ภาษาสงขลา
 
Back    25/04/2018, 09:33    124,307  

หมวดหมู่

ภาษาท้องถิ่น


ประเภท/รูปแบบเนื้อหา


เนื้อหา

ภาพจาก : https://pantip.com/topic/33964612

        ภาษาไทยถิ่นใต้เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยนับตั้งแต่ภาคใต้ตอนเหนือคือพื้นที่ระหว่างบ้านน้ำตก ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก กับบ้านกรูด ตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย และบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน รัฐปะลิส และรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ภาษาไทยถิ่นใต้มีเพียงภาษาพูดเท่านั้นไม่มีตัวอักษรเขียนที่เฉพาะ ซึ่งภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้สื่อสารก็มีแตกต่างออกตามชุมชนหรือหมู่บ้านอีกหลายสำเนียง ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลาก็เป็นหนึ่งในนั้น เพราะใช้พูดหรือสื่อสารกันเฉพาะบริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา หรือบางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลาถือเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษโดยมีลักษณะที่เด่นคือหางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อย ๆ เบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้างอย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น ๆ  นอกจากนี้ยังมีคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้คือคำว่า “เบอะ” หรือ “กะเบอะ” ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า “เพราะว่า” “ก็เพราะว่า” หรือเรียกเงินว่า “เบี้ย” ในขณะที่ภาคใต้ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า “ตางค์” และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่งคือ “ไม่หอน” ซึ่งมีความหมายว่า “ไม่เคย”  เช่น ฉานไม่หอนไป  เป็นต้น

กลุ่มของสำเนียงในภาษาสงขลา

        กลุ่มของสำเนียงในภาษาไทยถิ่นใต้สงขลา ประกอบด้วย
        ๑. สำเนียงสงขลากลุ่มอยู่เหนือน้ำ (โหม่เหนือ)

           สำเนียงสงขลากลุ่มอยู่เหนือน้ำ (โหม่เหนือ) คือภาษาที่ใช้สื่อสารกันเขตอำเภอหาดใหญ่ คลองหอยโข่ง สะเดา นาทวี จะนะ เทพา และสะบ้าย้อย ภาษาสงขลากลุ่มนี้จะมีเอกลักษณ์ เรื่องภาษาสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น  “ยิงหมีนะ” วลีนี้มีความหมายใกล้เคียงกับ "ยังดีนะ" หรือ “เกือบไปแล้วไหมละ” ที่ใช้ในภาษากลาง ประโยค “ยิงหมีนะตายถ้ากูมาไม่ทัน"  หมายความว่า “เกือบตายไปแล้วยังดีนะที่กูมาทัน” คนสงขลากลุ่มเหนือน้ำ (โหม่เหนือ) โดยเฉพาะคนคลองหอยโข่งดั่งเดิมจะเรียกมะละกอว่า กล้วยหลาหรือแตงต้น ในขณะที่ภาคใต้ทั่ว ๆ ไป เรียกมะละกอว่า “ลอกอ" หรือเวลาพูดจะมีคำว่า “หน้อ” ต่อท้ายประโยค และจะมีหางเสียงที่ขาดห้วน (ใช้กันทั่วไปในเขตคลองหอยโข่ง,สะเดา และนาทวี  ) ถือว่าเป็นสำเนียงสงขลาที่มีความนุ่มนวลกว่าสำเนียงสงขลากลุ่มอื่น และจะมีคำว่า “ได่” (ใช้กันทั่วไปในเขตคลองหอยโข่ง) ในแง่ความความว่า “ทำไม” ในขณะที่คนปักษ์ใต้ทั่วไปจะใช้คำว่า “ไส่” เช่น ที่คนเฒ่าคนแก่ถามลูกหลานที่ไปเยี่ยมถึงบ้านว่า "มาได่หะโหลก"   ซึ่งมีความหมายว่า "มาทำไมละลูก"\

       ๒. สำเนียงสงขลากลุ่มอยู่ริมทะเล (โหม่บก)

