ดินแดนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ขังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสงขลา และสตูล มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมาลายู ที่นับถือศาสนาอิสลามถึงร้อยละ ๘๐ ที่เหลือเป็นประชากรที่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอื่น ๆ ร้อยล ๒๐ จากหลักฐานทางภูมิประวัติศาสตร์ที่ศึกษาโดยศาสตราจารย์ ดร. ครองขัย หัตถา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่าดินแดนแถบนี้ประชากรส่วนใหญ่นับถือผีเป็นหลักเช่นเดียวกับเขตพื้นที่อื่นทั่วโลกมาแต่ครั้งในอดีต ต่อมาเมื่อศาสนาพราหมณ์และอินดูเข้ามาเผยแผ่ ประชากรจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพราหมณ์และอินดู ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นศาสนาพุทธและท้ายสุดได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ที่ส่งผลต่อสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมต่อภูมิภาคนี้ ความหลากทลายทางศาสนาที่ลงท้ายด้วยศาสนาอิสลามนั้นได้ส่งผลต่อวิถีชีวิตและลักษณะทางลังคมของชุมชนแถบนี้อย่างมาก จากหลักฐานในอดีตสามารถทำความเข้าใจได้ว่า จากเดิมที่เจ้าเมืองปัตตานีนับถือศาสนาพุทธและเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามอย่างเต็มตัว ทำให้วิธีคิดในการปกครองบ้านเมืองตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เคยดำรงอยู่เปลี่ยนแปลงตามไปแทบทั้งหมด เพื่อใท้มีความสอดคล้องตามหลักการทางศาสนาอิสสาม นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่ที่เคยนับถือศาสนาพุทธก็เริ่มเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามไปด้วยเช่นกัน ทั้งหมดนี้จึงเป็นปัจจัยทำให้ปัตตานีและจังหวัดปริมณฑลในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ กลายเป็นดินแดนที่มีการสั่งสมของความหลากทลายทางวัฒนธรรม มีการดำรงอยู่ร่วมกันของชาติพันธุต่าง ๆ ด้วยการสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง
สำหรับดนตรีซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในหลักการทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธหรือศาสนาอิสลามก็ตาม แต่เนื่องด้วยมนุษย์ต้องการสิ่งที่มาบำบัดรักษาจิตใจ ต้องการแสดงออกในความรู้สึกและตอบสนองความต้องการบางอย่าง ที่วัฒนธรรมที่การแสดงออกในเชิงรูปธรรมไม่สามารถตอบสนองได้ ดนตรีจึงเกิดขึ้นและเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนกึงปัจจุบัน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แม้ว่าประชากรจะนับถือศาสนาอิสสามและมีความเคร่งครัดในศาสนา แต่ก็ยังปรากฏดนตรีที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามให้เห็นอย่างเด่นขัด เช่น ดนตรีอานาซีด ซึ่งเป็นดนตรีที่รับใช้ศาสนาโดยตรง เพื่อการสรรเสริญพระเจ้า
