ภาษาไทยถิ่นสงขลา
 
Back    26/06/2023, 16:53    2,966  

หมวดหมู่

ภาษาท้องถิ่น


ประเภท/รูปแบบเนื้อหา

ร้อยแก้ว


เนื้อหา


ภาพจาก : https://kyl.psu.th/ZJVTPsAuh

          นอกจากภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษากลางซึ่งใช้ในการเขียน การสนทนาใน ทางราชการ การเรียนการสอนในสถานศึกษา ซึงเมื่อใชในภาษาพูด ชาวสงขลาเรียกการพูด ภาษาไทยกลางว่า “แหลงขัาหลวง” แล้วชาวจังหวัดสงขลาใช้ภาษาไทยถิ่นพูดกันในชีวิต ประจำ วัน ซึงมีลักษณะบางประการแตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน ทั้งในส่วนที่มีผู้ศึกษา เอาไว้แล้วและมีการตั้งข้อสังเกตเพิ่มเดิม (สุภาพ ขวัญฤทธี้. ๒๔๓๐ : ๔๐๘) สรุปถึงลักษณะเฉพาะภาษาไทยถิ่นสงขลา ดังนี้
          ๑. หน่วยเสียงวรรณยุกต์
              ภาษาไทยถิ่นมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ๗ หน่วยเสียง
             ๑.๑ หน่วยเสียงนี้มี ๒ เสียงย่อย คือ
                   สูง - ขึ้น- ตก เช่น ขา ข่า หวาน หว่าน สาย
                   สูง - ขึ้น เช่น ขัด หัด ผลัก ผัด หวิบ
             ๑.๒ หน่วยเสียงนี้มี ๒ เสียงย่อยคือ
                   สูง - ระดับ เช่น ข้า ข้อ ถ้า ห้าม เหล้า
                   สูง - ระดับ - ตกตอนท้าย เช่น ขาด ถาด หาด หมอก สาบ
             ๑.๓ หน่วยเลียงนี้มี ๒ เสียงย่อย คือ
                    กลาง - ขึ้น-ตก เช่น ปี ปี อาย อ่าน
                    กลาง - ขึ้น เช่น ปัด ดิบ บก
            ๑. ๔ กลาง - ระดับ เช่น ป้า อ้าง ปาด ยับ
            ๑.๕  ตา - ขึ้น  -ตก เช่น คา มา นา บือ
            ๑.๖  ตา - ระดับ เช่น ค่า สั่ง คาด มาก
            ๑.๗ ตํ่า - ตก เช่น ค้า ม้า คัด มัด
                    การเกิดหน่วยเสียงวรรณยุกต์ คำหรือพยางค์ซองภาษาไทยถิ่นสงขลา เมื่อนำ ไปเปรียบเทียบกับภาษาไทยมาตรฐานจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
        ๒. หน่วยเสียง ง ในภาษาไทยถิ่นสงขลาจะออกเสียงเป็น ๒ ลักษณะ คือออกเสียงเป็น ส เช่นเดียวกับภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป แต่ในบางคนก็ออกเสียง ง ได้ชัดเจน เช่นเดียวกับภาษาไทยมาตรฐาน เช่น งอกงาม แง่มุม และง่าย เป็นต้น
       ๓. พยัญชนะประสมหรือพยัญชนะควบกลาในภาษาไทยถิ่นสงขลามี มากกว่าในภาษาไทยมาตรฐานอยู่ ๖ เสียง คือ [มฺล ] [มุร] เช่น
            มฺล้า      เป็น       “ล้า”
           เมฺลิ่น    เป็น       "ลิ่น"
           เหมฺิน    เป็น       "ลืมตา"
           ไหมฺร    เป็น       "กำไร"
      ๔. เสียงสระ ในภาษาไทยถิ่นสงขลาจะไม่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน แต่การเลือกใช้เสียงสระในภาษาไทยถิ่นสงขลากับภาษาไทยมาตรฐานจะมีลักษณะของการเลือก ใชัที่แตกต่างกันในบางหน่วยเสียง เช่น