         สำเนียงสงขลากลุ่มอยู่ริมทะเล (โหม่บก) คือภาษาที่ใช้สื่อสารกันในเขตอำเภอสิงหนคร สทิงพระ และระโนด แม้ส่วนใหญ่จะมีสำเนียงใกล้เคียงกับชาวสงขลาเหนือน้ำ (โหม่เหนือ) แต่ก็มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือการออกเสียง “”  ที่ทางคนสงขลาริมทะเลออกเสียงไม่ได้ทั้งเสียงพยัญชนะนำและอักษรควบแต่จะใช้ “” แทน เช่น “รัก” จะออกเสียงว่า “ลัก” จึงมีผลให้ "ฉันรักเธอ" ของคนสิงหนครกลายเป็น "ชั้นหลักเธอ" (เขียนตามเสียงวรรณยุกต์) แต่ถึงแม้กลุ่มอยู่เหนือน้ำ (โหม่เหนือ) (คนหาดใหญ่, คลองหอยโข่ง และสะเดา) จะออกเสียง“” ที่เป็นพยัญชนะนำได้ แต่จะออกเสียงอักษรควบ “” ไม่ได้เช่นเดียวกันกับคนสงขลาริมทะเล เช่น “เปรียบเทียบ” จะออกเสียงเป็น "เปลียบเทียบ" หรือ “แปรงฟัน” จะออกเสียงเป็น "แปลงฟัน"

หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาสงขลา

           หน่วยเสียงของพยัญชนะในภาษาสงขลา มี  ๒๐ หน่วยเสียง ประกอบด้วย

๑.  ก    ๑๑.   ป
๒.  ข  ( ค )   ๑๒.   ผ   (พ )
๓.  จ ๑๓.   ฝ   (ฟ )
๔.  ฉ  ( ช )    ๑๔.   ม
๕.  ญ  ๑๕.   ย
๖.  ด  ๑๖.   ล
๗.  ต  ๑๗.   ว
๘.  ถ  ( ท ) ๑๘.   ส   ( ซ )
๙.  น ๑๙.  ห  ( ฮ )
๑๐. บ  ๒๐.   อ

       หน่วยเสียงพยัญชนะมีตรงกันกับภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) มี ๑๙ หน่วยเสียง  เสียงพยัญชนะที่เป็นภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) ไม่มี  ๑ หน่วยเสียง คือ พยัญชนะนาสิก “ญ”  ซึ่งมีจะตรงกันกับภาษาเชียงใหม่ ภาษาอุบล หน่วยเสียงพยัญชนะที่มีในภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) แต่ไม่มีในภาษาสงขลา  ๒  หน่วยเสียง คือ พยัญชนะนาสิก “”  และพยัญชนะ “                     

             หน่วยเสียงพยัญชนะ “ญ”  ที่มีในภาษาสงขลา เช่น   

ภาษาสงขลา  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป
ญ้า หญ้า
ญิ้ง หญิง
ไญ้   ใหญ่
หญัก ยักษ์

            หน่วยเสียงพยัญชนะที่มีในภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) แต่ไม่มีในภาษาสงขลา  ๒ หน่วยเสียงได้แก่ พยัญชนะนาสิก “” และพยัญชนะ “” สำหรับเสียง “” นั้น จะมีในภาษาปักษ์ใต้ถิ่นอื่นบางถิ่น เช่น นครศรีธรรมราช เป็นต้น

           หน่วยเสียงพยัญชนะ “” ภาษาสงขลาใช้ “” (ออกเสียงเป็น “” )

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
ฮา งา
ฮาน งาน
เฮิน เงิน
ฮ้อก หงอก
ฮ้อย หงอย

        หน่วยเสียงพยัญชนะ “” ภาษาสงขลาใช้ “” แทน (ใช้กันเฉพาะสวขลาแถบชายทะเล)

ภาษาสงขลา      ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
หลัก  รัก
ลัง รัง
หลู่  รู้
โหลก  โรค

       หน่วยเสียงพยัญชนะที่ภาษาสงขลาและภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) มีเหมือนกัน  แต่ใช้ต่างกันได้แก่เสียงพยัญชนะ เช่น

        พยัญชนะต้น

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
ป  เปลี่ยม ต  เตรียม 
ฉ ฉี  จ  เจ๊ 
ฉ (ช) เช้ก ข  เขก
ข (ค) คุ้น ฝ (ฟ) ฝุ่น 
ห (ฮ) ฮื้น, ฮ้ม ข  ขื่น, ข่ม 
ม (โหม่) ง   โง่ 
ห (ฮ) ฮี้ด, ฮี้บ น   นิด, หนีบ    

       พยัญชนะตัวสะกด 

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
บ     แฟ้บ่ ด   แฝด
ด     ขัด บ   คับ
       แน็ด     เหน็บ
ก    โผลก่ ง    พรุ่ง
น    เอื๋อน ม    เอือม 
   

        การตัดพยางค์ภาษาปักษ์ใต้โดยทั่วไปไม่ชอบออกเสียงคำมากพยางค์ จะมีคำหลายพยางค์ ซึ่งมักจะตัดพยางค์หน้าออก เช่น    

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
ชี้ด่ กะเฉด
ญ้ำ ขยำ
นุ้น ขนุน 
มู้ก่ จมูก
ล้าด่  ตลาด
วั้น  ตะวัน
โน่รา มโนห์รา 
พาน่  สะพาน
ไล้  อะไร 
คอน่ นคร 

         การตัดคำผิดบางคำแทนที่จะตัดพยางค์หน้าออกไปทั้งพยางค์ แต่ตัดไปเพียงครึ่งเดียวโดยพยัญชนะต้นเหลือพยัญชนะตัวสะกดที่อยู่ท้ายสระไป กลายเป็นพยัญชนะต้นประสมกับพยัญชนะ เช่น

ภาษาสงขลา   ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
ไมล์  กำไร 
ม̣ละ ชำแหละ
ม̣ลับ สำรับ
ม̣ลัก สำลัก

          การกลมกลืนเสียง บางคำใช้วิธีลดพยางค์ด้วยวิธีกลมกลืนเสียง ทำให้คำ ๒ พยางค์กลายเป็นคำหนี่งพยางค์ เช่น

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
ม̣ละ มะระ 
ห̣ม̣ละ มะลิ

       พยัญชนะควบกล้ำ พยัญชนะผสมหรือพยัญชนะควบกล้ำในภาษาสงขลา ได้แก่ พยัญขนะต่อไปนี้คือ

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
กล  เช่น ก̣ลอน      (กลอน )
ขล ,  คล  เช่น  คล้าด      (ขลาด)  คลอง'      (คลอง)
ตล  เช่น  ต̣ลอก      (ตรอก)
ปล  เช่น ปลา, ปลี         
ผล เช่น ผล็อก (กะลามะพร้าว), ผลื่อ' (อย่างไร)
มล เช่น ห̣ม̣ล็ด (เมล็ด), เม̣ลื่อน' (ลืมตา), เห̣ม̣ลือก' (เมือก)
กว  เช่น กวำง (กวาง)
ขว,  คว เช่น คว้า (ขวา), แคว้น (แขวน)
ตส  เช่น ต̣สวด (ปลาจวด), ต̣สวน (ตรวน)

         ซึ่งจะเห็นได้ว่าพยัญชนะที่มี “” กล้ำใช้ตรงกับภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)ส่วนใหญ่พยัญชนะที่มี “” กล้ำนั้นโดยเหตุที่ภาษาสงขลาไม่มี “” กล้ำ จึงใช่ “ล ” แทน เช่น 

ภาษาสงขลา     ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
กลาบ' กราบ  
คลาง' คราง 
คลู ครู
แปล๋ง  แปรง 
ผล่า พร้า

       ส่วนของพยัญชนะ “ร ” และ “ล ” กล้ำที่ใช้ต่างกันบ้างก็มี ดังนี้คือ

      ๑. ลดเสียง ร, ล

ภาษาสงขลา   ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
ใค'  ใคร
เคือบ' เคลือบ 

     ๒. ลดเสียงพยัญชนะตัวหน้าเหลือแต่ “ล   

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
เลาะ เกราะ 
เลือหรือเรือ เครือ

       ๓. พยัญชนะที่มี “ว ”  ควบนั้นมีตรงกัน มีตรงกันทั้ง “กว ” “ขว ” และ “คว ” เช่น

 ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
กวั๋ก กวัก
กวาง กว้าง
กว๋าง กวาง  
คว้า  ขวา  
เคว้ เขว 

        แต่ส่วนใหญ่แล้ว “ขว ” และ “คว ” ในภาษาสงขลา มักจะใช้สลับกับ “ฟ ” ในภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)  เช่น

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
ฟ้าน ขวาน
ฟาม'  ความ
ฟาย ควาย
ควัน' ฟัน
คว่า ฟ้า 
ไคว'  ไฟ
คว้า ฝา

       นอกจากนี้ในพยัญชนะ “ว ” ควบในภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) แต่ในภาษาสงขลาจะลดเสียงพยัญชนะตัวต้น  เช่น

ภาษาสงขลา       ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
วั๋ก  จวัก
ว้า กว่า
เว' ไกว

        ในภาษาสงขลาจะมีหน่วยเสียงเป็นสระเดี่ยว ๑๘ หน่วยเสียง ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) ภาษาเชียงใหม่และภาษาอุบล ซึ่งมีหน่วยสระประสมที่เสียงยาวตรงกัน ๓ หน่วยสระ ประกอบด้วย “เอีย ” “เอือ ” “อัว ”  สระในภาษาสงขลาและภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) ที่ตรงกันแต่มีการใช้ต่างกัน เช่น