และการเตือนสติมนุษย์ให้กระทำแต่คุณงามความดี หากมองกึงดนตรีที่ปรากฏในสังคมชายแดนภาคใต้ในลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นดนตรีประกอบศิลปะการป้องกันตัว เช่น สีละ ที่แม้จะเป็นดนตรีที่มีรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในแหลมมาลายูโดยทั้วไป และยังคงรักษาความเป็นตัวตนมาอย่างยาวนานก็ตาม ซึ่งอาจดูเป็นแนวดนตรีดั้งเดิม ไม่มีสิงใดน่าสนใจเป็นพิเศษ แต่นั่นก็แสดงกึงความเป็นตัวตนของการรักษารูปแบบดนตรีดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น และสะท้อนให้เห็นกึงการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาและแนวความคิดแบบอินดูและพราหมณ์จากชวา ที่สามารถดำรงมาเป็นระยะเวลายาวนาน ท่ำกลางการผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากทลายในพื้นทีได้เป็นอย่างดีอีกลักษณะหนึ่ง
ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นอย่างยัดเจนว่าลักษณะดนตรีจังหวัดขายแดนภาคใต้นั้นมิความหลากทลายทั้งในส่านภาพรามของดนตรีที่มีทั้งดนตรีแบบดั้งเดิม และดนตรีที่มีการผสมผสานกันระหว่างดนตรีต่างเขตวัฒนธรรม ยิ่งไปกว่านั้นในตัวตนดนตรีแต่ละประเภทก็จะมิความหลากทลายที่ผสมผสาน รวมอยู่อีกด้วย โดยเฉพาะดนตรีรองเง็ง ที่เป็นดนตรีที่แสดงกึงลักษณะดังกส่าวได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นดนตรีที่สะท้อนกึงความสมานฉันท้โนการ เป็นตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันยองวัฒนธรรมที่หลากหสายที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกได้อีกด้วย
รองเง็งเป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ปรากฏมาเป็นเวลานาน และยังปรากฏว่าการแสดงขนิดนี้มีละเล่นในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่ด้วยเช่นกัน รองเง็งเป็นการแสดงที่ปรากฏในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย จากการศึกษาเอกสารแสะการเก็บข้อมูลภาคสนามยังพบว่า ประวัติความเป็นมาของการแสดงรองเง็งนั้น มีการสันนิษฐานของสถานที่ก่อกำเนิดไว้หลาย ๆ แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเมืองท่าที่สำคัญในแหลมมาลายู เช่น ปัตตานี และมะละกา อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปที่เด่นชัดว่าแท้จริงแล้วการแสดงชนิดนี้มีต้นกำเนิดจากที่ใดกันแน่ แต่หากวิเคราะห์จากประวัติศาสตร์และสภาพภูมิศาสตร์ของทั้ง ๒ เมืองแล้วจะพบว่าทั้งปัตตานีและมะละกาต่างเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญและมีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายมาแต่ครั้งอดีต ทั้ง ๒ แห่งจึงเหมาะแก่การเป็นประตูเปิดรับวัฒนธรรมต่างถิ่น โดยเฉพาะจากตะวันตกที่เข้ามาในสังคมแหลมมาลายู และหากเทียบหลักฐานต่าง ๆ แล้วอาจมีความเป็นไปได้ว่าปัตตานีน่าจะเป็นเมืองที่กำหนดการแสดงรองเง็ง
