ผ้ายกเมืองนครเท่าที่มีการศึกษาค้นคว้าไม่ปรากฏว่ามีมาแต่ครั้งไหน หรือเอาแบบอย่างมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานว่าในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย คงจะมีการทอผ้าอย่างจริงจังแล้ว เพราะในสมัยนั้นได้มีการติดต่อค้าขายและรับเอาศิลปวัฒนธรรมจากชนชาติที่เจริญแล้วอยู่เสมอ เช่น จีน อินเดีย และอาหรับ ชาติต่าง ๆ เหล่านี้คงจะนำวิชาการทอผ้ามาถ่ายทอดไว้ แต่เดิมชาวพื้นเมืองรู้จักแต่ทอผ้าพื้นเรียบไม่มีลายยกดอกหรือทอลวดลายสีสรรให้วิจิตรพิสดารแต่อย่างใด การทอผ้ายกดอก คงจะเริ่มทำกันในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ก็กล่าวกันว่าชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้แบบอย่างการทอผ้ามาจากแขกเมืองไทรบุรี เมื่อครั้งที่เมืองไทรบุรีคิดขบถในปี พ.ศ. ๒๓๕๔ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ยกกองทัพไปปราบได้และกวาดต้อนครอบครัวเชลยมาไว้เบ็นจำนวนมาก มีพวกช่างผีมือปะปนมาหลายพวก มีทั้งแขกที่เบ็นชาวพื้นเมืองและแขกเชื้อสายผู้ดีสกุลสูง เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกลักับตัวเมือง เช่น พวกช่างทองช่างเงิน เครื่องประดับ ให้อยู่อยู่บริเวณริมคลองข้างสนามหน้าเมืองตะวันตกหรือบริเวณหลังสโมสรข้าราชการในบัจจุบัน ช่างปั้นและช่างหล่อโลหะประเภททองเหลืองให้เฝ้าสวนมะพร้าวหลังวัดมหาธาตุ พวกช่างทอผ้าให้อยู่บริเวณตำบลมะม่วงสองต้น ซึ่งบรรดาช่างจากเมืองไทรบุรีเหล่านี้ได้มาเบ็นครูสอนชาวเมืองนครศรีธรรมราชให้รู้จักทอผ้ายก เจ้าพระยาเมืองนครศรีธรรมราชได้ให้การอุปถัมภ์และส่งเสริมการทอผ้าเบ็นอันมาก โดยได้เกณฑ์ให้เด็กสาว ๆ บริวาร และลูกหลาน กรมการเมืองตลอดจนชาวบัานที่สนใจมาหัดทอผ้ายก (ในเรื่องเกณฑ์คนทอผ้านี้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเคยมีเรื่องพิพาทกับเจ้าเมืองสงชลามาก่อนกล่าวคือในปี พ.ศ. ๒๓๒๐ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือให้กรมการเมืองออกไปเก็บผู้หญิงช่างทอหูก (ทอผ้) บุตรสาวกรมการเมืองสงขลา และบุตรสาวราษฎรเมืองสงขลาพาไปเมืองนครศรีธรรมราชหลายสิบคน หลวงสุวรรณคีรีสมบัติเจ้าเมืองสงขลา ซึ่งก็มีเรื่องหมางใจกับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชอยู่เกี่ยวกับการส่งส่วยภาษีอากรและอื่น ๆ จึงกราบบังคมทูลฟ้องพระเจ้ากรุงธนบุรีกล่าวหาว่าเจ้าเมืองนกรศรีธรรมราชใช้อำนาจกับเมืองสงขลามากเกินไป ไม่ขอขึ้นอยู่กับเมืองนครตรีธรรมราชอีกต่อไป พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าณ ให้มีตราออกมาเมืองนครศรีธรรมราช ให้เมืองสงขลาขึ้นตรงกับกรุงธนบุรีโดยตรง) สำหรับฝีมือการทอผ้าของชาวเมืองนครศรีธรรมราชนั้นมีชื่อเสียงมานานเบ็นที่รู้จักกันดีทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองภาคใต้ โดยคนทั่วไปเรียกกันว่าผ้ายกเมืองนคร สำหรับการแต่งกายในสมัยก่อนของชาวเมืองนกรศรีธรรมราชไม่ว่าจะเป็นพวกข้าราชการกรมเมือง ข้าราชการศาล และราษฎร จะนิยมมุ่งผ้าโจงกระเบนก้นทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะเจ้านายผู้หญิงของเมืองนครนิยมนุ่งผ้ายกจีบเวลาออกรับแขกเมืองหรือไปร่วมพิธีทำบุญที่วัด นอกนี้แล้วในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ผู้ที่เข้าพิธีถือน้ำจะต้องนุ่งผ้ายกขาวเชิงทองเรียกว่า "ผ้าสัมมะรส" สำหรับผ้ายกทองนั้นจะใช้เฉพะเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และข้ารชการชั้นผู้ใหญ่ในรั้วในวังหรือเจ้า ส่วนผ้ายกธรรมดาก็ใช้กันโดยทั่วไปมักจะใช้พิธีแต่งงาน ไปวัดหรืองานมงคลอื่น ๆ เช่น บวชนาด และโกนจุก ผู้หญิงมักจะนุ่งผัยกดอกหน้านางหรือผ้าก็บนัด ผู้ชายก็นุ่งผ้าหางกระรอก
ผ้ายกนครจัดเป็นผ้าพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์ มีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวาง มีปรากฏในเพลงร้องเรือที่ว่า....
