ภาพจาก : https://kantika2016.wordpress.com/2016/12/01/first-blog-post/
ในบรรดาภาษาถิ่นของไทยภาษาถิ่นภาคใต้ เป็นภาษาถิ่นที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักมากที่สุดเพราะมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจนที่สุด พิจารณาได้จากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ที่มีทำนองและลีลาเด่นเป็นของตนเอง ทั้งนี้เพราะเพลงกล่อมเด็กภาคใต้มีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุด จากการศึกษาความเป็นมาของเพลงกล่อมเด็กหรือเพลงกล่อมลูกภภาคใต้พบว่าเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ และค่านิยมของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยวิวัฒนาการของเพลงมาจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอนในลักษณะคำกลอนหรือเป็นเพลงกล่อม ซึ่งจะเป็นกลอนชาวบ้านไม่มีแบบแผนแน่นอนจะมีเพียงแต่สัมผัสคล้องจอง ถ้อยคำที่ใช้ในบางครั้งอาจจะไม่มีความหมายเนื้อเรื่องก็จะเป็นเกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรัก ความห่วงใยที่ปรากฎในบทเพลง สำหรับเพลงกล่อมเด็กหรือเพลงกล่อมลูกภาคใต้นั้นมีทั้งเพลงร้องเรือที่เรียกว่าเพลงร้องเรือ ก็เพราะว่าลักษณะของการใช้ผ้าผูกเปลในเด็กมีรูปร่างคล้ายเรือ บางที่ก็เรียกเพลงช้าน้อยหรือช้าน้อง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพลงประเภทใดก็ตาม ผู้ร้องต้องใช้ไหวพริบและปฏิภาณในการร้อง และมักขึ้นต้นเพลงด้วยคำว่า “ฮาเอ้อ” หรือคำว่า “เหอ” แทรกอยู่ในบทเพลงทั้งนั้น สำหรับจุดประสงค์ก็เพื่อแสดงออกทางอารมณ์และกล่อมให้เด็กหลับ และไม่ร้องไห้กวนโยเย ตลอดถึงเพื่อความเพลินเพลิด บทเพลงกล่อมเด็กหรือเพลงกล่อมลูกของภาคใต้ ในแต่ละท้องถิ่นจะเรียกแตกต่างกันออกไป อาทิ เพลงร้องเรือ ร้องกันอยู่ในแถบจังหวัดพัทลุง ตรัง หรือนครศรีธรรมราชบางส่วน เช่น อำเภอปากพนัง ส่วนที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส จะเรียกว่าเพลงช้าน้อยหรือช้าน้อง ส่วนในหมู่คนไทยมุสลิมจะเรียกเป็นภาษายาวีว่า "อูเละ ตีโด" คำว่า อูเละ หมายถึง การร้องขับกล่อม ส่วนคำว่า ตีโด หมายถึงนอนหลับ รวมความแล้วหมายถึงการร้องขับกล่อมให้นอนหลับ แต่พอขึ้นมาที่นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี เรียกเพลงน้องนอน ซึี่งสามารถแบ่งประเภทของเพลงกล่อมเด็กหรือกล่่อมลูกของภาคใต้ ได้เป๋็น ๔ อย่าง ประกอบด้วย เพลงร้องเรือ เพลงชาน้อง หรือเพลงช้าน้อง เพลงเสภา และเพลงน้องนอน (เพลงร้องเรือนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพราะลักษณะของเปลที่ใช้ผ้าผูกมีรูปร่างคล้ายเรือ เพลงชาน้องหรือช้าน้อง คำว่า "ชา" มาจากคำว่า "บูชา" ซึ่งแปลว่าสดุดีหรือกล่อมขวัญ ชาน้องหรือช้าน้อง จึงหมายถึงการสดุดีแม่ซื้อ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเทวดาหรือผีประจำทารก เพลงเสภาเป็นเพลงที่ใช้โต้คารมกันเป็นบทปฏิพากย์แสดงปฏิภาณไหวพริบ เมื่อนำมาใช้ในเพลงกล่อมลูกเพลงน้องนอนเป็นการมุ่งกล่อมน้องหรือกล่อมลูกโดยตรง)