รองเง็งหรือหล่อแห้ง เป็นการเต้นประกอบจังหวะการร้อง เป็นการละเล่นที่นิยมกันมากในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้และฝั่งทะเลอันดามัน รองเง็งเป็นศิลปะเต้นรําพื้นเมืองของไทยมุสลิมมีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลําตัว และการแต่งกายคู่ชายหญิง กล่าวกันว่าการเต้นรองเง็งสมัยโบราณเป็นที่นิยมในบ้านขุนนางหรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ที่บ้านรายายะหริ่งหรือพระยาพิพิธเสนามาตย์ เจ้าเมืองยะหริ่ง ต่อมาสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๕๔) มีหญิงสาวซึ่งเป็นข้าทาสบริวารฝึกรองเง็ง เพื่อไว้ต้อนรับแขกเหรื่อในงานรื่นเริงหรืองานพิธีต่าง ๆ เป็นประจํา เนื่องจากวัฒนธรรมมุสลิมไม่นิยมให้สตรีเข้าสังคมกับบุรุษเพศโดยประเจิดประเจ้อ ฉะนั้นนอกจากผู้หญิงบริวารเจ้าเมืองแล้ว ผู้หญิงอื่น ๆ ที่เป็นผู้ดีจึงไม่มีโอกาสฝึกรองเง็งเพียงแต่นั่งดูเขาเต้นกัน รองเง็งระยะแรก ๆ จึงนิยมกันเพียงวงแคบ ๆ แม้ในชวาหรือมลายูโบราณนิยมรองเง็งกันน้อย และการละเล่นประเภทนี้ไม่ได้เน้นศิลปะมากนัก
ลักษณะการเต้นรองเง็ง
การเต้นรองเง็ง มีผู้ให้ความเห็นว่าคล้ายศิลปวัฒนธรรมชาวตะวันตก เพราะจากการสันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสหรือชาวสเปน ได้นําเอาศิลปะการเต้นประเภทนี้มาเผยแพร่ในประเทศชวาและมลายูก่อน โดยเฉพาะเมื่อถึงวันรื่นเริงปีใหม่ พวกฝรั่งเต้นรําอย่างสนุกสนาน เช่น เต้นเพลงลายดูวอ เป็นเพลงไพเราะน่าชมและน่าฟัง ชาวพื้นเมืองบังเกิดความสนใจและได้ฝึกซ้อมจนกระทั่งเกิดศิลปรองเง็งหรือรองเก่งขึ้น ส่วนรองเง็งในประเทศไทยนิยมเต้นกันในบ้านขุนนางมุสลิมไทย ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้านโดยอาศัยการแสดงมะโย่งหรือมโนห์รา (มะโย่งแสดงเป็นเรื่องและมีการพักครั้งละ ๑๐-๑๕ นาที) ระหว่างที่พักนั้นจะสลับฉากด้วยรองเง็ง เมื่อดนตรีขึ้นเพลงรองเง็ง ฝ่ายหญิงที่แสดงมะโย่งจะลุกขึ้นเต้นจับคู่กันเอง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานยิ่งขึ้นจึงเชิญชายผู้ชมเข้าร่วมวงด้วย ในที่สุดรองเง็งเป็นการเต้นรําที่ถูกอกถูกใจชาวบ้าน ภายหลังมีการจัดตั้งคณะรองเง็งรับจ้างเล่นในงานต่าง ๆ
ทํานองของรองเง็ง
สำหรับทำของการร้องและเต้นรองเง็งซึ่งแพร่หลายอยู่ในปัจจุน การเต้นรองเง็งของไทยมุสลิมเป็นการเต้นที่สุภาพจะไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกัน ผู้ชายสมัครเต้นมีสิทธิ์โค้งผู้หญิงหรือพาทเนอร์ได้ทุกคน การเต้นแต่ละเพลงมีลีลาไม่เหมือนกันเพลงหนึ่งก็เต้นไปอย่างหนึ่ง ฉะนั้นผู้เต้นรองเง็งต้องฟังเพลงได้ด้วยว่าเพลงนั้นจังหวะเต้นอย่างไร ฝ่ายชาวบ้านบางคนที่สันทัดก็สามารถออกไปเต้นได้เพราะไม่ต้องหาคู่ เต้นแบบลีลาศต่างคนต่างเต้นไปตามจังหวะ ไม่ต้องกลัวเหยียบเท้ากัน ผู้เต้นรองเง็งส่วนใหญ่แต่งกายแบบพื้นเมือง ผู้ชายสวมหมวกไม่มีปีกหรือที่เรียกว่าหมวกแขกสีดํา บางทีศีรษะสวมชะตามันหรือโพกผ้าแบบเจ้าบ่าวมุสลิม ถัดมานุ่งกางเกงขายาว ขากว้างคล้ายกางเกงจีน สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอก สีเดียวกับกางเกง แล้วใช้โสร่งแคบ ๆ ยาวเหนือเข่า สวมทับกางเกงเรียกผ้าลิลินังหรือผ้าชาเล่นดัง มักทําด้วยผ้าขอแกะ ถ้าเป็นของเจ้านายหรือผู้ดีมีเงินมักเป็นผ้าไหมยกดิ้นทองดิ้นเงิน ถ้่าฐานะรองลงมาใช้ผ้าไหมเนื้อดีตาโต ๆ ถัดมาใช้ผ้าธรรมดา ส่วนผู้หญิงเสื้อแขนกระบอกเรียกเสื้อมั่นคง ลักษณะเสื้อแบบเข้ารูปปิดสะโพก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมทองเป็นระยะ สีเสื้อสุดสวยและเป็นสีเดียวกับผ้าซึ่งนั่งกรอมเท้า นอกจากนั้นยังมีผ้าคลุมไหล่บาง ๆ ก็ตัดกับสีเสื้อที่สวม