ไปเมืองคอนเหอ | ไปซื้อผ้าลายทองสลับ |
ชื่อมาตั้งพับ | สลับทองห่างห่าง |
หยิบนุ่งหยิบห่ม | ให้สมขุนน้ำขุนนาง |
สลับทองห่างห่าง | ทุกหมู่ขุนนางนุ่ง......เหอ |
“ยก” เป็นการทอซึ่งมีลักษณะคล้ายการขิดมากแต่ซับซ้อนยุ่งยากกว่า เนื่องจากผ้ายกจะทอลายพิเศษ โดยใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษ อย่างไหมดิ้นเงินหรือดิ้นทอง เพื่อเพิ่มลวดลายในเนื้อผ้าให้งดงามพิเศษยิ่งขึ้น นิยมเรียกผ้าซึ่งทอยกด้วยดิ้นเงินว่า “ผ้ายกเงิน” หากทอยกด้วยดิ้นทองจะเรียกว่า “ผ้ายกทอง” นอกจากนี้บางครั้งผ้ายกยังมีชายเชิงที่แปลกตาจะเรียกผ้ายก ซึ่งทอมีเชิงตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ เช่น เรียกผ้ายกเชิงเงิน หรือผ้ายกเชิงทอง ปัจจุบันตัวผืนผ้ายกใช้การเก็บตะกอลอยหรือเขาลอย เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ผู้ทอไม่ต้องคัดเก็บลายแล้วถอดออก หรือต้องเก็บลายใหม่ทุกครั้งเมื่อจะทอ ทําได้โดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งจํานวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า การทอผ้ายกนี้ใช้เวลานานมากและมีความสลับซับซ้อน ดังนั้นจึงมักทอผ้ายกสําหรับใช้ในโอกาสพิเศษเท่านั้น (ธีรพันธ์ จันทร์เจริญ, ๒๕๕๖, น. ๔๐ ; อ้างอิงในสายฝน จิตนุพงศ์, ๒๕๕๗) ในเมืองไทยมีการทอผ้ายกกันหลายภูมิภาค ทั้งในภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด และภาคใต้คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานีและตรัง ทว่าผ้ายกซึ่งทอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกกันในชื่อเฉพาะถิ่นว่าผ้าพุมเรียง ส่วนผ้ายกซึ่งทอในจังหวัดตรัง มักเรียกว่าผ้านาหมื่นศรี ซึ่งผ้ายกในแต่ละที่ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะที่สวยงามและโดดเด่นแตกต่างกัน
การทอยกดอกจะต้องเตรียมเส้นยืนโดยการก่อเขาหรือเก็บตะกอลายผ้าเพื่อยกหรือดึงเส้นยืนบางส่วนขึ้นและข่มหรือดึง เส้นยืนบางส่วนลง ทําให้เกิดช่องว่างสําหรับพุ่งกระสวย เส้นพุ่งเข้าไปสานขัดกับเส้นยืน เนื่องจากผ้ายกจะทอลายพิเศษโดยใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษ อย่างไหมดิ้นเงินดิ้นทอง เพื่อเพิ่มลวดลายในผ้าให้งดงามยิ่งขึ้นบางครั้งผ้ายกจะมีชายมีเชิงที่แปลกตา เรียกผ้ายกที่มีเชิงตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ เช่น เรียกผ้ายกเชิงเงิน หรือผ้ายกเชิงทอง ปัจจุบันผ้ายกใช้เก็บตะกอ ตะกอลอยหรือเขาลอยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ผู้ทอไม่ต้องคัดเก็บลายแล้วถอดออก หรือต้องเก็บลายใหม่ทุกครั้งเมื่อจะทอ ทําได้โดยการยกตะกอแยกเส้นด้ายยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้นด้ายพุ่งจํานวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า
ผ้ายกนครจัดเป็นผ้าพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์ มีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการอย่าง กว้างขวาง มีปรากฏในเพลงร้องเรือที่ว่า....
ไปเมืองคอนเหอ | ไปซื้อผ้าลายทองสลับ |
ชื่อมาตั้งพับ | สลับทองห่างห่าง |
หยิบนุ่งหยิบห่ม | ให้สมขุนน้ำขุนนาง |
สลับทองห่างห่าง | ทุกหมู่ขุนนางนุ่ง......เหอ |
จากเพลงกล่อมเด็กบทนี้ทําให้ทราบได้ทันทีว่าที่นครศรีธรรมราชมีการทอผ้ากันมาอย่างเป็นสําเป็นสันมาเป็นเวลานานแล้ว การทอผ้ายกนครมีหลักฐานว่าชาวนครศรีธรรมราช ผ้ายกเป็นวิธีการทำลวดลายบนผืนผ้าโดยแยกเส้นด้ายยืนขึ้นลงแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งตามแนวที่คัดไว้โดยใช้ตั้งแต่สามตะกอขึ้นไป การยกในบางครั้งเพิ่มเส้นด้ายพุ่งจำนวน ๒ เส้น หรือมากกว่านั้นหรือเพิ่มดิ้นเงินดิ้นทองเข้าไปจะได้ลวดลายที่เหมือนกับการจกและขิด คือใช้ไม้ปลายแหลมยกเส้นด้ายยืนให้ลอยขึ้น สอดใส่เส้นด้ายพุ่งที่ทำจากไหมเข้าไปขัดกับเส้นยืน กลายเป็นผ้าพื้นสลับกับการพุ่งด้ายที่ทำจากดิ้นเงินหรือดิ้นทองให้เกิดเป็นลวดลายตามความต้องการ เส้นด้ายยืนที่ใช้ทอผ้ายกส่วนใหญ่ทำจากไหม ไหมเทียม ฝ้ายและด้ายใยผสมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับผืนผ้า ผ้ายกมักเรียกตามชื่อวัสดุที่ใช้ เช่น ผ้าทอยกดิ้นทอง เรียกว่าผ้ายกทอง ผ้ายกของแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างด้วยวิธีการทอและสีสันที่เลือกใช้ ได้แก่ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน นิยมทอเป็นผ้านุ่งผ้าซิ่นและยังนิยมทอเป็นผ้าห่ม เรียกว่าผ้าห่มตาแสง ซึ่งเป็นผ้าฝ้ายทอยกดอกสีดำ แดง ขาว เป็นลายตารางสี่เหลี่ยม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการทอขึ้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี สุรินทร์ และภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ลายโบราณที่นิยมทอเป็นลายดอกพิกุล ลายดอกแก้ว นิยมใช้เป็นผ้านุ่งโดยจะนุ่งในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช เป็นต้น การทอผ้ายกมีความละเอียดประณีตการทอแต่ละผืนจึงต้องใช้เวลามาก กล่าวกันว่าบางครั้งใช้เวลาในการทอผ้ายกหลาละ ๑ เดือน การทอผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราช มีชื่อเสียงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของเมืองนครศรีธรรมราชมานาน เป็นสินค้าพื้นเมืองสําหรับชนชั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้ายกดิ้นเงินพื้นทอง ผ้ายกฝ่ายจะใช้ในหมู่คนธรรมดาทั่วไป ดังนั้นผ้ายกจึงเป็นผ้าทอที่ใช้ในโอกาสพิเศษจริง ๆ ลักกษณะเฉพาะของผ้ายกนครศรีธรรมราช จะทอด้วยไหมทั้งผืนเล้วทอยกด้วยดิ้นเงิน