จากหลักฐานการค้นคว้าเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ของศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ระบุไว้ว่าเพลงกล่อมเด็กภาคใต้มีจุดประสงค์และโอกาสการใช้กว้างขวาง จำนวนเพลงจึงมีมากถึง ๔,๓๐๐ เพลง นับว่ามากกว่าทุกภาคในประเทศ เพลงกล่อมเด็กหรือเพลงกล่อมลูก เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่มีการสืบทอดในทุกสังคมด้วยวิธีการจดจํา ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ใครจําได้ก็นําไปใช้ต่อผู้แต่งเพลงกล่อมเด็กส่วนใหญ่ คือผู้ที่เลี้ยงดูเด็ก เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และพี่สาว เป็นต้น เพลงกล่อมเด็กเกิดขึ้นจากผู้ที่ทําหน้าที่เลี้ยงเด็ก ต้องการให้ เด็กหลับ ผ่อนคลายความตึงเครียดและความเบื่อหน่ายในการเลี้ยงดูเด็ก เนื้อหาของเพลงกล่อมเด็กมีลักษณะที่ถ่ายทอดเอาสภาพชีวิตความเชื่อ และวัฒนธรรมของสังคมไว้มากมาย เพลงกล่อมเด็กจึงมีเนื้อหาสาระหลายอย่างผสมผสานกัน เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม หลักธรรม คติสอนใจ ถ้อยคําประชดประชันเสียดสี ความรักของหนุ่มสาว ฯลฯ เพลงกล่อมเด็กเป็นแหล่งรวบรวมความรู้มากมายในการอบรมสั่งสอน ให้รักพวกพ้อง สอนในเรื่องคุณธรรมต่าง ๆ และเป็นเครื่องกล่อมเกลานิสัยของเด็กให้เป็นคนดีของสังคม นับว่าเป็นพื้นฐานที่ดีของชีวิตเมื่อได้ฟังเพลงกล่อมเด็กที่มีคติสอนใจดังกล่าวบทเพลงกล่อมเด็กหรือเพลงกล่อมลูก (อังกฤษเรียกว่า Mother Goose อเมริกาเรียกว่า Lullaby)
เพลงกล่อมเด็กนั้นมีอยู่ทุกภูมิภาคของไทยและเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทย ซึ่งสามารถสรุปความสำคัญรวม ๆ ได้ ๒ ประเภทคือ
๑. เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่กล่อมให้เด็ก หลับโดยตรง ดังนั้นจึงเป็นเพลงที่มีทำนองฟังสบาย แสดงความรักใคร่ห่วงใยของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก | ||
๒. เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่แอบแฝงอยู่หลายประการ เช่น
|
ลักษณะเพลงกล่อมเด็กภาคใต้
ลักษณะของเนื้อหาเพลงกล่อมเด็กภาคใต้โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำง่าย ๆ มีเสียงคล้องจองกันแต่ไม่ได้บังคับลักษณะสัมผัส สามารถยึดหยุ่นได้ตามทำนองของผู้ขับกล่อม เพลงกล่อมเด็กภาคใต้ในแต่ละท้องถิ่นอาจเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น เพลงชาน้อง เพลงร้องเรือ หรือน้องนอน เพลงกล่อมเด็กภาคใต้โดยทั่วไป วรรคแรกของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้โดยทั่วไป วรรคแรกของเพลงกล่อมเด็กมักขึ้นต้นด้วยคำว่า “ฮาเอ๊อ” หรือ “ฮาเหอ” เช่น
ฮาเหอ...เมรีเหอ | เมรีร่วมห้อง |
มือขวาอุ้มน้อง | มือซ้ายประคองอุ้มลูกไก่ |
เวลาน้องร้องไห้ | เก็บดอกไม้มาโลมเจ้าทรามวัย |
มือซ้ายระคองอุ้มลูกไก่ | สายสุดใจร้องหาพระมารดา เหอ.... |
ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กภาคใต้
เพลง: ไก่เถื่อนเหอ
“...ไก่เถื่อนเหอ... | ขันเทือนทั้งบ้าน |
ลูกสาวขี้คร้าน... | นอนให้แม่ปลุก |
แม่เอาด้ามขวาน... | แทงวานดังพลุบ |
นอนให้แม่ปลุก... | ลูกสาวขี้คร้านเห้อ...” |
