ตํานานตําบลพิเทน อําเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
 
Back    15/05/2023, 15:02    723  

หมวดหมู่

นิทานพื้นบ้าน


ประเภท/รูปแบบเนื้อหา

ร้อยแก้ว


เนื้อหา


ภาพจาก : https://www.piten.go.th/html/photo-main.asp?typephoto=2&id=278

        เมื่อครั้งอดีตกาลมีราชธิดาของพระราชาองค์หนึ่งเสด็จประพาสป่า พร้อมด้วยข้าราช บริพารระหว่างเสด็จประพาสป่านั้นพระธิดาทรงกระหายน้ํา แต่ปรากฏว่าน้ําที่นําไปนั้นหมดเกลี้ยง เลยต้องค้นหาแหล่งน้ําอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งพี่เลี้ยงไปพบน้ําขังอยู่ในแอ่งรอยเท้าพระยาราชสีห์เป็นน้ําใสสะอาดน่าดื่ม พระพี่เลี้ยงจึงตักน้ํามาถวายเมื่อพระธิดาทรงดื่มแล้วจึงชวนกันกลับพระราชวัง กาลต่อมาปรากฏว่าพระธิดาทรงเจริญวัยตามลําดับและทรงตั้งพระครรภ์ขึ้น ความทราบถึงพระบิดายิ่งทําให้มีความสงสัยและเสียพระทัยมาก พระราชาได้ตรัสเรียกโทรมาทํานาย เมื่อโทรได้ตรวจเลขผานาทีโดยละเอียดแล้ว ก็ไม่อาจทํานายได้ว่าพระธิดาทรงครรภ์ด้วยเหตุอันใด พระราชาจึงพิโรธพระธิดาและพระพี่เลี้ยง จึงขับไล่ทั้งคู่ไปอยู่ในป่านอกเมือง ต่อมาพระธิดาประสูติโอรสทรงชื่นชมโสมนัสเป็นอย่างมาก ทั้งพระมารดาและพระพี่เลี้ยงได้ทรงทนุถนอมเลี้ยงดู จนกระทั่งโอรสมีพระชันษาเติบใหญ่ตามลําดับ บริเวณที่พระธิดาและพระกุมารพร้อมด้วยพระพี่เลี้ยงประทับอยู่นั้น ยังมีป่าอีกแห่งหนึ่งอยู่ใกล้ ๆ ติดต่อกัน ณ ป่าใหญ่แห่งนั้นมีพระยาราชสีห์ตัวหนึ่งเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งหลาย คราวใดพระยาราชสีห์แผดเสียงคํารามได้ยินไปถึงพระราชวัง คราวนั้นชาวเมืองแก้วหูแตกถึงแก่ความตายครั้งละหลายคน ความทราบถึงพระราชาพระองค์จึงบัญชาให้ทหาร ไปปราบพระยาราชสีห์แต่ปรากฏว่าปราบไม่สําเร็จ พระราชารับสั่งให้ทหารไปปราบพระยาราชสีห์อีกครั้งระหว่างที่ทหารค้นหาเจ้าป่าอยู่นั้น ได้พบพระกุมารซึ่งกําลังเที่ยวประพาส เมื่อพระกุมารทราบเรื่องจึงตรัสกับทหารว่าไปฆ่าพระยาราชสีห์ไม่ตายดอกยกเว้นแต่พระองค์เอง ทหารได้ฟังเช่นนั้นจึงนําความกลับไปกราบทูลพระราชา พระองค์จึงรับสั่งให้ทหารนําตัวเด็กน้อยเข้าเฝ้า พระกุมารจึงทูลลาพระมารดาและพระพี่เลี้ยงแต่ได้รับคําทัดทาน พระกุมารไม่ยอมฟังและได้เสด็จเข้าเฝ้าพระราชา พร้อมกับได้ตกลงกันว่าถ้าพระกุมารทํางานครั้งนี้ได้สําเร็จจะได้ครองบ้านเมืองส่วนหนึ่ง พระราชาตรัสสั่งให้ทหารนําดาบชนิดต่าง ๆ มาให้พระกุมารเลือก แต่พระกุมารไม่สนพระทัยจึงทูลพระราชาว่ายังมีดาบตามหนึ่งฝังอยู่ใต้เสาพระราชวัง เมื่อได้รับราชานุญาตแล้วจึงขุดดาบดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเป็นอาวุธ เมื่อพระโอรสออกไปพบพระยาราชสีห์เจ้าป่า พระยาราชสีห์ได้พูดว่าถ้าพ่อตายให้ถลกหนังทําเชือก หนังที่หัวนําไปรองนั่ง ณ ท้องพระโรง หนังเท้าทั้งสี่นําไปหุ้มเสาพระราชวัง ส่วนเนื้อนําไปฝังในพระราชวัง พระกุมารไม่ทราบว่าพระยาราชสีห์เป็นพ่อจึงได้ต่อสู้กันขึ้นและได้ฆ่าพระยาราชสีห์ได้สําเร็จ พระราชาทรงพอพระทัยจึงแบ่งบ้านเมืองให้ส่วนหนึ่ง พระโอรสจึงจัดสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่แม่น้ําร้อยยอด เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วปรากฏมีต้นไม้ประหลาดคนหนึ่งงอกขึ้นมาชื่อต้นกก ณ เมืองของพระกุมารมีช้างเผือกคู่บ้านคู่เมือง เชือกหนึ่ง พระกุมารได้มอบหมายให้พี่น้องหาคนดูแล พี่น้องทั้ง ๕ คือนายยังหรือโต๊ะหยัง ซึ่งเป็นพี่เรียกกันว่า "พี่เณร" ถัดมาคือนายอ่อนหรือโต๊ะอ่อน นายแก้วหรือโต๊ะแก้ว นายมอญหรือโต๊ะหมอน และนางเลือดขาวซึ่งเป็นน้องสุดท้อง ช้างเผือกดังกล่าวนี้มีหนังพระยาราชสีห์ควั่นเป็นเชือกทาเป็นปลอกผูกล่าม อยู่มาวันหนึ่ง ช้างเชือกนี้ได้หายไปทางริมฝั่งทะเลตอนใต้ พระกุมารจึงรับสั่งให้พนักงานเลี้ยงทั้ง ๕ คน ออกติดตามค้นหาถ้าไม่ได้ช้างกลับคืนมาจะถูกสําเร็จโทษ พี่น้องทั้ง ๕ คนพบรอยช้าง ณ หาดแห่งหนึ่ง และเรียกหาดตรงนั้นว่า "หาดนี้แหละ" หรือ "ปาตานี่หละ" หรือเรียกว่า "ปาตานี" และได้เดินตามรอยต่อไปอีกไปพบรอยเป็นกุด ๆ ที่บ้าน มะหุต ต่อมาเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านมะหุตหรือกุต” (ตําบลปะโด) และมีรอยผ่านไปทางบ้านน้ําใส (หมู่ที่ ๕ ตําบลลุโบะยิไร) ปรากฏว่ารอยเท้าช้างที่ผ่านไปนั้นนานแล้ว จนกระทั่งน้ําใสมองเห็นรอยเท้าช้างเลยเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านน้ําใส" นายยังหรือโต๊ะหยัง หรือพี่เณรกับน้อง ๆ เห็นว่าช้างได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว จึงย้อนกลับไปที่บ้านเมืองยอน (เมืองยอนปัจจุบัน) ที่มีของชื่อเมืองยอนเกิดจากทั้ง ๕ คนคงจะย้อนไปหารอยเท้าช้างและเห็นอยู่ข้างทางเมืองยอนแล้วพักยอนหรือตะบันหมากกัน เมื่อกินหมากเสร็จแล้ว จึงออกเดินทางต่อไปถึงบ้านน้ําดำ ปรากฏว่ารอยเท้าช้างเพิ่งผ่านที่นั้นหยก ๆ น้ํายังต่ํา ๆ ขึ้น ๆ และจับช้างเชือกนี้ได้นําไปผูกไว้ที่บ้านโฉลง (หมู่ ๑ ตําบลน้ําดํา) ปรากฏว่าช้างตกมันอาละวาดไม่ยอมอยู่ และขาดหายต่อไปอีกและหายไปทางเขาช้างคลาน (หมู่ ๒ ตําบลพิเทน) ที่เขาช้างคลานมีอุโมงค์เข้าไปสุดทางของอุโมงค์เป็นสระน้ําเล็ก ๆ เมื่อช้างได้ขาดหายไปอีก โต๊ะมอกหรือโต๊ะหมอนได้บอกกับพี่ชายว่าไม่ติดตามต่อไปอีก จะขอตั้งหลักฐานที่นี้ (ตําบลน้ําดํา) ปรากฏว่าปัจจุบันมีที่ฝังศพของโต๊ะหมอน ส่วนนางเลือดขาว บอกว่าจะเลิกตามเช่นกัน แต่จะขอเที่ยวไปทางกลันตัน เมื่อเป็นดังนั้นพี่เณรหรือโต๊ะยัง โต๊ะอ่อนและโต๊ะแก้ว ได้เดินทางติดตามช้างต่อไปโดยไปทางเขาช้างคลาน (ตําบลพิเทน) แต่ไม่พบพี่เณรหรือโต๊ะยัง ได้บอกกับน้องทั้งสองว่าคนจะไม่ติดตามไปอีกแล้ว จะขอตั้งหลักฐานที่นี่ (หมู่ ๒ ตําบลพิเทน) ปรากฏว่าโต๊ะยังได้ซื้อหลักทรัพย์ตั้งหลักฐานต่อมาจนกระทั่งสิ้นชีวิต ส่วนโต๊ะอ่อนและโต๊ะแก้ว ได้บอกว่าจะลองตามไปดูทางบ้านบือจะ หมู่ที่ ๔ ตําบล พิเทน (ปรากฏว่ามีที่ฝังศพของโต๊ะอ่อนและโต๊ะแก้ว) ถ้าไม่พบอีกจะขอตั้งหลักฐานที่นั้น (หมู่ ๔ ตําบลพิเทน) จึงได้แยกย้ายกันไป
          