หรือคนทอง เป็นผ้าชั้นสูงที่ใช้เฉพาะเจ้าเมืองและข้าราชการชั้นสูงเท่านั้น ผ้ายกเมืองนครเป็นผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ทอสืบต่อกันมาแต่โบราณ เป็นผ้าที่ได้รับการยกย่องมาแต่โบราณว่าสวยงามแบบอย่างผ้าชั้นดี ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าในสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์หรือตัมพะลิงค์ ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธศตวรรษที่ ๗ และมี ศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน คงจะมีการทอผ้านี้กันแล้วเพราะยุคนั้นตามพรลิงค์เป็นเมืองท่าศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จึงมีการแลกเปลี่ยนรับเอาศิลปวัฒนธรรมจากจีน อินเดียและอาหรับ ซึ่งชาติต่าง ๆ เหล่านี้คงจะนําเอาวิชาการทอผ้ามาถ่ายทอดไว้ ซึ่งทําให้ชาวพื้นเมืองรู้จักการทอผ้าทั้งผืนเรียบและผ้ายกดอก ส่วนการทอผ้ายกที่ลวดลวดลายสีสันวิจิตรงดงาม คงเพิ่งจะเริ่มทํากันในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวกันว่าชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้แบบอย่างการทอผ้ามาจากแขกเมืองไทรบุรี ในปี พ.ศ. ๒๓๕๔ เมื่อครั้งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชยกกองทัพไปปราบกบฏ เมื่อถึงเวลากลับก็ได้กวาดต้อนครอบครัวเชลย ในจำนวนนั้นก็มีพวกช่างฝีมือต่าง ๆ มาด้วย รวมทั้งช่างทอผ้ายกจึงทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมกับความรู้ดั้งเดิม ผ้ายกนครเกิดขึ้นโดยกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อนประกอบกับทอด้วยความพิถีพิถันจากวัสดุที่นํามาทอก็เป็นสิ่งที่สูงค่ามีราคา จึงถือได้ว่าผ้ายกเมืองนครเป็นงานประณีตศิลป์ชั้นเยี่ยมตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนเป็นเอกลักษณ์ของการทอผ้ายกเมืองนครที่ขึ้นชื่อในเวลาต่อมาจนถึงรัชกาลพระจุลจอมเกล้า เป็นยุคสมัยที่การปกครองบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นและสภาพเศรษฐกิจดี ส่งผลให้การทํานุบํารุงศิลปะในแขนงต่าง ๆ เจริญรุ่งเรือง ผ้ายกเมืองนครเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้กับบุคคลสําคัญ เจ้านายและข้าราชบริพารชั้นสูง ใช้สวมใส่เวลาเข้าเฝ้าเป็นการแสดงสถานะของบุคคล ตัวอย่างผ้ายกรุ่นเก่าของเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบันนี้หาดูได้ยากที่พอจะหาดูได้และอยู่ในสภาพสมบูรณ์ซึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จากการพิจารณาเนื้อผ้าและลวดลายยกดอกจะเห็นได้ว่าผ้ายกเมืองนคร มีความสวยงามมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองและเป็นแบบฉบับของช่างฝีมือชั้นสูงแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราช ในตอนที่ขุนช้างนุ่งผ้าแต่งตัวจะไปเป็นเพื่อนเจ้าบ่าวให้พลายงาม (ขุนแผน) แต่งงานกับนางพิมพิลาไลยไว้ว่า
“คิดแล้วอาบน้ํานุ่งผ้า ยกทองของพระยาละครให้ |
ห่มส่านปักทองเยื้องย่องไป บ่าวไพร่ตามหลังสะพรั่งมา” |
นอกจากนี้ในกลอนชาวบ้านซึ่งเป็นบทกลอนที่ร้องเล่นกันในหมู่ชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราชและใกล้เคียง ยังมีกลอนเกี่ยวกับการทอหูก เรียกกันว่าบทสมห้องหรือบทอัศจรรย์ ดังนี้
พระนาคีรักนางอย่างพันผูก ต้องคิดอย่างทอหูกให้ถูกเส้น |
แลตีนทีมสับทับก็เม่น ไว้เส้นแกวกล่องไว้ช่องตรน |
ถีบยังแกรกอ้าร้าขยับ พอทบฉับกุ้งขวิดติดทุกหน |
สองเท้าตรันตีนทีมเข้าชอบกล ข้างพื้นบนวัดฝังไว้หลังคือ |
จนตลอดลอดลองกับช่องด้าย หัตถ์ขวาซ้ายลบต้องประคองถือ |
ผ้าร้ายชุบน้ำเช็ดพอติดมือ ชักให้ชื่อริมผ้าตามหน้าฟืม |
ถีบผังเกะกะระกระเส พอตรนแหวะเข้ารับกับตองหืน |
พัลวัลกันยุ่งด้ายพุ่งยืน บางคนอื่นไปมาเขายอว่างาม |
ฉันขอโทษท่านผู้ฟังอยู่ทั้งหลาย อภิปรายให้ทราบใช่หยาบหยาม |
ว่าตัวฉันทอผ้าว่าไม่งาม จึงรู้ความจริงแจ้งอย่าแช่งด่า |
เพลงร้องเรือหรือเพลงชาน้องเกี่ยวกับการทอผ้าเมืองนครศรีธรรมราช มีดังนี้
บทที่ ๑
ไก่ชาวเกาะราวทอหูก ขันหมากจะมาต่อพรุก |
หูกนี้จะคาไว้ให้ใคร ตาไว้ให้แม่บ้าแม่ยายแม่ย่าก็อยู่ไกล |
หูกนี้จะคาไว้ให้ใคร ใยไหมตอกคําอ่อนเอย |
บทที่ ๒
ไปเหนือสั่งให้บุญเกื้อ ผูกไว้ท่าทอผ้าบาหลี |
ทอติดทอต้อง สาวน้อยลองทอสองสามที่ |
ทอผ้าบาหลี ทอสีดอกคําย่อนเอย |
บทที่ ๓
ทอผ้าทอพิ่มยี่สิบห้า ก้มแลเนื้อผ้าลอดหลังนิ้วก้อย |
ทําพร็อพี่บ่าวเอ๋ย ตัวน้องยังน้อย |
ลอดหลังนิ้วก้อย ตัวน้องยังน้อยเอย |
บทที่ ๔
ทอผ้าพิมยี่สิบเจ็ด ทอให้น้าเณรทองเพ็ชร |
ไปล่องไม้เหลี่ยม ผืนหนึ่งดอกส้มผืนหนึ่งดอกเทียน |
ไปล่องไม้เหลี่ยม ดอกส้มดอกเทียนปนเอย |
สมเด็จพระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธวงศ์วรเดช ได้เสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้รับรายงานถึงผลประโยชน์และการทํามาหากินของเมืองต่าง ๆ ที่ได้เสด็จถึงและได้กล่าวถึงสินค้าออกจากเมืองนครศรีธรรมราชที่เกี่ยวข้องกับผ้ายกเมืองนครในหนังสือชื่อชีวิวัฒน์ ดังนี้คือ... ราคาสิ่งของที่ขายในตลาด ผ้านุ่งผ้าห่ม ผ้ายกไหม ผ้ายกทองไม่มีขายในตลาด เป็นของทอเฉพาะผู้สั่งจะซื้อและเป็นของทําในบ้านผู้ว่าราชการเมืองกรมการ ผู้หลักผู้ใหญ่เป็นต้น ผ้าม่วงราคาผืนละ ๕-๖ เหรียญ ผ้าริ้ว ผ้าตา ผ้าพื้น ผืนละ ๖ ก้อน หรือ ๒ ยำไป หรือ ๖ ตําลึง ผ้าขาวม้าไหมผืนละ ๗ เหรียญ ผ้าขาวม้าด้ายกุลีละ ๘ บาท ถึง ๑๐ บาท ผ้าเช็ดปาก ผ้าขาวกุลีละ ๔ บาท ถึง ๕ บาท ผ้าโสร่งไหมผืนละ ๔-๕-๖ เหรียญ ผ้าโสร่งคด้ายผืนละ ๑ บาท...