ภาษาสงขลา “อาย”  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “ไอ” (อะ+ยะ)  
กลาย  ใกล้  
ค้าย'  ไข้  
ฉ่าย'  ใช่
ฉ่าย ใช้
หว่าย   ไว้ 
ภาษาสงขลา “อาว  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “เอา ” (อะ+ว
ท้าว เฒ่า 
ถ่าว    เท่า 
ภาษาสงขลา “อี  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “อิ ” 
คี้ง'  ขิง 
ลีง'   ลิง 
ซี้น  สิน (ตัด)
ภาษาสงขลา “เอะ” และ “เอ  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “อิ ” และ “อี ” 
เหม̣ละ  มะลิ  
เค้ ขี่ 
เด  กระดี่ 
ภาษาสงขลา “แอะ ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “อิ ” 
แหน่ง'  นิ่ง
ภาษาสงขลา “อิ” และ “อี”  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “เอะ” และ “เอ 
มิ้น  เหม็น 
ฉี เจ๊
ภาษาสงขลา “แอะ”  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “เอะ”
แก๋ง   เก่ง
แก๊บ  เก็บ
แจ๋ด เจ็ด 
แด๋ก เด็ก
แน็ต  เหน็บ
แป๋ด เป็ด
ภาษาสงขลา “เออ ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “อือ
เขลิ่น' คลื่น 
เส่อ'    ซื่อ 
เฉ่อ'  ชื่อ
เห̣ม̣ลิ่น'   ลื่น  
เม̣ลิ่น  ลืมตา 
ภาษาสงขลา “อี”  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “อือ
อี๋ม  ยืม
คี้มิ้น' ขมิ้น
ภาษาสงขลา “อุ ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “อะ
ตุ๋กแต๋น ตั๊กแตน  
ภาษาสงขลา “โอะ” และ “โอ”  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “อุ” และ “อู
โผลก' พรุ่งนี้
โข่ คู่ 
โด๋ ประดู่
โดก  กระดูก  
โม้  หมู่
โหลก ลูก 
ภาษาสงขลา  “แอะ”  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “โอะ”   
แม็ด หมด  
ภาษาสงขลา “เอาะ”  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “โอะ” และ “โอ” 
ก๋อก ก๊ก
จ๋อบ  จบ 
ฉ็อก ชก
หน้อก  นก  
บ๋อก บก
หม็อด มด
อ๋อก อก  
ก๋อง โกง 
ภาษาสงขลา “เอีย ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “เอือ” 
เฉียก'   เชือก  
ภาษาสงขลา “เอีอ' ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “เอืย” 
เปลื๋อน  เปลี่ยน
ภาษาสงขลา  “เอีย”  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) “เอือ” 
เหม่อ'  เมื่อ 

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาสงขลา

        เสียงวรรณยุกต์ในภาษาสงขลามี ๗ เสียง ซึ่งต่างกับภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป เกือบทุกเสียง  ยกเว้นเสียงวรรณยุกต์  “เอก     

        ๑. เสียงวรรณยุกต์ “สามัญ”  คล้ายเสียง “สามัญ” ของภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป แต่สูงกว่าเล็กน้อย เช่น

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
กาง ก้าง
ต็อน ต้น
บา  บ้า

      ๒. เสียงวรรณยุกต์ “สามัญ” เพี้ยนเป็นเสียงสามัญที่มีหางเสียงเป็น “โท” เล็กน้อย เช่น

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
คา' คา
นา'  นา
ลา' ลา
วา' วา

       ๓. เสียงวรรณยุกต์ “เอก” ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ “เอก” ในภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)  เช่น

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
ขา'  ค้า
ฉา' ช้า
หมา' ม้า
หล่อง ร้อง
ขิด คิด
หม็อด หมด
หวัด  วัด

       ๔. เสียงวรรณยุกต์ “เอก” เพี้ยน เป็นเสียง “เอก”ไม่เต็มเสียงแต่จะสูงกว่าเสียง “เอก”ในภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) เช่น

ภาษาสงขลา   ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
เฉ่อ'  ชื่อ
ผี่'  พี่
แหม่'  แม่
ฝูก'  ฟูก
โหลก' ลูก

       ๕. เสียงวรรณยุกต์ “ตรี” จะเพี้ยนเป็นเสียงระหว่างเสียง “โท”กับเสียง “ตรี”  แต่จะค่อนไปทางเสียง “ตรี” เช่น