           สระเอะ ในภาษาไทยมาตรฐานจะเป็น "แอะ" ในภาษาไทยถิ่นสงขลา เช่น เป็ด เป็น แป็ด เม็ด เป็น แม็ด เหน็ด เป็น แหน็ด
           สระอิ ในภาษาไทยมาตรฐานจะเป็น "อึ" ในภาษาไทยถิ่นสงขลา เช่น ชิง เป็น ชึง สิง เป็น ลึง   
     ๕. โครงสร้างของคำในภาษาไทยถิ่นสงขลา เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาไทยมาตรฐานจะมีบางลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
         - คำ ๒ พยางค์บางคำในภาษาไทยมาตรฐาน จะเป็นคำพยางค์เดียวในภาษาไทยถิ่นสงขลา เข่น ตะเกียบ เป็น เกียบ ละเมอ เป็น เมอ สะดุด เป็น ดุด
         - คำ ๒ พยางค์ที่เป็นคำช้อนหรือคำประสมในภาษาไทยมาตรฐาน จะนิยมออกเสียงเป็นคำพยางค์เดียวในภาษาไทยถิ่นสงขลา เช่น คบค้า เป็น คบ ทดลอง เป็น ลอง และเพียงพอ เป็น พอ เป็นต้น
         - คำ ๒ คำในภาษาไทยมาตรฐานที่พยางค์แรกออกเสียง "อะ" ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำสองพยางค์ในภาษาไทยถิ่นสงขลา เช่น กระดุม เป็น โลกดุม กระเทียม เป็น หัวเทียม
     ๖. การสร้างคำในภาษาไทยถิ่นสงขลา มีลักษณะการสร้างที่สำคัญ ๓ แบบ คือ
          - การซ้ำคำ เป็นการที่ผู้พูดออกเสียงคำคำนั้นช้ากัน ๒ ครั้ง ก็จะได้คำที่มีความหมายใหม่ เช่น พี่ ๆ เพื่อน ๆ ลาย ๆ เข้า ๆ ออก ๆ
          - การช้อนคำ เป็นการที่เอาคำที่มีความหมายเดียวกันมาช้อนกัน โดยคำที่นำมาช้อนกันนั้นอาจใช้ตามลำพังได้ เช่น สวยงาม อดอยาก ถ้าวถำ
          - การประสมคำ ในภาษาไทยถิ่นสงขลามีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกันกับภาษาไทยมาตรฐาน แต่มีอยู่จำนวนมากที่เป็นคำเฉพาะถิ่น เช่น ขี้กรา (นั้าครำ) ขี้รั่ว (ท้องร่วง) เข้าหวาง (ระหว่างกลาง) แม่โยด (เหาตัวโตที่สุด) ทำนุ้ย (ออเซาะ) หัวหมอ (รู้มากหรือเจ้าเล่ห์)
       ๗. การแบ่งหมวดคำ ในภาษาไทยถิ่นสงขลาสามารถแบ่งหมวดคำได้ เช่นเดียวกันกับภาษาไทยมาตรฐาน แต่มีข้อสังเกตในบางหมวดคำที่มีการใช้คำแตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน ดังเข่น
          คำสรรพนาม
          คำสรรพนามบุรุษที่ ๑ 
         - คำว่า "ฉัน" จะออกเสียง "ฉาน"
         - คำว่า "กู" จะเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป ทุกเภททุกวัย  และไม่ถือเป็นคำหยาบ
เอง ใช้ในกรณีเดียวกับคำ ว่า แก แต่พิเศษไปกว่าตรงที่ใช้เฉพาะ
          คำสรรพนามบุรุษที่ ๒
          - คำว่า "หมึง" เป็นคำที่ใชักันระหว่างเพื่อนสนิทหรือผู้ที่มีวัยไล่เสี่ยกัน หรือผู้ที่มีอายุพูดกับผู้อ่อนวัยกว่า ใช้กันทั้งสองเพศแต่ความนิยมจะมีในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
          - คำว่า "สู" มักจะใช้คู่กับสรรพนามบุรุษที่ ๑ ว่า เรา ใช้ในกรณีเดียวกับหมึง