ผ้ายกนครมีหลายชนิดและหลายลายแต่ละชนิดมีลายมีความวิจิตรงดงามเป็นแบบฉบับของตนเอง เช่น ผ้าตา (ซึ่งมีชายผ้าทอเป็นแถบลายทองและลายเงิน นิยมใช้นุ่งโจงกระเบนทั้งหญิงและชาย) ผ้าเก้ากี่ ผ้าราชวัตร ผ้าห่ม ผ้าม่วง ผ้าพื้น ผ้าเก็บดอก ผ้ายกเงิน ผ้ายกทอง ผ้าเก็บชาย ผ้าหางกระรอก ผ้าลายดอกชนิดต่าง ๆ (ได้แก่ลายดอกมะร่วง ดอกพิกุล ยกริ้ว ยกริ้วร่อง) โดยผลิตออกจําหน่ายเป็นศิลปหัตถกรรมจนเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
การทอผ้ายกดอกเมืองนคร น่าจะรับเอาวิธีการทอผ้ายกดอกของชาวมลายูมาผสมผสานกับความรู้ดั้งเดิมประยุกต์เข้ากับลวดลายไทยและพัฒนาวิธีการทอที่สลับซับซ้อนด้วยความพิถีพิถัน ช่างทอผ้าที่มีความชํานาญสูง ได้ปรับปรุงบางสิ่งบางอย่างให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของตน ผ้ายกเมืองนครเป็นความงามทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นสืบทอดภูมิปัญญามาตั้งแต่โบราณ การทอผ้าพื้นเมืองของนครศรีธรรมราช มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. ผ้ายก เป็นกระบวนการทอลวดลายบนเนื้อผ้า โดยใช้การทอเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษเกิดเป็นลวดลายยกนูนขึ้นบนเนื้อผ้า วิธีการทอจะคัดเส้นด้ายยืนขึ้นลงเป็นจังหวะที่แตกต่างกันตามลวดลายที่ต้องการ แล้วใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดเขาไป หากใชเสนไหมทอเรียกว่าผ้ายกไหม ถ้าใช้เส้นเงินหรือเสนทองทอเรียกว่าผ้ายกเงินและผ้ายกทอง นอกจากใช้เส้นด้ายพิเศษแล้วยังมีเชิงเป็นกรวยเชิงชั้นเดียวหรือกรวยเชิงซ้อนกันหลายชั้น และกรวยเชิงขนานกับริมผ้า |
๒. ผ้าทอยกดอก ลักษณะของผ้าทอยกดอกใช้กรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกเส้น ด้ายยืนขึ้นเป็นลวดลายเฉพาะไม่ได้เพิ่มเส้นด้ายยืน หรือเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปลักษณะการทอใช้ตะกอร่วม ที่ออกแบบให้สามารถทอได้ทั้งลายขัดและลายยกดอกสลับกันไปในเนื้อผ้า การยกและขมเส้นยืนในแนวหน้าผ้าที่ แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งเข้าไปในระหว่างช่องกลางเส้นด้ายยืน พุ่งข้ามแยกจากโครงสร้างของลายขัดแตกต่างกัน ทําให้เกิดลวดลายนูนขึ้นบนผ้าสังเกตได้จากลายยกดอกจะแทรกอยู่ในเนื้อผ้าลายขัดเกิดเป็นผ้ายกดอกที่มีลายขัดอยู่ในตัว ทําให้เนื้อผ้ามีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้สวมใส่ ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มทอผ้ายกในนครส่วนใหญ่ทอผ้ายกดอกด้วยกี่กระตุกทําให้ทอได้เร็วผ้าจึงมีราคาถูก |
ลักษณะการใชสอยของผายกเมืองนคร
การแต่งกายของคนไทยสมัยโบราณมีแบบแผนการแต่งกายและการใช้ผ้าแตกต่างกันไปตามฐานันดรศักดิ์ ยศ และตําแหน่ง พระมหากษัตริย์พระราชทานผ้าแก่ข้าราชบริพาร ประเภทของผ้าและคุณภาพของผ้าที่พระราช ทานจะแตกต่างกันตามบรรดาศักดิ์ ผ้านุ่งผู้ชายมีกรวยเชิงหลายชั้น ผ้านุ่งผู้หญิงมีกรวยเชิงชั้นเดียว ซึ่งการใช้ผ้า แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงฐานะในสังคม ใครมีฐานะอย่างไรสังเกตได้จากการใช้ผ้า เจ้านายและชนชั้นสูงจะใช้ผ้า ไหมเพราะเป็นผ้าที่พิเศษต้องใช้ฝีมือในการทอและการดูแลรักษามาก ชาวบ้านโดยทั่วไปใช้ผ้าฝ้าย เพราะมีขั้น ตอนในการผลิตไม่ซับซ้อนและไม่ต้องพิถีพิถันในการดูแลมาก ผ้ายกทองเป็นเครื่องนุ่งห่มเฉพาะเจ้าเมืองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของเมืองหรืเจ้าพระยานครส่งฝ่ายกทองไปถวายในราชสํานักและถวายเจ้านายในเมืองหลวงรวมทั้งจัดหาให้คหบดี ส่วนเจ้านายผู้หญิงนุ่งผ้ายกจีบเวลาออกรับแขกเมือง หรือไปร่วมพิธีทําบุญที่วัดอยู่เป็นประจํา ส่วนผ้ายกธรรมดาใช้กันทั่วไปซึ่งมักจะใช้ในพิธีแต่งงาน นั่งไปวัดหรืองานมงคลอื่น ๆ เช่น งานบวชนาคและโกนจุก ผู้หญิงมักจะนั่งยกดอกหน้านาง ผู้ชายนุ่งผ้าหางกระรอก ในบัจจุบันนี้ผ้ายกในเมืองนครศรีธรรมราชก็ยังมีทออยู่บ้าง แต่ก็หาดูได้ยากเต็มที เพราะไม่มีใครช่วยบำรุงรักษาหรือส่งเสริมให้เหมาะสมกับกาลสมัย อีกประการหนึ่งงานทอผ้ายกเป็นงานที่ต้องใช้เวลามาก ด้านตลาดจำหน่ายก็แคบลง คนทอผ้าเป็นก็มีแต่คนแก่ ซึ่งก็ไม่ได้ฝึกหัดเด็กรุ่นใหม่แทน เด็กเยาวชนจึงหันไปประกอบอาชีพอื่นที่มีรายได้ดีกว่าหมด