ภาษาสงขลา  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป
ค้าด'  ขาด
ทู้ก' ถูก
เฮาะ  เหาะ
ม้าก'  หมาก
ฮ้า'  ห้า

      ๖. เสียงวรรณยุกต์ “ตรี”  ใกล้เสียง “ตรี” ของภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) แต่เสียงยาวกว่า และตั้งต้นสูงกว่าเสียง “ตรี” ในภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) และหางเสียงจะเป็นเสียง “จัตวา

ภาษาสงขลา  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)
ค้า   ข่า
พ้า  ผ่า
ไญ้   ใหญ่
ไม้  ใหม่
พิด ผิด
ฮ็อก หก
ซ้าม   สาม
ญิ้ง  หญิง
มู้ หมู

        ๗. เสียงวรรณยุกต์ “จัตวา” ใกล้เสียงวรรณยุกต์ “จัตวา” ของภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) แต่จะมีเสียงต่ำกว่าเล็กน้อย เช่น

ภาษาสงขลา  ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) 
ก๋า กา
ต๋า  ตา
หยา   ยา
ปู๋ ปู่
ตั๋ด ตัด
ปิ๋ด  ปิด

ตัวอย่างคำศัพท์ในภาษาสงขลา

ภาษาสงขลา ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป)  
คร  ตะไคร้
ดีปลี, โลกแผ็ด, ลูกเผ็ด  พริก
แตงจีน  แตงโม
ผักหมึง  ตำลึง
ดอกมะเละ  ดอกมะลิ
พรือมัง, พันพรือม, พันพรือมัง เป็นไงบ้าง, อย่างไรบ้าง
โม่, โบ่      โง่
อ้อร้อ (จะใช้เฉพาะกับผู้หญิง )      เจ้าชู้
หลบบ้าน, หลบเริน      กลับบ้าน
ลุย, จังหู, จังเสีย, กองเอ, คาเอ,  
แจ็กแจ็ก, จังเสีย, จ้าน, กองลุย    เยอะ ๆ, มากมาย
แควน (“ฟ” จะเปลี่ยนเป็น “คว”),  
โม่เด็ก     แฟน, คนรัก
หรอยจังหู, หรอยพึด, หรอยอีตาย  อร่อยมาก
มระ หรือโบระ   ขี้เหร่, ไม่สวยไม่งาม
ม่ารู่ม้าย   ไม่ทราบ
หวิบอย่างแรง, หวิบหูจี้   โกรธมาก
หลูหละ, ซอกปร็อก  สกปรก, เลอะเทอะ

ตัวอย่างประโยคในภาษาสงขลา

ภาษาสงขลา      ภาษากลาง (ที่ใช้กันโดยทั่วไป) 
พันพรือมั้ง   เป็นอย่างไรบ้าง
หวังเหวิดแรงนิ  เป็นห่วงนะ
ปกับใครหลาว   ไปกับใครนะ
แขบไปไหน    จะรีบไปไหน
ไซหม้ายหลบเรินมั้ง     ทำไมไม่กลับบ้านบ้าง
อย่าแหลงขี้หกนะ, อย่าแหลงขี้เท็จนะ   อย่าพูดโกหกนะ
ไปกันได้หม้าย  ไปด้วยได้ไหม
อยู่บ้านแต่สวน, อยู่เรินแต่สวน อยู่บ้านคนเดียว
เนือยอย่างแรง     หิวข้าวมาก
หว่างนี้ทำงานไหร่   ตอนนี้ทำงานอะไรอยู่
ไปเที่ยวหลาด   ไปเที่ยวตลาด


 

                                  

ภาพจาก : https://pantip.com/topic/33964612


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ภาษาสงขลา
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

บันทึกขนำริมทุ่งปลักเหม็ด. (2554). สืบค้นวันที่ 2 พ.ย. 61, จาก http://plugmet.orgfree.com/sk_dialect.htm

ภาษาไทยถิ่นใต้ (จ.สงขลา). (2558). สืบค้นวันที่ 2 พ.ย. 61, จาก https://prezi.com/go6nwb0qvuzj/presentation/

วิกิมีเดียสารานุกรมเสรี.(2561). สำเนียงสงขลา. สืบค้นวันที่ 2 พ.ย. 61, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สำเนียงสงขลา

วิทยาลัยครูสงขลา. (2514). พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ ฉบับชั่วคราว. สงขลา : โรงพิมพ์เมืองสงขลา.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (บรรณาธิการ). 2529). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024