เครื่องตนตรีในวงตนตรีรองเง็ง
ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย
- ไวโอลิน
|
- แอดคอร์ดเดียน
|
- แมนโดลิน
|
- รำมะนา
|
- มาราคาส
|
- ฆ้อง
|
- แทมโบรีน
|
เพลงรองเง็ง
เพลงรองเง๋็งที่รู้จักและนิยมเต้น มีอยู่ด้วยกัน ๗ เพลง ประกอบด้วย
๑. เพลงลากูดูวอ
ความหมายของเพลงนี้หากแปลความโดยตรง หมายถึงเพลงที่ ๒ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คำว่าเพลงที่ ๒ ไม่มีความหมายใดเป็นพิเศษ ส่วนการเป็นเพลงที่ ๒ เกี่ยวข้องกับลำดับการแสดงรองเง็งอย่างไรนั้น ไม่มีปรากฏหลักฐานแต่อย่างใด จังหวะการเต้นรำของเพลงนี้ เมื่อมีการบรรเลงดนตรีในท่อนนำเพลง ฝ่ายชายจะโค้งคำนับฝ่ายหญิง แล้วสองฝ่ายจะเดินมากลางวง โดยจะหันหน้าเข้าหากัน ลักษณะเด่นของการร่ายรำเพลงนี้อยู่ที่ลูกเล่นของการใช้เท้าและมีท่วงทำนองที่น่าสนใจเป็นพิเศษในการเต้นรำตอนที่จังหวะเพลงบรรเลงในช่วงเร็ว เพลงนี้ยังถือเป็นเพลงครูของรองเง็งอีกด้วย
๒. เพลงเลนัง
ความหมายของเพลงนี้หมายถึงนํ้าที่สะอาดที่ไหลหยดหรือหมายถึงนํ้าตาที่ไหลด้วยความปลื้มปิติ เพลงนี้ประกอบด้วยจังหวะช้าและจังหวะเร็วผสมผสานกันไป โดยทั่วไปเวลาบรรเลงดนตรีจะบรรเลงซํ้าสองเที่ยว สำหรับท่าเต้นร ที่เป็นจุดเด่นของเพลงนี้อยู่ที่การนั่งและการหมุนตัวกสับสสับกันระหว่างชายหญิง
๓. เพลงปูโจ๊ะปีซัง
ความหมายของชื่อเพลงนี้หมายถึงยอดตอง เปรียบเหมือนยอดแท่งความรักที่กำลังสดชื่น จังหวะการเต้นรำของเพลงนี้จะมีจุดเด่นอยู่มีจังหวะเล่นเท้าและการหมุนตัวของชายหญิง
๔. เพลงจินตาชายัง
ความหมายของเพลงนี้หมายกึงความสำนึกในความรักอันเปรมปิรีดิ์ บทเพลงนี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจคือท่ารำที่ชายหญิงสลับกันเดิน เป็นวงกลมรอบอีกฝ่ายที่นั่งปรบมืออยู่กับพื้น
๕. เพลงอาเนาะดีดี้
ความหมายของชื่อเพลงนี้หมายถึงลูกบุญธรรมหรือลูกสุดที่รัก จังหวะการเต้นของเพลงนี้ค่อนข้างสนุกสนาน เนื่องจากเป็นเพลงที่มีจังหวะ โดยผู้รำจะสลับกันหมุนและเต้นรำไปมาระหว่างชายหญิง
๖. เพลงเมาะอีนังชวา
ความหมายของเพลงนี้หมายถึงแม่นมหรือพี่เลี้ยงชาวชวา เนื่องจากเพลงและท่ารำนั้นเดิมมาจากชวา จึงเรียกเพลงนี้ว่ามะอีนังชวา เพลงนี้ยังเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้เห็นว่าวัฒนธรรมของดนตรีรองเง็ง มีการผสมผสานที่หลากหลายที่ส่วนหนึ่งเป็นวัฒนธรรมดนตรีที่มาจากชวาอีกด้วย
๗. เพลงมะนังลามา
ความหมายของเพลงนี้หมายกึงแม่นมหรือพี่เลี้ยง” เป็นเพลงเก่าแก่ (ลามาหมายกึงเก่าแก่) แต่บางครั้งก็เรืยกชื่อเพลงนี้ว่า “กึมบังจีนา” หมายกึง ดอกพุตที่กลีบกำลังแย้มบาน” เมื่อเริ่มการแสดงฝ่ายชายจะโค้งฝ่ายหญิง ที่เป็นคู่เต้นพร้อมกับมอบผ้าเช็ดหน้าให้แก่ฝ่ายหณิง พร้อมกับขอผ้าคลุมไหล่ของฝ่ายหญิงมาคลุมไหล่ตนเอง ฝ่ายหญิงจะใช้ผ้าเข็ดหน้าโดยจับชายผ้าทั้ง ๒ ชายไว้ ขณะเดียวกันก็เต้นหลบฝ่ายชายไปพร้อมกัน