การทอผ้ายกเมืองนครนับเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปัจจุบันผ้ายกเมืองนครเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากผ้าทออื่น ๆ ดอกผ้าจะยกนูนขึ้นเห็นลายชัดเจนและมีความละเอียดอ่อน ประณีตในตัวของผืนผ้ามีความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นโบราณแบบดังเดิมของคนสมัยก่อน ผ้ายกเมืองนครถือเป็นผ้าสําหรับเจ้าเมือง ขุนนางชั้นสูงและพระบรมวงศานุวงศ์ ในสมัยก่อนเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้กับบุคคลสําคัญ เจ้านายและข้าราชบริพารชั้นสูง ใช้สวมใส่เวลาเข้าเฝ้า และเป็นการแสดงสถานะของบุคคล ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นผ้าสําหรับคหบดี เจ้านายลูกหลานเจ้าเมือง และสามัญชนทั่วไปใช้นั่งสําหรับงานพิธีสําคัญต่าง ๆ
ผ้ายกเมืองนคร เป็นผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ทอสืบต่อกันมาแต่โบราณ เป็นผ้าที่ได้รับการยกย่องมาแต่โบราณว่าสวยงามแบบอย่างผ้าชั้นดี การทอผ้ายกมีกระบวนการทอโดยเพิ่มลวดลายผ้าให้เป็นพิเศษขึ้น มีขั้นตอนและวิธีการทอ คล้ายการทอผ้าขิดหรือผ้าจก แต่ต่างกันที่บางครั้งผ้ายกจะทอเป็นลายพิเศษ มีตะกอเขาลอยยกดอกแยกเส้นยืนต่างหาก ซึ่งจะยกครั้งละกี่เส้นก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบลายทอต้องการลวดลายอย่างไร มีลายมีเชิงที่แปลกออกไป การทอจึงต้องใช้ขั้นตอนและวิธีการเก็บลายด้วยไม้เรียวปลายแหลม ตามลวดลายที่กำหนดจนครบคัดยกเส้นยืนขึ้นเป็นจังหวะ มีลวดลายเฉพาะส่วนสอดเส้นพุ่งไปสานขัดตามลายที่คัดไว้ การเก็บตะกอเขาลอยยกดอกเพื่อผู้ทอจะได้สะดวกไม่ต้องคัดเก็บลายทีละเส้นเป็นความสามารถ และเทคนิคเฉพาะตัวของช่างแกะดอกผูกลาย ซึ่งการร้อยตะกอเขาลายนี้ใช้เวลามากเพราะต้องทำด้วยมือทั้งหมด บางลายเสียเวลาหลายเดือนกว่าจะมัดเขาเสร็จและเมื่อร้อยตะกอเสร็จแล้ว ถ้าเป็นกี่กระตุกก็จะทอได้รวดเร็วแต่ถ้าเป็นกี่โบราณก็จะทอได้ช้า การทอผ้ายกดอกนี้สามารถตกแต่งลวดลายให้สวยงามและทอออกมาได้หลากหลายสี
ลายเชิงผ้า (ลายกรวยเชิง) เป็นลายส่วนล่างของผ้าหรืออยู่ริมผ้า ตามที่พบมี ๓ ลักษณะ ดังนี้
แบบที่ ๑ ผ้ายกเมืองนคร มีเทคนิคทอแบบกรวยเชิงซ้อนหลายชั้น เป็นผ้าสําหรับเจ้าเมือง ขุนนางชั้นสูงและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งนิยมทอผ้าด้วยเส้นทองลักษณะกรวยเชิง จะมีความละเอียดอ่อนช้อย ลวดลายหลายลักษณะประกอบกัน ริมผ้าจะมีลายขอบผ้าเป็นแนวยาวตลอดทั้งผืน กรวยเชิงส่วนใหญ่มีตั้งแต่ ๒ ชั้น และ ๓ ชั้น ลักษณะพิเศษของกรวยเชิงรูปแบบนี้ คือพื้นผ้าจะมีการทอสลับสีด้วยเทคนิคการมัดหมีเป็นสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำเงิน ม่วง ส้ม น้ำตาล ลายท้องผ้าพบนิยมทอผ้าพื้นและยกดอก เช่น ยกดอกลายเกร็ดพิมเสน ลายดอกพิกุล เป็นต้น
|
แบบที่ ๒ กรวยเชิงชั้นเดียว นิยมทอผ้าด้วยเส้นทองหรือเส้นเงิน จะพบในผ้ายกเมืองนครซึ่งเป็นผ้าสำหรับคหบดีและเจ้านายลูกหลานเจ้าเมือง ลักษณะกรวยเชิงจะสั้น ทอคั่นด้วยลายประจำยามก้ามปู ลายประจำยามเกลียวใบเทศ ไม่มีลายขอบในส่วนของลายท้องผ้านิยมทอด้วยเส้นไหมเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายดอกพิกุล ลายก้านแย่ง ลายดอกเขมร ลายลูกแก้วฝูง เป็นต้น
|
แบบที่ ๓ กรวยเชิงขนานกับริมผ้า ผ้ายกเมืองนครลักษณะนี้เป็นผ้าสำหรับสามัญชนทั่วไปใช้นุ่ง ลวดลายกรวยเชิงถูกดัดแปลงมาไว้ที่ริมผ้าด้านใดด้านหนึ่ง โดยผสมดัดแปลงนำลายอื่นมาเป็นลายกรวยเชิงเพื่อให้สะดวกในการทอและการเก็บลายสามารถทอได้เร็วขึ้น ผ้าลักษณะนี้มีทั้งทอด้วยไหม ทอด้วยฝ้ายหรือทอผสมฝ้ายแกมไหม ที่พบจะเป็นผ้านุ่ง สำหรับสตรี หรือใช้เป็นผ้านุ่งสำหรับเจ้านาคในพิธีอุปสมบท โดยผสมดัดแปลงนำลายอื่นมาเป็นลายกรวยเชิงเพื่อให้สะดวกในการทอและการเก็บลายสามารถทอได้เร็วขึ้น ผ้าลักษณะนี้มีทั้งทอด้วยไหม ทอด้วยฝ้ายหรือทอผสมฝ้ายแกมไหม ที่พบจะเป็นผ้านุ่ง สำหรับสตรี หรือใช้เป็นผ้านุ่งสำหรับเจ้านาคในพิธีอุปสมบท
|
การทอผ้ายกนคร ซึ่งช่างพื้นบ้านจะเรียกเครื่องมือทอผ้าประเภทนี้ว่า “เกหรือกี่” ซึ่งมีอยู่ ๒ ชนิด คือเกยกกับเกฝัง สําหรับเกยกนั้นเป็นเครื่องมือทอผ้าที่สร้างขึ้นมาให้สามารถเคลื่อนที่ได้ ตั้งบนพื้นถอนออกและประกอบได้ง่าย ส่วนใหญ่ใช้ไม้เนื้อแข็งทําเพราะมีความแข็งแรงทนทาน เกยกกับเกฝั่งนั้นมีขนาดเดียวกัน แต่เกยกทําตั้งสูงกว่าเพื่อให้เท้าถีบ กระตุกด้ายเวลาทอผ้าสะดวกขึ้นและไม่ติดพื้น เกยกเหมาะสําหรับเคลื่อนย้ายนําไปใช้ทอในสถานที่ต่าง ๆ แม้แต่บนเรือนก็ทอได้ ส่วนเกฝั่งเป็นเครื่องทอผ้าที่ใช้เสาฝั่งยึดอยู่กับดินเคลื่อนที่ไม่ได้มักจะสร้างไว้ตามใต้ถุนเรือน เป็นเครื่องทอผ้าที่นิยมใช้กันมากกว่าเกยก