เพลง: นกขมิ้น
เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนเอ๋ย | ค่ำแล้วจะนอนที่ตรงไหน | จะนอนไหนก็นอนได้ |
สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน | ลมพระพายชายพัดมาอ่อน ๆ | เจ้าเคยจรมานอนรังเอย |
เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนเอ๋ย | ค่ำแล้วจะนอนที่ตรงไหน | จะนอนไหนก็นอนได้ |
สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน | ลมพระพายชายพัดมาอ่อน ๆ | เจ้าเคยจรมานอนรังเอย |
เพลง: วัดเอ๋ยวัดโบสถ์
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ | ปลูกข้าวโพดสาลี |
ลูกเขยตกยาก | แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี |
โอ้ ข้าวโพดสาลี | ป่านฉะนี้จะโรยราเอย |
เพลง: จันทร์เจ้า
จันทร์เจ้าเอ๋ย | ขอข้าวขอแกง |
ขอแหวนทองแดง | ผูกมือน้องข้า |
ขอช้างขอม้า ให้น้องข้าขี่ | ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง |
ขอเตียงตั่งให้น้องข้านอน | ขอละครให้น้องข้าดู |
ขอยายชูเลี้ยงน้องข้าเถิด | ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง |
เพลง: เจ้าจันทร์ขา
จันทร์เจ้าขา | ดิฉันขอถามข่าว | พระจันทร์โศกเศร้า |
ดิฉันเป็นทุกข์ | พระจันทร์เป็นสุข | ดิฉันสบาย |
พระจันทร์เดือนหงาย | ดิฉันเที่ยวเล่น | เดือนมืดไม่เห็น |
ดิฉันนอนเสีย |
เพลง: โยกเยก
โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ กระต่ายลอยคอ |
อ้ายหมาหางงอ กดคอโงกเงก |
เพลง: ไปคร (ไปนครศรีธรรมราช)
อ้า เห้อ เหอ ไปคอน |
ไปแลพระนอนและพระนั่ง |
พระพิงเสาดั้งหลังคามุงเบื้อง |
เข้าไปในห้องไปแลพระทองเขาทรงเครื่อง |
หลังคามุงเบื้อง ทรงเครื่องดอกไม้ |
เพลง: นกเขาขัน
นกเขาเอย ขันแต่เช้าไปจนเย็นขันไปให้ดัง |
แม่จะฟังเสียงเล่น เนื้อเย็นเจ้าคนเดียวเอย |
เพลง: นอนไปเถิด
นอนไปเถิดแม่จะกล่อม นวลละม่อมแม่จะไกว |
ทองคำแม่อย่าร่ำไห้ สายสุดใจเจ้าแม่เอย |
เพลง: เจ้าเนื้อละมุน
เจ้าเนื้อละมุนเอย เจ้าเนื้ออุ่นเหมือนสำลี |
แม่มิให้ผู้ใดต้องเนื้อเจ้าจะหมองศรี ทองดีเจ้าคนเดียวเอย |
ประวัติเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ผลงานของสุภาพร ฉิมหนู
- ไกเถื่อนขันเทือนแลว
เพลงไกเถื่อนขันเทือนแลวไดรับแรงบันดาลใจจากเพลงเพลงไกเถื่อนเหอของนางเพิ่ม ไชยบุญแกว แมเพลงจังหวัดสงขลา ประพันธบทเพลงกลอมเด็กอยูในรูปแบบอะแคปเปลลา (A cappella) ใชเบลไลลา (Bell Lyra) เครื่องกระทบ (Percussion Instruments) ประเภทที่มีระดับเสียงแนนอน (Definite Pitch Instruments) มา ประกอบในบทเพลงเพื่อใหมีความสนุก สวางสดใสและขับรองเปนภาษาไทยถิ่นใต เนื้อหาเพลงกลาวถึงวิถีชีวิตชาวบาน การใชชีวิตในครอบครัว คติสอนใจผูหญิงใหมีความงดงามอยางไทย นำสารัตถะจากบทเพลงไกเถื่อนเหอและความทรงจำวัยเยาวของผูวิจัยประพันธเรื่องราวในบทเพลง ซึ่งตอนสมัยยังเด็กทุกบานมารดาตองคอยปลุกลูก ใหตื่นจากเตียงนอนเพื่อทำภาระกิจตาง ๆ เชน อาบน้ำรับประทานอาหาร ในบทเพลงนี้จะชวนใหนึกถึงเสียงบน ของแม คำเตือนสติ และความทรงจำตาง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งอดีต