บทเพลงทั้ง ๗ นั้น หลายบทเพลงไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่หลายบทเพลงก็ยังคงบรรเลงกันอยู่ เนื่องจากเปรียบเสมือนเป็นเพลงแม่บท เพลงที่นิยมบรรเลงในงานเต้นรำยังมีอยู่ ๒ เพลงด้วยกัน คือเพลงลากูดูวอและเพลงมะนังลามา ซึ่งทั้ง ๒ เพลงเป็นเพลงครูหรือเป็นเพลงที่นิยมเล่นกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยจะบรรเลงเพื่อเต้นรำแบบหมู่หรือคู่ก็ได้ ส่วนเพลงอื่นเป็นบทเพลงที่มักจะเต้นรำแบบหมู่ ที่สำคัญทั้ง ๒ เพลงนี้ ยังเป็นบทเพลงที่นิยมใช้บรรเลงเพื่อการเต้นรำของผู้ที่มีความชำนาญอีกด้วย การเต้นรองเง็งหากเป็นการเต้นหมู่มักใช้ผู้เต้นเป็น ๒ กลุ่ม โดยแบ่งเป็นฝ่ายยายและฝ่ายหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายและหญิงอย่างละหนึ่งแถว การเต้นต้องใช้ทักษะและความชำนาญการเคลื่อนไหวของมือเท้าและลำตัว ทั้งการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าและช้างหลัง ให้เข้ากับดนตรีบรรเลงที่ประกอบท่่ารำต่าง ๆ ของรองเง็งนั้น ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก เป็นการเต้นรำร่วมกันของชายหญิงที่อาจเป็นคู่หรือเป็นหมู่ก็ได้ สิ่งสำคัญในการแสดงคือแม้รูปแบบของการเต้นรำ ที่เลียนแบบมาจากซาวตะวันตกจะมีการจับสมือถือแขนกันก็ตาม แต่หากเป็นการแสดงแบบฉบับของประชาขนในพื้นที่แล้ว จะมีการปรับรูปแบบโดยไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกันระหว่างชายหญิง ตามหลักศาสนาอิสสามที่เป็นศาสนาที่คนส่วนใหญ่ในพื้นที่นับถือ แต่เมื่อช่วงระยะเวลาหนึ่งที่การแสดงรองเง็งถูกนำไปเป็นการแสดงคั่นรายการของการแสดงมะโย่ง การแสดงรองเง็งจึงถูกทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเกิดทัศนคติที่ไม่ดี เนื่องจากกลายเป็นการแสดงที่มีการถูกเนื้อต้องตัวกันระหว่างชายหญิงและกลายเป็นการแสดงที่นำมาหวังผลกำไรมากกว่าเป็นดิลปะที่จรรโลงไว้เพื่อความสวยงาม สำหรับรายละเอียดท่าทางในการรำ บทเพลงต่าง ๆ นั้น
ขนบธรรมเนียมในการแสดงรองเง็ง
สำหรับธรรมเนียมในการแสดงรองเง็งนั้น หากพิจารณาเฉพาะตัวของดนตรีเพียงอย่างเดียวแล้ว นับว่าไม่มีพิธีกรรมใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หากจะกล่าวถึงเรื่องขนบประเพณีการบรรเลงดนตรีรองเง็ง จะมีแบบแผนของการบรรเลงที่ยึดเพลงครูเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่นักดนตรีรองเง็งจะต้องบรรเลงหรือเรียนรู้เพลงนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานและเปรียบเสมือนการเคารพครูอาจารยึไปในตัว สำหรับขนบธรรมเนียมที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการแสดงรองเง็งจะเกี่ยวข้องกับการรำรองเง็ง โดยมีหลักการที่สำคัญ คือการเต้นรำไม่ว่าจะเป็นท่าใด เพลงใด หรือรูปแบบ ที่มีการประยุกต์ก็แล้วแต่จะไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกันระหว่างขายหญิงโดยเด็ดขาด ซึ่งจะเห็นว่าท่าร่ายรำต่าง ๆ จะยึดหลักการนี้ไว้อย่างเหนียวแน่น และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สีบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในช่วงระยะเวลาหนึ่งจะมีการนำรองเง็งไปประยุกต์ใช้เพื่อการหารายไดในทางทืไม่ถูกไม่ควร ด้วยการปล่อยใท้มีการจับเนื้อต้องตัวระหว่างชายหญิง แต่ท้ายสุดด้วยกรอบจารีตประเพณีอันดีงามของวิถีความเป็นศาสนิกชนที่ดีของคนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามหากมีท่าร่ายรำบางท่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีการสัมผัสระหว่างชายหญิง ก็จะมีการใช้อุปกรณีอื่นเป็นเครื่องมือแทนการจับเนื้อต้องตัวโดยตรง เช่น การใช้ผ้าพันคอหรือผ้าเข็ดหน้า ดังจะเห็นได้จากอุปกรณ์หล่านี้กลายเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดงของการแสดงรองเง็ง ที่จะขาดเสียไม่ได้และมีการนำ มาใช้ในการแสดงแทบทุกครั้ง
อัตลักษณีที่สำคัญของดนตรีรองเง็ง
๑. ทำนองเพลงส่วนใหญ่จะมีทำนองสั้น ๆ โดยใช้วิธีการบรรเลงช้ำไปซ้ำมา ทั้งนี้อาจมีการใส่ลูกเล่นลีลาเพิมเดิม โดยยึดแนวเพลงเดิมไว้ เพื่อให้บทเพลงที่บรรเลงซํ้าไปมานั้นมีความน่าสนใจแสะไม่เกิดความซ้ำซากจนเกินไป |
๒. ภาพรวมของดนตรีจะสะท้อนถึงวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และความเป็นตัวตนของคนพื้นที่ ตามหลักการปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Refletion) ระหว่างดนตรีและวิถีชีวิตได้ กล่าวคือดนตรีสามารถสะท้อนบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์แต่ละช่วงเวลาได้ และในขณะเดียวกันประวัติศาสตร์และอิทธิพลของสังคมก็มีส่วนสะท้อนในการสร้างงานดนตรีในแต่ละยุคสมัย |
๓. เครื่องดนตรีที่ใช้จะทำมาจากวัสดุที่หาไดในท้องถิ่น ยกเว้นเครื่องดนตรีทีได้รับอิทธิพลมาจากต่างชาติ ที่จะรับรูปแบบเครื่องดนตรีเดิมมาทั้งหมด แต่การปรับเปลี่ยนระบบเสียงและกลวิธีการบรรเลงบางส่วน |
๔. ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษามาลายูซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นเป็นหลัก แต่จะมีการใช้ภาษาใต้และภาษาไทยภาคกลางในบางโอกาส |
๕. การบรรเลงหรือบริบทต่าง ๆ ของดนตรีจะอยู่บนพื้นฐานที่ดีของจารีตประเพณี ทางหลักการทางศาสนาและวิถีชีวิตที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา |
๖. มีการเลือกรับปรับใช้รูปแบบดนตรีจากอิทธิพลดนตรีต่างวัฒนธรรม เข้ามาผสมผสานกับดนตรีดั้งเดิมได้ตลอดเวลา รูปแบบดนตรีรองเง็ง จึงมีความเปลี่ยนแปลงในละยุคสมัยได้ใดยตลอด |
๗. มีการเชื่อมโยงวัฒนธรรมทางด้านดนตรีกับเขตวัฒนธรรม ในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่ตลอดเวลา ทั้งจากส่งประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนบน |
โครงการพัฒนาทักษะทางด้านคนตรีพื้นบ้านเพื่อความสมานฉันท์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2553). ดนตรีรองเง็ง.
ปัตตานี : โครงการพัฒนาทักษะทางด้านคนตรีพื้นบ้านเพื่อความสมานฉันท์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.