิเกป่า คือ บ้านควนเก
๒. ประเพณี ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชื่อหมู่บ้านซึ่งกลุ่มชนยอมรับนับถือและปฏิบัติร่วมกัน มาเป็นเวลาช้านานในแต่ละยุคสมัย อันเป็นความคิดความรู้สึกของมนุษย์ที่ผูกพันต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันส่งผลให้ เกิดประเพณีที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น ลักษณะประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชื่อหมู่บ้านในจังหวัด สตูล มีดังต่อไปนี้
๑. ประเพณีรําลึกถึงบรรพบุรุษ ดังปรากฏเป็นชื่อหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านควนยาหวา บ้าน วังสายทอง บ้านควนโต๊ะเต๊ะ บ้านอุใดใต้ บ้านโต๊ะวัง
๒. ประเพณีที่มีต่อธรรมชาติ (ต้นไม้) ดังปรากฏเป็นชื่อ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโพธิ์ บ้านควนโพธิ์ บ้านห้วยไทร
๓. ประเพณีขอฝนดังปรากฏจากการศึกษาภูมินามหมู่บ้าน ในจังหวัดสตูล ได้แก่ บ้านทุ่งวิมาน เนื่องจากชาวบ้านที่นี่ประสบปัญหาแห้งแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลจึงได้ ชักชวนกันไปทําพิธีขอฝนจากเทวดาที่กลางทุ่งของหมู่บ้าน ต่อมาหลังจากนั้นทุกปีจะมีพิธีขอฝน จนกลายเป็น ประเพณีของหมู่บ้าน เรียกว่าประเพณีขอฝน
๔. ภูมินามกับการเมืองการปกครอง
     ภูมินามหมู่บ้านจังหวัดสตูลได้สะท้อนถึงการเมืองการปกครองได้เป็นอย่างดี ซึ่งจําแนกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่
๑. ผู้นําชุมชน ได้แก่
๑. ผู้ที่ก่อตั้งหรือมีส่วนในการบุกเบิกพื้นที่ของหมู่บ้านในระยะแรก ๆ เป็นต้นว่า บ้านบาเต๊ะ บ้านโต๊ะวัง บ้านโต๊ะซะ บ้านควนยาหวา บ้านนาโต๊ะขุน บ้านควนโต๊ะเต๊ะ บ้านนาแก้ว บ้านดูสน เป็นต้น
๒. บุคคลสําคัญของขุมขนในแต่ละยุคสมัยที่ชาวบ้านเคารพ ได้แก่ บ้านนาพญา บ้านหลวงนา บ้านท่าแลหลา บ้านวังพระเคียน เป็นต้น
๒. ระบบการเมืองการปกครองของจังหวัดสตูลภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลได้สะท้อนให้เห็น ลักษณะการปกครองที่มีลักษณะการปกครองในฐานะเมืองพระยามหานคร หรือเมืองชั้นนอกผ่านทางภูมินาม หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านย่านชื่อ บ้านเกตรี บ้านท่าจีน บ้านนาแค เป็นต้น
๓. สมาชิกของขุมขนภูมินามหมู่บ้านที่สะท้อนให้เห็นสมาชิกของคนในชุมชน ได้แก่บ้านตันหยงอุมา บ้านบากันใหญ่ บ้านตันหยงกลิง บ้านเกาะยะระโดดใหญ่ หรือบ้านเกาะสาหร่าย บ้านเกาะหลีเป๊ะ บ้านปาเต๊ะ บ้านเขาจีน บ้านเกาะเนียง บ้านจีน บ้านบากันเคย บ้านเกาะยาว บ้านปูยู บ้านดูสน บ้าน ควนยาหวา บ้านแป-ระเหนือ บ้านสวนเทศ บ้านควนโต๊ะเต๊ะ บ้านสาคร บ้านท่าอ้อย บ้านโพธิ์ บ้านกาแบง บ้านบุโบย บ้านทุ่งนางแก้ว บ้านตะโละใส บ้านบากันโต๊ะทิต เป็นต้น
๔. สถานที่สําคัญของชุมชน จําแนกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑. สถานที่ราชการได้แก่ บ้านค่ายรวมมิตร
๒. สถานที่สาธารณะ ได้แก่ บ้านท่าเรือ บ้านปากบารา บ้านสะพานเคียน บ้านหัวสะพาน เหล็ก บ้านสะพานวา บ้านท่ายาง เป็นต้น

         ความสัมพันธ์ระหว่างภูมินามกับบริบทสังคมวัฒนธรรมหมู่บ้านจังหวัดสตูล ชื่อภูมินามส่วนมากจะมี ที่มาจากเรื่องราวต่าง ๆ บ่งบอกประวัติความเป็นมา ตลอดจนเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อ มีการตั้งชื่อภูมินามหมู่บ้านจึงนําเรื่องราวหรือเหตุการณ์เหล่านั้นไปตั้งเพื่อบอกเล่าเรื่องราว ประวัติความ เป็นมาในท้องถิ่น ดังนั้น ชื่อภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดสตูลจึงมีความความสัมพันธ์กับบริบทสังคมวัฒนธรรม และวิถีผู้คนของชาวสตูลในอดีต 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ภูมินามหมู่บ้านของจังหวัดสตูล
ที่อยู่
จังหวัด
สตูล


บรรณานุกรม

สุพล จินตเมฆา พัชลินจ์ จีนนุ่น และปรียารัตน์ เชาวลิตประพันธ์. (2563). ภาษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และสภาพสังคมวัฒนธรรมภาพสะท้อนจากภูมินาม   
          หมู่บ้านในจังหวัดสตูล. วารสารวิชาการและวิจัยม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10 (2)), (พ.ค.-ส.ค.) 188-198.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024