- เพลงโอละเหโอละชา
เพลงโอละเหโอละชาไดรับแรงบันดาลใจจากเพลงฝนทะเลมืดมาของนางคำแกว พวงแกว แมเพลงจังหวัด นราธิวาส บทประพันธอยูในรูปแบบแคนนอน (Canon) ไมมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบและขับรองเปนภาษาไทยถิ่นใต้ แรงบันดาลใจของเพลงนี้เปนเพลงกลอมเด็กที่พบในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส แมเพลงขับ รองดวยภาษาตากใบ (เจะเห) เปนภาษาตระกูลไทกลุมตะวันตกเฉียงใต กระจายตัวอยูในจังหวัดปตตานี จังหวัด นราธิวาส และพื้นที่บางสวนในประเทศมาเลเซียซึ่งสำเนียงจะแตกตางกับภาษาถิ่นใตภาษาตากใบมีความคลายกับ ภาษาสุโขทัยจัดใหอยูในกลุมเดียวกับภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาอูทองและภาษาไตเหนือ-พวน นอกจากนี้ขอสังเกต อีกอยางหนึ่งเกี่ยวกับที่มาของภาษาตากใบซึ่งในเพลงกลอมเด็กฝนทะเลมืดมาจะรองขึ้นดวยคำวา “โอละเห โอละชา”เหมือนกับเพลงกลอมเด็กภาคกลาง ที่ขึ้นตนดวย “โอละเห” เชนกัน แตกตางกับเพลงชานอง ของภาคใตที่สวนใหญจะขึ้นตนดวย “ฮาเออ” และลงทายดวย “เหอ”
- เพลงนองตื่นแลวหมี (นองตื่นแลวยัง)
เพลงนองตื่นแลวหมี (นองตื่นแลวยัง) ไดรับแรงบันดาลใจจากเพลงอีโรย อีโรยมาเลนโปรยทราย ของนางนุย ดำกระเด็น แมเพลงจังหวัดนราธิวาส บทประพันธนี้เปนการนำกระสวนจังหวะในเพลงกลอมเด็กภาษาตากใบ (เจะเห) มาพัฒนาใสคำรองและเรียบเรียงเสียงประสานใหเปนแบบออสตินาโต บทเพลงนี้ไมมีเครื่องดนตรี บรรเลงประกอบและขับรองเปนภาษาไทยถิ่นใต “เพลงนองตื่นแลวหมี (นองตื่นแลวยัง)”
- เพลงนอนนะนุยนอน
เพลงนอนนะนุยนอนไดรับแรงบันดาลใจจากเพลงไปคอนเหอ ของนางจิต ทิพยกองลาส แมเพลงจังหวัด นครศรีธรรมราช ประพันธบทเพลงกลอมเด็กอยูในรูปแบบเปนเพลงสมัยนิยมแนวเพลงเพื่อชีวิตภาคใตใชเครื่อง ดนตรี คือ กีตารโปรงบรรเลงคอรด ประกอบกับการขับรองประสานเสียงบทเพลงนอนนะนุยนอนผูวิจัยเริ่มตนเขียน เนื้อคำรองใหในรูปแบบกลอนวรรคละไมเกิน ๔-๖ คำเนื้อหาคำรองเกี่ยวกับการกลอมลูกใหนอนหลับ ซึ่งขณะกลอมอยูนั้นแมรองเพลงเลานิทานเมืองนครศรีธรรมราชใหทารกฟงและแมถายทอดความรักที่ออนโยน ปลอบลูกใหรูสึกปลอดภัยหลับสนิทไมมีความกังวล
- เพลงนิทานเมรีกลอมนองนอน
เพลงนิทานเมรีกลอมนองนอนไดรับแรงบันดาลใจจากเพลงนางเมรีเหอของ นางจิต ทิพยกองลาส แมเพลงจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื้อหาเดิมของเพลงกลาวถึงนางเมรีในนิทานพระรถเมรีความวา นางเมรีเมาเหลาจนเผยความลับเรื่องดวงตาของนางสิบสองที่ยักษไดซอนเอาไว บอกแกพระรถจนหมดสิ้น พระรถเปนโอรสของนางสิบสองนำดวงตาคืนกลับใหมารดาจนครบ เมื่อนางเมรีรูสึกตัวอีกทีดวงตาที่แอบซอนไวไดหายหมดสิ้นแลว เพลงนี้ขับรองเปนภาษาไทยถิ่นกลางไดแนวคิดการประพันธคำรองมาจากเพลง Amazing grace เปนเพลงสรรเสริญพระเจา ประพันธคำรองโดยจอหน นิวตัน นักบวชชาวอังกฤษ เนื้อเพลงอยูในรูปแบบ Strophic Form เนื้อหาคำรองเกี่ยวกับนิทานนางเมรีที่กลาวไวขางตน ใชคำวา “เหอ” ซึ่งเปนเอกลักษณของเพลงกลอมเด็กภาคใต ใสไวในเพลงดวยผูวิจัยไดประพันธเพลงนี้โดยใหแนวเสียงผูชายเริ่มขับรองกอนเพราะแทจริงแลวเพลงกลอมเด็กมิไดใชรองเพียงแคมารดาเทานั้น