ส่วนประกอบของเครื่องทอผ้ายกนคร มีดังนี้คือ
๑. พิม มีลักษณะคล้ายกับหวี ยาวเท่าความกว้างของหน้าผ้ามีพื้นเป็นซี ๆ ระหว่างพื้นที่มหนึ่ง ๆ ร้อยด้าย ๒ เส้น พิมทําหน้าที่ตบหรือกระแทกให้เส้นด้านซึ่งสานขัดกัน เป็นลายเนื้อผ้าติดกัน พิมในสมัยโบราณทําสลักสวยงามมากจะเป็นรูปนกหรือทําเป็นลวดลายต่าง ๆ |
๒. ตีนฟืมหรือฟันหวี เป็นไม้สองอันผูกเชือกห้อยอยู่ที่พื้นตรงหน้าใช้สําหรับเท้าเหยียบ เพื่อขยับยกขาเหยียบให้ขึ้น ๆ ลง ๆ เวลาขัดลายดอกและเนื้อผ้า |
๓. เขา เขามี ๒ ชนิด คือเขายกดอก และเขาเหยียบ เขายกดอกสามารถทอได้ขนาดตั้งแต่ ๔-๑๐ เขา แต่ส่วนมากจะทอแค่ ๔-๗ ผู้ทอก็ใช้ที่เขาก็ได้แล้วแต่ดอก ส่วนเขาเหยียบนั้น คือเขาส่วนที่ใช้เท้าเหยียบ เพื่อขยับตัวขึ้นลงตามต้องการ เขาเหยียบพ้นเส้นเชือกขนาดเล็กเท่ากับจํานวนเส้นด้ายที่ใช้ทอผ้าผืนหนึ่ง ๆ ไม้พันเชือก ทั้งหมดมี ๘ อัน (หรือ ๔ เขา) แต่รวมกันเป็นคู่ ๆ มี ๔ คู่ อยู่ข้างบน ๒ คู่ อยู่ข้างล่าง ๒ คู่ |
๔. ลูกพันและพัน ตั้งอยู่บนขาเก (กี่) คือแผ่นไม้อยู่ตอนหัวสุดของเครื่องทอและที่หน้าตักคนทอใช้ สําหรับพันเส้นด้ายที่จะใช้ทอและพันผืนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว |
๕. ลูกกะหยก เป็นที่สําหรับยกเขาเหยียบ ซึ่งสัมพันธ์กับไม้เหยียบ (ไม้ตีนฟีม) ข้างล่าง |
๖. ลูกตุ้ง คือที่แขวนลูกพัน (กระดาน) ม้วนด้ายตรงหัวเกมีสองลูกซ้ายและขวา |
๗. ผัง คือไม้ที่ใช้ดึงให้ริมผ้าที่ทอเสร็จใหม่ทั้งสองข้างดึงเท่ากัน (หัวท้ายไม้ผูกเข็มสอดอยู่ใต้ผืนผ้า) เพื่อไม่ให้เส้นด้ายยุ่งอันจะทําให้พื้นฟีมหักได้ |
๘. นัด นัดมี ๒ ชนิด คือนัดไจกับนัดสอด ทําด้วยไม้แผ่นบาง ๆ อย่างละหนึ่งแผ่นหัวท้ายมนใช้สําหรับพุ่งสอดระหว่างเส้นด้าย |
๙. ตรน เป็นที่ใส่ไหมตอกใช้เฉพาะเวลาทอผ้ายกดอกเท่านั้น ทําหน้าที่เหมือนกระสวย |
๑๐. กระสวย เป็นที่สําหรับใส่หลอดด้าย มีรูปลักษณะคล้ายเรือใช้สําหรับพุ่งขวางไปขวางมาเพื่อทําให้เกิด |
๑๑. คานเก เป็นโครงไม้ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้แขวนฟีม เขา และอื่น ๆ ในการทอผ้า |
วิธีการทอโดยเริ่มจากการกรอกระสวยสำหรับทอกรวยเชิง เลือกสีที่เหมาะสมและความต้องการของลูกค้า การทอกรวยเชิงต้องใช้ช่างทอ ๓ คน ทอตามไม้ลายที่คัดไว้จนครบทุกไม้และเริ่มทอหน้านางตามลายครบตามจำนวนความยาวที่ต้องการแล้วเริ่มทอลายท้องผ้าตามความต้องการหรือตามที่ลูกค้าสั่ง เสร็จจาการทอลายแล้วก็ทอกรวยเชิงอีกครั้งให้ครบเหมือนกับครั้งแรก หลังจากครบกรวยเชิงตามที่ต้องการแล้วก็ทอผ้าพื้นตามจำนวนที่เหมาะสมในการใช้งาน การทอผ้ายกจะยากกว่าผ้ายกดอก เพราะเป็นผ้าโบราณมีความละเอียดและประณีต ในวันหนึ่ง ๆ ช่างทอจะทอผ้ายกเมืองนครได้ประมาณ ๓๐–๔๐ เซนติเมตร เท่านั้น ในผ้ายกเมืองนครหนึ่งผืน 4 หลา) จะใช้เวลาทอประมาณ ๑๕-๒๐ วัน
เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต
การทอลวดลายใหม่ ๆ การเลือกสีของเส้นด้ายเพื่อให้มีความกลมกลืน สวยงาม ความโดดเด่นสะดุดตา ลายผ้ามีความละเอียดประณีต เส้นด้ายเลือกใช้เส้นฝ้าย เมื่อสวมใส่ทำให้สบายตัว
ขั้นตอนการทอผ้ายก
ขั้นตอนในการทอผ้าเมืองนครมีดังนี้
๑. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะกอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง |
๒. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ ๑ จะถูกแยกออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่านสลับตะกอชุดที่ ๑ ยกตะกอชุดที่ ๒ สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับทําสลับกันไปเรื่อย ๆ |
๓. การกระทบฟันหวี (ฟิม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา |
๔. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืน ให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ |
ลายผ้ายกนคร
ลายผ้าของผ้ายกนครที่ทอกันสืบต่อมาตั้งแต่โบราณนั้นมีอยู่หลายลายด้วยกันแต่ที่รู้จักกันดี ก็คือลายผ้าราชวัตร (การทอจะไม่ใช้เขา) ลายตาสมุก (หรือผ้าเก้ากี่) ผ้าตา (ชายเงินชายทองหรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าผ้าชายธง) ผ้าห่ม (ใช้เป็นผ้าเบี่ยงหรือเคียนพุง) ผ้าหางกระรอก ผ้าพื้น ผ้าเก็บดอก (บางที่เรียกตีนัด) ผ้าม่วง ส่วนผ้าเก็บนัด หรือผ้าดอกก็มีหลายชนิด เช่น ผ้าลายดอกพิกุล ผ้าลายก้านแย่ง ผ้าลายดอกมะลิร่วง ผ้าลายดอกมะลิใหญ่ ผ้าลายก้านแย่ง รองชั้น ผ้าลายดอกสี่เขา ผ้าลายดอกพิกุลแก้ว หรือดอกพิกุลใหญ่ (ลายนี้ใช้ทอขนาด ๗ เขา) ผ้าลายดอกเขมร ผ้ารายริ้ว ผ้าลายกริ้วร่อง นอกจากนี้ยังมีลายอื่น ๆ อีกมากมายหลายชนิดที่คนทําเองก็ไม่ทราบชื่อแต่ก็ได้ทอสืบต่อ ๆ มา แต่ละลายต่างก็ตีความงดงามในตัวของมันเองแทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจและน่าศึกษาอย่างยิ่ง จากการศึกษาพบว่าลายผ้ายกเมืองนครมีอยู่ ๘ ลายประกอบด้วย
๑. ลายดอกกริช เป็นลายที่เลียนแบบมาจากอาวุธของชวา (ประเทศอินโดนีเชีย) คือเลียนแบบคมของกริช มีลักษณะเป็นรูปคล้ายกริชเล็ก ๆ แต่จะเป็นด้ามสั้น ๆ |
๒. ลายดอกจอก เป็นลายที่เลียนแบบลักษณะของขนมชนิดหนึ่งทางภาคใต้ มีลักษณะเป็นวงกลม มีแฉกตรงกลาง |
๓. ลายดอกพุดซ้อน เป็นลายที่เลียนแบบดอกพุดซ้อน มีลักษณะคล้ายดอกพิกุล แต่กลีบดอกจะมีขนาดกว้างกว่า |
๔. ลายดอกพิกุลใหญ่ เป็นลายที่เลียนแบบดอกพิกุล มีลักษณะเป็นวงกลม มีกลีบดอกเล็ก ๆ เรียงกันภายในวงกลม |
๕. ลายพิกุลสองหน้า เป็นลายที่เลียนแบบดอกพิกุล แต่ทอให้เห็นทั้งสองด้าน |
๖. ลายพิมพ์ทอง เป็นลายที่เลียนแบบลักษณะของขนมชนิดหนึ่งทางภาคใต้ที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า มีลักษณะคล้ายดอกไม้ |
๗. ลายยกเชิงก้านแย่ง เป็นลายที่วางโครงไขว้ซ้อนทับเรียงกัน มีลักษณะลายเหมือนดอกไม้แต่แบ่งก้านกันและกัน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างดอกไม้แต่ละดอก |
๘. ลายสมุก เป็นลายที่จำลองลายของภาชนะชนิดหนึ่งทางภาคใต้ มักใช้สำหรับใส่สิ่งของ |
การทอผ้ายกมีกระบวนการทอโดยเพิ่มลวดลายผ้าให้เป็นพิเศษขึ้น มีขั้นตอนและวิธีการทอ คล้ายการทอผ้าขิดหรือผ้าจก แต่ต่างกันที่บางครั้งผ้ายกจะทอเป็นลายพิเศษ มีตะกอเขาลอยยกดอกแยกเส้นยืนต่างหาก จะ ยกครั้งละกี่เส้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบลายทอต้องการลวดลายอย่างไร มีลายมีเชิงที่แปลกออกไป การทอ จึงต้องใช้ขั้นตอนและวิธีการเก็บลายด้วยไม้เรียวปลายแหลม ตามลวดลาย ที่กําหนดจนครบ คัดยกเส้นยืนขึ้น เป็นจังหวะ มีลวดลายเฉพาะส่วนสอดเส้นพุ่งไปสานขัดตามลายที่คัดไว้ การเก็บตะคอเขาลอยยกดอกเพื่อผู้ ทอจะได้สะดวกไม่ต้องคัดเก็บลายทีละเส้น เป็นความสามารถและเทคนิคเฉพาะตัวของช่างแกะดอกผูกลาย ซึ่งการร้อยตะกอเขาลายนี้ใช้เวลามาก เพราะต้องทําด้วยมือทั้งหมด บางลายเสียเวลาหลายเดือนกว่าจะมัดเขา เสร็จ และเมื่อร้อยตะกอเสร็จแล้ว ถ้าเป็นกี่กระตุกก็จะทอได้รวดเร็วแต่ถ้าเป็นกี่โบราณก็จะทอได้ช้า การทอ ผ้ายกดอกนี้สามารถตกแต่งลวดลายให้สวยงาม และทอออกมาได้หลายสี ลักษณะผ้ายกเมืองนครมีรูปแบบการทอ ๓ รูปแบบ แตกต่างกันในการทอและการนําไปใช้งาน
แบบที่ ๑ กรวยเชิงซ้อนหลายชั้น เป็นผ้าสําหรับเจ้าเมือง ขุนนางชั้นสูงและพระบรมวงศานุวงศ์ นิยมทอผ้าด้วยเส้นทองลักษณะกรวยเชิงจะมีความละเอียดอ่อนช้อย ลวดลายหลายลักษณะประกอบกันริมผ้า ๑๒ ลายขอบผ้าเป็นแนวยาวตลอดทั้งผืน กรวยเชิงส่วนใหญ่มีตั้งแต่ ๒ ชั้นและ ๓ ชั้น ลักษณะพิเศษของกรวยเชิง รูปแบบนี้คือพื้นผ้าจะมีการทอสลับสีด้วยเทคนิคการมัดหมีเป็นสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ําเงิน ม่วง ส้ม น้ําตาล ท้องผ้าพบนิยมทอผ้าพื้นและยกคอก เช่น ยกดอกลายเกรดพิมเสน ลายดอกพิกุล เป็นต้น |
แบบที่ ๒ กรวยเชิงชั้นเดียว นิยมทอผ้าด้วยเส้นทองหรือเส้นเงิน จะพบในผ้ายกเมืองนครซึ่งเป็นผ้า สําหรับคหบดีและเจ้านายลูกหลานเจ้าเมือง ลักษณะกรวยเชิงจะสั้น ทอคั่นด้วยลายประจํายามก้ามปู ลายประจํายามเกลียวใบเทศ ไม่มีลายขอบในส่วนของลายท้องผ้านิยมทอด้วยเส้นไหมเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลาย ดอกพิกุล ลายก้านแย่ง ลายดอกเขมร ลายลูกแก้วฝูง เป็นต้น |