ระหว่างที่มีชีวิตอยู่นั้นพี่เณรหรือโต๊ะยังได้นําเชือกหนังพระยาราชสีห์ ระฆัง ตะขอหอกและปี มาไว้ที่บ้านพิเทน ปรากฏว่าได้สร้างโรงเก็บไว้ใกล้กับมัสยิดภูเขาน้อย (ปัจจุบัน) ห่างไปทางทิศเหนือประมาณ ๒๐ วา และกูโบหรือที่ฝังศพของพี่เณร อยู่ห่างกับเชือกหนังพระยาราชสีห์ ประมาณ ๖๐ วา กาลต่อมาปรากฏว่าระฆัง ตะขอ หอกและปี ไปอยู่ที่ตําบลกะลูปี อําเภอสายบุรี ส่วนหนังพระยาราชสีห์อยู่ที่บ้านมีเทน (หมู่ที่ ๒ ตําบลพิเทน) เชือกหนังพระยาราชสีห์เส้นนี้กับระฆัง มีปรากฏการณ์พิเศษว่า ยามมีแสงแดดอ่อน ๆ เชือกหนังได้คลียาวคล้ายงูเลื้อยออก ผึ่งแดดเองและขดเข้าที่เก็บตามเดิม ส่วนระฆัง (ใบเล็ก) แม่ผูกคอช้างเชือกอื่นแล้ว คอช้างจะทรุดต่ําลงเพราะทนความหนักของระฆังไม่ได้ ในทุก ๆ ปี เมื่อถึงเดือน ๖ แรม ๑ ค่ํา ชาวบ้านพิเทนก็จะพร้อมกันทําบุญจุดธูปเทียนบูชาที่ฝังศพพี่เณรหรือโต๊ะยัง ส่วนโต๊ะอ่อนและโต๊ะแก้ว ทําบุญแรม ๒ ค่ํา โต๊ะหมอน แรม ๔ ค่ํา เดือนเดียวกัน ได้ทําบุญเช่นนี้ตลอดกระทั่งปัจจุบัน ตําบลพิเทนมีวัดไทย ๑ แห่งอยู่หมู่ที่ ๒ ในบริเวณวัดแห่งนั้นมีต้นอินทนิล ๑ ต้น ในบริเวณนั้นเป็นทุ่งนามีเรื่องเล่าว่าวันหนึ่งชาวบ้านไปไถนา พบหม้อประหลาด ๑ ใบ ด้วยความสงสัยเขาจึงใช้มีดพร้าเนื้อจะทุบหม้อใบนั้น ปรากฏว่าหม้อประหลาดหมุนวนจมหายลงไปในดิน เวลาผ่านมา๔-๔ ปีต่ ก็มีคนพบ (โต๊ะปาเก) ได้พบหม้อ ๑ ใบ ใกล้กับที่ฝังศพพี่เณร ในหม้อใบนั้นมีเบี้ยโบราณบรรจุอยู่เต็ม ครั้งแรกโต๊ะปาเกไม่กล้าหยิบเบี้ยเพราะกลัวบาป แต่เมื่อมีความกล้าจึงเอื้อมมือหยิบแต่หม้อใบนั้นได้หมุนานหายไปในดินเช่นเดียวกัน สำหรับพี่เณรหรือโต๊ะยังได้สิ้นชีพไปนานแล้ว แต่ชาวบ้านได้เรียกชื่อ "พี่เณร" ติดปากต่อ ๆ กันมา เพราะถือว่าเป็นพี่ใหญ่และเป็นผู้ได้บวชเรียนแล้ว เข้าใจว่าต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น"พิเทน" ซึ่งเป็นชื่อเรียก "ตําบลพิเทน" ในปัจจุบันนี้


ภาพจาก : https://www.piten.go.th/html/photo-main.asp?typephoto=2&id=278

 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ตํานานตําบลพิเทน อําเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ที่อยู่
จังหวัด
ปัตตานี


บรรณานุกรม

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2524). สมบัติไทยมุสลิมภาคใต้. ปัตตานี : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันตก
         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024