          - คำว่า "ตัว" ใช้ในกรณีที่ผู้อ่อนวัยใช้กับผู้อาวุโสกว่า
          - คำว่า "แก" ใช้ในกรณีที่ผู้มีอาวุโสกว่าพูดกับผู้อ่อนวัยและใช้เฉพาะการสนทนากันสองต่อสองเท่านั้น
          - คำว่า "เอง" ใช้ในกรณีเดียวกับคำว่า "แก" แต่พิเศษไปกว่าตรงที่ใช้เฉพาะผู้ที่คุ้นเคยกันเท่านั้น
          - คำว่า "ต้อน" เป็นคำสรรพนามที่ใช้เรียกพระภิกษุที่เพิ่งอุปสมบท แต่ถ้าพระภิกษุที่มีพรรษามาก ๆ จะเปลี่ยนไปใช้คำลำดับเครือญาติและต่อด้วยคำว่า หลวง แทน เช่น พี่หลวง ตาหลวง
             นอกจากนี้ในภาษาไทยถิ่นสงขลา อาจใช้คำเดียวกับเครือญาติเป็นคำสรรพนามมาแทนได้ มีคำที่น่าสนใจ คือคำว่า "นุม" หรือ "นม" เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ ๒ และ ๓ ใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า "แม่" หรือมีบางคนใช้คำว่า "ฉี" ใช้แทนคำว่า "พี่สาว"
             คำลักกษณะนาม มีการใช้คำลักษณะนามของสิ่งของบางอย่าง ที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน เช่น มุ้งเรียกเป็นหลัง ตีนหรือหัวเลื่อย เรียกเป็นสาย หรืออัน ไม่ขีดเรียกเป็นรางหรือซอง คำลักษณะนามที่ใช้มากที่สุดในภาษาถิ่นไทยสงขลา คือคำว่า "หนวย"  ซึ่งใช้ได้กับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนผลไม้ เช่น จาน ๑ หนวย กะลังมัง ๖ หนวย ขัน ๑ หนวย ส้มโอ ๕ หนวย มะพร้าว ๓ หนวย ฯลฯ สิ่งของที่ใชัลักษณะนามว่า "หนวย" ส่วนใหญ่จะเป็นรูปทรงกลมคำลักษณะนาม "ถุง" นอกจากจะใช้กับกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง แล้วยังใช้กับผ้าโสร่งได้อีกด้วย
              คำลักษณะนามที่ใซักับสัตว์ทุกชนิดจะใช้คำว่า “ตัว” ถ้าจะใช้กับคนก็แสดงถึงการกล่าวอย่างไม่พอใจในคน ๆ นั้น (หรือคนกลุ่มนั้น) เช่น หมันมากัน ๒ ตัว (แปลว่าเขามากัน ๒ คน)
       ๘. การเรียงลำดับของคำในภาษาไทยถิ่นสงขลา จะไม่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน แต่มีความแตกต่างกันอยู่บ้างเกี่ยวกับการใช้คำ เช่น เมื่อสี่ทุ่มก็พูดว่า แรกตีสิบ เมื่อตอนหำโมงเย็นก็พูดว่าแรกตีห้า
      ๙. ความหมายของคำภาษาไทยถิ่นสงขลา มีความหมายของคำบางคำที่น่าสนใจ สามารถแยกประเด็นได้ดังนี้
           คำที่มีรูปคำเหมือนกับภาษาไทยมาตรฐานแต่ความหมายต่างกัน เช่น 
           - โกง ในภาษาไทยมาตรฐาน มีความหมายว่าใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยม หลอกลวง แสดงอาการไม่ยอมทำตาม โค้ง ไม่ตรง แต่ในภาษาไทยถิ่นสงขลาจะมีอีกความหมายหนึ่งซึ่งหมายถึง หยิ่ง จองหอง ใจจืด เช่น เจ้าบ้านโกงจ้านไม่ทักสักคำ (เจ้าของบ้านหยิ่งจึงไม่ทักทายสักคำ)
           - ชง ในภาษาไทยมาตรฐานมีความหมายว่า เทน้ำาร้อนลงบนใบชาหรือยาเพื่อให้ออกรส แต่ในภาษาไทยถิ่นสงขลาจะใช้ในความหมายที่กว้างออกไปอีก ซึ่งหมายถึง งง ชะงัก ประหม่า