แบบที่ ๓ กรวยเชิงขนานกับริมผ้า ผ้ายกเมืองนครลักษณะนี้เป็นผ้าสําหรับสามัญชนทั่วไปใช้นุ่ง ลวดลายกรวยเชิงถูกดัดแปลงมาไว้ที่ริมผ้าด้านใดด้านหนึ่ง โดยผสมดัดแปลงนําลายอื่นมาเป็นลายกรวยเชิงเพื่อให้สะดวกในการทอและการเก็บลายสามารถทอได้เร็วขึ้น ผ้าลักษณะนี้มีทั้งทอด้วยไหม ทอด้วยฝ้ายหรือทอผสมฝ้ายแกมไหม ที่พบจะเป็นผ้านุ่งสําหรับสตรีหรือใช้เป็นผ้านุ่งสําหรับเจ้านาคในพิธีอุปสมบท |
ลวดลายผ้ายกเมืองนครที่ทอกันมาแต่โบราณ มักเป็นลวดลายที่พบเห็นได้อยู่รอบตัวของช่าง ทอผ้า ลวดลายเหล่านี้ถูกถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา ด้วยวิธีการจดจําหรือทอลอกเลียนแบบอย่างไว้นับเป็นภูมิ ปัญญาและฝีมือของช่างทอผ้าอย่างแท้จริงลวดลายผ้ายกเมืองนครแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
๑) กลุ่มลายพันธุ์ไม้ เป็นลวดลายจากดอกไม้และต้นไม้ ได้แก่ ลายดอกพิกุล ลายดอกพิกุลแก้ว ลายดอก พิกุลเถื่อน ลายดอกพิกุลล้อม ลายดอกพิกุลก้านแยก ลายดอกพิกุลสลับลายลูกแก้ว ลายดอกมะลิร่วง ลายดอก มะลิตูมก้านแย่ง ลายดอกเขมร ลายดอกไม้ ลายใบไม้ ลายตาย่านัด ลายหัวพลู เม็ดพริกไทย ลายเครือเถา |
๒) กลุ่มลายสัตว์ ได้แก่ ลายม้า ลายหางกระรอก ลายหิงห้อยชมสวน ลายแมงมุมก้านแย่ง |
๓) กลุ่มลายเรขาคณิต ได้แก่ ลายเกล็ดพิมเสนทรงสี่เหลี่ยม ลายเกล็ดพิมเสนรูปเพชรเจียระไน ลายก้าน แข่ง ลายราชวัด ลายเก้ากี ลายดาสมุก ลายตาราง ลายลูกโซ่ ลายลูกแก้ว ลายลูกแก้วฝูง |
๔) กลุ่มลายเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ลายไทยประยุกต์ ลายไทยประยุกต์ผสม ลายพิมทอง และลายอื่น ๆ อีกที่ไม่ ทราบชื่อลาย |
ลายราชวัตร
ลายราชวัตร เป็นชื่อลายผ้าที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ นิวัติเมือง สงขลาเมื่อปี ๒๔๙๕ เป็นผ้า "ลายยกดอกก้านแย่ง" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ลายหลังนกเขา" เนื่องจากว่ามีลาย คล้ายลายขนบนหลังนกเขา
ลายเกล็ดพิมเสน
ลายเกล็ดพิมเสน เป็นลายผ้ายกเมืองนครโบราณที่มีความสวยงามมาก ทอเป็นลายอยู่บริเวณท้องผ้า ลักษณะลวดลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก และผลึกรูปเพชรเจียระไน ผ้ายกเมืองนครลายเกล็ดพิมเสนที่พบมีทั้งผ้ายกทองและผ้ายกไหม
แหล่งผลิตผ้ายกเมืองนคร
กลุ่มทอผ้ายกเมืองนครที่สําคัญมีอยู่ ๑๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทอผ้าตําบลนาสาร กลุ่มทอผ้าบ้านมะม่วงปลายแขน กลุ่มทอผ้าตําบลฉลอง กลุ่มทอผ้าหัวตะพาน กลุ่มทอผ้าประตูหอม กลุ่มทอผ้าสวนหลวง กลุ่มทอผ้าเขาพระบาท กลุ่มทอผ้าบ้านแหลม กลุ่มทอผ้าเขาพังไกร กลุ่มทอผ้าบานขอนหาด กลุ่มทอผ้าบานควนพัง และกลุ่มทอผ้าบ้านสามตําบล
- กลุ่มทอผ้ายกเมืองนคร บ้านมะม่วงปลายแขน เป็นชุมชนที่ทอผ้ายกเมืองนครที่มีลายเอกลักษณ์ของจังหวัด เช่น ลายพิกุล มีการรวมกลุ่มผู้ทอและสืบทอดศิลปะการทอในหมู่ญาติพี่น้องภายในครอบครัว ทําการทอผ้าตลอดทั้งปีโดยใช้ช่วงว่างจากการทํานาทําสวน จากการสัมภาษณ์นางสาวละออง บัวเพชร อายุ ๕๒ ปี ผู้มีบทบาทสําคัญผู้หนึ่งของกลุ่มทอผ้ายกบ้านมะม่วงปลายแขน ซึ่งมีความคุ้นเคยกับการทอผ้าที่ได้รับการถ่ายทอดจากญาติผู้ใหญ่มาตั้งแต่เด็ก ได้เริ่มประกอบอาชีพการทอผ้าของตนเอง โดยได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การทอผ้าจากพ่อแม่โดยเป็นผู้ทอผ้าเพียงคนเดียวในขณะนั้น (พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๔) จนถึงปัจจุบันมีผู้หันมาทอผ้ามากขึ้น กิจการทอผ้าได้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
- กลุ่มทอผ้าบ้านตรอกแค จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนางวิไล จิตเวช มีอัตลักษณ์สำคัญคือดอกผ้าจะยกนูนขึ้นเห็นลายชัดเจน และมีความละเอียดประณีต กลุ่มทอผ้าบ้านตรอกแค เดิมทอผ้าฝ้าย ขนาด ๒ หลา จำหน่ายในราคา ๔,๐๐๐ บาท เมื่อได้รับคำวินิจฉัยให้ทอสลับดิ้นเงิน ดิ้นทอง เปลี่ยนเส้นผ้าฝ้ายใช้เส้นนิ่มและให้ใช้เส้นยืนสีดำ เส้นพุ่งสีน้ำเงินสลับดิ้นเงิน เมื่อนำออกจำหน่ายทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด จำหน่ายผ้าขนาด ๒ หลา ราคาผืนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ยอดจำหน่ายตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ ถึง เดือนมีนาคม ๒๕๖๔ รวมทั้งสิ้น ๘๘๐,๐๐๐ บาท (๕๕,๐๐๐ ต่อเดือน)
วิมลพรรณ ปิตธวัชชัย. (2519). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้. กรุงเทพฯ : มูลนิธิแม่บ้านอาสา.