            - เคย ในภาษาไทยมาตรฐานมีความหมายว่าชื่อสัตว์นํ้าเค็มชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายกุ้งแต่เล็กมาก เหมาะสำหรับใช้หมักเกลือทำกะปิและทำนี้าเคย เป็นคำประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากริยานั้น ๆ ได้เป็นมาแล้ว ชิน คุ้น แต่ในภาษาไทยถิ่นสงขลาจะมีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งหมายถึง กะปิ โยนี ส้มชนิดหนึ่ง ต้นไม้ชนิดหนึ่งดอกสีเหลืองกลิ่นเหม็นเหมือนกะปิ
       ๑๐. คำทึ่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่น ๆ เนื่องจากจังหวัดสงขลามีผู้คนมาจากหลายวัฒนธรรมได้มาอาศัยอยู่ร่วมกัน กลุ่มชนในจังหวัดสงขลาจึงได้รับอิทธิพล ทางด้านการยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้หลายคำและหลายภาษา เช่น
             - คำที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลีแสะภาษาสนสกฤต คำที่ภาษาไทยถิ่นสงขลายืมมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่ใซัอยู่ในภาษาไทยมาตรฐาน เช่น กีฬา โคตร โฆษณา เจดีย์ ฐานะ บูชา โบราณ บาป อุบาทว์ เวทนา (อกเสียงว่าเวด-นา) โอรส (ออกเสียงว่าโอ-หรด มีความหมายว่าทำตัวเป็นคนเจ้านายชอบความสบาย)
             - คำที่ได้รันอิทธิพลมาจากภาษาจีน คำยืมภาษาจีนที่เข้ามาปะปนในภาษาไทยถิ่นสงขลามีอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคำพึ้น ๆ ที่มาใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น แป็ะซะ เปาะเปี้ยะ ตือฮวน เต้าส่วน เต้าหู้ยี้ จับฉ่าย เกี้ยว โอยั้วะ ไชเท้า บะฉ่อ เต๊ะจุ๊ย ตุ๋น เฮงชวย
             - คำที่ได้รันอิทธิพลจากภาษามลายู คำภาษามลายูเข้ามาปะปนในภาษาไทยถิ่นสงขลามากพอสมควร ทั้งนี้เพราะจังหวัดสงขลามีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย การติดต่อสัมพันธ์กันจึงมีมาช้านานบางพื้นที่ในจังหวัดสงขลา เช่น ที่อำเภอจะนะ มีผู้นับถือศาสนาอีสลามเป็นส่วนใหญ่และยังใช้ภาษามลายูถิ่นในชีวิตประจำวันอีกด้วย คำภาษามลายูที่ปรากฏในภาษาไทยถิ่นสงขลา ได้รับการปรับให้เข้ากับสภาพของคนไทยถิ่นนี้ เช่น ยู่หนี (กระสอบป่าน) หลุด (โคลน ดินเหนียว) มูสัง (ชะมด) บิดัน (หมอตำแย) ชุมโพ่ (ผลฝรั่ง) ยำหนัด (สับปะรด)
               นอกจากนี้แล้วก็มีคำอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาเขมร เช่น แหลง มาจากแถลงในภาษาเขมรแปลว่าพูด 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ภาษาไทยถิ่นสงขลา
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ปรุงศรี วัลลิโภดม [และคณะ], บรรณาธิการ. (2545). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา. 
             กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024